Omise ผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัล ประกาศรีแบรนด์กลับมาใช้ชื่อเดิม (Omise) อีกครั้ง หลังจากที่ใช้ชื่อ Opn มากว่าสองปี โดย Omise บอกว่าการรีแบรนด์รอบนี้ถือเป็นการกลับไปที่รากเดิมของตนเอง
ทิศทางหลังจากรีแบรนด์ของ Omise คือจะเพิ่มขนาด ความเสถียร และความจุ เพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินให้ครอบคลุมระดับสากลมากขึ้น และจะนำ AI มาใช้ในการปรับปรุงธุรกรรมให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีขึ้น
Omise บอกว่าแม้บริษัทจะเป็น adopter ในด้าน AI แต่หลังจากรีแบรนด์ บริษัทเชื่อว่าจะเป็น innovator ในยุคที่ระบบการเงินซับซ้อนมากขึ้น โดยจะเปิดให้ทดลองเร็ว ๆ นี้ ซึ่งไทยและสหรัฐฯ จะได้ทดลองในเฟสแรก
Klarna บริษัทฟินเทคที่ให้บริการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระแนว Buy Now Pay Later รายใหญ่ในยุโรป ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วยตัวย่อ KLAR
Klarna เป็นบริษัทจากสวีเดน ปัจจุบันให้บริการใน 26 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรป และให้บริการในสหรัฐอเมริกาด้วย มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 93 ล้านบัญชี มีร้านค้าที่รองรับ 6.75 แสนแห่ง ผลประกอบการในปี 2024 มีรายได้ 2,811 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 21 ล้านดอลลาร์ คู่แข่งในอเมริกาเช่น Affirm และ Afterpay ของ Block
YouTrip สตาร์ทอัปบัตรทราเวลการ์ดจากสิงคโปร์ ประกาศเพิ่มบริการใหม่โอนเงินข้ามประเทศมีผลเฉพาะลูกค้าในสิงคโปร์ โดยตอนนี้รองรับการโอนเงินไปปลายทางมากกว่า 40 ประเทศ
สกุลเงินที่ YouTrip สิงคโปร์รองรับการโอนเงินข้ามประเทศมี 9 สกุล โดยมีสกุลเงินยูโร, ดอลลาร์สหรัฐ, รูปีอินเดีย, รูเปียห์อินโดนีเซีย, ริงกิตมาเลเซีย, เปโซฟิลิปปินส์, ด่งเวียดนาม รวมอยู่ด้วย แต่ไม่มีเงินบาทไทย
YouTrip ชูจุดเด่นของบริการโอนเงินบนแพลตฟอร์มทั้งการรองรับบัญชีปลายทางที่เป็นบัญชีธนาคาร หรือผ่านระบบ DuitNow, Gcash และ UPI มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า และได้อัตราแลกเปลี่ยนดีที่สุด
ที่มา: YouTrip
X เปิดตัวบริการทางการเงิน X Money โดยร่วมมือกับ Visa ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่เป็นรายแรก ในเบื้องต้นบริการที่รองรับได้แก่ โอนย้ายเงินระหว่างบัญชีธนาคารกับบัญชีของ X Wallet ผ่าน Visa Direct และสามารถเชื่อมกับบัญชีบัตรเดบิต เพื่อให้จ่ายเงินระหว่างบัญชี X Money ด้วยกันแบบ P2P
บริการทางการเงินบน X เป็นหนึ่งในแผนการขยายความสามารถของแพลตฟอร์ม X ตามที่ Elon Musk เคยบอกไว้ว่าอยากให้ X เป็นแอปที่รวมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน
Han Xinyi ประธาน Ant Group กลุ่มฟินเทครายใหญ่ ประกาศแผนการปรับโครงสร้างองค์กรรอบใหม่ โดย Han Xinyi จะเป็นซีอีโอของ Ant Group มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2025 เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทเคยเปิดเผยแผนการส่งต่อตำแหน่งซีอีโอให้เขาก่อนหน้านี้
รายละเอียดสำคัญของการปรับโครงสร้าง Ant Group รอบนี้คือการกำหนดกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Digital Payment และกลุ่ม Alipay Business
กลุ่ม Digital Payment จะโฟกัสที่การพัฒนานวัตกรรมบริการจ่ายเงินทั้งออนไลน์และออฟไลน์ใหม่ ๆ ส่วนกลุ่ม Alipay Business จะโฟกัสเฉพาะบริการ Alipay ในส่วนบริการที่เกี่ยวข้อง โฆษณา และการเพิ่มฐานผู้ใช้งาน ซึ่ง Han บอกว่าการแยกส่วนธุรกิจนี้สะท้อนว่า Alipay ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตแล้ว
รายงานประจำปีเศรษฐกิจดิจิทัลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2024 ประจำปีนี้ออกมาแล้ว ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือของกูเกิล, Temasek และ Bain & Company เพื่อนำเสนอทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลของหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องหลายปีในโลก โดยรายงานยังคงจัดทำเนื้อหาใน 6 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
มูลค่าเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV ปีนี้เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2023 เป็น 2.63 แสนล้านดอลลาร์ (ไม่รวมธุรกิจฟินเทค) คิดเป็นรายได้ของธุรกิจ 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% และรายงานปีนี้เริ่มวัดผลการทำกำไรของธุรกิจดิจิทัลเป็นปีแรกพบว่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็น 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์
Stripe แพลตฟอร์มสำหรับการจ่ายเงิน ประกาศซื้อกิจการบริษัทคู่แข่ง Lemon Squeezy โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าในการซื้อกิจการนี้
Lemon Squeezy เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาหลังบ้านของร้านค้า จุดเด่นคือการจัดการเรื่องภาษีการค้าสำหรับสินค้าดิจิทัล รวมทั้งจัดการส่วนที่เกี่ยวข้องกฎหมายภาษีแต่ละประเทศที่ไปขาย เน้นลูกค้ากลุ่มพัฒนาซอฟต์แวร์ SaaS ธุรกิจ
JR Farr ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Lemon Squeezy บอกว่านับตั้งแต่เปิดตัวบริการในปี 2021 บริษัทได้รับข้อเสนอซื้อกิจการ ตลอดจนการขอร่วมลงทุนจำนวนมาก การตัดสินใจขายกิจการให้ Stripe นั้น เป็นการเลือกพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสมที่สุดจะเดินหน้าต่อไปตามแนวคิดหลักคือทำให้การขายสินค้าดิจิทัลง่ายที่สุด
BigPay แอพสายฟินเทคในเครือ AirAsia เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยมีฟีเจอร์เด่นคือบัตรเสมือน Visa จากในตัวแอพโดยตรง นำไปใช้จ่ายเงินตามร้านค้าต่างๆ ได้ทันที และสามารถสั่งบัตรพลาสติก Visa Platinum Prepaid Card เพิ่มได้ถ้าต้องการ
ฟีเจอร์อื่นของ BigPay นอกจากการเก็บแต้มของบริการในเครือ AirAsia แล้วยังมี Stash กระเป๋าเก็บเงินย่อยเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการเงิน, Roundup ฟังก์ชันปัดเศษเงินทอนเพื่อช่วยเก็บเงิน และ Analytics ฟังก์ชันวิเคราะห์การใช้จ่าย แอพสามารถดาวน์โหลดได้แล้วจาก App Store และ Play Store
การเปิดตัว BigPay ได้โทนี เฟอร์นานเดส ผู้ก่อตั้ง AirAsia ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแคปปิตอล เอ (Capital A) และ MOVE Digital มาแถลงข่าวที่ประเทศไทยด้วยตัวเอง
รู้จัก Woxa Corporation บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีความสนใจด้านอุตสาหกรรม Fintech ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบ White Label Solution for Brokerages and Exchanges (SaaS)
แอปเปิลประกาศยกเลิกการให้บริการ Apple Pay Later บริการซื้อสินค้าและทยอยจ่ายทีหลังเป็นงวดแบบ Buy Now, Pay Later ซึ่งไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เปิดตัวเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว มีผลทันทีตั้งแต่วันนี้ ส่วนลูกค้าที่สมัครใช้บริการนี้อยู่แล้ว ยังสามารถใช้งานได้ต่อไปผ่านแอป Wallet
แอปเปิลบอกว่าแผนการผ่อนชำระใน Apple Pay จากนี้ จะถูกปรับปรุงให้ง่ายขึ้น ด้วยการเปิดใช้แผนผ่อนชำระของผู้ให้บริการบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ที่ทำได้โดยตรงผ่าน Apple Pay และรองรับกับผู้ใช้ Apple Pay ทั่วโลก ซึ่งฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้งานภายในปีนี้
รู้จัก Woxa Corporation บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีความสนใจด้านอุตสาหกรรม Fintech ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบ White Label Solution for Brokerages and Exchanges (SaaS)
กูเกิล, Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงาน e-Conomy SEA ประจำปี 2023 โดยปีนี้หัวข้อคือ Reaching new heights: navigating the path to profitable growth เพื่อฉายภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภาพรวมเฉพาะส่วนที่เป็นรายได้ของธุรกิจดิจิทัลจะแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ ในปีนี้ ขณะที่ปริมาณเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV จะเพิ่มเป็น 2.18 แสนล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือส่วนที่เป็นรายได้นั้นเติบโต 1.7 เท่าของ GMV สะท้อนภาพธุรกิจที่มั่นคงขึ้น
YouTrip สตาร์ทอัพฟินเทคจากสิงคโปร์ ผู้ให้บริการวอลเลตโอนและแลกเงินต่างประเทศทั้งสำหรับลูกค้าบุคคล และลูกค้าองค์กร ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ B เป็นจำนวน 50 ล้านดอลลาร์ โดยมี Lightspeed เป็นผู้ลงทุนหลัก บริษัทได้รับเงินทุนแล้วรวม 100 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2018
YouTrip จะนำเงินเพิ่มทุนรอบใหม่นี้ไปใช้พัฒนาเทคโนโลยี และจ้างเงินเพิ่มอีกกว่า 100 ตำแหน่ง เพื่อรองรับการขยายตลาดเพิ่มเติมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม บริษัทมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัวในปีที่มา ทั้งจากการเดินทางท่องเที่ยวกลับมาหลังหมดโควิด ตลอดจนการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซที่มากขึ้น
กลุ่มฟินเทค Ant Group เปิดตัวโมเดล AI สร้างเนื้อหาหรือ Generative AI สำหรับสายการเงินโดยเฉพาะ ซึ่ง Ant เรียกว่า Financial LLM โดยมาพร้อมกับแอพพลิเคชันทางการเงินที่ใช้โมเดลดังกล่าวคือ Zhixiaobao 2.0 ผู้ช่วยทางการเงินสำหรับลูกค้าบุคคล และ Zhixiaozhu 1.0 ผู้ช่วยทางการเงินสำหรับลูกค้าสถาบันการเงิน
โดย Zhixiaobao 2.0 จะเข้ามาช่วยทั้งการแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุน การกระจายสินทรัพย์ลงทุน ตลอดจนให้ความรู้ทางการเงิน ขณะที่ Zhixiaozhu 1.0 จะมาช่วยในงานการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน อ่านบทวิเคราะห์การลงทุน ประเมินโอกาสทางการลงทุน และช่วยสร้างเนื้อหาบทวิเคราะห์
LINE MAN Wongnai และ LINE ประเทศไทย ประกาศซื้อหุ้นของ Rabbit LINE Pay (RLP) คืนจากผู้ถือหุ้นเดิม คือ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ทำให้ LINE MAN Wongnai กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ RLP
ทั้งนี้ผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ยังใช้จ่ายผ่านบริการของ Rabbit LINE Pay ได้เหมือนเดิม ซึ่งรวมทั้งส่วนการเชื่อมต่อกับระบบตั๋วรถไฟฟ้า BTS และการจ่ายค่าบริการ AIS
Nasdaq ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน ประกาศซื้อกิจการ Adenza ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการเงิน โดยเป็นการซื้อกิจการจากบริษัทการลงทุน Thoma Bravo ด้วยมูลค่าดีล 10,500 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 5.75 พันล้านดอลลาร์ และหุ้นสามัญของ Nasdaq 85.6 ล้านหุ้น
Tal Cohen ประธานส่วนธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายของ Nasdaq กล่าวว่า Adenza จะเข้ามาเติมเต็มบริการซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสำหรับลูกค้า ซึ่งช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและปฏิบัติตามกฎกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Adenza เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทางการเงิน ซึ่งมีลูกค้าทั้งธนาคารและผู้ให้บริการในธุรกิจการเงินมากกว่า 60,000 รายทั่วโลก บริษัทคาดว่าจะมีรายได้ในปี 2023 นี้ ประมาณ 590 ล้านดอลลาร์ มีอัตรากำไรแบบ EBITDA ที่ประมาณ 58%
แอปเปิลประกาศเริ่มให้บริการ Apple Pay Later บริการซื้อสินค้า-บริการก่อน แล้วทยอยผ่อนจ่ายทีหลัง ซึ่งแอปเปิลเปิดตัวมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยมีผลเฉพาะลูกค้าในอเมริกาที่ได้รับคำเชิญให้ใช้งานก่อน เฉพาะการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ และ In-App ที่รองรับ Apple Pay จากนั้นจะเปิดให้กับผู้ใช้งานทั่วไปในไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้งานต้องอัพเดตเป็นระบบปฏิบัติการ iOS 16.4 ตัวล่าสุดก่อน
AIS แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าก่อนหน้านี้ที่บริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุน AISCB ร่วมกับ เอสซีบี เอกซ์ บริษัทแม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้บริการการเงินดิจิทัล เช่นการให้สินเชื่อผ่านแพลตฟอร์ม ล่าสุดทาง AIS แจ้งว่าบริษัทจะจำหน่ายเงินลงทุนทั้งหมด ให้แก่ เอสซีบี เอกซ์
ทั้งนี้ AIS ไม่ได้อธิบายสาเหตุที่ตัดสินในขายเงินลงทุนคืน แต่บอกว่าบริษัทยังคงเปิดโอกาสที่จะร่วมกับกลุ่ม SCBX อีกในอนาคต
ที่มา: AIS (pdf)
Klarna สตาร์ตอัพด้านการเงินแนวผ่อนชำระ (Buy Now Pay Later หรือ BNPL) จากสวีเดน ซึ่งเคยครองแชมป์สตาร์ตอัพที่มูลค่ากิจการสูงที่สุดในยุโรป 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) ระดมทุนรอบใหม่ที่มูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียง 6.7 พันล้านดอลลาร์ (2.4 แสนล้านบาท) หรือลดลงเกือบ 7 เท่า
Klarna ระดมเงินก้อนใหม่ 800 ล้านดอลลาร์ บริษัทบอกว่าเป็นการระดมทุนก้อนใหญ่ในช่วงเวลาที่ตลาดทุนตกลงเยอะที่สุดในรอบ 50 ปี และบอกว่า Klarna ยังรักษามูลค่าของบริษัทได้ดีกว่าบริษัทระดับเดียวกัน ที่มูลค่าหายไปถึง 80-90%
ในงาน WWDC ที่ผ่านมา แอปเปิลได้เปิดตัวบริการใหม่แต่อาจไกลตัวจากคนไทยหน่อย เพราะยังไม่มี Apple Pay ให้ใช้งาน นั่นคือ Apple Pay Later บริการแบบซื้อสินค้าก่อน แล้วทยอยจ่ายทีหลัง ซึ่งมีข่าวลือมาก่อนหน้านี้
บริการ Apple Pay Later รองรับกับทุกการจ่ายเงินที่รองรับ Apple Pay ในอเมริกา ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าแบ่งจ่ายทุกธุรกรรมได้เป็น 4 งวดที่เท่ากัน ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ไม่มีดอกเบี้ย ตรวจสอบสถานะและแจ้งเตือนจ่ายเงินได้ในแอป Apple Wallet
Financial Times รายงานข่าววงในว่า บริษัท Meta กำลังสนใจออกฟีเจอร์ "เงินดิจิทัล" หลายอย่าง ผ่านบริษัทลูกในเครือคือ Meta Financial Technologies
ตามข่าวบอกยกตัวอย่างฟีเจอร์ด้านการเงินดังนี้
ในกรณีของ virtual coin หรือสกุลเงินเสมือน ที่จะใช้จ่ายใน metaverse มีชื่อเล่นในกลุ่มพนักงานว่า "Zuck Bucks" แต่ทั้ง coin/token ไม่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนโครงการ Libra/Diem ที่ล้มเลิกไป รอบนี้เป็นเงินเสมือนที่รวมศูนย์ที่บริษัทอย่างเดียว ลักษณะคล้ายเงินในเกม Roblox
มีรายงานว่าแอปเปิลได้ซื้อกิจการสตาร์ทอัพสายฟินเทคจากอังกฤษ Credit Kudos ซึ่งไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่แหล่งข่าวระบุว่ามูลค่าดีลราว 150 ล้านดอลลาร์
ตัวแทนของแอปเปิลชี้แจงต่อข่าวนี้ด้วยประโยคเดิมว่า บริษัทซื้อกิจการเทคโนโลยีขนาดเล็กอยู่เป็นระยะ และจะไม่พูดถึงแผนงานในอนาคต แต่คาดว่าน่าจะนำเทคโนโลยีของ Credit Kudos มาเสริมกับบริการทางการเงิน Apple Pay และ Apple Card
Credit Kudos เป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ข้อมูลธนาคารของลูกค้า ในการตรวจสอบข้อมูลเครดิตและการขอสินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการรายใหญ่ในตลาดอย่าง Equifax, Experian และ TransUnion
ที่มา: CNBC
Navi Technology บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพจากประเทศอินเดียได้ยื่นไฟลิ่งเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอินเดียอย่างเป็นทางการแล้ว
Navi ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 โดย Sachin Bansal ผู้ร่วมก่อตั้ง Flipkart (Bansal ออกจาก Flipkart ก่อนขายให้ Walmart) ธุรกิจของ Navi จะเน้นไปที่สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล, สินเชื่อบ้าน, ประกันสุขภาพ และบริการบริหารสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเน้นที่กองทุนประเภท passive
Circle Internet Financial บริษัทด้านการเงิน ซึ่งเป็นผู้ออกเหรียญ stablecoin USDC ประกาศแผนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น โดยใช้วิธีควบรวมกิจการกับบริษัท SPAC
ผลจากการควบรวมกิจการนี้ จะทำให้ Circle มีมูลค่ากิจการที่ราว 9 พันล้านดอลลาร์ บริษัท SPAC ที่จะควบรวมชื่อ Concord Acquisition Corp ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทได้ตกลงจะรวมกิจการกันที่มูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากไม่สามารถควบรวมได้ตามกรอบเวลา ทั้งสองจึงปรับแผนขยายเวลาใหม่ รวมทั้งปรับมูลค่ากิจการเพิ่มเป็นสองเท่าด้วย
USDC เป็นหนึ่งใน stablecoin หรือเงินคริปโตที่มูลค่าไม่ผันผวน เนื่องจากผูกกับเงินสกุลดอลลาร์ ที่ได้รับความนิยมสูง อัตราหมุนเวียนหรือ circulation ล่าสุดอยู่ที่ราว 5.25 หมื่นล้านดอลลาร์
American Express ผู้ให้บริการบัตรเครดิตของสหรัฐฯ ประกาศร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Opy ผู้ให้บริการด้าน buy now, pay later (BNPL) อย่างเป็นทางการ เพื่อให้บริการสมาชิกบัตร Amex ในการผ่อนชำระสินค้า โดยเน้นในกลุ่มสุขภาพและยานยนต์
Opy เป็นบริษัทลูกของในสหรัฐฯ Openpay บริษัทฟินเทคจากออสเตรเลีย โดย Opy เรียกตัวเองว่า buy now, pay smarter ซึ่งเป็น BNPL ที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้น Opy จะให้สินเชื่อสูงสุดถึง 20,000 ดอลลาร์ต่อครั้ง, คิดค่าธรรมเนียมคงที่, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 9.99% และให้ผ่อนชำระได้นานสุดถึง 24 เดือน ต่างกับ Affirm หรือ Klarna ที่มีระยะผ่อนชำระสั้นกว่า และกลุ่มลูกค้าของ Opy จะมีอายุราว 40 ปี ในขณะที่ BNPL ส่วนมากจะเป็นลูกค้าอายุราว 20 ต้น ๆ