ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์สำหรับการใช้งาน Windows 365 บนคลาวด์โดยเฉพาะ ที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพียง 120 x 120 x 30 มม. ปลอดภัย สำหรับลูกค้าองค์กร
Windows 365 Link รองรับการเชื่อมต่อจอภายนอก 4K สองจอ, สามพอร์ต USB-A 3.2, หนึ่งพอร์ต USB-C 3.2, HDMI, DisplayPort, ช่องหูฟัง 3.5 มม., มี Ethernet, รองรับ Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.3 จึงใช้งานได้ทั้งรูปแบบเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย เนื่องจากฮาร์ดแวร์บูทขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อ Windows 365 ทันที จึงไม่มีการจัดเก็บข้อมูลใดที่อุปกรณ์ ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตไคลเอนต์ Microsoft Teams ตัวใหม่สำหรับการใช้งานบน virtual desktop/remote desktop ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานวิดีโอคอลล์
เหตุผลที่ Teams ต้องมีไคลเอนต์แยกสำหรับการรันบน Virtual Desktop Infrastructure (VDI) เป็นเพราะวิธีการประมวลผลของเครื่องเสมือนบน VDI แยกส่วนไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์กัน (ดูภาพประกอบ) จึงต้องมีไคลเอนต์เฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อสถาปัตยกรรมของ VDI ให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าแอป Windows App ที่ใช้สำหรับล็อกอินเข้าเดสก์ท็อป Windows ผ่านคลาวด์ ตอนนี้เปิดให้ใช้งานทั่วไปแล้วในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งเพิ่มเติม Google Play และ App Store เข้ามาในประกาศรอบนี้ จากก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ออกเป็นเวอร์ชันทดสอบ
Windows App รองรับเฉพาะการใช้งานผ่านบัญชีไมโครซอฟท์สำหรับที่ทำงานหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น เนื่องจากออกแบบมาเป็นแอป Remote Desktop โดยยังไม่มีแผนสำหรับพีซีของผู้ใช้งานทั่วไปในตอนนี้
นอกจาก Android, iOS, iPadOS แล้ว Windows App ยังมีเวอร์ชันสำหรับการใช้งานบน Windows และผ่านเว็บเบราว์เซอร์อีกด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดตัวแอพชื่อว่า Windows App เอาไว้เพื่อล็อกอินเข้าเดสก์ท็อป Windows (แบบสตรีมผ่านคลาวด์อีกที) โดยมีให้ใช้งานทั้งบน Windows, macOS, iOS/iPadOS และเว็บเบราว์เซอร์
แนวคิดนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะไมโครซอฟท์พยายามดันบริการเดสก์ท็อปผ่านคลาวด์มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดย Windows App ตัวนี้สามารถล็อกอินเข้าใช้งานเดสก์ท็อปของไมโครซอฟท์ได้ 3 ตัวคือ Azure Virtual Desktop, Windows 365 สำหรับลูกค้าธุรกิจ, Microsoft Dev Box สำหรับนักพัฒนา นอกจากนี้แอพเวอร์ชัน macOS/iOS/iPadOS ยังรองรับการล็อกอินไปใช้ Remote Desktop Services และ Remote PC ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 23521 ให้ Dev Channel มีของที่น่าสนใจคือ Windows 365 Switch การสลับระหว่างเดสก์ท็อปที่รันในเครื่องของเราเอง กับเดสก์ท็อปที่รันในคลาวด์ Windows 365 ได้อย่างเนียนเหมือนสลับแอพบน Taskbar ตามปกติ
Windows 365 (คนละอย่างกับ Microsoft 365) เป็นแนวทางใหม่ที่ไมโครซอฟท์เริ่มผลักดันให้ลูกค้าองค์กรใช้งาน ไอเดียของมันคือการประมวลผลเดสก์ท็อปที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แต่เพิ่มฟีเจอร์ด้านการจัดการบัญชี-ข้อมูลเข้ามา และสามารถเชื่อมต่อกับ Windows ในเครื่องได้แนบสนิทเพราะไมโครซอฟท์ทำเอง
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 บริการเดสก์ท็อปแบบสตรีมผ่านเบราว์เซอร์มาตั้งแต่ปี 2021 แม้ที่ผ่านมายังไม่ได้ขยายตลาดเยอะนัก ยังเน้นเฉพาะกลุ่มลูกค้าองค์กร แต่ล่าสุดมีเอกสารจากคดี FTC กับไมโครซอฟท์เรื่อง Activision Blizzard ให้เราเห็นแผนการของไมโครซอฟท์มากขึ้น
เอกสารนี้เขียนยุทธศาสตร์ Microsoft Life ที่ต้องการให้ผู้คน 1.5 พันล้านคนใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ แผนการในระยะสั้นคือการเพิ่มจำนวนพีซี Windows 11 ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ และใช้บริการของไมโครซอฟท์ เช่น Microsoft 365, Xbox Game Pass, Edge, Bing ที่ผูกกับ Windows 11 อยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์มีบริการ Windows 365 ที่รันเดสก์ท็อปจากคลาวด์ไมโครซอฟท์ (Cloud PC) แล้วสตรีมหน้าจอมายังอุปกรณ์ปลายทาง ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์หรือแอพ Windows 365 บนพีซี บริการนี้เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2021
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศขยายการใช้งาน Windows 365 ให้รันบนสมาร์ททีวีได้ด้วย เบื้องต้นยังรองรับเฉพาะสมาร์ททีวี LG รุ่นปี 2023 ขึ้นไป โดยจะมีแอพ Windows 365 ให้ดาวน์โหลด จากนั้นต่อเมาส์และคีย์บอร์ดผ่านบลูทูธ ก็ใช้งานเดสก์ท็อป Windows 11 จากหน้าจอทีวีได้เลย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Frontline เป็นบริการสตรีมเดสก์ท็อปผ่านเบราว์เซอร์ Cloud PC สำหรับองค์กรที่มีพนักงานแบบพาร์ทไทม์หรือพนักงานแบบเข้ากะ (shift worker) ที่สลับกันมาใช้พีซีเครื่องเดียวกัน เช่น พยาบาล พนักงานในโกดังสินค้า ฯลฯ แต่ยังต้องการเดสก์ท็อปและพื้นที่เก็บข้อมูลแยกของแต่ละคน
ความแตกต่างสำคัญของ Windows 365 Frontline กับไลเซนส์ของไมโครซอฟท์แบบอื่นๆ (เช่น Windows 365 Enterprise) คือวิธีคิดค่าไลเซนส์ที่ถูกกว่ากันมาก ซื้อไลเซนส์เดียวสามารถใช้กับพนักงานได้ 3 คน เท่ากับว่าหากองค์กรมีพนักงานแบบพาร์ทไทม์ 300 คน ก็ซื้อเพียง 100 ไลเซนส์เท่านั้น (สูตรคำนวณแบบง่ายๆ คือหนึ่งวันมี 3 กะ สลับกันใช้งานพีซีเครื่องเดียวกัน)
ไมโครซอฟท์มีบริการ Windows 365 รันวินโดวส์บนคลาวด์แล้วสตรีมมายังเครื่องของผู้ใช้ผ่านเบราว์เซอร์ เปิดมาจับตลาดลูกค้าองค์กรตั้งแต่ปี 2021 (ถือเป็น remote desktop แบบหนึ่ง)
วันนี้ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือเสริมการทำงานของ Windows 365 อีกสามอย่างคือ
ไมโครซอฟท์ประกาศราคาของบริการ Windows 365 การสตรีมเดสก์ท็อป Windows ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นบริการแบบใหม่ที่ไมโครซอฟท์เรียกว่า Cloud PC (เป็น remote desktop แบบสำเร็จรูป รันในคลาวด์อย่างเดียว ปรับแต่งได้น้อยกว่า Azure Virtual Desktop)
Windows 365 แบ่งออกเป็น 2 ระดับตามจำนวนผู้ใช้งานคือ Business (พนักงานไม่เกิน 300 คน) และ Enterprise (พนักงานมากกว่า 300 คน) โดยมีฟีเจอร์ด้านการจัดการต่างกันอยู่พอสมควร ส่วนราคาจะอิงตามสเปกเครื่องที่เลือกเช่าใช้งาน
แพ็กเกจราคาต่ำสุดของกลุ่ม Enterprise คือ 20 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 1 vCPU, แรม 2GB, สตอเรจ 64GB ส่วนแพ็กเกจสูงสุด 158 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ 8 vCPU, แรม 32GB, สตอเรจ 512GB
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Windows 365 บริการเดสก์ทอปเสมือน (virtual desktop) สำหรับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง สามารถเข้าใช้งานผ่านเบราว์เซอร์หรือจะใช้ซอฟต์แวร์ remote desktop เหมือนเดิมก็ได้เช่นกัน
บริการเดสก์ทอปเสมือนนั้นมีใช้ในโลกองค์กรเป็นเวลานานแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ชูจุดเด่นว่า Windows 365 จะเป็นเหมือนเครื่องส่วนตัวของแต่ละคน ผู้ใช้แต่ละคนสามารถล็อกอินกลับเข้าระบบโดยเห็นหน้าจอเดิม และการจัดการระดับองค์กรจะใช้ Microsoft Endpoint Manager
ไมโครซอฟท์ระบุว่าบริการ Azure Virtual Desktop ยังคงพัฒนาต่อไป สำหรับองค์กรที่ต้องการการปรับแต่งละเอียดกว่า Windows 365