เมื่อเร็วๆ นี้ วารสารวิชาการ Social Media + Society ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่มีชื่อว่า "Screened Intimacies: Tinder and the Swipe Logic" ที่พยายามอธิบายเหตุผลและเบื้องหลังของการตัดสินใจปัดซ้ายหรือปัดขวาของแอพ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า Tinder ทำให้ผู้ใช้ตัดสินคนอื่นเร็วขึ้นโดยดูจากเพียงหน้าตาและลดทอนความซับซ้อนของมนุษย์ลง ซึ่งเกี่ยวพันกับทั้งเรื่องของวิธีการใช้งานแอพ และการออกแบบ UI
Tinder - แอพคนเหงาขอปัดขวา มองหารักแท้ กำลังจะออกมาตรการใหม่ ระงับการใช้งานของผู้ใช้อายุต่ำกว่า 18 ปี เริ่มต้นสัปดาห์หน้า
ซึ่งตอนนี้ Tinder มีกฎระเบียบเพียงแค่ผู้ใช้ต้องอายุมากกว่า 13 ปีเท่านั้น ซึ่งขัดกับบริการอื่นอย่าง OkCupid, eHarmony หรือ Match.com กระทั่งบริการอีกรายอย่าง Plenty of Fish กำหนดถึงขั้นว่า สุภาพสตรีอายุ 18-21 ปี จะถูกจับคู่กับสุภาพบุรุษอายุต่ำกว่า 30 ปีเท่านั้น
การปรับปรุงอายุขั้นต่ำครั้งนี้ Tinder ระบุว่าจะมีผลกระทบกับผู้ใช้ทั่วโลกน้อยกว่าร้อยละ 3 ครับ
ที่มา - TechCrunch
Sean Rad ซีอีโอของ Tinder แอพหาคู่ เผยว่ากำลังพัฒนาแอพให้ผู้ที่มีเพศสภาพซับซ้อนกว่าเพศชายและหญิงใช้งานได้สะดวกขึ้น จากเดิมที่ต้องระบุเพศตนก่อนเข้าใช้ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และแอพก็จะเลือกจับคู่กับเฉพาะเพศตรงข้ามให้ (วิธีแก้ไขที่ผมเห็นคือ ผู้ใช้บางรายก็บอกว่าตนเป็น ladyboy ka)
ซีอีโอท่านเดิมกล่าวต่ออีกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะเห็นภายในเดือนถึงสองเดือนข้างหน้านี้ครับ
ที่มา - Recode
Lumi คือแอพพลิเคชั่นข่าวที่สามารถเปิดใช้ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน ที่น่าสนใจคือ ตัวแอพจะแสดงเฉพาะข่าวที่ผู้ใช้สนใจเท่านั้น อิงตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน วิธีการคล้ายกับแอพนัดเดต Tinder ที่คัดเฉพาะคนที่เราสนใจ
ตอนแรกที่เข้าใช้แอพ จะแสดงเฉพาะข่าวเฮดไลน์ใหญ่ หลังจากนั้นแอพจะเสนอตัวเลือกว่าผู้ใช้อยากให้แอพเรียนรู้ความสนใจข่าวสารจากที่ไหน ระหว่าง Facebook หรือ Twitter ของผู้ใช้เอง ถ้าเราสนใจข่าวนั้นให้ปัดขวาเพื่ออ่าน หรือไม่ก็ปัดซ้ายเพื่อข้ามข่าวนั้น
Lumi ทีมงานประมาณ 10 คน โดย 3 ใน 10 เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้ร่วมก่อตั้งคือเจ้าของ Last.fm บริษัทเพลงที่ CBS ซื้อไปเมื่อปี 2007
มีอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของ Tinder แอพหาคู่ ที่นอกจากจะฮิตที่สหรัฐฯ, ยุโรป, ออสเตรเลีย และไทยแล้ว ที่อินเดียแอพนี้ก็ได้รับความนิยมไม่เบา ล่าสุดมีผู้ใช้ในประเทศนี้สูงถึง 400% เพิ่มขึ้นจากปี 2015 มีอัตราการปัดจอซ้ายขวากว่า 14 ล้านครั้งต่อวัน
สาเหตุที่ทำให้แอพแบบนี้ได้รับความนิยมในอินเดีย ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมการเลือกคู่ครองของประเทศนี้จะถูกจำกัดด้วยจารีตและประเพณี ทั้งการเลือกคู่ที่ฝ่ายชายทำได้ หรือการจับคู่โดยบิดามารดา ซึ่งจากสถิติปี 2013 มีชาวอินเดียอายุ 18 ถึง 35 ปีกว่าร้อยละ 75 เปิดเผยว่าตนยังต้องการแต่งงานแบบจัดการให้
Tinder สนองเทรนด์นี้ด้วยการทำโฆษณา (ชิ้นแรกของบริษัท) ว่าด้วยคุณแม่และลูกสาวกำลังคุยกันและแต่งตัวเพื่อไปเดทกับหนุ่มที่ปัดขวาเจอในแอพ แทนที่จะจับคู่แบบคลุมถุงชน ก็เป็นการให้มารดาช่วยสกรีนหนุ่มให้แทน
ที่มา - CNET
แอพหาคู่ ที่กำลังเป็นที่นิยมตอนนี้อย่าง Tinder กำลังดำเนินการฟ้องแอพอีกรายจากสหราชอาณาจักรที่ชื่อ "3nder" ที่สร้างไว้เพื่อนัดสร้างสัมพันธ์แบบสามภาคี (ทรีซั่ม) และยังใช้ชื่อพ้องกับ Tinder อีกด้วย จึงมีการร้องขอให้ถอนชื่อนี้ออกจากอินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันการสับสน
ด้าน Dimo Trifonov ผู้ก่อตั้งแอพ 3nder ก็แจงว่าชื่อแอพเขาออกเสียงเป็น Thrinder และยังกังขาถึงแอพหาคู่รายอื่นที่ใช้ชื่อคล้ายกัน อย่าง Grindr ด้วย และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อล่าสุด 3nder ยังเขียนบล็อกเย้ยการดำเนินการของ Tinder ครั้งนี้ พร้อมกับตั้งแฮชแท็ก #TinderSuckMySocks ออกมาด้วย ด้านฐานะการเงินของ 3nder ตอนนี้เพิ่งได้รับเงินลงทุนจาก angel investor มาราว 500,000 เหรียญสหรัฐไม่นานนี้ ก่อนที่จะเกือบปิดกิจการก่อนหน้านี้
ที่มา - Fortune
Tinder คือแอพหาคู่ที่ถูกพูดถึงหนาหูช่วงนี้ ล่าสุดเขาเปิดคุณสมบัติใหม่ ชื่อ Tinder Social ตอนนี้ทดลองใช้ในกลุ่มเล็กๆ ในประเทศออสเตรเลีย และจะเปิดใช้ทั่วโลกเร็วๆ นี้
กลไกคือผู้ใช้สามารถสร้าง "กลุ่ม" เพื่อนที่กำลังจะไปทำกิจกรรมร่วมกัน (เช่นท่องเที่ยวหรือไปชมคอนเสิร์ตด้วยกัน กระทั่งมีความสนใจในเรื่องใดเหมือนเดิม) และค้นหาผู้ใช้กลุ่มอื่นที่ด้วยการปัดซ้าย-ขวา และถ้า matched กัน ก็จะสามารถคุยกันได้ทั้งกลุ่ม สร้างสัมพันธภาพได้อีกรูปแบบ ซึ่งในขั้นตอนทดลองใช้นี้ Tinder เอื้อให้ผู้ใช้ปิดการลากตนเข้ากลุ่มได้ด้วย
ที่มา - Tinder
มีเครื่องมือใหม่เขย่าวงการความสัมพันธ์อีกแล้ว เมื่อมีเว็บไซต์ชื่อ Swipebuster ที่เปิดทางให้คุณค้นหาได้ว่าเพื่อน คู่รัก หรือใครก็ตามที่คุณรู้จักใช้งานแอพหาคู่อย่าง Tinder อยู่หรือไม่ ด้วยการระบุชื่อ อายุ เพศ ตำแหน่งที่เขาหรือเธอคนนี้พำนัก เว็บนี้จะบอกได้ว่าผู้ใช้แอพนี้หรือไม่ และใช้งานล่าสุดเมื่อไร มีค่าใช้จ่ายที่ 4.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อครั้ง
ผู้สร้างเว็บไซต์นี้ชี้ถึงความหละหลวมในการเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ของ Tinder ครับ ซึ่งเว็บนี้บอกว่าง่ายมากที่ข้อมูลจะหลุดแบบกรณี Ashley Madison ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
ที่มา - Vanity Fair
มีบทความหนึ่งในเว็บไซต์ Forbes ที่ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการบาร์ O Bar ในโรงแรมแห่งหนึ่งของรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐฯ เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้บริการบาร์ในการนัดเดท ซึ่งพบว่ามีการใช้บริการที่แห่งนี้ในการออกเดทครั้งแรกมากขึ้น เป็นผลมาจากแอพและเว็บไซต์หาคู่ ที่คนเริ่มใช้มากขึ้นทุกวัน แนวโน้มเดียวกับผลสำรวจของ Pew ที่เคยเสนอไปเมื่อไม่นานนี้
ที่มา - Forbes
นอกจากจะเอาไว้หาคนรู้ใจด้วยการปัดขวาปัดซ้าย วันนี้ Tinder ประกาศความร่วมมือกับ Rock The Vote องค์กรเอกชนส่งเสริมการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ในการนำเอาระบบของ Tinder มาใช้ในการรณรงค์ให้ผู้ใช้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้ด้วย
ปัญหาของคนวัยทำงานอย่างเราๆ หลังพ้นชีวิตวัยเรียนแล้วก็มักไม่ค่อยได้มีโอกาสเจอคนดีๆ ที่ตรงใจเพื่อสร้างสัมพันธ์ต่อ จนแอพประเภท Tinder เป็นอีกเครื่องมือที่ทำให้โลกแคบลง คนสองคนโคจรมาเจอกันได้ไม่ต้องรอพรหมมาลิขิต
ล่าสุด Tinder เปิดคุณสมบัติใหม่ชื่อ "Cupid" ที่เปิดทางให้ผู้ใช้แต่ละรายส่งต่อข้อมูลของเพศตรงข้ามให้เพื่อนของผู้ใช้รายนั้นที่อาจเหมาะสมกว่าตนด้วยการกดปุ่ม "Share" ในหน้าแอพก่อนที่จะปัดซ้ายหรือปัดขวา และลิงก์ที่แชร์ออกไปมีอายุ 72 ชั่วโมงหรือ 5 คลิก (ผู้เขียนยังสงสัย ขอหาโอกาสลองก่อน) และผู้ใช้แต่ละรายสามารถปิดคุณสมบัตินี้ไม่ให้ตัวเองถูกแชร์ได้ด้วย
แอพหาคู่ Tinder เผยข้อมูลของผู้ใช้ที่ประสบความสำเร็จในการหาคู่ (matched กันหลังจากปัดขวา อันแสดงว่าชื่นชอบระหว่างกัน) ในเชิงของอาชีพ ที่แอพใช้ข้อมูลนี้แสดงในแอพตั้งแต่ปีกลาย ปรากฏว่าอาชีพฝั่งสุภาพบุรุษที่มาอันดับหนึ่งคือนักบิน ตามด้วยผู้ประกอบการธุรกิจ และนักผจญเพลิงรองลงมา ส่วนฝั่งสุภาพสตรี อันดับหนึ่งคือนักกายภาพบำบัด ตามด้วยนักออกแบบภายใน และผู้ประกอบการตามลำดับ ยังมีอีกหลายอาชีพที่น่าสนใจ บ่งชี้ว่าอาชีพที่มีหน้าตาสวย-หล่อล่ำอาจไม่เป็นที่นิยมดังที่คิด
ที่มา - The Next Web
มีอีกหนึ่งลูกเล่นใหม่ของแอพหาคู่ Tinder (รู้จัก Tinder - แอพคนเหงาขอปัดขวา มองหารักแท้) ที่เมื่อผู้ใช้ปัดขวาแล้วได้จับคู่กัน ก็จะได้ส่งข้อความคุยกันต่อยอดความสัมพันธ์ แต่ตอนนี้แทนที่จะทักไปด้วยข้อความ ก็สามารถใช้ภาพ GIF Animation แทนได้ โดยระบบจะดึงภาพจากคลังของ GIPHY ให้ผู้ใช้เลือก และยังมากับลูกเล่นอื่นเพิ่มเติม อาทิ:
วานนี้มีความลับของ Facebook ถูกเปิดเผยเรื่อง News Feed วันนี้มีเรื่องของแอพหาคู่อย่าง Tinder กับกลไกเบื้องหลังที่ถูกเปิดเผยออกในบทความหนึ่งใน Fast Company ครับ
Tinder มีการ "ให้คะแนน" ผู้ใช้แต่ละคนว่ามีความนิยม (ถูกปัดขวา) มากน้อยเพียงไรเป็นการภายใน ซึ่งเรียกคะแนนนี้ว่า 'Elo score' ความหมายเดียวกับวงการหมากกระดานที่ใช้จัดลำดับผู้เล่น ระบบนี้จะช่วยให้ผู้ใช้แต่ละรายได้พบเจอคู่ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ขณะที่ผู้ใช้ก็คงทำใจยากที่จะยอมรับคะแนนตัวเองที่ถูกตัดสินเป็นค่าชี้วัดตรงๆ แบบนี้ ก็ยังเป็นประเด็นอยู่ว่า Tinder จะเปิดเผยคะแนนนี้ให้ผู้ใช้รับรู้ดีหรือไม่
Tinder ไม่ได้เป็นแค่แอพหาคู่ หารักแท้ไปวันๆ หากแต่ยังมีแคมเปญการตลาดน่าสนใจมาร่วมเล่นกับแอพนี้แล้ว
เมื่อ NHS (National Health Service) องค์กรด้านสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร เล่นแคมเปญหนึ่งกับโปรไฟล์อย่างเป็นทางการของเซเลบฯ สามรายอย่าง Jade Jones นักกีฬาโอลิมปิก และดาราทีวีอย่าง Jamie Laing และ Gemma Oaten เมื่อผู้ใช้ "ปัดขวา" บัญชีเหล่านี้เพื่อหวังจะได้ matched กัน แอพก็จะมีข้อความเด้งขึ้นมาระบุว่า "if only it was that easy for those in need of a life-saving organ to find a match." (ถ้าหาคู่บริจาคอวัยวะเพื่อช่วยชีวิตคนได้ง่ายเหมือนหาคู่แบบนี้ก็ดีสินะ) เป็นการสร้างความตื่นตัวเรื่องการบริจาคอวัยวะได้อีกทางหนึ่ง
หลังจากที่เสนอข่าวเรื่องบริษัทแม่ของ Tinder จะเข้า IPO ไป มีความคืบหน้าในตัวแอพ Tinder อีกอย่างที่น่าจะส่งผลกระทบด้านดีของคนคุยไม่เก่ง คือในหน้าผู้ใช้เพศตรงข้ามที่ผู้ใช้ปาดเจอ จะมีช่องให้กรอกข้อมูลอาชีพและประวัติการศึกษาแล้ว และสามารถแจ้งได้ด้วยว่าคุณและเพศตรงข้ามที่คุณเจอ สำเร็จการศึกษาหรือทำงานที่เดียวกัน นับเป็นอีกหนึ่งอัลกอริธึ่มที่เอามาจับคู่เพิ่มเติมจากความสนใจที่มีตรงกัน
Match Group บริษัทเจ้าของแอพและเว็บไซต์หาคู่อย่าง Tinder, Match.com และ OkCupid ประกาศตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ (IPO) คาดระดมทุนได้กว่า 466 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยจะแบ่งขายออกมา 33.3 ล้านหุ้น คิดเป็น 14% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด (ที่เหลือ 86% อยู่ในมือกลุ่ม IAC/InterActiveCorp) ในราคาหน่วยละ 12 ถึง 14 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา Match Group เติบโตกว่า 12% ในช่วงปี 2012-2014 และสามไตรมาสที่ผ่านมาก็โตไปแล้วกว่า 16% ด้านตัวเลข active user อยู่ที่ 59 ล้านรายต่อเดือน และมี 4.7 ล้านคนในจำนวนนี้ใช้แอพแบบเสียเงิน
ปาดขวาหารักแท้ จนจอสึกกันไปข้าง กับแอพหาคู่อย่าง Tinder ล่าสุดในงาน Web Summit ปีล่าสุด ณ เมืองดับลิน Sean Rad ซีอีโอของแอพนี้เผยว่าแอพนี้กำลังจะเปิดตัวอัลกอริธึ่มใหม่ในอีกไม่กี่วันนี้ ที่จะทำให้พบคอนเนคชั่นระหว่างคนสองคนได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
Rad ระบุว่า 80% ของผู้ใช้แอพนี้ต้องการความสัมพันธ์ที่มากกว่าความสัมพันธ์แบบ Netflix and Chill (ชวนกันไปมีเพศสัมพันธ์กันในที่รโหฐาน) และกลไกการจับคู่แบบใหม่นี้ยังไม่ทราบว่าทำงานอย่างไร ทว่า The Next Web ให้ความเห็นว่าต้องโดดเด่นกว่า Super Like หรือ Verified Profile ที่นำมาใช้ก่อนหน้านี้แน่
มีข่าวคราวของความคิดสร้างสรรค์อีกมุมหนึ่งบนแอพหาคู่อย่าง Tinder ที่ผมเพิ่งเขียนถึงไปครับ
เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าการจะถ่ายภาพตัวเองให้ออกมาดูดี 4-5 ภาพเพื่อมาใช้เป็นภาพโปรไฟล์ใน Tinder เพื่อดึงดูดเพศตรงข้ามนั้นเป็นเรื่องยากสักนิด (...หากไม่หล่อหรือสวยพอ) แต่ชายคนนี้เกิดหัวใส ใช้ฉากหลังของห้องแสดงสินค้าห้องต่างๆ ในห้างขายเฟอร์นิเจอร์ IKEA มาเป็นฉากหลัง ทำให้มีพร็อพเล่นกับสิ่งของต่างๆ มากมาย โดยที่ไม่มีใครสังเกตป้ายราคา ไปดูภาพของเขาหลังเบรก และในลิงก์ที่มาครับ
“♫ ...คนเหงาย่อมเข้าใจคนเหงา เมื่อสายตาเศร้าๆ ส่งไปทักทายกัน” เชื่อได้ว่าหลายท่านคงกำลังเฝ้ารออีกครึ่งหนึ่งของชีวิตกันอยู่
แต่ตอนนี้ นอกจากคอลัมน์มาลัยเสี่ยงรัก, เว็บหาคู่ชื่อดังที่ข้อมูลผู้ใช้เพิ่งรั่ว แล้ว ล่าสุดไม่นานนี้ บนสมาร์ทโฟนของหนุ่มสาวหลายคนคงมีแอพ Tinder ปรากฏอยู่ ด้วยคอนเซปต์ของแอพนี้ที่ว่า “Any swipe can change someone’s life” ทุกการปัด เปลี่ยนชีวิตบางคนได้ ชักน่าสนใจแล้วสิ
วันนี้ผมในนาม Blognone ขอหยิบเรื่องราวของปรากฏการณ์ตามหารักแท้แบบใหม่มาฝากกัน
แอพ "ปาดขวาหาคู่" อย่าง Tinder ดูเหมือนจะจริงจังเรื่องการปราบปรามสแปมตั้งแต่ปีกลาย ล่าสุดจากข่าวระบุว่าตั้งแต่ต้นปี 2014 Tinder ได้จับมือกับ TeleSign บริษัทด้านความปลอดภัยบนมือถือจากแคลิฟอร์เนีย ที่นำระบบ 2-step verification มาใช้จัดการบนแอพนี้ สามารถกันสแปมได้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีคนเขียนบอทจับคู่ผู้ใช้เพศชายที่นึกว่าได้คุยกับผู้ใช้เพศหญิง มาคุยกับชายด้วยกัน เพื่อส่งช่องทางไปยังเว็บไซต์อนาจารหรือมัลแวร์