แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการประจำปี iPadOS 16 สำหรับผู้ใช้ iPad และ macOS Ventura สำหรับผู้ใช้ Mac ตามที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ โดยสำหรับ iPadOS แอปเปิลออกอัพเดตข้ามเป็นเวอร์ชัน iPadOS 16.1 เลย เพื่อให้สอดคล้องกับ iOS 16.1 ที่ออกอัพเดตพร้อมกันด้วย
ทั้ง iPadOS 16.1 และ macOS Ventura มีคุณสมบัติใหม่ที่สำคัญคือฟีเจอร์มัลติทาสก์ Stage Manager โดยใน iPad รองรับ iPad รุ่น M1 ขึ้นไป รวมทั้ง iPad Pro 11 นิ้ว รุ่นที่ 1 ขึ้นไป และ iPad Pro 12.9 นิ้ว รุ่นที่ 3 ขึ้นไป
แอปเปิลประกาศว่า ระบบปฏิบัติการ iPadOS 16 สำหรับอุปกรณ์ iPad และ macOS Ventura สำหรับ Mac จะปล่อยอัพเดตสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ในคืนวันที่ 24 ตุลาคมนี้ หลังจากเปิดตัวไปเมื่อกลางปี
ฟีเจอร์เด่นที่มีทั้งใน iPadOS 16 และ macOS Ventura ก็คือระบบมัลติทาสก์แบบใหม่ Stage Manager ที่สามารถจัดกลุ่มการทำงานของแอป
ทั้งนี้ macOS Ventura เปิดให้อัพเดตช่วงตุลาคม ถือเป็นระยะเวลาตามปกติ แต่สำหรับ iPadOS 16 ซึ่งปกติจะออกอัพเดตพร้อมกับ iOS แต่ปีนี้แอปเปิลเลื่อนออกมาจากกรอบเวลาเดิม เนื่องจากต้องการแก้ปัญหาบั๊กใน Stage Manager ที่นักพัฒนาแจ้งเข้ามามากในช่วงเบต้า
แอปเปิลประกาศรายละเอียดการออกอัพเดตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ของระบบปฏิบัติการ iOS 16 ใน iPhone โดยจะอัพเดตได้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน เป็นต้นไป (ไม่ระบุเวลา) รวมทั้ง watchOS 9 ระบบปฏิบัติการของ Apple Watch
iOS 16 มีฟีเจอร์เด่นคือล็อกสกรีนที่ปรับแต่งรายละเอียดได้ และ widget แสดงข้อมูลรูปแบบใหม่ ส่วน watchOS 9 เพิ่มฟีเจอร์การออกกำลังกาย โหมดการทำงาน Low Power และเก็บประวัติ AFib
แอปเปิลออกเวอร์ชัน Public Beta ของระบบปฏิบัติการ iOS 16, iPadOS 16, macOS Ventura, watchOS 9 และ tvOS 16 รวมทั้งซอฟต์แวร์ HomePod เป็นเวอร์ชันแรกแล้ว หลังจากปล่อยเวอร์ชันทดสอบสำหรับนักพัฒนามาก่อนหน้านี้
ในเวอร์ชัน Public Beta นี้ ผู้ใช้งานทุกคนไม่จำเป็นต้องมีบัญชีนักพัฒนา ก็สามารถดาวน์โหลดมาทดสอบการใช้งานผ่าน Apple Beta Software Program อย่างไรก็ตามแม้เวอร์ชันนักพัฒนาจะผ่านการปรับแก้ไขโดยตอนนี้เป็น Beta 3 แล้ว แต่การใช้งานก็อาจพบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสามารถแจ้งได้กับทั้งแอปเปิลและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ จึงไม่แนะนำสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 16, iPadOS 16 และ macOS Ventura เวอร์ชันเบต้าตัวที่ 3 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนทดสอบสำหรับนักพัฒนา มีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือ Lockdown Mode ที่แอปเปิลบอกว่าเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานขั้นสูงสุด เน้นไปที่ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม เช่น นักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักข่าว ที่อาจเป็นเป้าหมายของการเจาะข้อมูลจากหน่วยงาน ผ่านสปายแวร์รูปแบบต่าง ๆ
Lockdown Mode ปิดการใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น แต่สามารถเปิดการใช้งานได้ใน Settings ส่วน Privacy & Security ซึ่งต้องรีบูทเครื่องเมื่อเปิดใช้งาน
เก็บตกฟีเจอร์ใหม่เล็กๆ ของ macOS 13 Ventura คือการอนุญาตให้ใช้ Rosetta 2 ตัวแปลงไบนารี x86 ไปรันบนซีพียู ARM ของเดิมจำกัดเฉพาะไบนารี x86 ของ macOS เท่านั้น
ใน Ventura แอปเปิลได้เพิ่มการรันไบนารี x86 จากลินุกซ์ที่อยู่ใน VM เพิ่มเติมด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมช่วยให้นักพัฒนาที่รันลินุกซ์เป็น guest OS บน macOS อีกที ได้ประสิทธิภาพของการรันแอพพลิเคชันลินุกซ์เพิ่มมากขึ้น
การใช้งานจำเป็นต้องติดตั้ง Rosetta ก่อน, ติดตั้ง guest VM ที่เป็นลินุกซ์สถาปัตยกรรม ARM จากนั้นต้องสร้าง Rosetta Directory Share ระหว่าง host/guest OS แล้วเมาท์ไดเรคทอรีนี้ให้ guest OS มองเห็นก่อน รายละเอียดอ่านได้จากที่มา
ในงาน WWDC22 แอปเปิลมีประกาศเล็กๆ คือการรองรับโปรโตคอล Private Access Tokens (PAT) ที่แอปเปิลร่วมพัฒนากับกูเกิล และ Cloudflare ใน iOS 16, iPadOS 16, และ macOS 13 ทำให้เว็บต่างๆ สามารถยืนยันได้ว่าผู้ใช้มาจากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ยืนยันแล้ว (ไม่ใช่ bot ที่ปลอมตัวเป็นเบราว์เซอร์) และเนื่องจาก Cloudflare รองรับ PAT อยู่แล้ว ทำให้ผู้ใช้ระบบปฎิบัติการใหม่ๆ เหล่านี้จะไม่เห็น CAPTCHA บนเว็บที่ให้บริการผ่าน Cloudflare และเลือก Managed Challenge
เป็นประจำทุกปีหลังงาน WWDC ที่แอปเปิลเปิดตัวระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ในเครือชุดใหญ่ ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ที่ได้อัพเดตเวอร์ชันใหม่ไปต่อ และอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอัพเดต โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้
อุปกรณ์ที่ไม่ได้ไปต่อคือ iPhone SE (รุ่น 1), iPhone 6s, iPhone 6s Plus, iPod touch, iPhone 7 และ iPhone 7 Plus
แอปเปิลเปิดตัวระบบปฏิบัติการ macOS Ventura (นับเป็นเวอร์ชัน 13) โดยนำโค้ดเนมมาจากชื่อเมือง Ventura ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
macOS Ventura มีของใหม่หลายอย่างทั้งฟีเจอร์การจัดการหน้าต่าง, การทำงานร่วมกับ iPhone ใช้เป็นกล้องเว็บแคม และฟีเจอร์ระดับแอพพลิเคชัน
แอปเปิลเปิดตัวระบบปฏิบัติการ macOS Ventura เวอร์ชันล่าสุด ที่ยังคงใช้ชื่อเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฟีเจอร์ใหม่เน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
คุณสมบัติแรกคือ Stage Manager ช่วยจัดการและจัดกลุ่มหน้าต่างงานทั้งหมดที่เปิดไว้ ให้เป็นระเบียบขึ้น โดยงานหลักจะมาอยู่กลางจอ และงานอื่นจะหลบไปที่ด้านข้าง จัดกลุ่มการทำงานได้ตามรูปแบบงาน หรือตามประเภทของแอป