Proton Mail & Proton VPN
ProtonMail เปิดให้บริการเก็บข้อมูลที่อยู่ติดต่อแบบเข้ารหัส หลังจากที่พัฒนามาแล้วนับปี โดย ProtonMail กล่าวว่าบริการนี้ถือเป็นบริการจัดการที่อยู่ติดต่อที่ปลอดภัยเป็นบริการแรก ใช้ระบบเข้ารหัสแบบที่ไม่มีใครเข้าถึงได้นอกจากผู้ใช้เอง (zero-access encryption)
ตัวอย่างของผู้ใช้ ProtonMail ที่จะใช้ระบบนี้ เช่น นักข่าวที่มีแหล่งข่าวที่ต้องปิดเป็นความลับ โดยข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และที่อยู่จะถูกเข้ารหัสแบบ zero-access แต่ยกเว้นอีเมลเท่านั้นเนื่องจาก ProtonMail จะต้องใช้ข้อมูลอีเมลในการทำฟิลเตอร์
ProtonVPN บริการ VPN จากผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัส ProtonMail ได้เปิดตัวเวอร์ชันฟรีให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งาน เพิ่มเติมจากเวอร์ชันเสียเงิน
สำหรับ ProtonVPN นี้เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมีนาคม และเพิ่งให้บริการจริงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการคิดค่าบริการใช้งาน VPN ตั้งแต่ 4-24 ดอลลาร์ต่อเดือน (ตามแพคเกจที่ผู้ใช้เลือก) โดยการเปิดให้บริการเวอร์ชันฟรีนี้ก็มาพร้อมกับข้อจำกัดบางส่วนด้วยเช่นกัน
ข้อจำกัดของ ProtonVPN เวอร์ชันฟรี คือสามารถใช้งานได้เพียงอุปกรณ์เดียวเท่านั้น, ถูกจำกัดความเร็ว และสามารถ VPN ไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้เพียงแค่ 3 ประเทศ แต่มีข้อดีคือไม่จำกัดปริมาณข้อมูล และ ProtonMail ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการมอนิเตอร์ทราฟฟิกของผู้ใช้ หรือขายข้อมูลใด ๆ
ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสสุดปลอดภัย ที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ขยายธุรกิจมายังบริการใกล้เคียง ProtonVPN
กลุ่มเป้าหมายของ ProtonVPN คือลูกค้ากลุ่มเดียวกับที่ใช้ ProtonMail ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง หลบเลี่ยงการสอดแนมจากรัฐบาลทั่วโลก โดยยังคงความน่าเชื่อถือจากชื่อ ProtonMail ว่าจะรักษาความลับของลูกค้า VPN เป็นอย่างดี บวกการกระจายทราฟฟิกที่เข้ารหัสไปยังหลายประเทศเพื่อให้ตามรอยได้ยาก (เซิร์ฟเวอร์มีใน 14 ประเทศ)
ProtonMail บริการอีเมลเข้ารหัสที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ ได้เปิดให้บริการเว็บไซต์ผ่านเครือข่าย Tor แล้ว ที่อยู่ onion คือ https://protonirockerxow.onion เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าใช้งาน ProtonMail แบบไม่ระบุตัวตน
ProtonMail กล่าวว่า ความเชื่อที่ว่า HTTPS นั้นปลอดภัยเพียงพอแล้วเป็นสิ่งที่ต้องการพิชิตให้ได้ ลองนึกถึงกรณีที่ CA นับร้อยใบที่จะได้รับการเชื่อถือเป็นค่าเริ่มต้น ซึ่ง CA หลายใบอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในประเทศที่มีความเสี่ยงสูง การใช้ไซต์ onion จะทำให้อีเมลได้รับการปกป้องชั้น 3 ของการเข้ารหัส คือ Tor จะเข้ารหัสในชั้นนอกสุด, HTTPS เข้ารหัสชั้นกลาง และ PGP คือชั้นในสุด
ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสความปลอดภัยสูง ได้เปิดรับอาสาสมัครแปลภาษาของบริการให้อยู่ในภาษาอื่น ๆ ในชื่อโครงการว่า ProtonMail Translation Project
สำหรับโครงการดังกล่าวของ ProtonMail เปิดให้ผู้ใช้ที่สนใจแปลภาษาทุกคนสามารถเข้ามาลงชื่อได้ โดยผู้ที่แปลภาษาจะไม่ได้เงิน แต่ ProtonMail อาจมอบของขวัญให้ เช่น gift card สำหรับซื้อสินค้ากับ ProtonMail หรือสิทธิในการใช้งานบัญชีแบบโปรฟรี
ProtonMail ได้เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งานแบบไม่ต้องมีคำเชิญมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2015 ซึ่งทางบริการก็เริ่มมีผู้ใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงที่ Yahoo! ถูกแฮกก็มีผู้ที่ใช้งานสูงขึ้นอีกมาก
ProtonMail บริการอีเมลเข้ารหัสที่โฆษณา NSA เจาะไม่เข้า ได้ออกมาเปิดเผยว่าจำนวนผู้ใช้งานอีเมลพุ่งสูงขึ้นมากหลังจากที่มีข่าว Yahoo! ถูกแฮกกว่าพันล้านบัญชี
Andy Yen ผู้ร่วมก่อตั้ง ProtonMail กล่าวในอีเมลที่ส่งมาให้ VentureBeat ว่า หลังจากข่าว Yahoo! จำนวนผู้ใช้งานก็พุ่งสูงขึ้นสองเท่า แต่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือผู้ใช้จากเยอรมนีหลังจากที่รัฐบาลแนะนำให้หยุดใช้ Yahoo! Mail
ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสที่โฆษณาว่า NSA เจาะไม่เข้า ตั้งเซิฟเวอร์อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกมากล่าวหากูเกิลว่าลดระดับเว็บไซต์ของตนจากผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม
บริษัท ProtonMail เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งในขณะนั้นหากผู้ใช้ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดอย่าง "encrypted email" หรือ "secure email" ก็จะเจอเว็บไซต์ของ ProtonMail อยู่บนหน้าแรกหรือหน้าที่ 2 ของผลการค้นหา แต่หลังจากนั้นราวปลายปี 2015 อันดับของ ProtonMail ก็ร่วงไปไกล โดยบริษัทบอกว่าค่อยๆ ตกไปอยู่ถึงหน้าที่ 5, 10 และในฤดูใบไม้ผลิของปี 2016 ก็หายไปจากผลการค้นหาเลย
บริการ ProtonMail อีเมลเข้ารหัสปลายทางถึงปลายทาง (end-to-end) เปิดให้บริการทั่วไปแล้วหลังจากเปิดบริการแบบต้องได้รับคำเชิญตั้งแต่ปี 2014 พร้อมกับเปิดตัวแอปบนแอนดรอยด์และ iOS
บริการ ProtonMail จะเข้ารหัสอีเมลที่เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ด้วยรหัสผ่านคนละชุดกับรหัสผ่านล็อกอิน หากเราลืมรหัสผ่านสำหรับปลดล็อกอีเมล แม้จะล็อกอินได้แต่ก็ไม่สามารถอ่านอีเมลเก่าๆ ได้อีก ส่วนการส่งอีเมลหาผู้ใช้คนอื่นนอก ProtonMail หากเลือกบริการเข้ารหัสจะกลายเป็นลิงก์ให้ปลายทางเข้ามาเปิดอ่าน โดยต้องมีรหัสตกลงระหว่างกันล่วงหน้า
ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัส ถูกขู่จากกลุ่มแฮกเกอร์เรียกค่าคุ้มครองก่อนจะถูกยิง DDoS เป็นการเตือน จนกระทั่งเว็บเข้าใช้งานไม่ได้ไป 15 นาที และหลังจากนั้นอีกวันก็เริ่มถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งแบนวิดท์เกิน 100Gbps ต่อเนื่อง กระทบผู้ใช้บริการศูนย์ข้อมูลเดียวกันทั้งหมด
ทาง ProtonMail ระบุว่าถูกกดดันให้ยอมจ่ายค่าคุ้มครองนี้ไปเสีย และสุดท้ายทางบริษัทก็ยอมจ่าย แต่การโจมตีก็ยังไม่หยุด จนกระทั่งทาง ISP ตัดสินใจหยุดประกาศเน็ตเวิร์คของ ProtonMail แทนเพื่อให้หยุดทราฟิกที่ยิงเข้ามา
ข่าวการเจาะระบบถอดรหัสของ NSA เมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้ทีมนักวิจัยจากสถาบัน CERN ในสวิตเซอร์แลนด์พยายามหาวิธีแก้ปัญหานี้ เวลาผ่านมาประมาณหนึ่งปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ ProtonMail บริการเว็บเมลฟรีที่โฆษณาว่า "NSA เจาะไม่เข้า"
ฟีเจอร์หลักของ ProtonMail คือการเข้ารหัสจากปลายทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption - บทความอ่านประกอบ) โดยกระบวนการเข้ารหัสจะอยู่ที่เครื่องของเรา ไม่ได้อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ ProtonMail ทำให้ ProtonMail ก็ไม่สามารถอ่านอีเมลของเราได้