Zipmex แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ประกาศว่าบริษัทระงับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและฝากสินทรัพย์ทุกประเภทเป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 น. เป็นต้นไป โดยยังสามารถถอนเงินบาทและสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ใน Trade Wallet ผ่านทางเว็บไซต์และแอปในมือถือได้ตามปกติ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 ส่วนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทซื้อขายได้อย่างเดียว (Trade Only) ให้ติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าเพื่อดำเนินการเท่านั้น
และหลังจากวันที่ 31 มกราคม 2567 หากต้องการทำธุรกรรมถอนสินทรัพย์ จะต้องติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าเพื่อดำเนินการเท่านั้น และอาจต้องใช้เวลา 7-14 วัน ขั้นตอนการถอนจึงจะแล้วเสร็จ
สัปดาห์ที่แล้ว นอกจาก สำนักงาน ก.ล.ต. รับฟังความเห็นการแก้ไขหลักเกณฑ์ซื้อขายคริปโต ต้องซื้อขั้นต่ำ 5,000 บาท จำกัดความเสี่ยงรายย่อย ยังมีรับฟังความเห็นอีกเรื่องที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์ ห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลและนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่รับฝากไปให้กู้ยืมหรือลงทุน และจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝาก (deposit taking and lending)
ก.ล.ต. กล่าวโทษต่อบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) และนายเอกลาภ ยิ้มวิไล ซีอีโอของบริษัท ฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ก.ล.ต. จากการขอข้อมูลเกี่ยวกับกิจการและการดำเนินงาน โดย Zipmex ไม่ส่งข้อมูลให้ภายในเวลาที่กำหนด และเมื่อแจ้งเตือนก็ส่งข้อมูลเพียงบางส่วน
การกล่าวโทษครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่าง ก.ล.ต. กำลังสอบสวนประเด็นที่ Zipmex ประกาศระงับการถอนเงิน เนื่องจากประสบปัญหาบริการ ZipUp+
สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษบริษัท ซิปเม็กซ์ จำกัด (Zipmex) และ นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ซีอีโอ ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ก.ล.ต. ที่สั่งให้แจ้งรายละเอียดของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากกรณี ZipUp+
Zipmex ประกาศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2022 ถึงความคืบหน้าเรื่องการรับเงินลงทุนเพิ่มเติม ที่เคยเปิดเผยไปก่อนหน้านี้ ระบุว่าจากการลงนาม MOU กับนักลงทุน 3 ราย เมื่อผ่านไป 1 เดือน มี 2 ราย ที่มีความคืบหน้าเข้าสู่กระบวนการขั้นสุดท้ายแล้ว รวมทั้งบอกว่าเปิดรับข้อเสนอทั้งจากนักลงทุนในและต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ 29 ก.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ออกมาชี้แจงรายละเอียดเรื่อง Zipmex ประสบปัญหาสภาพคล่อง โดยมีคณะผู้บริหาร 3 รายมาชี้แจง ได้แก่ รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต., ณัฐญา นิยมานุสร ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. และ เอนก อยู่ยืน ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. ร่วมตอบคำถามผ่านการไลฟ์
ประเด็นสำคัญของการชี้แจงคือ สำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่งรับทราบข้อมูลเรื่อง Zipmex ที่สิงคโปร์ยื่นขอพักชำระหนี้จากสื่ออื่นๆ โดยไม่ได้รับการชี้แจงจาก Zipmex ประเทศไทย ส่วนประเด็นว่า ก.ล.ต. เคยรับทราบเรื่องบริการ ZipUp+ หรือไม่ คำตอบก็คือเพิ่งมาทราบเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว
ในวันนี้ ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zipmex Thailand ได้แถลงการณ์ผ่านไลฟ์เพื่อรายงานสถานการณ์ล่าสุด ของบริการ ZipUp ที่ตอนนี้ระงับการถอนสินทรัพย์ชั่วคราว โดยมีหลายประเด็นสำคัญ
โดย ดร.เอกลาภ พูดถึงการรับการลงทุนเพิ่มเติม ว่าตอนนี้ได้เซ็น MOU กับนักลงทุนหลายรายแล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนอื่นต่อไป ส่วนประเด็นจากหน่วยงานกำกับดูแลนั้น Zipmex ได้รายงานให้ข้อมูลกับทาง ก.ล.ต. แล้ว
Zipmex ออกเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม หลังจากเมื่อคืนนี้ได้ชี้แจงว่าส่วนที่เกิดปัญหาคือบริการ ZipUp+ ซึ่งเป็นการนำเงินคริปโตไปฝากกินดอกเบี้ยกับ Babel Finance มูลค่ารวม 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ Celsius มูลค่าร่วม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจาก Celsius นั้นเข้าสู่กระบวนการล้มละลายแล้ว ความหวังที่จะได้ทรัพย์สินคืนมาเต็มจำนวนคงมีค่อนข้างน้อย แต่สำหรับทาง Babel นั้นทาง Zipmex ระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการประเมินทางเลือก
ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Zipmex Thailand แถลงการณ์ผ่านไลฟ์เมื่อเวลา 19.00 ว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากบริการ ZipUp ซึ่งเป็นบริการที่เปิดให้ลูกค้าสามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลไป "ฝาก" (stake) ไว้เพื่อแลกกับโบนัสหรือผลตอบแทนเพิ่มเติมได้ (เรียกอีกอย่างว่า "นำสินทรัพย์ดิจิทัลของเราไปให้กู้" ก็ได้)
Zipmex ประกาศสั่งระงับการถอนเงินออกจากแพลตฟอร์ม ทั้งเงินบาทและคริปโต (all fiat and crypto) เพื่อเสถียรภาพของแพลตฟอร์ม ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ Zipmex ระบุก็หนีไม่พ้นความผันผวนของตลาด ปัญหาการเงินจากคู่ค้าและเหตุการณ์ Black Swan (เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับเหรียญ Luna และ Three Arrows Capital)
Zipmex ระบุว่าคำสั่งระงับนี้มีผลชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกาศเพิ่มเติม
ที่มา - Zipmex
มีรายงานว่า Coinbase แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตรายใหญ่ในอเมริกา ได้เข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Zipmex แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตของไทย โดยคาดว่ามูลค่ากิจการอยู่ที่ราว 400 ล้านดอลลาร์
ตัวแทนของ Zipmex ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์ The Block ว่า บริษัทอยู่ในขั้นตอนเพิ่มทุนซีรี่ส์ B+ และมีการเจรจากับผู้ลงทุนหลายราย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงไม่แสดงความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
ปัจจุบัน Zipmex ให้บริการในไทย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มีผู้ลงทุนก่อนหน้านี้หลายราย เช่น Plan B Media, Master Ad, กองทุน Krungsri Finnovate
ที่มา: The Block