Financial Times รายงานว่าผู้ให้บริการแอพสโตร์ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น Xiaomi, Huawei, Tencent เริ่มบล็อคหรือถอด UC Browser ของ Alibaba ตามคำสั่งของรัฐบาลจีนแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีล่าสุดของรัฐบาลจีนที่กดดัน Alibaba รอบใหม่
UC Browser โดนข้อหาเรื่องโฆษณาผิดกฎหมาย เพราะเปิดให้โรงพยาบาลเอกชนมาแข่งกันประมูลคีย์เวิร์ดของโรงพยาบาลชื่อดังๆ ในจีน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจผิด เข้าผิดเว็บ มาเข้าเว็บของโรงพยาบาลที่ประมูลชนะแทน อาจเป็นเหตุให้ UC Browser โดนแบนจากสโตร์ต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลจีนใช้ลงโทษบริษัทเอกชนอยู่แล้ว
Dr.WEB ผู้ให้บริการแอนตี้ไวรัสรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ถึงความเสี่ยงจากการใช้งาน UC Browser และ UC Browser Mini เบราว์เซอร์ของ UC Web ในเครือ Alibaba บนแอนดรอยด์ เนื่องจากเปิดโอกาสในการถูกโจมตีแบบ man-in-the-middle (MITM) เสีี่ยงถูกรันโค้ดไม่ประสงค์ดีได้
Dr.WEB ระบุว่า UC Browser มีฟีเจอร์ลับที่แอบดาวน์โหลดโมดูลและไลบรารีใหม่มาจากเซิร์ฟเวอร์ C&C ของ UCWeb โดยการติดต่อและดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างเบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดทำผ่าน HTTP รวมถึงตัวเบราเซอร์ไม่มีการตรวจสอบใบรับรองของไฟล์ด้วย เสี่ยงทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีแบบ man-in-the-middle และเบราว์เซอร์อาจดาวน์โหลดและเปิดไฟล์ไม่ประสงค์ดีแทนก็ได้
Wall Street Journal มีบทความกล่าวถึง UC Browser เว็บเบราว์เซอร์ที่กำลังมาแรงในประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมหาศาลอย่างอินเดียและอินโดนีเซีย
UC Browser เจ้าของโลโก้รูปกระรอก เป็นผลงานของบริษัท UC Web ที่เริ่มพัฒนาเบราว์เซอร์บนมือถือ Java ME มาตั้งแต่ปี 2004 และขายกิจการให้ Alibaba ในปี 2014 ปัจจุบัน UC Browser มีให้ใช้งานบนหลายแพลตฟอร์ม (Windows, iOS, Windows Phone, Java) แต่เวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Android
UC Browser เบราว์เซอร์ยอดนิยมจากจีน (ที่ดันไปดังในอินเดียมากกว่า) ถูกกูเกิลถอดออกจาก Play Store ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าทำผิดกฎเรื่องการโปรโมทให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อติดตั้งแอพตัวนี้
ตอนนี้ไม่มีข้อมูลจากฝั่งกูเกิลว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่มีนักพัฒนารายหนึ่งที่อ้างว่าเป็นพนักงานของ UCWeb ระบุว่าโดนแบนเป็นเวลา 30 วัน ผู้ที่ยังต้องการใช้ UC Browser บน Android ยังสามารถดาวน์โหลด APK มาติดตั้งเองได้จาก UCWeb
UC Browser มียอดดาวน์โหลดบน Play Store สูงถึง 500 ล้านดาวน์โหลด เป็นผลงานของบริษัท UCWeb Inc. ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเครือ Alibaba
Citizenlab ออกรายงานวิเคราะห์ UCBrowser เบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสี่ของโลก โดยดาวน์โหลดจากสองแหล่งคือ เว็บ UCBrowser เอง และ Xiaomi App Store เมื่อตรวจสอบพบว่า UCBrowser ส่งข้อมูลกลับเซิร์ฟเวอร์เพื่อเก็บสถิติหลายอย่าง แต่กลับไม่มีกระบวนการเข้ารหัสที่ดี ทำให้แฮกเกอร์สามารถดักฟังและติดตามผู้ใช้เบราว์เซอร์นี้ได้โดยง่าย โดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้