Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง อ้างแหล่งข่าวภายในกูเกิลว่า บริษัทกำลังพยายามรวม ChromeOS เข้ากับ Android เพื่อแก้ปัญหาระบบปฏิบัติการทั้งสองตัวไม่เหมาะสำหรับแท็บเล็ตมากนัก และเสียตลาดนี้ให้ iPad มายาวนาน
การที่ Android ออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์มือถือ และ ChromeOS ออกแบบมาสำหรับโน้ตบุ๊ก ทำให้การใช้งานบนแท็บเล็ตนั้นขาดๆ เกินๆ ด้วยกันทั้งคู่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมากูเกิลพยายามแก้ปัญหาโดยเพิ่มฟีเจอร์ให้แต่ละฝั่ง แต่ก็ไม่สำเร็จนัก ไอเดียล่าสุดของกูเกิลในตอนนี้คือหลอมรวมระบบปฏิบัติการทั้งสองเข้าด้วยกัน แต่จะเป็นฝั่ง ChromeOS ย้ายเข้ามาหา Android
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Windows Resiliency Initiative เพื่อเพิ่มความทนทานให้วินโดวส์ไม่ให้เกิดเหตุล่มเป็นวงกว้างแบบเดียวกับเหตุการณ์ CrowdStrike เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยวาง 4 แนวทาง ได้แก่
Red Hat ประกาศรับรอง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการบน Windows Subsystem for Linux (WSL)
ที่ผ่านมา เราสามารถนำดิสโทรใดๆ ก็ได้ไปรันบน WSL ได้เองอยู่แล้ว โดยไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับดิสโทรบางราย เช่น Ubuntu, Debian, Fedora ให้รองรับ WSL อย่างเป็นทางการ และมีแพ็กเกจของดิสโทรเหล่านี้ให้กดคลิกดาวน์โหลดจาก Microsoft Store ได้เลย
ประกาศนี้คือ Red Hat ประกาศรองรับ RHEL บน WSL อย่างเป็นทางการ ในแง่การใช้งานคงไม่ต่างอะไรกับการดาวน์โหลด RHEL มาติดตั้งเอง แต่สำหรับลูกค้าองค์กร การที่มี RHEL อย่างเป็นทางการให้ใช้งานบน WSL จะช่วยให้รันแอพพลิเคชันองค์กรข้ามไปมาระหว่าง RHEL ปกติกับ RHEL WSL ได้ง่ายขึ้นมาก
กูเกิลออก Android 16 Developer Preview 1 ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะออก Android API สองรุ่นในปี 2025 โดยจะออกรุ่น Major SDK ในไตรมาส 2 และ Minor SDK ในไตรมาส 4
Android 16 DP1 เป็นรุ่นพรีวิวของ Major SDK ที่จะออกในไตรมาส 2 เพื่อให้สอดคล้องกับการออกมือถือใหม่ของพาร์ทเนอร์ในช่วงไตรมาส 3 ส่วนการออกรุ่น Minor SDK ในไตรมาส 4 ยังไม่ระบุว่าจะใช้เลขเวอร์ชันอย่างไร (เช่น 16.1 หรือ 17)
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็เปิดให้ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของ Windows 11 Arm โดยตรง จากที่ก่อนหน้านี้ต้องซื้อเฉพาะเครื่องที่พรีโหลด Windows 11 Arm มาให้เท่านั้น
รูปแบบการใช้งานไม่ต่างอะไรกับไฟล์ ISO ของ Windows 11 สถาปัตยกรรม x86 สามารถนำไปใช้ติดตั้งได้ทั้งบนฮาร์ดแวร์จริงที่ใช้ซีพียู Arm64 (กลุ่ม Snapdragon X สามารถบูตได้เลยโดยไม่ต้องมีไดรเวอร์เพิ่มเติม) หรือจะไปรันใน VM ผ่าน Hyper-V ก็ได้เช่นกัน
การที่ไมโครซอฟท์ยอมเผยแพร่ไฟล์ ISO ของ Windows 11 Arm โดยตรง ย่อมทำให้อนาคตของพีซีประกอบเองที่ใช้ซีพียู Arm แพร่หลายมากขึ้น และเปิดทางให้เราเห็นสินค้ากลุ่มนี้วางขายจริงในอนาคตด้วย
บริษัท BlackBerry เปิดให้ใช้งานระบบปฏิบัติการ QNX ฟรี หากเป็นการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทดลองใช้งาน หรือนำไปใช้ในงานอดิเรกส่วนตัว
QNX เป็นระบบปฏิบัติการเรียลไทม์ขนาดเล็ก ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์ฝังตัวและรถยนต์ ถูกซื้อกิจการโดย BlackBerry เมื่อปี 2010 เพื่อนำมาใช้เป็นแกนกลางของระบบปฏิบัติการ BlackBerry 10 สำหรับสมาร์ทโฟน ถึงแม้แผนการสมาร์ทโฟนล้มเหลว แต่ฐานลูกค้าของ QNX เดิมยังคงอยู่เรื่อยมา โดยเฉพาะบริษัทถรยนต์ที่ยังมีใช้งานอยู่เรื่อยๆ
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 27744 Canary Channel มีของใหม่ที่น่าสนใจคือ ตัวอีมูเลเตอร์ Prism สำหรับรันแอพเก่า x86 บนซีพียูสถาปัตยกรรม Arm รองรับชุดคำสั่งส่วนขยายเพิ่มเติม (instruction set extension) ของซีพียูตระกูล x86 เช่น AVX, AVX2, BMI, FMA, F16C
ฟีเจอร์นี้จะทำให้แอพหรือเกม x86 บางตัวที่เรียกใช้ชุดคำสั่งเหล่านี้สามารถรันบน Arm ได้แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าก่อนหน้านี้ได้เปิดใช้งานฟีเจอร์นี้สำหรับ Adobe Premiere Pro 25 มาแบบเงียบๆ โดยจำกัดเฉพาะบางแอพเท่านั้น แต่หลังจากนี้ไปจะเปิดให้ใช้กับแอพ x64 ทุกตัวที่นำไปรันบน Arm แล้ว (ส่วนแอพ 32 บิตยังไม่รองรับ)
Carl Pei ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Nothing ไปพูดที่งานสัมมนา TechCrunch Disrupt 2024 โดยบอกว่า Nothing "อาจ" พัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองขึ้นมาใหม่
Pei บอกว่าบริษัทกำลังสำรวจหาความเป็นไปได้ว่า Nothing OS ที่แท้จริง (ไม่ใช่ Android เวอร์ชันปรับแต่ง) ควรเป็นเช่นไร เขาบอกว่าสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ ตอนนี้บริษัทจึงกำลังคิดว่าควรไปอย่างไรต่อ และอาจต้องสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเองด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2025 รุ่นเสถียร เข้าสถานะ GA (generally available) เปิดใช้งานทั่วไป และมีไฟล์อิมเมจแบบลองใช้งาน 180 วันให้ดาวน์โหลด
Windows Server 2025 เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Long-Term Servicing Channel (LTSC) ที่ออกทุก 3 ปี ต่อจาก Windows Server 2022 โดยจะซัพพอร์ตนาน 10 ปี (สูตร 5+5 ปี) ไปจนถึงปี 2034
กูเกิลประกาศปรับวิธีการออกรุ่นของ Android ใหม่เป็นปีละ 2 ครั้ง โดยจะออกรุ่นใหญ่ major ในไตรมาส 2 ของปี และรุ่นเล็ก minor ในไตรมาส 4 ของปี
Android ทั้งสองรุ่นจะปรับเลข API เป็นเวอร์ชันใหม่ แต่มีเฉพาะรุ่น major เท่านั้นที่ปรับพฤติกรรมของระบบปฏิบัติการ (behavior changes) ที่อาจส่งผลกระทบต่อแอพ ในขณะที่รุ่น minor มีแต่การเพิ่มฟีเจอร์ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และแก้บั๊กของรุ่น major เท่านั้น
เหตุผลที่แยก Android เป็นสองรุ่นเพื่อให้ออกของใหม่ได้เร็วขึ้น แต่เลือกใช้ระบบ major/minor เพื่อไม่เพิ่มภาระให้นักพัฒนาในการทดสอบแอพของตัวเอง
Windows 10 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 หรืออีกไม่ถึง 1 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยใดๆ ให้อีกแล้ว ซึ่งลูกค้าองค์กรที่ยังไม่พร้อมย้าย สามารถซื้อซัพพอร์ตแบบ Extended Security Updates (ESU) ได้อีกนาน 3 ปี โดยคิดราคาปีแรกที่ 61 ดอลลาร์ต่อเครื่อง และจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศขยายโปรแกรม ESU มายังผู้ใช้คอนซูเมอร์ทั่วไปด้วยเป็นครั้งแรก โดยจะขายให้แค่ปีแรกปีเดียว (ถึงเดือนตุลาคม 2026) ในราคาปีละ 30 ดอลลาร์ ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม ESU ฝั่งคอนซูเมอร์จะประกาศให้ทราบในภายหลัง
แอปเปิลออกอัปเดตระบบปฏิบัติการทั้งหมดได้แก่ iOS 18.1, iPadOS 18.1, macOS Sequoia 15.1 ซึ่งสามตัวแรกนี้มีของใหม่สำคัญคือ Apple Intelligence นอกจากนี้ยังออกอัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อื่นด้วย รายละเอียดดังนี้
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง อ้างแหล่งข้อมูลในกูเกิล ว่ากูเกิลกำลังมีโครงการใหม่ที่ช่วยให้อุปกรณ์ Android ทั่วๆ ไปสามารถอัพเดตได้ยาวนาน 7 ปี
โครงการนี้มีชื่อเรียกว่า Google Requirements Freeze (GRF) เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าผู้ผลิตชิป (เช่น Qualcomm หรือ MediaTek) ไม่อยากอัพเดตซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ใช้กับ Android เวอร์ชันใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM ไม่สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการตามได้ แม้ต้องการทำก็ตาม
GRF เป็นการผ่อนคลายเงื่อนไขว่า ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการ โดยยังใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตชิปเวอร์ชันเดิมได้ ("freeze") ช่วยให้การออกอัพเดตง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้โครงการ GRF กำหนดให้ผู้ผลิตชิปต้องซัพพอร์ตซอฟต์แวร์นาน 3 ปี
Huawei เปิดตัวระบบปฏิบัติการ HarmonyOS Next เวอร์ชัน 5.0 อย่างเป็นทางการ ความสำคัญคือมันเป็น HarmonyOS รุ่นแรกที่ไม่รองรับการรันแอพจาก Android แล้ว
หน้าตาของ HarmonyOS Next 5.0 ไม่ได้ต่างจากเวอร์ชันก่อนๆ มากนัก ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือและแท็บเล็ต สิ่งที่เพิ่มมาเป็นลูกเล่นอย่าง dynamic wallpaper, การปรับแต่ง lockscreen ตามสภาพอากาศ มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่เรียกว่า Star Shield, ปรับปรุงประสิทธิภาพและการทำงานของแบตเตอรี่ เป็นต้น
Windows 11 Insider Preview Build 22635.4367 (Beta Channel) เพิ่มฟีเจอร์ที่มีประโยชน์ แต่มาพร้อมกับคำถามว่าทำไมไมโครซอฟท์เพิ่งคิดได้
ปกติแล้วคำสั่ง Share ของ Windows กดแล้วจะเปิดหน้า Share Sheet ขึ้นมาในลักษณะเดียวกับระบบปฏิบัติการบนมือถือ ซึ่งอาจไม่สะดวกนักสำหรับการควบคุมที่ใช้เมาส์บนเดสก์ท็อป
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับให้อินเทอร์เฟซใหม่ ให้เราสามารถคลิกขวาที่ไฟล์ เลือกเมนู Share แล้วมีเมนูย่อยแสดงรายการแอพที่อยากแชร์ไปได้เลย ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ต้องการแชร์ไฟล์ไปยังแอพต่างๆ จากหน้าจอเดสก์ท็อปหรือ File Explorer ได้มาก
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดต Patch Tuesday รอบเดือนตุลาคม 2024 ให้กับ Windows 11 นอกจากแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนแล้ว หากใช้ Windows 11 เวอร์ชัน 24H2 จะได้ของใหม่ที่สำคัญคือแอพ Settings สามารถตั้งค่าทิศทางการเลื่อนลูกกลิ้ง scroll wheel ของเมาส์ได้แล้ว
ในประวัติศาสตร์ของ Windows ตลอดยุค Control Panel ที่ผ่านมา เราไม่สามารถตั้งค่า scroll wheel ของเมาส์ได้ว่าจะให้เลื่อนหน้าจอแบบขึ้นหรือลง (ของทัชแพดตั้งค่า scroll direction ได้ แต่เมาส์ทำไม่ได้) ผู้ใช้ที่ต้องการปรับค่านี้ต้องไปหาซอฟต์แวร์ภายนอกมาใช้กันเอง แต่ล่าสุด Windows ตั้งค่าตรงนี้ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศปล่อยอัพเดต Windows 11 24H2 ถือเป็นอัพเดตใหญ่ของปีนี้
เนื่องจากในยุคปัจจุบัน จักรวาลไมโครซอฟท์ถูกแบ่งชนชั้นเรียบร้อยคือ ชนชั้นสูง Copilot+ PC และชนชั้นรากหญ้าพีซีทั่วไป ชุดฟีเจอร์ใหม่ของ Windows 11 24H2 จึงไม่เท่ากัน (ถ้าอยากเลื่อนฐานะก็ใช้เงินแก้ปัญหา ซื้อพีซีใหม่)
ชนชั้นสูง Copilot+ PC จะได้ฟีเจอร์เอ็กซ์คลูซีฟ 5 ประการ ดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Click to Do ให้กับ Windows 11 v24H2 รุ่นใหม่ล่าสุด แต่เฉพาะกับพีซีกลุ่ม Copilot+ PC เท่านั้น
คนที่เคยใช้ฟีเจอร์ Circle to Search ของฝั่ง Android น่าจะคุ้นเคยกับฟีเจอร์ลักษณะนี้ มันคือการคลิกที่ภาพใดๆ บนหน้าจอ ณ ตอนนั้น แล้วค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพนั้น (ของไมโครซอฟท์ผ่าน Bing Visual Search) หรือสั่งงานอื่นๆ เกี่ยวกับการแต่งภาพ เช่น ลบภาพพื้นหลัง ลบวัตถุ
วิธีใช้งาน Click to Do บน Windows 11 คือกดปุ่ม Windows บนคีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วเอาเมาส์คลิกที่ภาพใดๆ บนหน้าจอได้เลย หรือจะกดช็อตคัต Win+Q ก็ได้เช่นกัน (ใช้กับแอพอะไรก็ได้ เพราะเป็นการทำงานระดับวินโดวส์ มองภาพที่ปรากฏบนจอ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง หรือวิดีโอ)
Mishaal Rahman บล็อกเกอร์สาย Android ชื่อดัง ตั้งข้อสังเกตว่ากูเกิลจะออก Android 16 รุ่นของปี 2025 ให้เร็วกว่าเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับรอบการเปิดตัว Pixel ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม (สิงหาคม จากเดิมตุลาคม) ทำให้เกิดปัญหาว่าไม่ทัน Android รุ่นเสถียรของปีนั้นๆ
หลักฐานของเรื่องนี้มาจากเอกสาร Compatibility Definition Document (CDD) ของ Android 15 ที่มีคำว่า "25Q2" ปรากฎอยู่ เพราะปกติแล้ว Android รุ่นเสถียรจะออกในช่วงไตรมาส 3 ของทุกปี แต่กรณีของปีหน้า 2025 กลับระบุเลขเป็น Q2 แทน
ไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายถึงแนวทางป้องกันข้อมูลส่วนตัวของ ฟีเจอร์ Recall ใน Windows 11 ที่บันทึกหน้าจอของพีซีเป็นระยะๆ เพื่อให้ค้นหาข้อมูลย้อนหลังได้ ฟีเจอร์นี้เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม แต่ถูกวิจารณ์เรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว จนสุดท้ายไมโครซอฟท์ยอมเลื่อนฟีเจอร์นี้ออกไปก่อน นำไปแก้ไขปรับปรุงและเตรียมกลับมาทดสอบกับกลุ่ม Insider ในเดือนตุลาคม
Yu Chengdong ซีอีโอ Huawei Consumer BG ให้สัมภาษณ์ว่าจะยุติการใช้ Windows บนคอมพิวเตอร์ หันมาใช้ HarmonyOS Next ที่พัฒนาขึ้นเอง ไม่ได้อิงกับ Linux และไม่รองรับแอป Android
Huawei อ้างว่า HarmonyOS Next มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่เหนือกว่า อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ HarmonyOS ยังขาดแรงสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายสำคัญโดยเฉพาะบริษัทเกม
ฟีเจอร์เด่นของ Windows Server 2025 ที่จะออกช่วงปลายปีนี้คือ Hotpatching หรือการอัพเดตแพตช์ได้โดยไม่ต้องรีบูตเครื่องใหม่ ล่าสุดไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ Hotpatch เข้ามาให้ทดลองใช้ใน Windows Server 2025 เวอร์ชัน public preview แล้ว
หลังไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มปุ่ม Copilot ลงมาในคีย์บอร์ดของ Copilot+ PC (เบื้องหลังการทำงานของปุ่ม) อาจมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ผ่อนคลายยอมให้ตั้งค่าปุ่ม Copilot เป็นอย่างอื่นได้แล้ว
ที่ผ่านมาเราเห็นระบบปฏิบัติการ Android รองรับการรันแอพแบบแบ่งครึ่งจอ (side-by-side) มานานพอสมควร (เริ่มใน Android 7 Nougat) ส่วนการรันแอพในหน้าต่างเหมือนระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปอื่นๆ ยังมีแค่ใน ChromeOS ที่รองรับการรันแอพ Android หรือผ่าน Samsung DeX ที่ไม่ใช่โซลูชันอย่างเป็นทางการของกูเกิล
ล่าสุดใน Android 15 QPR1 Beta 2 (รุ่นอัพเดตฟีเจอร์ย่อยต่อจาก Android 15) รองรับการรันแอพในหน้าต่างเป็นครั้งแรก โดยใช้ได้เฉพาะบนแท็บเล็ตเท่านั้น
กูเกิลประกาศออก Android 15 รุ่นเสถียร ส่งโค้ดเข้าโครงการ Android Open Source Project (AOSP) เรียบร้อยแล้ว ส่วนมือถือตระกูล Pixel ยังต้องรอการปล่อยอัพเดตอีกสักหลายสัปดาห์
ของใหม่ของ Android 15 เปลี่ยนที่ตัวแกนของระบบปฏิบัติการเป็นหลัก เพราะส่วนฟีเจอร์ระดับสูงแยกไปอยู่ใน Android Feature Drop ไปเยอะแล้ว ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงใน Android 15 ได้แก่