นอกจาก Chromebook แล้ว กูเกิลยังโชว์ Chrome OS รุ่นปรับปรุงใหม่ที่แก้ปัญหาจากรุ่นที่ใช้ใน Cr-48 และเปิดเผยแผนธุรกิจของ Chrome OS/Chromebook ที่จับตลาดพีซีองค์กรโดยตรง
Chrome OS ปรับปรุงใหม่
โดยรวม Chrome OS ยังหน้าตาเหมือนเดิมทุกประการ แต่แก้ปัญหาเรื่องการจัดการไฟล์ โดยเพิ่ม file manager ขึ้นมาเป็นแท็บใหม่อีกอันหนึ่ง (สมมติว่าเราเสียบ SD หรือ thumbdrive จะเปิดแท็บ file manager ให้อัตโนมัติ)
file manager ตัวนี้สามารถเล่นเพลงและเล่นหนังได้ในตัว (ถ้าเป็นหนังจะเล่นโหมด fullscreen ได้ด้วย) ส่วนเอกสาร PDF ก็เปิดอ่านด้วยตัวอ่าน PDF ที่ฝังมากับ Chrome อยู่แล้ว
แต่ส่วนที่เจ๋งกว่านั้นคือ กูเกิลเปิดให้แอพของ Chrome (ซึ่งเป็นเว็บแอพ) สามารถเข้าถึงไฟล์บนเครื่องได้ โดยเว็บแอพจะต้องลงทะเบียนกับ Chrome OS เพื่อบอกว่าตัวเองเปิดไฟล์อะไรได้บ้าง เมื่อเราเห็นไฟล์ชนิดนั้นๆ ใน file manager ก็จะมีปุ่มเรียกเว็บแอพตัวนั้นมาจัดการไฟล์
ตัวอย่างเช่น เว็บแอพ Picasa บอก Chrome OS ว่าจัดการไฟล์รูปภาพได้ เมื่อเราเสียบ SD ที่มีไฟล์ภาพ ก็จะเห็นปุ่ม Send to Picasa สามารถส่งรูปเข้าไปยัง Picasa ได้ทันที (ส่งเสร็จก็คลิกลิงก์ เปิดแท็บใหม่ดูภาพใน Picasa ได้เลย)
ช่วงที่ผ่านมา กูเกิลยังจับมือกับแอพดังๆ บน Chrome OS เป็นหลักร้อยตัว ปรับการทำงานของแอพให้ทำงานในโหมดออฟไลน์ได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีเน็ตใช้ช่วงนั้น ก็ยังใช้งานแอพได้ ตัวอย่างรายชื่อแอพก็ดูกันเองตามภาพ
แผนธุรกิจ Chromebooks
จุดขายที่สำคัญของ Chrome OS/Chromebook คือลดภาระการดูแลเครื่อง ทั้งเรื่องบูตเร็ว ต่อเน็ตตลอดเวลา แบตอยู่ได้นาน ข้อมูลอยู่บนกลุ่มเมฆไม่หายไปไหน ไม่ต้องตามอัพเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง และความปลอดภัยที่ดีกว่าพีซี
ข้อดีเหล่านี้เหมาะอย่างยิ่งกับตลาดพีซีองค์กร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากมายจากการดูแลระบบพีซี ไม่ว่าจะเป็นการแบ็คอัพ การซ่อมบำรุง ค่าอัพเกรดโปรแกรม ดูแลรักษาอื่นๆ ฯลฯ
กูเกิลจึงนำเสนอแผนที่เรียกว่า Chromebooks for business หรือให้องค์กรจ่ายค่าใช้งาน Chromebooks เป็นรายเดือน (ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้) โดยคิดราคาเป็นหัว คนละ 28 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งลูกค้าของโครงการนี้จะได้
สำหรับภาคการศึกษาก็มีโครงการลักษณะเดียวกันคือ Chromebooks for education เพียงแต่ราคาลดลงเหลือ 20 ดอลลาร์ (แนวเดียวกับ Google Apps ที่ภาคการศึกษาจะถูกกว่า)
เท่าที่ดูแล้วกูเกิลเน้นตลาดองค์กรสุดๆ (น่าจะพออธิบายได้ว่า Chrome OS มีเป้าหมายต่างกับ Android อย่างไร) โดยกูเกิลประกาศจับมือกับ Citrix และ VMware ช่วยนำแอพพลิเคชันองค์กรเก่าๆ ไปรันแบบ virtualization ผ่านเบราว์เซอร์ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ Chrome OS ได้ง่ายขึ้น จากผลการสำรวจของกูเกิลเองระบุว่าองค์กร 75% พร้อมจะเปลี่ยนมาใช้ Chrome OS ทันทีถ้าซอฟต์แวร์พร้อม
Chromebox
สุดท้าย กูเกิลได้โชว์ฮาร์ดแวร์ Chrome OS รุ่นที่ไม่ใช่โน้ตบุ๊กด้วย โดยมันเป็นพีซีที่ต้องไปต่อจอ-คีย์บอร์ดแยกเองในชื่อ Chromebox ตอนนี้ยังไม่ระบุสเปก ราคาและวันวางจำหน่าย (จากสไลด์ของกูเกิลระบุว่าผลิตโดยซัมซุง) ส่วนหน้าตาก็ตามภาพ
ปิดท้ายด้วยวิดีโอโปรโมท Chromebook อีกตัวหนึ่ง
Comments
ว๊าว ว๊าว ว๊าววววว ลดภาระมหาศาลเลย
ดูผ่านๆ นึกว่า Mac Mini นะนั่น
Sumsung จะโดน Apple ฟ้อง เหมือนกับ Galaxy S II, Galaxy Tab อีกหรือเปล่านี่
ผมนึกว่า Apple TV Gen 1 แฮะ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลที่กูเกิ้ลอ้างมันสูงขนาดไหนหรอครับ?
ราคานี้ไม่แพง เพราะว่าไม่ต้องเสียค่าไลเซ่นส์จุกจิกแบบ Microsoft
แต่สำหรับองค์กรที่ใหญ่ สามารถซื้อ License ได้ถูกมากๆ อย่างที่ผมเคยอยู่ สามารถซื้อ MS Office Pro ในราคาพันกว่าบาท MS Windows XP Pro ราคา 800-900 บาท
MS ต้องนับค่าเครื่องไปด้วยนะครับ ในขณะที่ Chrome เหมือนเช่าเครื่องไปด้วย
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ผมว่าหลายองค์กรไม่มีโอกาสสัมผัส License ราคาถูกแบบนั้นละสิครับ
องค์ต้องใหญ่ขนาดไหนครับ พอยกตัวอย่างได้มั้ยครับ
อยากรู้ว่าราคา License ที่ว่านั้นมันอยู่ในแพคเกจแบบไหนหรือต้องซื้อเยอะมากแค่ไหนถึงจะได้สิทธิ์ครับ
ค่า training+support "มหาศาล"
ยิ่ง OS แปลกๆ ต้องเริมกันตั้งแต่ เปิดปิดเครื่องยังไงกันเลย
คิดง่ายๆ เงินเดือนเฉล 15000 = ค่าจ้างต่อชม.ละประมาณ 90
training ขั้นต่ำ 20 ชม.แค่ตอนแรกก็เสียค่าใช้จ่ายต่อพนักงานหนึ่งคนไปแล้ว 1800 บาท
นี่ขั้นต่ำนะ
ถ้าจะไม่รอด
ถ้าบริการนี้เข้าไทยมันจะน่าสนใจมากๆ (ไม่รู้จะลุ้นได้แค่ไหน) เช่าเครื่องเดือนละพัน ออกเครื่องใหม่ก็เปลี่ยนให้เลย ไม่ต้องดูแล เหมาะมาก (ถ้ามันออกเครื่องใหม่ทุกปีนี่คุ้มสุดๆ)
iPAtS
เหมือน mac mini จริงๆแหละ - -'
ลูกค้าองค์กรเหมือนผ่อนจ่าย
ลูกค้าทั่วไป ให้ซื้อขาด (349, 499 $)
ผมเข้าใจถูกไหมครับ
ดูฟีเจอร์แล้วยังไม่มีอะไรน่าสนใจเลย ถ้าคิดซะว่าเช่าบริการคลาวด์คงพอไหว
ต้องดู APP ก่อนครับ
ถ้า app ถ้ายังเป็น bookmark ซะเยอะเหมือนใน chrome app store ตอนนี้คงไม่ไหว
แต่ถ้ามี ตัวที่ offline ได้ดีๆ ขึ้นมา ก็เยี่ยมอยู่ เพราะหัวหอกอย่าง Google Doc ถือว่าไหวแล้วในกรณีที่เป็นบริษัทสมัยใหม่ที่ไม่ยึดติดกับ M$ เท่าไหร่ ที่เหลือขาดโปรแกรมทำบัญชี/บริหารโครงการซักตัว ก็ถือว่าพอแล้วที่จะ convince ให้ผมใช้ (เผอิญว่า... มีคนบางประเภทที่ ให้ใช้ windows ไม่ได้เด็ดขาด ถ้าไม่อยากวุ่นวายกับการซ่อมคอมให้)
เอ แต่จะว่าไป จริงๆ ถ้าแก้ปัญหาด้วย unlimited 3g ฟรี (ซึ่งจริงๆ chrome book ไม่น่าจะกิน bandwith มากเท่าไหร่ด้วย) ก็น่าจะแจ่มนะ
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
มันจะคุ้มแน่ หรือครับ
เครื่อง + OS เดือนละ ~1,000฿
กับเครื่อง + OS 3 ปีละ ~12,000฿
องค์กรณ์ ต้องการการอัพเดต Hardware ทุก ปี จริงหรอครับ
องค์กรณ์ ผมถ้าเครื่องยังใช้ได้ (ในที่นี้ คือ เปิดติด และ เครื่องสามารถทำงาน ได้) ก็ไม่เปลี่ยน
ต้องไม่คิดเฉพาะค่าเครื่องครับ มันจะมีค่าจ้างพนักงาน IT ค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ฯลฯ อะไรแบบนี้ด้วย ถ้าจะเทียบให้ตรงต้องเทียบกับพวกให้เช่าคอมตามองค์กรใหญ่ๆ แล้วมาคำนวณค่าใช้จ่ายเทียบกันน่ะครับ (ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่า Chromebook จะถูกกว่าเสมอไป)
ผมคิดว่าต้องดูที่ตัว APP หล่ะครับว่าใช้งานทดแทนได้แค่ไหน ถึงบวก Citrix มาด้วยก็ตาม แต่ก็น่าสนใจมาก
ปกติองค์กรใหญ่จะเสียแรงงานไปกับการจัดการ PC เยอะมากถ้า
HW update เฉพาะเครื่องซื้อใหม่หล่ะ ถ้าเครื่องเก่านี่ตัด 5 ปีแหน่ะ
ต้องดูแล asset ถ้าเป็นเครื่องเช่าไม่ต้องกังวลเรื่องตัดทรัพย์สินทุกปี
Desktop Management ถ้ามี app มาช่วยจัดการและรวมอยู่ในราคารายเดือนแล้วนับว่าถูก
ถ้า + Citrix มาด้วยจะช่วยต่อยอดด้วยกัน สามารถใช้งาน APP เจ้าอื่นๆ ที่องค์กรติดกับไม่สามารถเลิกใช้อยู่ได้(เนื่องจากความยุ่งยาก และเสี่ยงต่อธุรกิจในการเปลี่ยนแปลง)
ในแง่การเงิน สามารถย้ายจากส่วน สินทรัพย์(ที่นับวันแต่จะเสื่อมค่า) มาเป็น Operation Cost แทนครับ น่าจะทำให้ตัวเลขดัชนีด้านการเงิน น่าจะสวยขึ้น (แม้จะเล็กน้อยก็ตาม)
อันนี้เจ๋งนะ
แพงมาก 28*30=840 (10,080 บาท/ปี) ถ้าคิด 5 ปี 50,400 บาท ไหนจะยังมีปัญหากับแอพเดิมอีก
ขณะที่ราคาคอมใหม่ครบเซ็ต < 14,000 บาท ไลเซ่นส์ซื้อทีเดียวแบบ OLP ของวินโดว์ 5-6 พัน/เครื่อง รวมแล้วประมาณ 20,000 ต่อเครื่อง อายุการใช้งานนานจนกว่าจะพังแต่ไลเซ่นส์ก็ยังใช้ได้ ถ้าคิด 5 ปีค่าใช้จ่ายยังเท่าเดิม (ไม่รวมค่าดูแลถ้าจัดการเป็นก็ไม่ได้มากมาย)
น่าจะเหมาะกับองค์กรที่พึ่งพากับเน็ตมากกว่า
ผมว่าเหมาะกับโซนยุโรป หรือโลกตะวันตกมากกว่าครับ เพราะแค่พนักงานล้างจานได้ชั่วโมงละ 6-7 เหรียญ สำหรับเงินแค่นี้เล็กน้อยมากครับ
พวก Tech Support นี่กินเงินเดือนกันสูงมาก แต่ถ้าราคานี้มาโซนเอเชีย ตายอย่างเดียวครับ
ลดรายจ่ายโปรแกรม Anti Virus ไปได้ด้วย เพราะเป็นระบบเฉพาะ ซึ่งไวรัสไม่น่าจะทำงานได้
SMEs ก็คงไม่ไหว ซื้อขาดถูกกว่า
ราคาแบบนี้หลายบริษัทอาจรับได้ ถ้า Google บริการจนไม่จำเป็นต้องมีแผนก IT อยู่ในบริษัทเลย สรุป IT ตกงาน 555+
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB