แอปเปิลออกอัพเดตเฟิร์มแวร์ของ AirPort Base Station เวอร์ชัน 7.9.1 มีผลกับอุปกรณ์เครือข่าย 802.11ac ได้แก่ AirPort Extreme และ AirPort Time Capsule รุ่นล่าสุด
ในเอกสารสนับสนุนของแอปเปิลบอกว่า อัพเดตเฟิร์มแวร์ครั้งนี้เป็นการแก้ไขบั๊กด้านความปลอดภัย 8 รายการ คือ CVE-2019-8581, CVE-2019-8588, CVE-2018-6918, CVE-2019-8578, CVE-2019-8575, CVE-2019-7291, CVE-2019-8580 และ CVE-2019-8572
ถึงแม้แอปเปิลจะหยุดผลิตและจำหน่ายทั้ง AirPort Extreme และ AirPort Time Capsule ไปแล้ว แต่ใครที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้อยู่ก็ควรอัพเดตเฟิร์มแวร์เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานครับ
แอปเปิลได้ออกอัพเดตเฟิร์มแวร์เวอร์ชัน 7.7.3 สำหรับ AirPort Extreme และ Time Capsule รุ่นปี 2013 ที่รองรับ Wi-Fi 802.11ac เพื่ออุดช่องโหว่ Heartbleed ใน OpenSSL ที่ตอนนี้กลายเป็นวาระแห่งโลกไปเสียแล้ว
สำหรับใครที่ใช้ AirPort รุ่นดังกล่าวควรอัพเดตโดยด่วน สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับเฟิร์มแวร์เต็มๆ ได้ที่ Apple Support และอัพเดตได้ผ่าน AirPort Utility ทั้งบน Mac และ iOS ส่วนอุปกรณ์ AirPort อื่นๆ นั้น แอปเปิลบอกว่าไม่ได้รับผลกระทบ
ปล่อยมาแบบเงียบเชียบไม่ให้รู้ตัวกันเลยทีเดียวสำหรับ Time Capsule และ AirPort Extreme รุ่นใหม่ของแอปเปิล
โดย Time Capsule รุ่นใหม่นี้มาพร้อมกับความจุที่เพิ่มขึ้นแต่ราคาเท่าเดิมคือ 2TB ในราคา 299 ดอลลาร์ (9,500 บาท) และ 3TB ในราคา 499 ดอลลาร์ (15,900 บาท)
ส่วน AirPort Extreme รุ่นใหม่ยังไม่มีประกาศฟีเจอร์หรือโฆษณาเพิ่มเติมว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงนอกจากเลขโมเดลเปลี่ยนไปจากเดิมคือ MC340AM/A เป็น MD031AM/A ส่วนราคายังคงเดิมคือ 179 ดอลลาร์ (5,600 บาท)
Cult of Mac ได้สัมภาษณ์แบบ Exclusive กับแหล่งข่าวภายในที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ ถึงบริการ iCloud ที่แอปเปิลเตรียมเปิดตัวในคืนนี้ โดยบริการ iCloud นั้นนอกจากจะให้บริการเพลงออนไลน์แล้ว ยังจะทำการ Backup เก็บข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในเครื่องของเรา ไม่ว่าจะเป็นรูป เพลง วิดีโอ หรือแม้แต่ไฟล์เอกสาร เพียงแต่ข้อมูลเหล่านั้นจะไม่ได้ถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของแอปเปิลอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่กลับเป็นบน Time Capsule ตัวใหม่แทน
มีรายงานข่าวว่าแอปเปิลได้ทำการทดสอบ Time Capsule ภายในบริษัทเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการ Cloud โดยในตอนนี้แหล่งข่าวอ้างว่า Time Capsule จะทำการโหลด Software Update สำหรับแมคและอุปกรณ์ iOS เก็บเป็น cache ไว้ในฮาร์ดดิสก์โดยอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้พร้อมที่จะทำการอัพเดตอุปกรณ์เมื่อไหร่ก็ไม่ต้องเสียเวลาโหลดใหม่อีกต่อไป โดยความสามารถนี้เป็นไปได้เพราะว่า Time Capsule เองก็เป็นเราเตอร์อยู่แล้ว จึงสามารถที่จะ route ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดึงข้อมูลจาก Time Capsule ได้โดยตรง
ในรายงานยังพูดถึงความเป็นไปได้ที่แอปเปิลจะใช้วิธีเก็บ cache แบบเดียวกันในการให้บริการ Cloud อื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่นบริการเก็บเพลงไว้บน Cloud ของ iCloud
แอปเปิลอัพเดตความจุของ Time Capsule จากเดิมที่มีอยู่ 2 รุ่นคือ 500GB และ 1TB มาเป็น 1TB และ 2TB โดยที่ราคาเท่าเดิมคือ 10,990 บาทและ 17,990 บาทตามลำดับ ส่วนความสามารถอื่นๆ นั้นยังคงเป็นเช่นเดิมตามปกติ ซึ่งการอัพเดตครั้งนี้ก็เป็นไปตามภาพหลุดกล่อง Time Capsule รุ่น 2TB ที่เคยออกมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
Time Capsule เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลไร้สาย ที่เป็นการรวมกันระหว่าง wireless router กับฮาร์ดดิสก์เข้าด้วยกัน ใช้ได้ทั้งแมคและพีซี
ที่มา - Macrumors