ไมโครซอฟท์ปล่อย WSL2 ลง Windows Server 2022 โดยผู้ใช้ต้องติดตั้งแพตช์ KB5014678 เสียก่อน จากนั้นสามารถรันคำสั่ง wsl --install
เพื่อติดตั้ง WSL2 ได้เลย
WSL2 ต่างจาก WSL ตัวแรกอย่างมาก โดยไมโครซอฟท์อาศัยระบบ virtual machine มารันเคอร์เนลลินุกซ์คู่กับเคอร์เนลวินโดวส์เอง ทำให้การทำงานเหมือนลินุกซ์มากขึ้น และประสิทธิภาพดีกว่า WSL ตัวแรกมาก
ที่มา - Microsoft DevBlogs
ไมโครซอฟท์ปล่อยไฟล์ Windows Server 2022 ตัวจริงมาแบบเงียบๆ หลังเปิดให้ลูกค้ากลุ่มพาร์ทเนอร์ดาวน์โหลดผ่าน Evaluation Center มาได้สักระยะหนึ่ง
Windows Server 2022 มีทั้งหมด 3 รุ่นย่อยคือ Datacenter, Datacenter: Azure Edition, Standard โดยรุ่น Azure จะมีฟีเจอร์เยอะที่สุด (รายการเปรียบเทียบ) มีระยะซัพพอร์ตนาน 5+5 ปี สิ้นสุดวันที่ 14 ตุลาคม 2031 รายการฟีเจอร์ใหม่
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่ม Windows Server 2022 เข้า Evaluation Center เปิดทางให้พันธมิตรสามารถดาวน์โหลดไปทดสอบ ทั้งแบบ ISO และรันเครื่องทดสอบบน Azure
ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อย Windows Server 2022 มาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผ่านช่องทาง Insider Preview โดยช่วงหลังไมโครซอฟท์ปรับรูปแบบการออก Windows Server เวอร์ชั่นใหม่เป็นรูปแบบที่คาดเดาได้มากขึ้น โดยมีการอัพเดตฟีเจอร์ทุกๆ 6 เดือน (Semi-Annual Channel) และทุกๆ 2-3 ปีจะออกเวอร์ชั่นซัพพอร์ตระยะยาว (Long-Term Servicing Channel - LTSC) ที่จะซัพพอร์ตเต็มรูปแบบไป 5 ปีและซัพพอร์ตระยะยาวไปอีก 5 ปี รวมสามารถใช้งานได้นาน 10 ปี
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Server 2022 อย่างเป็นทางการ โดยจะเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ซัพพอร์ตระยะยาว (Long-Term Servicing Channel หรือ LTSC) ตามนโยบายใหม่ของบริษัท
Windows Server 2022 ต่อยอดมาจาก Windows Server 2019 โดยฟีเจอร์ใหม่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ