พลังจากที่วางตลาด EOS 400D ให้สาวกช้ำใจกันไปแล้วครั้งหนึ่ง แคนนอนยังคงเดินหน้าอัพเกรดกล้อง DSLR รุ่นเล็กสุดในตระกูลเลขสามตัวอย่างรวดเร็ว ล่าสุดในงาน PMA 2008 แคนนอนก็เปิดตัว EOS 450D อย่างเป็นทางการแล้ว ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนกว่าเมื่อครั้งวางตลาด 400D ค่อนข้างมาก
รอบนี้ EOS 450D มาพร้อมกับหน้าจอ Live-view ขนาด 3 นิ้ว, เซ็นเซอร์ 12.2 ล้านพิกเซล, ช่องมองภาพที่ใหญ่ขึ้นจนเกือบเท่ากับ EOS 30D, พร้อมๆ กับเปลี่ยนฟอร์แมตจาก CF ไปเป็น SDHC ที่ราคาถูกและได้รับความนิยมสูงกว่า, และรองรับการถ่ายภาพความเร็วสูงที่ 3.5 ภาพต่อวินาทีต่อเนื่องถึง 53 ภาพสำหรับ JPEG และ 6 ภาพสำหรับ RAW
หลังจากปล่อยให้แคนนอนได้ปล่อยเลนส์ IS ซึ่งมีความสามารถในการลดความสั่นไหวของภาพได้ในราคาเพียง 199 ดอลลาร์ นิคอนก็เริ่มปล่อยหมัดสวนมาอีกครั้งด้วย AF-S DX NIKKOR 18-55mm f/3.5-5.6G VR ที่มีราคาตั้งอยู่ที่ 199 ดอลลาร์เช่นกัน
นิคอนอ้างว่าชุดลดความสั่นไหวนี้สามารถช่วยให้ถ่ายภาพได้คมชัดในสภาวะที่แสงน้อยกว่าปรกติถึง 3 สตอป เทียบกันแคนนอนที่อ้างว่าทำได้ถึง 4 สตอป แน่ตัวเลขนี้เป็นการอ้างจากผู้ผลิตเอง เอาเข้าจริงเราคงต้องไปลองกันที่ร้านให้รู้แจ้ง
กล้อง EOD-1D Mark III ถือเป็นกล้องรุ่นสูงสุดของแคนนอนในตอนนี้เริ่มได้รับการยืนยันว่ามีปัญหาบางส่วนในระบบโฟกัสทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพได้อย่างถูกต้องในบางเงื่อนไข โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนทำให้ระบบ AI Servo ทำงานผิดพลาดแม้วัตถุจะไม่ได้เคลื่อนที่ไปมากนัก โดยทางแคนนอนเชื่อว่ามีกล้องเพียงส่วนน้อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
แคนนอนประเทศจีนประกาศเรียกคืนกล้อง A650 IS เนื่องจากมีอาการแสงรั่วเข้าสู่เซ็นเซอร์ขณะที่ถ่ายภาพในแสงจ้า ทำให้มีแสงบางส่วนรั่วเข้าไปสู่ตัวเซ็นเซอร์ได้ โดยในตอนนี้การเรียกคืนยังจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น โดยยังไม่มีรายงานว่าประเทศอื่นๆ จะมีการเรียกคืนแแบบเดียวกันหรือไม่
ว่าจะซื้อมาใช้อยู่เลย....
ที่มา - Engadget, Canon (China)
กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ เราอาจจะเห็นระบบตรวจจับใบหน้ากันเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องดิจิตอลบอกได้ด้วยว่าหน้าที่อยู่ในกล้องนั้นยิ้มแย้มดีแค่ไหน เรื่องนี้กำลังจะไม่ไกลเกินความจริงเมื่อบริษัท Omron ได้เสนอซอฟต์แวร์ที่สามารถประมวลผลภาพและบอกได้ว่าหน้าใดในภาพบ้างกำลังยิ้ม และที่เท่กว่านั้นคือยังบอกได้ด้วยว่ายิ้มมากน้อยเพียงไร
โปรแกรมที่ว่านี้จะให้คะแนนระดับความยิ้มแย้มตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยสามารถบอกได้แม้แต่หน้าที่ไม่ได้มองกล้องโดยตรงก็ตาม ที่น่าสนใจคือความเร็วที่ทำได้ค่อนข้างดี โดยทาง Omron อ้างว่าโปรแกรมสามารถให้คำตอบได้ใน 0.044 วินาทีเมื่อใช้เครื่องเดสก์ทอปประมวลผลภาพ
คาสิโอนับเป็นผู้ผลิตกล้องดิจิตอลระดับคอนซุมเมอร์รายแรกๆ ของโลก ที่เงียบหายไปในช่วงหลัง แต่การกลับมาครั้งนี้ก็นับว่าเรียกเสียงฮือฮาได้เป็นอย่างดีเมื่อกล้องตัวล่าสุดของคาสิโอนั้นสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที ที่ความละเอียด 6 ล้านพิกเซล
กล้องตัวนี้มาพร้อมกับเลนส์ซูม 12 เท่าเทียบเท่ากับระยะโฟกัสที่ 35-420 มิลลิเมตร นอกจากจะสามารถเก็บภาพความละเอียดเต็มที่อัตราเฟรม 60 ภาพต่อวินาทีแล้ว กล้องตัวนี้ยังสามารถเก็บภาพเคลื่อนไหวที่ความละเอียดระดับ VGA โดยยังได้อัตราเฟรมเป็น 300 เฟรมต่อวินาทีอีกด้วย
หลังจากแคนนอนเปิดตัว 1Ds MKIII และ 40D เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว คู่แค้นอย่างนิคอนก็ได้เปิดตัวกล้องของตนออกมาติดๆ กันถึง 2 รุ่นออกมาเกทับทันทีครับ
ตัวแรกคือ Nikon D3 ซึ่งเป็นรุ่นสูงที่สุดของนิคอนในตอนนี้ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
ข้อด้อยอย่างหนึ่งของแคนนอนต่อคู่แข่งหลายๆ ค่ายคือการที่ไม่ยอมพัฒนาเทคโนโลยี Anti-Shake ที่ใช้การเคลื่อนตัวของเซ็นเซอร์เพื่อชดเชยความสั่นไหวของตัวกล้อง ซึ่งจะส่งผลต่อเลนส์ทุกตัวให้ทนต่อความสั่นไหวได้ดีขึ้น โดยแคนนอนเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ไม่มีทางดีไปกว่าการใช้เทคโนโลยี Image Stabilizer (IS) ที่ใช้การเคลื่อนตัวเลนส์เพื่อชดเชยความสั่นไหวไปได้
ปัญหาคือในตอนนี้เองเทคโนโลยี IS นั้นมีใช้งานเฉพาะในเลนส์ราคาแพง (เกิน 20,000 บาท) เท่านั้น แต่ดูเหมือนว่าข้อด้อยนี้กำลังถูกกำจัดไปเมื่อทางแคนนอนได้พัฒนาชุดกลไกเทคโนโลยี IS ขึ้นใหม่เพื่อใช้ในเลนส์ราคาถูกของทางแคนนอนเอง
หลังจากเป็นข่าวลือมาพักใหญ่ๆ แคนนอนก็เปิดตัวสองกล้องรุ่นใหญ่ตามคาดการณ์แล้ว แม้จะหักธงหลายๆ สำนักที่ว่าจะมีการเปิดตัวกล้องเหล่านี้ตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กล้องสองตัวที่จะวางตลาดนั้นคือ 1Ds Mark III และ 40D
EOS-1Ds Mark III นั้นเป็นกล้องรุ่นสูงสุดของแคนนอนในตอนนี้ มาพร้อมกับ CMOS ขนาด 21.1 ล้านพิกเซล ที่ให้ความละเอียดแสง 14 บิต, ชิปประมวลผล DiGiC III, จอภาพขนาด 3 นิ้วพร้อม Live View, จุดโฟกัส 45 จุด (เลือกได้เอง 19 จุด) และรองรับการ์ดแบบ UDMA CF ที่ให้ความเร็วสูงมาก
ขณะที่ทางแคนนอนมีเลนส์ USM ใช้กันเป็นเรื่องปรกติ ทางฝั่งนิคอนนั้น เลนส์ Slient Wave ยังมีจำนวนไม่มากนัก และราคาค่อนข้างแพง งานนี้ทาง Simga ผู้ผลิตเลนส์อิสระที่มีเทคโนโลยี HSM (Hyper-Sonic Motor) อยู่ในมือจึงได้เวลาปล่อยเลนส์สองตัวที่ใช้เทคโนโลยีนี้มาให้กับผู้ใช้กล้องนิคอน
เลนส์สองตัวที่ว่าคือ 17-70mm F2.8-4.5 DC MACRO HSM และ 18-50mm F2.8 EX DC MACRO HSM โดยทั้งสองตัวประกอบด้วยชิ้นเลนส์ Special Low Dispersion (SLD) และ Aspherical ทั้งคู่ ส่วนตัว 18-50 นั้นยังใส่ เลนส์ ELD (Extraordinary Low Dispersion) เข้ามาด้วย
ยังไม่มีภาพตัวอย่างหรือราคาทางการจากเลนส์ทั้งสอง
หลายๆ คนแถวๆ นี้อาจจะได้ยินชื่อของ MOO บริษัทรับพิพม์ภาพภ่ายในแบบเล็กๆ กันมาบ้างแล้ว สินค้าที่ได้รับความนิยมมากๆ ของบริษัทนี้คือ mini card ที่สามารถเลือกภาพจาก Flickr มาพิมพ์เป็นนามบัตรได้ทันที ตอนนี้บริษัทนี้อาจจะเป็นที่สนใจของสาวๆ ที่เล่น Flickr กันมากขึ้น ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่ StickerBooks ที่เป็นสติกเกอร์เล่มเล็กๆ จำนวน 90 ภาพ
ที่น่าสนใจคือบริษัทนี้คิดค่าส่งอัตราเดียวทั่วโลกมาตั้งแต่แรก และตอนนี้ในช่วงเปิดตัวสินค้าใหม่นี้ค่าส่งฟรี ดังนั้นถ้าใครมีรูปใน Flickr เยอะๆ อาจจะสนใจกัน
ที่มา - MOO
หลังจากปล่อยแฟนๆ รอกันมานานเกินคาด โดยที่หลายๆ คนโล่งใจว่าราคากล้องของตัวเองจะไม่ตกเร็วเกินไปมาได้พักใหญ่ๆ ดูเหมือนว่าแคนนอนกำลังจะเปิดตัว EOS 40D ในเร็วๆ นี้แล้ว เมื่อชื่อของมันถูกระบุจากทาง CIPA ว่าเป็นกล้องตัวล่าสุดของแคนนอนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PictBridge
รายการจากทาง CIPA เพิ่งได้รับการอัพเดตไปเมื่อวันก่อน และยังไม่มีการยืนยันว่ารายการนี้เป็นความผิดพลาดในการประสานงานที่ไม่รอการเปิดตัวกล้อง หรือเป็นการพิมพ์ผิด
หรือไม่ก็ไม่มีใครสนใจจะปกปิดการเปิดตัวสินค้าแบบแอปเปิล?
ดูเหมือนว่าการเปิดโรงงานใหม่ของแคนนอนจะเป็นการตอบโต้การลงทุนของทางโซนี่ เมื่อนักข่าวของทาง DPReview ได้พบว่าก่อนหน้าที่ทางแคนนอนจะประกาศลงทุนโรงงานใหม่อยู่หลายวันทางโซนี่ได้ประกาศลงทุนในโรงงานแบบเดียวกันเป็นมูลค่าถึง 60,000 ล้านเยน โรงงานใหม่นี้จะตั้งอยู่ในศูนย์ของทางโซนี่ในเขต Kumamoto โดยกินพื้นที่กว้าง 5,000 ตารางเมตร (นับเฉพาะส่วนที่เป็น Clean Room) ทำหน้าที่ผลิตชิป CMOS เพื่อใช้ในงานโทรศัพท์ และกล้องดิจิตอล
การลงทุนกินช่วงเวลาสามปีตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2009 เพื่อเสริมกำลังผลิต CMOS ที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยก่อนหน้านี้ทางโซนี่ได้รับโรงงานในศูนย์เดียวกันให้มาผลิต CMOS อย่างต่อเนื่องอยู่ก่อนแล้ว
สงสัยจะหมดยุคเถียงกันว่า CMOS กับ CCD ใครดีกว่ากันแล้วแฮะ
หลายๆ คนที่ตามข่าวกล้องดิจิตอลมาเรื่อยๆ คงรู้กันว่าแคนนอนนั้นมีแนวทางการใช้งานเซ็นเซอร์ที่ต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เพราะแคนนอนนั้นใช้งานเซ็นเซอร์ในเทคโนโลยี CMOS เป็นหลัก ต่างจากเจ้าอื่นๆ ที่ใช้ CCD แทบทั้งหมด แต่การใช้งาน CMOS ในทุกวันนี้เองทางแคนนอนก็ยังใช้งานเฉพาะในกล้อง DSLR และกล้องคอมแพคระดับสูงเท่านั้น เนื่องจากกำลังผลิตมีจำกัด โดยกล้องรุ่นเล็กจะมีการสั่ง CCD จากผู้ขายรายอื่นๆ เช่น โซนี่ มาใช้ในการผลิตแทน
แต่หลังการเปิดตัวโรงงานแห่งใหม่ แคนนอนจะมีกำลังการผลิต CMOS ต่อปีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากเดิมสามล้านชิ้นต่อปีกลายเป็น 6 ล้านชิ้นต่อปีโดยประมาณ ทำให้มีแนวโน้มว่าแคนนอนกำลังเตรียมตัวเปลี่ยนเซ็นเซอร์มาใช้งาน CMOS มากขึ้นเรื่อยๆ