ธนาคารออมสิน ประกาศยกเลิกบริการ GSB Internet Banking (สำหรับบุคคลธรรมดา) ผ่านเว็บไซต์ มีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป โดยลูกค้าสามารถทำธุรกรรมผ่านช่องทางแอป MyMo บนโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติ หรือทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM/CDM และที่สาขาของธนาคาร
ธนาคารออมสินไม่ได้ให้สาเหตุของการประกาศปิดบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ แต่หากดูจากแนวโน้มของหลายธนาคาร ซึ่งปิดให้บริการช่องทางเว็บไซต์ไปก่อนหน้านี้ น่าจะเป็นเพราะปริมาณการใช้งานที่ลดลง ขณะที่ฟีเจอร์ใหม่ ๆ ถูกเพิ่มเติมผ่านแอปเป็นหลัก
ที่มา: Facebook: GSB Society
Update: MyMo By GSB กลับมาใช้ได้แล้วเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 21 พ.ค. และ ธนาคารประกาศชดเชยค่าธรรมเนียมธนาคารระหว่างที่ใช้แอพพลิเคชันไม่ได้
MyMo By GSB แอพพลิเคชันบริการธนาคารออมสินไม่สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่เมื่อเวลา 23:00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้
MyMo By GSB มีแผนจะอัพเดตเวอร์ชันเป็น 2.0 โดยประกาศก่อนปิดระบบแจ้งว่าจะปิดตั้งแต่เวลา 23:00 น. ของวันที่ 17 พ.ค. จนถึงเวลา 09:00 น. ของวันที่ 18 พ.ค. แต่ปรากฎว่าเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ระบบก็ยังไม่สามารถใช้การได้จนมีประกาศขยายเวลาไปถึง 15:00 น. และ 20:00 น. ของวันที่ 18 พ.ค. ตามลำดับ แต่ก็ยังไม่สามารถใช้บริการได้ กล่าวคือหากผู้ใช้บริการพยายามจะเปิดแอพพลิเคชัน ระบบจะขึ้นข้อความแจ้งว่า "ขออภัยในความไม่สะดวก ขณะนี้มีผู้ทำธุรกรรมจำนวนมาก ธนาคารจะรีบแก้ไขโดยเร็วที่สุด" หรือกระทั่งขึ้นข้อความแจ้งข้อผิดพลาดของแอพพลิเคชันเป็นบางครั้ง
จนกระทั่งเมื่อเวลา 19:00 น. ของวันที่ 19 พ.ค. ธนาคารออมสินออกประกาศระบุว่า "เกิดปัญหาทางเทคนิค" ต้องมีการจำกัดจำนวนผู้ใช้งาน ทำให้ยังไม่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ
เนื่องในวันสถาปนาธนาคารออมสิน ครบรอบ 105 ปี ในวันที่ 1 เม.ย. 2561 แบงค์สีชมพูจึงมอบของขวัญให้กับลูกค้า ด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงยกเลิกค่าธรรมเนียมรายเดือนแอพ MyMo ด้วย
คดีการแฮกเอทีเอ็มในไต้หวันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ด้วยการวางมัลแวร์นับเป็นคดีที่มีความเสียหายมูลค่าสูง มีเงินถูกดึงออกไปจากตู้ถึง 80 ล้านบาท เครือข่ายบัตรรับจ่ายอย่างวีซ่าก็ออกรายงานวิเคราะห์เหตุการณ์ครั้งนี้
รายงานของวีซ่าไม่ได้ระบุว่าเป็นไต้หวันโดยตรงแต่ระบุเพียงว่าเป็นเหตุการณ์ในเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ดีค่าแฮชของไฟล์ที่ระบุในรายงานตรงกับค่าแฮชของคดีในไต้หวัน
จากเมื่อวานนี้ข่าวระบบเอทีเอ็มของธนาคารออมสินถูกแฮกทำให้เงินถูกขโมยไปกว่า 12 ล้านบาท วันนี้ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมจากทางมติชน ระบุว่ามีรายงานว่าธนาคารออมสินได้แจ้งความกับบก.ปอท. ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา และคนร้ายเริ่มก่อเหตุจากจังหวัดภูเก็ต และขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ
ทางด้านพล.ต.อ.ปัญญา มาเม่น จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าคนร้ายมี 2-3 ทีมรวมประมาณ 25 คน ปล่อยมัลแวร์โดยใช้ "บัตรอิเล็กทรอนิกส์" (ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงสมาร์ตการ์ดหรือไดร์ฟ USB) เพื่อส่งมัลแวร์เข้าไปในตู้
ระหว่างนี้ธนาคารออมสินยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบมัลแวร์ในตู้อื่นๆ ที่อาจจะเจอมัลแวร์อีกกว่า 200 ตู้ จากที่ยืนยันก่อนหน้านี้แล้วว่าเงินหายไปจากตู้ 21 ตู้
ธนาคารออมสินประกาศปิดบริการเอทีเอ็มบางส่วน หลังเงินหายไปจากตู้เอทีเอ็ม 21 เครื่อง มูลค่า 12,291,000 บาท โดยพบมัลแวร์ในตู้เอทีเอ็มเหล่านั้น
ทางธนาคารยืนยันว่าเงินที่หายไปไม่เกี่ยวข้องกับเงินในบัญชีของลูกค้าแต่อย่างใด
ข้อมูลที่ออกมายังมีไม่มากนัก แต่รูปแบบการโจรกรรมดูจะคล้ายกับการติดตั้งมัลแวร์ในไต้หวันที่อาชญากรขโมยเงินไปได้ถึง 80 ล้านบาท
ที่มา - eFinance
จากข่าว เว็บไซต์ของธนาคารออมสินถูกแฮก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 ทางธนาคารออมสินได้ส่งจดหมายชี้แจงมายัง Blognone ว่าไม่ได้ถูกแฮกดังที่มีคนมาโพสต์กระทู้ใน Pantip.com ดังที่เป็นข่าว โดยจากการตรวจสอบของธนาคารแล้ว ไม่ได้มีเหตุเกิดขึ้นแต่อย่างใด
ผมแปะจดหมายฉบับเต็มไว้ให้ด้วย ถือเป็นการชี้แจงอย่างเป็นทางการของธนาคารออมสินครับ
เรื่อง ขอชี้แจงการ Hacker ระบบเว็บไซต์ของธนาคารออมสินผ่านระบบเว็บไซต์ Blognone
เรียน ผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ Blognone
อัพเดต 8 กรกฎาคม 2556 ธนาคารออมสินชี้แจง เว็บไซต์ไม่ได้ถูกแฮกดังที่เป็นข่าว
วันนี้ (4 กรกฎาคม 2556) เวลา 20:50 น. (ขณะที่เขียนข่าวอยู่) เว็บไซต์หลักของธนาคารออมสิน ได้ถูกแฮกโดย TeamFBI โดยได้เปลี่ยนหน้าเว็บเป็นสีดำและมีข้อความเขียนว่า [ HaCkEd By team FBI ] พร้อมชื่อและอีเมลของคนในทีม
อัพเดต 23:06 น. ทางเว็บมาสเตอร์ธนาคารออมสินได้แก้ไขแล้วครับ
ที่มา - พันทิป