Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 37 หลังจากต้องเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะรออุดช่องโหว่ OpenSSL ของใหม่คือ
CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020
Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่
ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน
Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora
Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมันออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว
Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
Fedora ออกเวอร์ชัน 29 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันแรกหลัง Red Hat ถูก IBM ซื้อกิจการ
ของใหม่ใน Fedora 29 คือการขยายแนวคิด Modularity ที่เริ่มใน Fedora 27 Server หรือการแยกส่วนเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ ให้สามารถติดตั้งหลายเวอร์ชันพร้อมกันได้ จากเดิมที่มีเฉพาะในเวอร์ชัน Server ไปยังเวอร์ชันย่อยอื่นๆ (เช่น Workstation) ด้วย
Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี
OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)
ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน
เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน
Red Hat เผยแผนการในอนาคตของ CoreOS หลังซื้อกิจการมาในเดือนมกราคม 2018 ด้วยมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์
ปัญหาของการซื้อกิจการครั้งนี้คือ CoreOS มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ทับซ้อนกับ OpenShift เพราะเป็นผลิตภัณฑ์สาย Docker/Kubernetes เหมือนกัน ทำให้ต้องเลือกว่าตัวไหนจะอยู่ตัวไหนจะเลิกทำ
Red Hat ประกาศซื้อบริษัท CoreOS หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ container ในราคา 250 ล้านดอลลาร์
CoreOS เป็นสตาร์ตอัพที่ก่อตั้งในปี 2013 โดยพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ขนาดเล็กชื่อ Container Linux เหมาะสำหรับ container และได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดคลาวด์ โดยมีทั้ง Google Cloud, DigitalOcean, Azure ให้การสนับสนุน
CoreOS เปิดตัวซอฟต์แวร์สตอเรจแบบกระจายตัว Torus เปิดให้เซิร์ฟเวอร์เข้ามาเมาน์เป็น block device ไปได้ และในอนาคตจะเก็บแบบออปเจกต์ได้ด้วย
ทาง CoreOS ระบุว่าระบบสตอเรจเป็นปัญหาใหญ่ของแอปพลิเคชั่นทุกวันนี้มักทำงานแบบกระจายตัวกัน และทางทีมงานก็อาศัยประสบการณ์จากการพัฒนา etcd มาใช้ในการพัฒนา Torus โดยตัว etcd เองก็ยังใช้งานเก็บ metadata ของไฟล์ใน Torus
ตอนนี้โครงการยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ก็สามารถใช้งานได้จริงแล้ว ถ้าใครอยากทดลองสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้จาก Github
ที่มา - CoreOS
rkt รันไทม์สำหรับ container จากค่าย CoreOS ประกาศออกเป็นรุ่น 1.0 แล้วหลังจากพัฒนามาตั้งแต่ปี 2014 รวมระยะเวลา 15 เดือน การส่งโค้ดมากกว่า 3,000 ครั้งและนักพัฒนากว่า 100 คน
จุดเด่นที่สุดของ rkt คือการรองรับฟีเจอร์ Intel Clear Container ที่แยกคอนเทนเนอร์ออกจากระบบปฏิบัติการหลักขาดกันมากขึ้น จากเดิมที่คอนเทนเนอร์ใช้ฟีเจอร์ cgroup ของลินุกซ์ ที่ยังผูกกับระบบปฎิบัติการของเครื่องแม่หลายส่วน
นอกจาก Clear Container แล้ว rkt ยังรองรับการคอนฟิก SELinux โดยอัตโนมัติสำหรับแต่ละ pod ที่สร้างขึ้นมา เพื่อป้องกันในกรณีคอนเทนเนอร์ถูกแฮก และ TPM
ตัว rkt ใช้ฟอร์แมตต่างกับ Docker แต่มีเครื่องมือแปลงฟอร์แมตให้อัตโนมัติ
การใช้คอนเทนเนอร์มาช่วยแยกระบบออกเป็นส่วนๆ อาจจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบโดยรวมได้ในบางกรณี แต่ปัญหาการที่นักพัฒนาไม่อัพเกรดซอฟต์แวร์ในคอนเทนเนอร์เป็นปัญหาเรื้อรัง และสร้างช่องโหว่ให้กับระบบ ล่าสุดบริการเก็บอิมเมจ Quay.io ของ CoreOS ตรวจสอบพบว่าอิมเมจที่เก็บไว้ยังมีช่องโหว่ Heartbleed ถึง 80% ทาง CoreOS จึงเปิดซอร์ส Clair เครื่องมือเตือนให้นักพัฒนารู้ว่าควรอัพเดตซอฟต์แวร์ได้หรือยัง
Clair รองรับ Debian, Ubuntu, และ CentOS และใช้ตัวจัดการแพ็กเกจพื้นฐานของระบบ (dpkg, yum) และในอนาคตจะรองรับระบบจัดการ package เพิ่มเติม
โครงการ CoreOS ประกาศทำคอนเทนเนอร์ของตัวเองในชื่อ App Container Image (ACI) แสดงความต้องการเป็นอิสระจาก Docker ตอนนี้ทั้งสองโครงการก็กลับมาร่วมมือกันได้อีกครั้งภายใต้โครงการ Open Container Project (OCP)
OCP จะพัฒนามาตรฐานคอนเทนเนอร์ให้สามารถรันบนรันไทม์ยอดนิยมได้ทุกตัว นับแต่ Docker, rkt, Kurma, และ Jetpack ตอนนี้มีผู้ผลิตและผู้ให้บริการคลาวด์จำนวนมากเข้ามาร่วมโครงการ ช่วงแรกทางโครงการจะใช้ runC จาก Docker มาเป็นรันไทม์ต้นแบบสำหรับมาตรฐานใหม่นี้
โครงการ OCP จะเป็นโครงการในความดูแลของ Linux Foundation
นับว่าจบไปอีกหนึ่งรายการวงแตกในโลกโอเพนซอร์สครับ (วิดีโอท้ายข่าวไม่เกี่ยว)
ปลายปีที่แล้ว CoreOS ไม่พอใจ Docker สร้างโครงการ Container ของตัวเองในชื่อ Rocker หรือ rkt ทำให้วงการ Container แบ่งออกเป็นสองสาย
ล่าสุด CoreOS เดินเกมดึงพันธมิตรเพิ่ม โดยกำหนดสเปกกลางของ Container ใช้ชื่อว่า App Container หรือ appc และประกาศว่าจะยกสเปกนี้ให้ชุมชนช่วยกันพัฒนา พร้อมประกาศรายชื่อบริษัทที่เข้าร่วม
appc เป็นแค่สเปกบนเอกสาร โดย rkt เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นตามสเปกนี้ ส่วนบริษัทอื่นๆ ก็ประกาศพัฒนาซอฟต์แวร์ตามสเปก appc หรือไม่ก็ส่งคนเข้าร่วมพัฒนาสเปก appc ด้วยอีกต่อหนึ่ง
CoreOS ลินุกซ์แนวคิดใหม่สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่จาก Google Ventures หน่วยลงทุนของกูเกิลเป็นจำนวนเงิน 12 ล้านดอลลาร์ (บริษัทระดมทุนแล้วทั้งหมด 20 ล้านดอลลาร์)
ในโอกาสเดียวกัน ทีมงาน CoreOS ก็เปิดตัว Tectonic ดิสโทรเชิงพาณิชย์ของโครงการโอเพนซอร์ส CoreOS (อารมณ์เดียวกับ RHEL/Fedora) โดยจะนำซอฟต์แวร์ของโครงการ CoreOS มาผนวกกับระบบบริหารจัดการ Kubernetes และซอฟต์แวร์อื่นๆ สำหรับลูกค้าองค์กร จัดเป็นแพ็กเกจสำเร็จรูปให้ใช้งานได้ง่าย
ตอนนี้ Tectonic ยังอยู่ในช่วงทดสอบกับลูกค้าบางกลุ่ม และยังไม่เปิดเผยโมเดลการคิดราคา
CoreOS ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วจากผู้ให้บริการคลาวด์ทั่วโลก ตอนนี้กลับมีปัญหากับโครงการที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ Docker จนไม่สามารถร่วมงานกันต่อ และประกาศโครงการของตัวเองชื่อโครงการว่า Rocket ในที่สุด
ทาง CoreOS ระบุว่าจากเดิมที่ Docker เคยตั้งเป้าหมายเป็นรันไทม์ (runtime) ของ container ที่ทำตามมาตรฐานที่กำหนดตอนนี้โครงการมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นมากมาย นับแต่าการสร้างอิมเมจ, รันไทม์, คลัสเตอร์, ไปจนถึงการวางเครือข่าย ทั้งหมดอยู่ในไบนารีเดียวที่รันด้วยสิทธิ์ root ทาง CoreOS ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้เพราะผู้ใช้ CoreOS เป็นลูกค้าองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง
ไมโครซอฟท์จัดงานแถลงข่าว Azure เมื่อคืนที่ผ่านมา ประกาศความร่วมมือกับคู่ค้าเพิ่มเติม ได้แก่ Cloudera ที่จะเข้ามาให้บริการ Hadoop บน Azure และ Core OS ที่เป็นลินุกซ์ดิสโทร์ที่ห้าที่ Azure รองรับ ถัดจาก CentOS, Oracle Linux, SUSE, และ Ubuntu
บริการเพิ่มเติมที่ประกาศในงาน คือ เครื่องตระกูล G ที่สามารถสร้างเครื่องบน Azure ขนาด 32 คอร์ แรม 450GB และ ดิสก์ขนาด 6.5 เทราไบต์ ใหญ่กว่าเครื่องขนาดใหญ่ที่สุดของอเมซอนในตอนนี้
นอกจากนี้ฝั่งซอฟต์แวร์ ทางไมโครซอฟท์ยังเพิ่ม Windows Azure Pack ชุดซอฟต์แวร์พอร์ทัล เพื่อให้องค์กรสามารถเปิดให้บริการผู้ใช้ภายใน โดยผู้ใช้สามารถบริการตัวเองได้แบบเดียวกับที่ใช้บริการ Azure โดยตอนนี้ชุดซอฟต์แวร์ Windows Azure Pack นี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
DigitalOcean ผู้ให้บริการ Cloud Hosting ประกาศให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ CoreOS แล้ว ซึ่งในขณะที่เขียนข่าวนี้จะเป็นเวอร์ชัน 431.0.0 (alpha) สามารถเลือกได้ในขั้นตอนการสร้าง droplet และทาง DigitalOcean เองก็ได้เขียน tutorials ไว้สำหรับศึกษาวิธี setup cluster บน DigitalOcean เองด้วย
โดยผมเองยังไม่ได้ทดลองใช้งานดูแต่อย่างใดครับ จึงไม่สามารถให้รายละเอียดได้
ที่มา - DigitalOcean
CoreOS เปิดตัวครั้งแรกช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เกือบหนึ่งปีตอนนี้กลายเป็นระบบปฎิบัติการที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว กูเกิลเองก็รองรับ CoreOS ใน Compute Engine ไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ตอนนี้ทางโครงการก็ประกาศรุ่นเสถียร (stable) รุ่นแรกออกมาแล้ว
รุ่น 367.1.0 ใช้ลินุกซ์เคอร์เนลรุ่น 3.15.2 และ Docker 1.0.1 สำหรับผู้ที่ใช้รุ่นเสถียรก็สามารถซื้อซัพพอร์ตจากทาง CoreOS ได้ โดยเริ่มต้นที่ 100 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับ 10 เซิร์ฟเวอร์
ที่มา - CoreOS
โครงการ Docker กำลังมาแรงมากๆ ในโลกฝั่งเซิร์ฟเวอร์-กลุ่มเมฆ อย่างไรก็ตาม Docker ทำตัวเป็นแค่ "ลังใส่ของ" (container) เพื่อใส่สภาพแวดล้อมของแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น สิ่งที่ยังขาดอยู่คือ "ตัวจัดการลัง" (container manager) ในกรณีที่ต้องบริหาร container เป็นจำนวนมากๆ (บริษัท Docker มีเครื่องมือชื่อ libswarm ที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนา)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กูเกิลประกาศโครงการ Kubernetes ตัวจัดการ "คลัสเตอร์" ของ container โดยมุ่งเป้าใช้งานกับ Google Compute Engine แต่ก็เปิดซอร์สโค้ดให้หน่วยงานอื่นๆ ใช้งานด้วย
โครงการ CoreOS เปิดตัวช่วงปลายปีที่แล้วโดยมีแนวคิดจากระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่มี API ให้ใช้งานชัดเจน แม้โครงการจะเริ่มต้นขึ้นจากนักพัฒนาเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง ตอนนี้กูเกิลก็รองรับ CoreOS บน Google Compute Engine (GCE) เป็นทางการแล้ว
ความสำเร็จของ Android, iOS, และ ChromeOS นั้นเปลี่ยนแนวคิดของคอมพิวเตอร์ในแบบเดิมๆ ไปมาก จากเดิมที่ระบบปฎิบัติการนั้นจะควบคุมเพียงบางส่วน และเปิดให้นักพัฒนาเข้าไป "ยุ่ง" แทบทุกส่วนได้อย่างอิสระ แต่ระบบที่ควบคุมแอพพลิเคชั่นอย่างมากเช่นทุกวันนี้กลับสามารถควบคุม API ในการพัฒนาให้ชัดเจน มีการซัพพอร์ตอย่างทั่วถึง และแม้อัพเดตก็สามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่มีปัญหามากนัก
ทีมสตาร์ตอัพทีมใหม่ที่ชื่อว่า CoreOS กำลังใช้แนวคิดนี้ในการพัฒนาระบบปฎิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ โดยสร้างระบบปฎิบัติการที่ล็อกทุกส่วนออกจากแอพพลิเคชั่น ทำให้ระบบปฎิบัติการสามารถอัพเดตได้ทันทีที่มีแพตซ์ใหม่ออกมา และมี API ในการพัฒนาอย่างชัดเจน