Fast Company ได้สัมภาษณ์ Kate Bergeron รองประธานฝ่ายวิศวกรรมฮาร์ดแวร์ของแอปเปิล เกี่ยวกับ Mac mini ชิป M4 ในหลายประเด็นน่าสนใจ
Bergeron พูดถึงประเด็นหลังมีคนแกะ Mac mini M4 พบว่าสามารถอัปเกรดสตอเรจได้ เพราะไม่ได้ติดอยู่กับเมนบอร์ด ซึ่งดูเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับสินค้าแอปเปิลยุคหลังว่า ด้วยขนาดที่เล็กลงของ Mac mini จึงทำให้เมนบอร์ดมีชิ้นส่วนสำคัญอยู่มากแล้ว และไม่พอสำหรับการใส่สตอเรจบนนั้น จึงต้องแยกส่วนสตอเรจออกไป เลยทำให้ผู้ใช้งานสามารถอัปเกรดได้นั่นเอง
หลังจากปล่อยให้มีโลโก้ใหม่ของ Mozilla โผล่บนหน้าเว็บมาหลายเดือน ในที่สุด Mozilla ก็เปิดตัวโลโก้ใหม่อย่างเป็นทางการสักที
โลโก้ใหม่ตรงกับที่เผยโฉมมา คือเป็นสัญลักษณ์ตัว M เอียงข้างเป็นรูปหัวไดโนเสาร์ (หรือบางคนมองว่าเป็นธงก็ได้) สไตล์คล้ายตัวอักษร ASCII แล้ววางคู่กับคำว่า Mozilla ที่ออกแบบใหม่ เลิกใช้สัญลักษณ์ :// ของ URL แล้ว
Mark Surman ประธานของ Mozilla บอกว่าตั้งองค์กรมานาน 25 ปี ทำภารกิจเรื่องเว็บที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ตอนนี้ถึงเวลาคิดเรื่อง 25 ปีถัดไป โดยยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่า Mozilla ทำเรื่องโอเพนซอร์สและความเป็นส่วนตัว จึงหวังจะใช้การรีแบรนด์ครั้งนี้กลับมาเชื่อมต่อผู้ใช้ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่อีกครั้ง
Mac mini ใหม่ ชิป M4 ที่เพิ่งเปิดตัว มาพร้อมกับขนาดที่เล็กลงมากเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และผลจากขนาดที่เล็กลงนี้เลยทำให้ปุ่มเปิดปิด (Power) ต้องหาที่อยู่ใหม่ด้วย และคำตอบก็คือด้านล่างใต้เครื่อง
ใน Mac mini รุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งมีพื้นที่รอบเครื่องมากพอ ปุ่มเปิดปิดจะอยู่ที่ด้านหลังของเครื่อง ติดกับพอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามแม้ปุ่มจะอยู่ใต้เครื่อง แต่การเปิดปิด Mac mini M4 ก็ไม่ถึงกับต้องหงายเครื่องขึ้นมาแบบอุปกรณ์เสริมบางอัน เพราะด้วยการออกแบบที่ไม่ได้ติดพื้นทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสอดนิ้วเข้าไปกดปุ่มได้ (ดูคลิปได้ช่วงวินาทีที่ 28)
มีประเด็นเล็ก ๆ จากการประกาศอัปเดตอุปกรณ์เสริมพร้อมการเปิดตัว iMac ชิป M4 ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนจากพอร์ต Lightning มาเป็น USB-C แล้ว หลายคนยังลุ้นว่า Magic Mouse จะเปลี่ยนตำแหน่งรูของพอร์ตชาร์จไฟ ที่เดิมอยู่ด้านล่างทำให้ตอนเสียบสายชาร์จต้องพลิกเมาส์ ว่าแอปเปิลจะเปลี่ยนการออกแบบนี้หรือไม่
คำตอบคือ ไม่
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลก็ไม่ได้ให้ข้อมูลเปิดเผยเป็นทางการตอนนี้ว่าช่องชาร์จไฟ Magic Mouse อยู่ตรงไหน แต่จากภาพเรนเดอร์ 3D AR ของ iMac ทำให้พบว่าตำแหน่งชาร์จสายยังอยู่ที่ด้านล่างเหมือนเดิม
PayPal ปรับดีไซน์โลโก้ใหม่ของตัวเอง จากตัวอักษร PayPal เขียนเอียงๆ เปลี่ยนมาตั้งตรง เปลี่ยนสีจากน้ำเงิน-ฟ้า มาเป็นสีดำล้วน และตัดไอคอนตัว PP ซ้อนกันที่เราคุ้นเคยออกไปจากโลโก้ (แต่ตัวไอคอน PP ยังใช้เป็นไอคอนของแอพอยู่เช่นเดิม แค่แยกจากตัวโลโก้ของบริษัท)
โลโก้ใหม่ของ PayPal ออกแบบโดยบริษัทดีไซน์ชื่อดัง Pentagram ซึ่งให้เหตุผลของการเลือกสีดำว่าต้องการสร้างความแตกต่างจากบริการ fintech ตัวอื่นๆ ที่มักนิยมใช้สีฟ้า และสามารถนำโลโก้สีดำไปใช้ได้ในหลากหลายโอกาสมากกว่า
Google Maps เริ่มใช้ดีไซน์หมุด (pin) สถานที่แบบใหม่ อ้วนกลมกว่าเดิม ไม่เป็นทรงปลายแหลมยาวแบบในอดีต และใช้ดีไซน์มีขอบขาวล้อมรอบไอคอนสถานที่ด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้ยังมีผลเฉพาะหมุดของสถานที่ที่เรายังไม่ได้กดเลือกเท่านั้น หากกดเลือกสถานที่นั้นแล้วยังเห็นหมุดแดงแหลมที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นไอคอนของ Google Maps เช่นเดิม
ช่วงหลังเราเห็น Google Maps เริ่มปรับดีไซน์แผนที่ใหม่หลายจุด ปีที่แล้วเปลี่ยนสีถนนจากเหลืองเป็นเทา และปีนี้แอพบนมือถือก็ปรับ UI ไปอีกบางส่วนด้วย
ที่มา - 9to5google
กูเกิลประกาศว่าบรรจุภัณฑ์สินค้าฮาร์ดแวร์ของบริษัทได้แก่ Pixel, Fitbit และ Nest รุ่นใหม่ทั้งหมดปลอดจากชิ้นส่วนพลาสติกแล้ว (100% Plastic Free) ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เร็วกว่าเป้าหมาย โดยกูเกิลเคยประกาศไว้ในปี 2020 ว่าบรรจุภัณฑ์สินค้าฮาร์ดแวร์ทั้งหมดจะปลอดพลาสติกในปี 2025
กูเกิลยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ปลอดจากพลาสติกโดยยังคงความสวยงาม ตั้งแต่กระดาษที่ใช้ซึ่งแข็งแรงกว่าเดิม 3 เท่า มีน้ำหนักเบาลง ทำให้ลดปริมาณคาร์บอนในการขนส่ง ส่วนกันกระแทกผลิตจากกระดาษหนังสือพิมพ์รีไซเคิล
ก่อนหน้านี้ Figma ได้ปิดฟีเจอร์ใหม่ Make Design ที่ช่วยการออกแบบเพียงใส่ Prompt สิ่งที่ต้องการ หลังจากมีคนรายงานว่าเมื่อให้ Make Design ออกแบบแอปรายงานสภาพอากาศ แล้วผลลัพธ์ที่ได้ทุกครั้ง คล้ายกับแอป Weather ใน iPhone
Noah Levin รองประธานฝ่ายออกแบบของ Figma ได้โพสต์เนื้อหาอธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากอธิบายว่าโมเดล AI ที่ Make Design เรียกใช้งานนั้น ก็เป็นโมเดลที่มีในท้องตลาดอยู่แล้วเช่น GPT-4o ของ OpenAI หรือ Titan ของ Amazon เพื่อช่วยในการวาดรูปภาพหรือเขียนรายละเอียด
Duolingo ประกาศดีลซื้อกิจการ โดยเป็น Hobbes สตูดิโออนิเมชันและงานออกแบบภาพเคลื่อนไหว ซึ่งดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่เข้าซื้อ
Hobbes ไม่ได้เป็นธุรกิจใหม่สำหรับ Duolingo เพราะสองบริษัทนี้เป็นพาร์ตเนอร์กันมาแล้วระยะหนึ่ง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งงานออกแบบอนิเมชันในแอป หลังดีลนี้สิ้นสุดทีมงานทั้งหมดจะมาอยู่ในแผนกใหม่ของ Duolingo ที่รับผิดชอบงานออกแบบภาพเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ ดีลนี้จึงเป็นลักษณะการซื้อตัวทีมงาน 12 คน มากกว่าสินทรัพย์ของบริษัท
Ryan Sims หัวหน้าฝ่ายออกแบบของ Duolingo บอกว่า ความสำเร็จของแอปนั้น การออกแบบมีส่วนสำคัญมาก โดยเฉพาะคาแรกเตอร์และอนิเมชันในแอป การได้ทีมงาน Hobbes มาเสริมทัพ จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานที่สนุก มีชีวิตชีวา กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
เป็นข่าวเล็ก ๆ ต่อเนื่องจากที่ Threads บริการโซเชียลเน้นตัวหนังสือของ Meta ที่ออกมาหวังแย่งส่วนแบ่งผู้ใช้งานจาก X หรือ Twitter เดิม มีอายุครบ 1 ปี โดยมีจำนวนผู้ใช้งานแบบ MAUs มากกว่า 150 ล้านบัญชี
โดย Jez Burrows นักออกแบบที่ Meta ซึ่งดูแล Instagram และ Threads ด้วย ได้โพสต์โลโก้ของ Threads ที่เขาบอกว่าออกแบบไว้มากกว่า 40 รูปแบบ แต่ในที่สุดก็เลือกโลโก้ที่เห็นอยู่ปัจจุบัน
Burrows ไม่ได้ลงโลโก้ทั้งหมดที่บอกว่ามีมากกว่า 40 แบบให้ดู แต่ก็นำเสนอจำนวนพอสมควร สามารถดูได้จากโพสต์ใน Threads ที่ต้นทาง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Figma ได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างทั้ง UI ดีไซน์ใหม่ รวมถึงฟีเจอร์ AI ช่วยในการออกแบบอย่าง Make Design ที่ได้ผลลัพธ์จากการใส่ prompt อย่างไรก็ตาม Figma ได้ตัดสินใจปิดฟีเจอร์ Make Design นี้ชั่วคราว เนื่องจากพบปัญหา
เรื่องนี้เริ่มต้นจาก Andy Allen ผู้ก่อตั้งบริษัท NotBoring Software โพสต์ข้อความผลจากการใช้ฟีเจอร์ Make Design ใน Figma ให้ออกแบบแอปดูข้อมูลสภาพอากาศ ซึ่งหลังจากป้อนคำสั่งไปสามครั้ง เขาพบว่าผลลัพธ์ทุกครั้งที่ได้นั้น หน้าตาของแอปเหมือนกับแอป Weather ใน iOS มาก ทั้งตำแหน่งข้อมูล ไอคอน และรายละเอียดปลีกย่อย เขาจึงเชื่อว่า Figma เทรนข้อมูลโดยนำแอปจริงมาอิงเป็นพื้นฐาน
ทีมดีไซน์ของไมโครซอฟท์ เผยเบื้องหลังการเลือกชุดสี (color palette) ชุดใหม่ของบริษัท เนื่องจากชุดสีเดิมใช้สีค่อนข้างพื้นฐาน เลือกสีให้ครบทุกด้านของวงล้อสี (color wheel) ถึงแม้สีดูสดใส (colorful) แต่ก็ไม่มีเอกลักษณ์ประจำตัวนัก โดยเฉพาะไมโครซอฟท์ในยุคปัจจุบันที่มีลูกค้าทั่วโลกเป็นจำนวนมาก มีความหลากหลายอย่างสูง
แนวทางของไมโครซอฟท์ไม่ทิ้งชุดสีเดิม แต่ปรับบางส่วนใหม่ให้สะท้อนคุณค่าขององค์กร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกคือ Pantone และ Franklin Till มาให้มุมมองที่รอบด้านขึ้น
ชุดสีใหม่ของไมโครซอฟท์ ตั้งเป้าว่าต้องสะท้อนคุณค่า 3 ประการคือ
Verizon โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศรีแบรนด์โลโก้ใหม่ ยกเลิกเครื่องหมายติ๊กถูกที่ใช้มานาน เปลี่ยนมาใช้สัญลักษณ์ตัว V ที่เป็นเหมือนเส้นตรงพับเป็นรอยแทน และปรับสีจากสีดำเป็นหลัก สีแดงเป็นรอง มาเป็นสีแดงล้วน มีสีเหลืองแทรกเล็กน้อยตรงรอยพับตัว V
Verizon อธิบายเหตุผลของการปรับแบรนด์รอบนี้ว่าต้องการสะท้อน "พลังงาน" ของผู้คนที่ใช้ชีวิต ทำงาน เล่น ผ่านเครือข่ายของ Verizon ที่เชื่อถือได้ ก่อนหน้านี้เครือข่ายของ Verizon อยู่เบื้องหลังเงียบๆ แต่ทิศทางใหม่ของบริษัทต้องการแสดงตัวตนออกมาให้คนเห็นมากขึ้น โลโก้ใหม่พัฒนาต่อจากรากเหง้าเดิมของแบรนด์ แต่เติมพลัง ความสดใหม่เข้ามา
Figma เปิดตัวดีไซน์ของแอปแบบใหม่เรียกว่า UI3 ซึ่งบอกว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเวิร์กโฟลว์และพฤติกรรมการใช้งาน ทั้งการให้ผู้ใช้งานโฟกัสที่ไอเดียมากกว่าสิ่งที่ Figma มี, ปรับให้ผู้ใช้งานมือใหม่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และปรับปรุงดีไซน์ให้ทันสมัย เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนมาเกือบสิบปี
ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Figma UI3 คือการเพิ่ม Generative AI เป็น text prompt สำหรับสิ่งที่ต้องการ, การแสดงผลที่ลดพื้นที่กล่องเครื่องมือต่าง ๆ ทำให้ตัวผลงานแสดงเต็มหน้าจอมากขึ้น, หน้าเครื่องมือสามารถปิดการแสดงข้อความกำกับ ให้เหลือเฉพาะไอคอนได้ เป็นต้น
Figma ดีไซน์ใหม่นี้ เริ่มทยอยอัปเดตให้กับผู้ใช้งานทุกคน มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เรื่องนี้เริ่มต้นจากเว็บไซต์ Numerama ของฝรั่งเศส ได้สัมภาษณ์วิศวกรอาวุโสของแอปเปิล 3 คน เกี่ยวกับ iPad Pro รุ่นใหม่ชิป M4 ซึ่งเนื้อหาก็ไม่มีอะไรใหม่ ยกเว้นประเด็นหนึ่ง
โดยมีคำถามว่าปัจจุบันโลโก้แอปเปิลที่อยู่ด้านหลัง iPad เป็นไปตามตำแหน่งเครื่องแนวตั้ง ซึ่งเป็นแบบนี้มาตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม iPad Pro ใหม่ ได้ย้ายตำแหน่งกล้องหน้ามาไว้ตามแนวยาว เพื่อรองรับการใช้งานวิดีโอคอลแนวนอน ก็เลยมีคำถามว่าโลโก้แอปเปิลน่าจะย้ายมาอยู่ตามแนวนอนด้วยหรือไม่
Molly Anderson ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลบอกว่าเป็นไปได้และสามารถเปลี่ยนได้ ในเมื่อตอนนี้ iPad มีการใช้งานแนวนอนมากขึ้น
WhatsApp ประกาศยกเครื่องหน้าตาแอปใหม่ มีผลทั้งบน iPhone และ Android โดยให้เหตุผลว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา WhatsApp เน้นเพิ่มฟังก์ชันใหม่หลายอย่าง ทำให้การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานควรปรับปรุงด้วยเช่นกัน โดยครั้งสุดท้ายที่ WhatsApp ปรับดีไซน์ใหม่คือ 2021
แนวทางการออกแบบ WhatsApp ในรอบนี้โฟกัสที่ 3 หัวข้อคือ สดใหม่ (Fresh), เข้าถึงง่ายไม่ยุ่งยาก (Approachable) และเรียบง่าย (Simple)
ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ Attachment โดยใช้วิธีขยายพื้นที่ในหน้าจอ ให้ผู้ใช้งานเลือกประเภทไฟล์ที่ต้องการส่ง, ไอคอนในแอป ปรับปรุงใหม่, สีเขียวในแอปถูกปรับให้โทนสีต่อเนื่องกัน รวมทั้งปรับเฉดสีใน Dark mode
ดีไซน์ใหม่นี้เริ่มทยอยอัปเดตให้ผู้ใช้งาน WhatsApp แล้วตั้งแต่วันนี้
เว็บไซต์ GOV.UK ประกาศเปลี่ยนโลโก้เว็บหลังจากเปลี่ยนรัชกาลมายัง "กษัตริย์ชาร์ลส์ที่สาม" เมื่อเดือนกันยายน 2022 พร้อมกับเลือกตราพระปรมาภิไธยย่อ (royal cypher) เป็นมงกุฎทิวดอร์ จากเดิมที่รัชกาลสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นั้นใช้ภาพมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด
เนื่องจากภาพตราพระปรมาภิไธยย่อนี้ปรากฎตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตู้ไปรษณีย์, สถานีตำรวจ และเว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร จึงต้องมีการทำโลโก้ใหม่เพื่อให้อัพเดตตรงกันทั้งหมด
เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักรนั้นสร้างด้วย GOV.UK Design System อยู่แล้ว ตอนนี้ทีมงานดูแลโครงการนี้ได้อัพเดตเวอร์ชั่น 5.1, 4.8 และ 3.15 เพื่อเปลี่ยนโลโก้เสียใหม่ คาดว่าเว็บต่างๆ จะอัพเดตโค้ดและแสดงโลโก้ใหม่ครบในสองสัปดาห์
ข้อมูลนี้จาก Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม หลังจากที่มีข่าวว่า Tang Tan รองประธานฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล จะลาออกจากบริษัทในเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลล่าสุดคือเขาจะไปทำงานที่ LoveFrom บริษัทด้านการออกแบบของ Jony Ive อดีตหัวหน้าฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลนั่นเอง
รายงานบอกว่า Tan จะรับผิดชอบการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้าน AI ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า LoveFrom กำลังทำร่วมกับ OpenAI ผ่านซีอีโอ Sam Altman โดย OpenAI จะดูแลส่วนซอฟต์แวร์ให้
มีรายงานว่า Peter Russell-Clarke หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ได้ลาออกจากบริษัทมาตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยเขาทำงานที่แอปเปิลมาเกือบ 20 ปี และเป็นที่รู้จักว่าเป็นทำงานใกล้ชิดกับ Jony Ive อดีตหัวหน้าฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ในการออกแบบสินค้าหลายอย่างทั้ง iMac, iPod nano, MacBook Pro และ MacBook Air
ข่าวนี้ถูกยืนยันเมื่อ Vast สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ ประกาศว่า Russell-Clarke จะมาร่วมงานในฐานะที่ปรึกษาการออกแบบอุตสาหกรรม โดยดูแลภาพรวมทั้งบริษัท
ทีมงาน Pixel เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการออกแบบ "แถบกล้อง" (Camera Bar) ที่เริ่มใช้ใน Pixel 6 และกลายเป็นเอกลักษณ์ของมือถือตระกูล Pixel จนมาถึงปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นมาจากเป้าหมายของ Pixel 6 ที่ต้องการยกระดับคุณภาพของกล้อง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เลนส์ขนาดใหญ่ขึ้น แต่ดีไซน์เดิมของ Pixel 5 จัดวางกล้องไว้ตรงมุมเดียวกัน จึงเป็นข้อจำกัดของการออกแบบ Pixel 6 ที่ต้องคิดใหม่ทำใหม่ หาวิธีจัดวางเลนส์ที่ใหญ่ขึ้น โดยเครื่องไม่ต้องใหญ่ขึ้นตาม สุดท้ายมาจบที่การวางกล้องเป็นแถบยาวๆ เพื่อรองรับกล้อง 3 ตัวของ Pixel 6 Pro ให้วางกระจายกัน การใช้แถบยาวเท่ากันหมดทำให้วางเครื่องแล้วไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง และเลือกใช้วัสดุเป็นกระจกสีดำ ทำให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเลนส์กล้อง สะอาด ไม่รก (visually clean)
กูเกิลเปิดตัวโลโก้และไอคอนหุ่นยนต์แบบใหม่ของ Android หลังจากที่เคยพรีวิวมาก่อนแล้วตั้งแต่งาน Google I/O 2023
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือข้อความ Android ใช้ตัว A ใหญ่แทน a เล็ก, และหัวหุ่นยนต์ bugdroid กลายเป็น 3D แทน 2D ถือเป็นการเลิกใช้โลโก้เดิมที่เปลี่ยนในปี 2019 (รอบ Android 10)
กูเกิลให้เหตุผลของการปรับโลโก้ครั้งนี้ว่าต้องการแสดงออกถึง "อิสรภาพในการสร้างสรรค์" (the freedom to create) ของแพลตฟอร์ม Android ส่วนเรื่องสีสันได้อิทธิพลมาจากชุดสี Material design และพยายามให้หุ่นยนต์ปรับสีแบบไดนามิกได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ความเป็น 3D ทำให้หุ่นดูมีชีวิตชีวามากกว่าเดิม
Slack ประกาศยกเครื่องการออกแบบแอปใหม่ โดยบอกว่าเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจัดระเบียบงาน โฟกัส และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากแอปมีการพัฒนาและใส่ฟีเจอร์ใหม่ตลอดเวลา เฉพาะปีที่แล้วก็มีมากกว่า 100 รายการ ทำให้ตัวแอปมีความซับซ้อนมากขึ้นเวลาใช้งาน
การออกแบบแอปใหม่นี้ Slack ปรับปรุงให้การไล่หา Channel หรือบทสนทนาที่ดำเนินอยู่ทำได้ง่ายขึ้น สามารถโฟกัสหัวเรื่องที่สำคัญ ไม่ให้ถูกรบกวนโดยเรื่องอื่น ตลอดจนปรับย้ายให้เรียกใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ สะดวกมากขึ้น
Martin Grasser หนึ่งในผู้ร่วมออกแบบโลโก้นกสีฟ้าของ Twitter ซึ่งใช้มานานกว่า 11 ปี บอกเล่ารายละเอียดที่มาของงานออกแบบนี้ เพื่อเป็นการอำลาหลังจาก Elon Musk ประกาศรีแบรนด์ชื่อใหม่จาก Twitter เป็น X ซึ่งโลโก้นกสีฟ้านี้ก็จะถูกหยุดใช้งานตามด้วย
เขาบอกว่าทีมออกแบบโลโก้ Twitter ตอนนั้นมี 3 คนคือ Grasser เอง, Todd Waterbury (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ที่ Target) และศิลปิน Angy Che โจทย์ที่ได้มามีสั้น ๆ เพียง ต้องการโลโก้นกตัวใหม่ ที่ดูดีแบบโลโก้ Apple หรือ Nike
ช่วงแรกของการออกแบบ ทีมได้วาดภาพนกหลายพันภาพ เพื่อทำความเข้าใจสัดส่วนที่ถูกต้อง รวมทั้งภาพนกขณะบินในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนโลโก้ที่เห็นปัจจุบัน สร้างขึ้นจากการนำวงกลมมาวางซ้อนตัดกันให้เป็นนก
มีรายงานเล็กน้อยหลายประเด็น จากการประกาศรีแบรนด์ Twitter มาเป็น X ของ Elon Musk เจ้าของ Twitter ปัจจุบัน เพราะตอนนี้การเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น แอป Twitter ก็ยังเป็นโลโก้นกสีฟ้า, URL หลักก็ยังเป็น Twitter.com ว่าแล้วทิศทางต่อไปคืออย่างไร
โดย Elon Musk ตอบทวีตในหลายประเด็น เช่น Sawyer Merritt ตั้งคำถามว่าคำว่าทวีต (tweet) ควรเรียกว่าอะไรต่อจาก เขาก็ตอบว่า "x" ส่วน MKBHD เมื่อบอกว่า เขาจะเรียกแพลตฟอร์มนี้ว่า Twitter ต่อไป Musk ก็มาตอบว่า "คงอีกไม่นาน" (Not for long)
Elon Musk สะเทือนวงการอีกรอบ ด้วยการบอกว่าอยากเปลี่ยนโลโก้และแบรนด์ของ Twitter จากเดิมเป็นรูปนกสีฟ้า มาเป็นสัญลักษณ์ตัว X และใช้โทนสีดำแทน
เขายังเชิญชวนให้คนที่สนใจลองออกแบบโลโก้ X เสนอเข้ามา และหากมีคนที่ทำแล้วโดนใจ เขาจะนำไปเริ่มใช้งานในวันพรุ่งนี้
ณ ขณะที่เขียนข่าวนี้ Musk ยังโพสต์คลิปโลโก้ X ที่ออกแบบโดย Sawyer Merritt แต่ยังไม่บอกว่าจะนำโลโก้อันนี้ไปใช้งานจริงๆ หรือไม่