Google Search เพิ่มของเล่นสนุกๆ ประจำวัน เมื่อเราค้นหาชื่อ Pokemon (เฉพาะ Gen 1 จำนวน 151 ตัวแรกใน Pokedex) จะมี Pokemon ตัวนั้นโผล่ขึ้นมาให้จับบนหน้าจอ
หน้าที่ของเราคือต้องนำชื่อ Pokemon ทั้ง 151 ตัวมาค้นหาให้ครบตาม Pokedex โดยมีลูกเล่นว่า Pokemon หายากๆ บางตัวจำเป็นต้องเก็บ Master Ball จากการจับ Pokemon ทั่วไปตามจำนวนที่กำหนดก่อน จึงจะสามารถจับได้
ฟีเจอร์นี้ใช้ได้เฉพาะ Google Search บนมือถือเท่านั้น สามารถเล่นได้แล้วตอนนี้
ที่มา - Pokemon
กูเกิลเพิ่มการแสดงข้อมูลพยากรณ์อากาศฝนตกสำหรับผู้ใช้งานในทวีปแอฟริกาผ่าน Google Search ที่มีความละเอียดแม่นยำมากขึ้น โดยใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ MetNet ร่วมกับข้อมูลจากดาวเทียม เพื่อแก้ปัญหาเรดาร์วัดเมฆฝนที่ไม่ครอบคลุมในพื้นที่ทวีปแอฟริกา
จำนวนสถานีเรดาร์วัดปริมาณฝนในแอฟริกามีเพียง 37 แห่งทั่วทั้งทวีป เทียบกับทวีปอเมริกาเหนือที่มี 291 แห่ง ทำให้ที่ผ่านมาข้อมูลพยากรณ์ฝนในพื้นที่ขาดความแม่นยำ
โมเดล MetNet สามารถพยาการณ์ปริมาณฝนได้แม่นยำสูงในรัศมี 5 กิโลเมตรสำหรับผู้ใช้งานที่ระดับทุก 15 นาที ภายในเวลา 12 ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาประมวลผลเพียง 1 นาทีเท่านั้น
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างบน Google Search, Google Maps และ Gemini สำหรับวางแผนการท่องเที่ยวเดินทาง ก่อนเข้าสู่ฤดูร้อน มีรายละเอียดดังนี้
สองฟีเจอร์นี้เปิดให้ใช้งานกับผู้ใช้งานทั่วโลกแล้ว
นอกจากแอปเปิลแล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ได้ออกคำเตือนไปยัง Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล เรื่องพบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DMA ของยุโรปใน 2 บริการ ซึ่งมีสถานะ Gatekeeper ที่เป็นแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานจำนวนมาก สามารถจำกัดการเข้าถึงของคู่แข่งได้
บริการแรกคือ Google Search โดย EC ระบุว่ากูเกิลเลือกแสดงผลค้นหา ส่วนที่เป็นบริการของกูเกิลเองเช่น ช้อปปิ้ง, จองโรงแรม, การเงิน และผลการแข่งขันกีฬา มีตำแหน่งที่โดนเด่นหรือได้อันดับที่สูงกว่า มองเป็นการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมต่อเว็บไซต์ภายนอก
Perplexity บริการค้นหาข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ ออกหนังโฆษณาใหม่ เพื่อนำเสนอความสามารถค้นหาคำตอบได้ตรงประเด็นและรวดเร็ว ซึ่งนำแสดงโดยลีจองแจ นักแสดงนำจากซีรีส์ Squid Game
หนังโฆษณาเล่าสถานการณ์ที่ลีจองแจติดในห้องกับดักปริศนา โดยต้องตอบคำถามให้เร็วที่สุด ตอนแรกเขาใช้บริการค้นหาข้อมูลชื่อ Poogle แต่พบผลลัพธ์จากคำค้นหาจำนวนมากให้ต้องกดดูต่อ จึงสลับมาใช้ Perplexity แทน ที่ให้คำตอบเป็นเสียงและถูกต้อง
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างให้กับผู้ใช้งาน Gemini ซึ่งมีทั้งส่วนที่เพิ่มความสามารถในการคิด และส่วนที่ทำให้ Gemini ตอบคำถามแบบปรับแต่งค่าตามความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละคน
ของใหม่อย่างแรก กูเกิลบอกว่าได้อัปเกรด Gemini 2.0 Flash Thinking Experimental รองรับการอัปโหลดไฟล์ ตอบคำถามแบบเป็นขั้นตอนที่ละเอียดขึ้น มีประสิทธิภาพการตอบสนองเร็วขึ้น โดยลูกค้า Gemini Advanced ยังใช้อินพุทได้สูงสุด 1M โทเค็น จึงเหมาะกับการวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่
นักวิเคราะห์จาก Barclays บอกว่า Google Search ยังเติบโตได้แม้ ChatGPT จะเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากส่วนแบ่งของ Google ครองตลาดต่อเนื่อง และเติบโตมากกว่า 20% นับตั้งแต่ ChatGPT เปิดตัว
ขณะที่ Google ออกรายงานล่าสุดว่า ตอนนี้ Search ถูกใช้งานมากกว่า 5 ล้านล้านครั้งต่อปี จากที่เคยมีประมาณ 3.5 ล้านล้านการค้นหาในต้นปี 2023
ส่วนจำนวนผู้ใช้งาน ChatGPT ต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ในเดือนพฤศจิกายน 2023 มีผู้ใช้งานต่อสัปดาห์ที่ 100 ล้านคน และในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เพิ่มขึ้นถึง 400 ล้านคน
เมื่อปีที่แล้วหลังศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีกูเกิลผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search Engine) ว่ามีการผูกขาดจริง ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นเรื่องให้ศาลมีคำสั่งแยก Chrome ออกมาจาก Google เป็นอีกบริษัท โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในยุคประธานาธิบดี Joe Biden จึงเกิดประเด็นว่าทิศทางจะเปลี่ยนหรือไม่ในยุค Donald Trump
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ปรับปรุงข้อเสนอต่อศาลรัฐบาลกลางเรื่องนี้ แต่ยกเลิกเฉพาะส่วนที่ระบุว่า Google และ Alphabet บริษัทแม่ ต้องขายเงินลงทุนในบริษัท AI คู่แข่งอื่น เช่น Anthropic โดยมองว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการผูกขาดบริการค้นหาข้อมูล ส่วนประเด็นที่ต้องแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัทนั้นยังอยู่ในข้อเสนอต่อไป
กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ "AI Mode" ให้ Google Search มันคือการยกระดับฟีเจอร์ AI Overview ที่สรุปคำตอบแบบสั้นๆ ให้ตอบยาวขึ้น เหมือนการแชทคุยกับ Gemini โดยตรง แต่ทำได้จากหน้า Search โดยตรง
AI Mode ไม่ได้มาแทน AI Overview โดยตรง แต่เป็นโหมดเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการรายละเอียดมากขึ้น เบื้องหลังการทำงานของมันใช้โมเดล Gemini 2.0 เวอร์ชันคัสตอม ที่มีการให้เหตุผลมากขึ้น คิดนานขึ้น รองรับชนิดอินพุตหลายรูปแบบ (multimodal) ผสมผสานกับคลังข้อมูลของ Google Search ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ตอบคำถามที่ยากๆ ได้
กูเกิลเคยออกฟีเจอร์ชื่อ Results About You ในปี 2022 เพื่อให้เราดูได้ว่าถ้าเอาชื่อตัวเองไปหาใน Google Search จะเจออะไรบ้าง และสามารถขอลบข้อมูลของตัวเองออกได้
ปี 2025 กูเกิลปรับหน้าตาของ Results About You ใหม่ โดยตอนนี้แสดงในหน้า Google Search โดยตรง (ก่อนหน้านี้มีแต่ใน Account Settings) โดยเราสามารถค้นหาชื่อตัวเองใน Search แล้วกดตรง ... ในผลการค้นหาแต่ละลิงก์ เพื่อยื่นคำขอลบออกได้
Chegg บริษัทแพลตฟอร์มการศึกษาหรือ EdTech ได้ยื่นฟ้องกูเกิลต่อศาลแขวงแห่งเขตโคลัมเบีย โดยระบุว่าฟีเจอร์ AI Overviews ที่ใช้ Generative AI เขียนคำตอบในหน้าผลการค้นหา ส่งผลกระทบต่อทราฟิกและรายได้ของ Chegg
รายละเอียดการฟ้องนั้น Chegg บอกว่าที่ผ่านมาระบบค้นหาของกูเกิล กึ่งบังคับให้แพลตฟอร์มอย่าง Chegg ต้องสร้างเนื้อหาที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทไปอยู่ในผลค้นหา จากนั้นกูเกิลก็นำเนื้อหาเหล่านั้นมาหาผลประโยชน์โดยไม่ต้องจ่ายเงินให้ Chegg เลย ซึ่ง Chegg อ้างข้อมูลว่ากูเกิลได้นำชุดคำถามคำตอบกว่า 135 ล้านคำถามบนแพลตฟอร์ม Chegg ไปใช้ฝึกฝน AI โดยเทียบผลลัพธ์ที่ไปอยู่ใน AI Overviews แถมยังลดอันดับผลค้นหาที่ไปยัง Chegg ด้วย
กูเกิลเพิ่มความสามารถ Circle to Search ที่ให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลจากสิ่งที่อยู่บนหน้าจอได้ สำหรับผู้ใช้ iOS ผ่านการใช้งาน Chrome หรือแอป Google แล้ว
ในการเรียกใช้งานบน Chrome ให้กดปุ่ม 3 จุดแล้วเลือก Search Screen with Google Lens จากนั้นวงหรือแตะส่วนที่สนใจเพื่อค้นหาข้อมูล โดยกูเกิลจะเพิ่มปุ่ม Lens แบบเดียวกับ Chrome บนเดสก์ท็อปเร็ว ๆ นี้ ส่วนการใช้งานในแอป Google ให้เรียกใช้งานจาก Search this Screen
อัปเดตนี้จะทยอยให้กับผู้ใช้งาน Chrome และ Google iOS ในสัปดาห์นี้ มีผลทั่วโลก
Google Search ประกาศเปลี่ยนวิธีแสดงผล URL ในหน้าผลการค้นหาบนมือถือ (mobile search results) ที่เดิมทีแสดง breadcrumb หรือพาธต่อท้าย URL เหมือนกับเวอร์ชันเดสก์ท็อป (ภาพบน) จะลดเหลือการแสดงผลเฉพาะโดเมนเนมเพียงอย่างเดียว (ภาพล่าง)
กูเกิลให้เหตุผลว่าการแสดงผล breadcrumb บนมือถือไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะพื้นที่หน้าจอมีขนาดจำกัด จึงเลือกตัด breadcrumb ออกเพื่อให้มีพื้นที่แสดงโดเมนเนมเด่นชัดขึ้นแทน ส่วนเวอร์ชันเดสก์ท็อปยังแสดง breadcrumb ตามปกติ
การเปลี่ยนแปลงเริ่มมีผลแล้ววันนี้กับ Google Search ในทุกภาษาและทุกภูมิภาค
ที่มา - Google Search Central
มีรายงานจากผู้ใช้กูเกิลที่ปิด JavaScript บนเบราว์เซอร์ พบข้อความเตือนว่าไม่สามารถใช้งานระบบค้นหาหรือ Google Search ได้ ซึ่งกูเกิลยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้จริง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้งาน Google Search ต้องเปิด JavaScript เพื่อการป้องกันที่ดีขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่น บอต สแปม และทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีมากขึ้นด้วย
กูเกิลยังบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ผู้ใช้งานที่กระทบมีไม่มาก เพราะการใช้งานระบบค้นหามีน้อยกว่า 0.1% ที่ปิด JavaScript จากจำนวนการค้นหากว่า 8,500 ล้านครั้งต่อวัน (ซึ่งคิดกลับแล้วก็เป็นหลักล้านอยู่ดี)
ไมโครซอฟท์อัปเดตการแสดงผลการค้นหาที่น่าสนใจ โดยเมื่อผู้ใช้งาน "ค้นหาผ่าน Bing" ด้วยคำว่า Google หรือ Google.com ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา เป็นรูปภาพตรงกลางขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนหลายคน และมีกล่องค้นหาขนาดใหญ่อยู่ด้านล่าง พร้อมข้อความประกอบ ซึ่งหากมองเผิน ๆ รูปแบบการจัดวางนั้นก็เหมือนกับหน้าแรกของ Google ซึ่งกล่องค้นหานี้ก็ยังเป็น Bing ส่วนลิงก์ที่ไปเว็บ Google อยู่ที่ด้านล่างอีกที
เดิมหากค้นหาคำว่า Google ใน Bing ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการแสดงรายชื่อเว็บไซต์ตามปกติ และ Google.com ก็อยู่ด้านบนสุดในหน้าผลค้นหา
มีความคืบหน้าคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องกูเกิลเรื่องการผูกขาดธุรกิจระบบค้นหา (Search) และศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง ซึ่งกูเกิลก็เตรียมอุทธรณ์ ขณะเดียวกันศาลก็สั่งให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และกูเกิล เสนอแผนเยียวยาที่เป็นผลจากการผูกขาด
ประเด็นหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้เป็นข้อมูลเพื่อแสดงว่ากูเกิลพยายามผูกขาดธุรกิจค้นหา คือการจ่ายเงินให้แอปเปิลจำนวนมากทุกปี แลกกับการเป็นระบบค้นหาค่าเริ่มต้น (default) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐบอกว่าถ้ากูเกิลต้องเลิกจ่ายเงินส่วนนี้ แอปเปิลก็จะพัฒนาระบบค้นหาของตนเองขึ้นมาแทน (เคยมีข่าวลือด้วย)
มีรายงานจาก The Information ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search จะเพิ่มตัวเลือก "AI Mode" ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลด้วย AI ในลักษณะเดียวกับ ChatGPT Search ของ OpenAI ที่เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้ได้แล้ว
ตามรายงานบอกว่าแนวทางของกูเกิลจะไม่บังคับให้ทุกคนมาใช้เครื่องมือค้นหาด้วย AI ทั้งหมด แต่มาในรูปแบบทางเลือกในแถบผลลัพธ์การค้นหาร่วมกับ All, Images, Videos ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ต้องการผลลัพธ์จาก AI เลือกได้ โดยการแสดงข้อมูลจะเหมือนกับเวลาใช้งาน Gemini ที่ให้รายละเอียด พร้อมลิงก์ไปยังปลายทางที่เกี่ยวข้อง
กูเกิลยื่นข้อเสนอแผนเยียวยาตามขั้นตอนทางกฎหมาย หลังจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดีว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดธุรกิจค้นหาข้อมูล (Search) จริง ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเป็นฝ่ายฟ้องร้อง และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เสนอแผนเยียวยาเมื่อเดือนที่แล้ว ให้ศาลสั่งกูเกิลแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัท รวมทั้งให้กูเกิลเปิดไลเซนส์ข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งสามารถนำไปปรับปรุงบริการได้
เมื่อวานนี้เป็นอันดับคำค้นหาทั่วโลก วันนี้กูเกิลประเทศไทยเผยแพร่คำค้นหามาแรงแห่งปี 2024 ของไทย Year in Search ออกมาแล้ว โดยคำค้นหายอดนิยมแห่งปีคือ "ฟุตบอลยูโร" ส่วนข่าวในประเทศยอดนิยมคือ "ข่าวรถบัสไฟไหม้"
ในการจัดอันดับของประเทศไทย มีหมวดที่แตกต่างไปจากรายงานทั่วโลกซึ่งสะท้อนวิธีการค้นหาของคนไทย เช่น หมวดการ์ตูนและอนิเมะ หมวด...แปลว่า และมีหมวด AI ด้วย
10 อันดับของแต่ละหมวดคำค้นหา เป็นดังนี้
กูเกิลประกาศอันดับคำค้นหามาแรงเป็นกระแสทั่วโลกแห่งปี 2024 "Year in Search 2024" ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬารายการสำคัญ ไปจนถึงหัวข้อไวรัลที่คนพากันค้นหาให้หายสงสัย ซึ่งกูเกิลแบ่งการจัดอันดับออกเป็นหัวข้อย่อยต่าง ๆ รายละเอียดทั้งหมดดังนี้
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงวิธีแสดงผลการค้นหามีผลเฉพาะในภูมิภาคยุโรป โดยบอกว่าเป็นผลจากกฎหมายดิจิทัล DMA ที่กูเกิลได้พยายามปรับให้เป็นไปตามข้อกำหนดในช่วงที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเว็บเปรียบเทียบราคาสินค้า ได้แก่ โรงแรม สายการบิน และร้านค้าปลีก ซึ่งมีเว็บเปรียบเทียบราคา 3 ราย ร้องเรียนกับหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปว่าทราฟิกเว็บพวกเขาลดลง 30% หลังจากกูเกิลเปลี่ยนวิธีแสดงผลค้นหา ที่กูเกิลบอกว่าทำให้การเปรียบเทียบราคาดูง่ายมากขึ้น เช่น ผลค้นหาโรงแรมถูกแสดงในรูปแบบแผนที่ ที่มีรูปภาพโรงแรม พร้อมราคาจากเว็บที่ถูกที่สุด เป็นต้น
กูเกิลประกาศนโยบายการจัดอันดับการค้นหาใหม่ ภายใต้แนวทางการจัดการเว็บที่ใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิด (site reputation abuse) โดยมักเป็นการขายพื้นที่บนเว็บให้บุคคลภายนอกมาซื้อพื้นที่วางบทความโฆษณาหรือสแปม SEO
การพิจารณาว่าเว็บใดใช้ความน่าเชื่อถือของตัวเองในทางที่ผิดหรือไม่จะพิจารณาหลายอย่าง เช่น เว็บมีข้อตกลงนำบทความภายนอกมาโพสโดยระบุว่าเขียนเอง หรือการครอบครองบริษัทตลอดจนการทำข้อตกลงทางธุรกิจเพื่อนำความน่าเชื่อถือของเว็บมาใช้ โดยรวมเงื่อนไขมีความซับซ้อน และทางกูเกิลได้ชี้แจงไว้ใน Google Search Central
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษาสั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ในคดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
กูเกิลประกาศว่า Google Search AI Overviews ฟีเจอร์ที่ใช้ AI ช่วยตอบคำถามและให้ข้อมูล แสดงผลด้านบนสุดในหน้าผลการค้นหา เตรียมทยอยเปิดใช้งานกับผู้ใช้งานเพิ่มมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งทำให้ AI Overviews เข้าถึงผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือนตามแผนที่กูเกิลประกาศในเดือนพฤษภาคม