Reporters Without Borders
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนหรือ Reporters Without Borders (RSF) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยถอนฟ้องเว็บภูเก็ตหวาน ที่ถูกกองทัพเรือฟ้องด้วยพรบ. คอมพิวเตอร์และข้อหาหมิ่นประมาทจากการรายงานข่าวจากสำนักข่าวรอยส์เตอร์
รายงานข่าวของสำนักข่าวรอยส์เตอร์ช่วงปลายปีที่ผ่านมารายงานถึงเส้นทางของชาวโรฮิงยาที่ออกจากพม่าและตกไปอยู่ในวงจรการค้ามนุษย์ โดยรายงานชิ้นนี้เพิ่งได้รับรางวัลพูลิตเซอร์เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา โดยยังไม่มีใครฟ้องร้อง Jason Szep และ Andrew R.C. Marshall แต่อย่างใด แต่เว็บภูเก็ตหวานที่โควตเนื้อหามาจากทางรอยส์เตอร์กลับถูกดำเนินคดี
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนหรือ Reporters Without Borders (RSF) จัดอันดับ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" มาตั้งแต่ปี 2006 (RSF เผยชื่อ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ปี 2012, เตือนไทยใกล้ติดโผ)
ตามปกติแล้ว "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ตามการจัดอันดับของ RSF มักเป็นประเทศเผด็จการหรือมีวัฒนธรรมการเซ็นเซอร์สื่ออื่นนอกจากอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว แต่ในปี 2014 มีประเทศต้นแบบเสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรติดอันดับกับเขาด้วย
เหตุผลที่ RSF ยกให้อเมริกาติดอันดับไม่ใช่เรื่องการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต แต่เป็นเรื่องการสอดแนมประชาชนจากกรณี NSA ที่ Edward Snowden เปิดเผยเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง (Blognone ลงข่าวอยู่บ่อยๆ ตามอ่านย้อนกันเองนะครับ)
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders - RWB) เพิ่งออกรายงานค่าดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลกออกมาได้เพียงสองวัน ตอนนี้ก็มีรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของรัฐ (State Council Information Office - SCIO) ที่ทำหน้าที่บล็อคเว็บในจีนก็ออกจดหมายเวียนไปยังเว็บไซต์ต่างๆ "ขอความกรุณา" (kindly ask) ให้ลบรายงานข่าวที่เกี่ยวกับการจัดอับดับนี้
จีนได้อันดับ 175 จาก 180 ประเทศที่มีการจัดอันดับ อยู่ในสถานะประเทศที่มีเหตุการณ์ร้ายแรงต่อผู้สื่อข่าว ปีที่แล้วรัฐบาลจีนได้อันดับ 173 จาก 179 ประเทศ และสองปีก่อนได้อันดับ 174 จาก 179 ประเทศ
สำหรับประเทศไทยปีนี้ได้อันดับ 130 จากปีที่แล้วได้อันดับ 135 และสองปีก่อนได้อันดับ 137
ต่อจากกูเกิลที่ออกแถลงการประเด็นคำพิพากษาคดีประชาไทไปในช่วงเย็น สมาคมผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporter without Borders / Reporters sans Frontieres - RSF) ก็ออกแถลงการตามมาถึงความเห็นต่อคดีนี้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของไทยนั้นมีบทลงโทษที่ไม่สมสัดส่วนความผิด และคำพิพากษาในคดีนี้เป็นผลร้าย (threat) กับทุกคนที่ให้บริการโฮสต์เนื้อหาที่ให้บริการในประเทศไทย
นอกจากนี้ RSF ยังระบุว่ากฏหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปิดกั้นที่สามารถตีความไปในทางที่ไม่สมเหตุสมผลได้ โดย RSF เสนอว่าการร้องขอให้ลบเนื้อหาออกจากเว็บนั้นควรเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นไม่ใช่อำนาจของตำรวจ
องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders หรือ RSF ตามตัวย่อในภาษาฝรั่งเศส) จะรวบรวมรายชื่อประเทศที่เป็น "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" (Enemies of the Internet) เรื่องการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกปี ล่าสุดเผยแพร่รายงานของปี 2012 แล้ว
RSF จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต" ที่มีระดับการเซ็นเซอร์และการดำเนินคดีต่อชาวเน็ตสูงมาก และ "ประเทศที่จับตามองประชาชน" (countries under surveillance) ที่มีระดับรองลงมา