Uber ออกรายงานชี้แจงการถูกแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากบัญชีพนักงานสัญญาจ้าง (Uber EXT) ถูกแฮ็กก่อน โดยคาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีซื้อรหัสผ่านรั่วมาจากแหล่งใต้ดิน dark web อีกที
ระบบของ Uber มีการยืนยันตัวตน 2FA ช่วยป้องกันอยู่ แฮ็กเกอร์จึงพยายามล็อกอินอยู่หลายครั้ง และมีครั้งที่พนักงานรายนี้เผลอกดยืนยันการล็อกอิน (ของแฮ็กเกอร์) เลยเข้าระบบได้
จากนั้น แฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีของพนักงานคนอื่นๆ ได้ และสุดท้ายได้สิทธิเข้า G-Suite กับ Slack และโพสต์ข้อความประกาศการแฮ็กใน Slack ของบริษัท
ตำรวจอังกฤษตั้งข้อหาวัยรุ่น 2 คน ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ของกลุ่มแฮ็กเกอร์ LAPSUS$
เมื่อปลายเดือนมีนาคม ตำรวจอังกฤษจับวัยรุ่น 7 คนที่อาจเกี่ยวข้องกับ LAPSUS$ และล่าสุดตั้งข้อหาวัยรุ่นอายุ 16 ปีและ 17 ปีตามลำดับ (ไม่เปิดเผยชื่อเพราะเป็นผู้เยาว์) โดยวัยรุ่นทั้งสองคนได้ประกันตัวแล้ว
จากข้อมูลก่อนหน้านี้ แก๊งแฮ็กเกอร์ LAPSUS$ มีสมาชิกอยู่ในอังกฤษและอเมริกาใต้ ถึงแม้สมาชิกในอังกฤษอาจถูกจับกุม (และ LAPSUS$ ประกาศ "พักร้อน") แต่ไม่กี่วันมานี้ LAPSUS$ ยังปล่อยข้อมูลที่ได้มาจาก Globant บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ ซึ่ง Globant ก็ออกมายอมรับว่าถูกแฮ็กจริง
จากเหตุการณ์แฮ็กเกอร์กลุ่ม LAPSUS$ เจาะเข้าระบบของบริษัท Okta ที่ให้บริการ CRM จนกระทบลูกค้าหลายราย
วันนี้มีเอกสารสอบสวนการเจาะระบบของ Okta หลุดออกมาทางนักวิจัยความปลอดภัยอิสระ Bill Demirkapi โดยเอกสารนี้เป็นของบริษัทความปลอดภัย Mandiant (เพิ่งขายให้กูเกิล) ที่ได้รับการว่าจ้างจาก Okta ให้มาตรวจสอบเหตุการณ์
ตำรวจอังกฤษจับกุมวัยรุ่น 7 คน ที่มีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ LAPSUS$ ที่กำลังโด่งดังในช่วงนี้ หลังแฮ็กบริษัทดังหลายราย เช่น NVIDIA, Samsung, Okta, Microsoft
ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยความปลอดภัย Allison Nixon จากบริษัท Unit 221B ตามแกะรอยกลุ่ม LAPSUS$ และเปิดเผยว่าแกนนำของกลุ่มเป็นวัยรุ่นชาวอังกฤษอายุ 16-17 ปี ที่ใช้นามแฝงว่า WhiteDoxbin, Oklaqq หรือ Breachbase ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ของกลุ่มอยู่ในอเมริกาใต้
ทีมความปลอดภัยไซเบอร์ของไมโครซอฟท์ ออกรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มแฮ็กเกอร์ LAPSUS$ ที่กำลังดังในตอนนี้ หลังเจาะข้อมูลของบริษัทชื่อดังหลายแห่ง เช่น NVIDIA, Samsung, Okta รวมถึงไมโครซอฟท์เองด้วย
ไมโครซอฟท์บอกว่าจากการสอบสวนภายใน พบว่ามีบัญชีของพนักงานถูกเจาะ 1 รายเท่านั้น และแฮ็กเกอร์ไม่ได้ข้อมูลอื่นขององค์กรไป นอกจากข้อมูลในบัญชีของพนักงานคนนั้น
Okta แถลงถึงเหตุการณ์ที่กลุ่ม LAPSUS$ อ้างว่าสามารถยึดระบบหลังบ้านของ Okta สำเร็จ โดยระบุว่าเครื่องที่ถูกแฮกเป็นเครื่องของพนักงานซัพพอร์ตที่เป็นลูกจ้างของบริษัทภายนอกอีกที
ทาง Okta ระบุว่าข้อมูลลูกค้า 2.5% ได้รับผลกระทบ โดยอาจจะถูกแฮกเกอร์เข้าไปดูข้อมูล หรือถูกกระทำบางอย่างกับข้อมูล ตัวเลขล่าสุดจำนวนลูกค้าของ Okta มีประมาณ 15,000 ราย หากคิดจากตัวเลขนี้ก็อาจจะมีบริษัท 300-400 บริษัทได้รับผลกระทบ
กลุ่ม LAPSUS ประกาศว่าสามารถแฮกเซิร์เวอร์ Azure DevOps ของไมโครซอฟท์เองได้สำเร็จ ทำให้ได้ข้อมูลซอร์สโค้ดไปจำนวนมาก ทั้งโครงการที่ให้บริการทั่วไป เช่น Bing หรือ Cortana และบริการภายในของไมโครซอฟท์เอง
LAPSUS ปล่อยไฟล์ .torrent ออกมาผ่านช่องทาง Telegram ของกลุ่ม พร้อมกับระบุรายชื่อ tracker ที่รองรับไฟล์นี้อยู่ ตัวไฟล์จริงๆ เป็น 7zip ขนาด 9GB และเมื่อแตกไฟล์ออกมาแล้วจะได้ขนาดรวม 37GB
ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นซอร์สโค้ดบริการฝั่งเว็บและแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ไม่มีซอร์สโค้ดฝั่งเดสก์ทอป เช่น Windows, Office, หรือซอฟต์แวร์ระดับองค์กรอย่าง SQL Server แต่อย่างใด
กลุ่มแฮกเกอร์ LAPSUS ที่โด่งดังขึ้นในช่วงหลังจากการแฮกข้อมูล NVIDIA และซัมซุง ประกาศว่าทางกลุ่มสามารถล็อกอินเข้าระบบของ Okta ผู้ให้บริการยืนยันตัวตนระดับองค์กรรายใหญ่
Okta เป็นบริษัที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลัง จากการให้บริการจัดการการล็อกอินระดับองค์กร และปีที่แล้วก็เพิ่งเข้าซื้อ Auth0 ผู้ให้บริการล็อกอินสำหรับลูกค้ารายย่อย ที่ผ่านมาบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากใช้บริการของ Okta ในการยืนยันตัวตนพนักงาน หากข้ออ้างของกลุ่ม LAPSUS เป็นความจริงก็อาจจะทำให้องค์กรที่เป็นลูกค้าของ Okta ตกอยู่ในความเสี่ยงไปด้วย โดย LAPSUS ก็ระบุว่าการโจมตีครั้งนี้มุ่งไปที่ลูกค้าของ Okta เป็นหลัก
กลุ่มแฮกเกอร์ Lapsus$ ประกาศขโมยข้อมูลออกจากมาจากซัมซุงได้สำเร็จ โชว์ไฟล์บีบอัดแล้วขนาด 190GB ส่วนสำคัญคือซอร์สโค้ดของอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลไฟล์อื่นๆ จะเป็นอะไรบ้าง โดยทาง Lapsus$ กำลังปล่อยไฟล์ทั้งหมดผ่านทาง bittorrent
ที่มา - Bleeping Computer
NVIDIA ยืนยันข่าวว่าบริษัทโดนแฮ็ก และโดนขโมยข้อมูลภายในบางอย่างออกไป ซึ่งจากข่าวในแวดวงความปลอดภัยระบุว่าโดนขโมยซอร์สโค้ดของ DLSS ไปเผยแพร่ด้วย
NVIDIA พบว่าตัวเองถูกแฮ็กในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ หลังสอบสวนพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย และไม่โดน ransomware เรียกค่าไถ่ แต่พบว่าโดนขโมยบัญชีล็อกอินของพนักงานและข้อมูลภายในบางอย่าง
มีกลุ่มแฮ็กเกอร์ LAPSU$ จากอเมริกาใต้ออกมาอ้างว่าเป็นผู้แฮ็ก NVIDIA และขโมยข้อมูลออกมาได้ 1TB ซึ่งในนั้นมีไดรเวอร์ LHR สำหรับการใช้จีพียูขุดเงินคริปโตด้วย โดย LAPSU$ ประกาศขายข้อมูลนี้ให้กับผู้สนใจ