Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces 1.0.0 เข้าสู่สถานะ GA สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยวางตัวเป็น IDE สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes โดยเฉพาะ (Kubernetes-native)
ตัว IDE ทำงานบนเว็บทั้งหมด และตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็รันอยู่บน Kubernetes เอง ทำให้ลดระยะเวลาการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาเมื่อมีคนใหม่เข้ามาร่วมทีมงาน และทำให้สะดวกในการควบคุมไม่ให้ทีมงานนำโค้ดออกไปภายนอก
โครงการพัฒนามาจาก Eclipse Che เพิ่มชุด stack ที่ Red Hat เตรียมไว้ให้สำหรับการพัฒนาโครงการด้วยภาษาต่างๆ
ความสำคัญของการพัฒนาบนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์และระบบ orchrestration เช่น kubernetes เริ่มแสดงความสำคัญขึ้นอย่างมากในช่วงหลังที่องค์กรต้องการรูปแบบการพัฒนาที่รวดเร็ว แม้ว่า kubernetes จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แต่ก็อาจจะขาดส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับโลกองค์กรหลายประการ โดยเฉพาะการรับประกันในระยะเวลาที่ยาวนาน และฟีเจอร์สำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
โอกาสนี้ Blognone ได้พูดคุยกับคุณสุพรรณี อํานาจมงคล Senior Solutions Architect ที่ทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียนมานานกว่าสิบปี ถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
ซอฟต์แวร์ประสานงานคอนเทนเนอร์ หรือ orchrestration นั้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังเพราะมันช่วยให้องค์กรจัดการกระบวนการพัฒนาและการดีพลอยแอปอย่างเป็นระบบมากขึ้น ฝั่ง Red Hat เองก็มี OpenShift เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราสามารถดึงโค้ดมาสู่การวางระบบทั้งชุดได้ในขั้นตอนเดียว
บทความนี้เราจะทดลองใช้งาน OpenShift Online บริการคลาวด์ของ Red Hat ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถทำแอปขึ้นคลาวด์ได้โดยไม่ต้องยุ่งกับการเซ็ตอัพระบบปฎิบัติการมากนัก โดยตัว OpenShift Online นั้นเป็นบริการสำเร็จรูป หลังจากนั้นเราจะแนะนำชุดซอฟต์แวร์ Red Hat Container Development Kit (CDK) ชุดพัฒนาที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง OpenShift ขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาในเครื่องของตัวเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์
แนวทางการใช้งานคอนเทนเนอร์เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ บน Docker และแยกเซอร์วิสออกเป็นส่วนย่อยๆ (microservice) เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงหลัง เพราะช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการสภาพแวดล้อมกันพัฒนา และการขยายความสามารถของระบบได้ง่ายขึ้น แต่การเชื่อมต่อบริการขนาดเล็กเข้าด้วยกันก็ทำให้เกิดภาระใหม่คือการจัดการล็อกที่อาจจะกระจัดกระจาย, การมอนิเตอร์ส่วนต่างๆ ของซอฟต์แวร์ และการปรับสเกลให้รองรับโหลดที่มากขึ้น
ช่วงหลังโครงการ Kubernetes ของกูเกิลจึงได้รับความนิยมขึ้นมา ในฐานะซอฟต์แวร์ container orchrestration ที่ช่วยจัดการเชื่อมต่อระหว่างคอนเทนเนอร์เข้าด้วยกัน มอนิเตอร์การทำงานของคลัสเตอร์ว่ายังอยู่ในสภาพดี พร้อมกับการจัดการกระจายโหลดของบริการต่างๆ
Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี
OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)
ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่
Red Hat เผยแผนการในอนาคตของ CoreOS หลังซื้อกิจการมาในเดือนมกราคม 2018 ด้วยมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
ปัญหาของการซื้อกิจการครั้งนี้คือ CoreOS มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ทับซ้อนกับ OpenShift เพราะเป็นผลิตภัณฑ์สาย Docker/Kubernetes เหมือนกัน ทำให้ต้องเลือกว่าตัวไหนจะอยู่ตัวไหนจะเลิกทำ
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ นำแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชัน OpenShift ไปให้บริการบนคลาวด์ Azure
OpenShift เป็นแพลตฟอร์มจัดการแอพพลิเคชันสำหรับยุคคลาวด์ ตัวมันเองประกอบด้วย Docker, Kubernetes, Red Hat Atomic และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้งานสามารถรันได้ทั้งแบบ on premise และบนคลาวด์ของ Red Hat (ในชื่อ OpenShift Online)
ที่ผ่านมา Red Hat มีบริการนำ OpenShift ไปรันบนคลาวด์หลายยี่ห้อ แต่ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้ให้บริการคลาวด์อย่างไมโครซอฟท์ เข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมบริหาร OpenShift ร่วมกับ Red Hat ด้วย
Red Hat เปิดตัวบริการ OpenShift.io บริการพัฒนา microservice ครบวงจรจากโค้ดไปจนถึงการ deploy โดยมีเครื่องมือตั้งแต่การวางแผนการพัฒนา, การโค้ดและทดสอบระบบ, ระบบวิเคราะห์หารูปแบบโค้ดผิดปกติและช่องโหว่สำคัญ, ไปจนถึงการทำ continuous integration ละ continuous delivery โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเองในช่วงเริ่มโครงการ
ผู้ใช้ OpenShift.io จะได้รับสมาชิก Red Hat Developer Program ไปพร้อมกัน ทำให้สามารถใช้งานสินค้าของ Red Hat ในการพัฒนาไปได้ด้วย เช่น RHEL หรือ Jboss
บริการนี้เป็นบริการฟรี แต่จะรองรับผู้ใช้ในช่วงแรกจำกัด ผู้สนใจสามารถสมัครใช้งานได้ที่ OpenShift.io
OpenShift เป็นบริการการแพลตฟอร์ม (PaaS) ของ Red Hat ที่ให้บริการแพลตฟอร์มที่หลากหลายตั้งแต่ J2EE, PHP CodeIgnitor, ไปจนถึง Python Django และตอนนี้ก็มี OpenShift Enterprise ให้สร้างบริการบนกลุ่มเมฆภายในองค์กรได้เอง
โดยรวม OpenShift Enterprise คือการจัดชุดซอฟต์แวร์ RHEL, JBoss ที่เป็นแพลตฟอร์มหลัก, และ OpenShift Origin ระบบจัดการหน่วยสภาพแวดล้อมจำกัดสำหรับแพลตฟอร์มที่ Red Hat เรียกว่า Gear