Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลยอมถอย หลังโดนคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของอินเดีย (CCI) สั่งปรับเงินรวม 10.4 พันล้านบาทในเดือนตุลาคม 2022 ในข้อหา Android มีพฤติกรรมผูกขาด กีดกันการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟน

สิ่งที่กูเกิลจะปรับตามคำสั่งของ CCI มีดังนี้

  • ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM สามารถเลือกซื้อไลเซนส์แอพของกูเกิลแยกเป็นรายตัว เพื่อไปพรีโหลดในสมาร์ทโฟนได้แล้ว จากเดิมที่ต้องซื้อทั้งชุด
  • ผู้ใช้ Android ในอินเดียจะสามารถเลือก default search engine ได้เอง โดยจะขึ้นถามเมื่อเปิดเครื่องมาเป็นครั้งแรก
  • กูเกิลจะปรับแก้เงื่อนไขการใช้งานกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ OEM อนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถออกสินค้าที่ใช้ Android fork ได้ด้วย
  • ผู้ใช้ Android จะสามารถจ่ายเงินซื้อแอพหรือสินค้าในแอพ ผ่านระบบจ่ายเงินอื่น (alternative billing) นอกเหนือจาก Google Play billing (นักพัฒนาแอพต้องซัพพอร์ตด้วย)
  • กูเกิลจะปรับวิธีการอัพเดตแอพแบบ sideload ให้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้เข้าใจความเสี่ยงของการติดตั้งแอพนอกสโตร์

มาตรการบางอย่างของกูเกิลเป็นสิ่งที่ทำมาก่อนแล้วในประเทศอื่นๆ เช่น การเลือก default search engine ตามคำสั่ง EU ในปี 2019 และ alternative billing ที่ทำตามคำสั่งของรัฐบาลเกาหลีใต้ในปี 2021

ที่มา - Google

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: paween_a
Android
on 26 January 2023 - 09:34 #1275746
paween_a's picture

ประเทศคนเยอะหน่อยก็ต่อรองได้ง่ายขึ้น

By: lawson on 26 January 2023 - 09:59 #1275750 Reply to:1275746

ประเทศทุกประเทศ รัฐบาล รวมถึงคนในชาติ ผมว่าควรมีความคิดในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติถึงแม้จะความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน ไม่ควรใช้อารมณ์อยู่เหนือผลประโยชน์ของชาติ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 26 January 2023 - 22:38 #1275799 Reply to:1275750
mr_tawan's picture

แล้วมันเกี่ยวยังไงกับที่อินเดียมีประชากรเยอะเลยต่อรองง่ายครับ?


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: lawson on 27 January 2023 - 10:10 #1275825 Reply to:1275799

ผมแค่ไม่อยากให้รู้สึกว่ามีประชากรน้อยกว่าต่อรองยากแล้วก็ต้องยอมๆ ไม่ต่อรอง แต่ไม่ได้บอกว่าเจ้าของคอมเม้นท์ผิด แต่ช่วยเสริม

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 28 January 2023 - 09:12 #1275883 Reply to:1275825
Bigkung's picture

ไอ้ที่คุณเสริมก็ไม่เกี่ยวอยู่ดีครับจะมีเรื่องหรือไม่มีเรื่อง รัฐบาลไปเจรจาก็ใช้แค่เงื่อนไขส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทนั้นๆในประเทศเท่านั้น
และในที่นี่นี้คือเรื่องอำนาจต่อรองเงื่อนไขการให้บริษัทต่างชาติยอมทำตามเงื่อนไขของทางเราซึ่งเขาก็ดูเรื่องส่วนแบ่งการตลาดกับจำนวนผู้ใช้งานในการตัดสินใจ ไม่เกี่ยวกับความสามัคคีในประเทศ ผมก็ไม่คิดว่าอินเดียเงียบสงบหรอก พอๆกับเรานี่ล่ะแค่ว่าขาวเราก็ไม่ได้มาถึงเราทุกข่าว แบบข่าวเราภายในก็ไม่ได้ไปแสดงที่ประเทศเขาทุกข่าวถ้าไม่ใหญ่จริง ฮึมๆรอโอกาสการภายในเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วมีเรื่องกันบ้างประปราย ไม่เหมือนอเมริกาที่ข่าวประท้วงเกือบทุกอย่างเราจะรู้หมดเพราะเขาเป็นประเทศใหญ่ทำอะไรที่มีผลทั้งโลกเลยมีการติดตามสถานการการเมืองภายในของประเทศอื่นๆด้วย

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 28 January 2023 - 10:40 #1275892 Reply to:1275825
nessuchan's picture

คือเวลาที่คนในประเทศน้อยเนี่ย แล้วเรื่องเยอะ สิ่งที่บริษัทจะทำคือ เลิกขายครับ เพราะทำไปไม่คุ้ม แล้วพอเลิกขายเนี่ย คนที่เดือดร้อนก็คือเรา ๆ ท่าน ๆ เนี่ยแหละครับ เพราะงั้น เวลาเราจะไปต่อรองอะไรเนี่ย ต้องนึกถึงด้วยครับว่าเรามีอำนาจต่อรองมั้ย ไม่ใช่อำนาจไม่มีแล้วไปเรื่องเยอะใส่เค้า พอเค้าไม่ขายคนใช้ก็บ่นอีก

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นเรื่องปลั๊กไฟมอก. ปัจจุบัน เวลามาตรฐานเรามันเรื่องเยอะมาก ๆ เข้า ยี่ห้อดี ๆ บางยี่ห้อเค้าก็เลิกขายครับ เพราะมันไม่คุ้ม เช่น Belkin ก็เลิกขายปลั๊กไฟในบ้านเราเพราะเราใช้อยู่เจ้าเดียวมันผลิตให้เราคนเดียวมันไม่พอครับ ปัจจุบันนี้ก็มีแต่ยี่ห้อจีน ๆ เข้ามาขาย ผมไม่ได้บอกว่าของเค้าไม่ดีนะครับ แต่เท่าที่ใช้ปลั๊กไฟมาหลายยี่ห้อ ส่วนตัว Belkin ผมยังไม่มีตัวไหนพังยังใช้ได้ครบทุกรู Toshino นี่ ใช้ได้ไม่ถึงครึ่ง มี 5 รู บางทีเหลือใช้ได้แค่ 2 รู แบรนด์จีนต่าง ๆ ที่ขายกันเยอะ ๆ ผ่านมาตรฐาน มอก. มันต้องมีบางรูที่ใช้ไม่ได้ถายใน 1 ปี น่ะครับ

By: peakna
Android
on 27 January 2023 - 17:11 #1275852
peakna's picture

ขอถามในความไม่รู้และไม่เข้าใจครับ ถ้าเทียบระหว่าง Android กับ iOS ในกรณีเดียวกันนี้จะแตกต่างกันตรงไหนบ้างหรือเป็นเพราะ iOS เป็นระบบปิดครับ

By: iqsk131 on 27 January 2023 - 18:10 #1275858 Reply to:1275852

จุดแตกต่างหลักๆ มี 2 จุดใหญ่ๆครับ คือ...
- Google ขาย Mobile Services เป็นหลัก (มีผู้ผลิตมือถือเป็นลูกค้าด้วย) ส่วน Apple ขาย Mobile Device เป็นหลัก
- Google มีส่วนแบ่งเยอะกว่า Apple เพราะงั้นก็เลยโดนเล่นก่อน

ตามบทความ มี 5 ข้อที่ Google ต้องปรับ ซึ่งถ้าให้แบ่งก็จะได้ตามนี้
- ข้อ 1 2 5 => Google เป็นเจ้าตลาด Mobile Service และใช้ความได้เปรียบตรงนี้พยายามจะขายพ่วง Service ต่างๆด้วย (รวมถึงกีดกันคู่แข่งในข้อ 5 ด้วย) ก็เลยโดนสั่งให้ปรับเพื่อให้ขายพ่วงกันได้ยากขึ้น ส่วน Apple ไม่ได้ขาย Mobile Service ก็เลยรอด
- ข้อ 3 => Google เป็นเจ้าตลาด Mobile Service และตั้งเงื่อนไขกีดกันคู่แข่ง โดยการห้ามไม่ให้ผู้ผลิตมือถือไปใช้ Mobile Service อื่นๆด้วย ก็เลยโดนสั่งให้ปรับไม่ให้กีดกัน ส่วน Apple ไม่ได้ขาย Mobile Service ก็เลยรอด
- ข้อ 4 => Google เป็นเจ้าตลาด App Store (โดยขายพ่วงมากับ Mobile Service ตามข้อ 1) และใช้ความได้เปรียบตรงนี้พยายามจะขายพ่วง Payment Service ด้วยการบังคับ ก็เลยโดยปรับไม่ให้พ่วงกัน ส่วนข้อนี้เอาจริงๆ Apple ก็เข้าข่ายเหมือนกัน เพราะขาย Payment Service และพ่วงมากับ Mobile Device อยู่เหมือนกัน แต่ด้วยความที่ไม่ใช่เจ้าตลาดก็เลยยังไม่โดน แต่หลังจากนี้จะโดนไหมก็ต้องรอดูต่อไป... (เกาหลีใต้โดนแล้วส่วนยุโรปเข้าใจว่ากำลังโดน)

ปล. ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้นะครับ แค่ลองวิเคราะห์ดูจากหลายๆข่าว ถ้าผิดถูกอย่างไรก็มาร่วมวิเคราะห์กันได้
ปล2. ดักไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เข้าข้าง Apple ใจจริงผมก็อยากให้โดนฟ้องไปด้วยแหละ 55+

By: peakna
Android
on 27 January 2023 - 21:01 #1275865 Reply to:1275858
peakna's picture

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ เสริมข้อสงสัยนิดนึงหากในอนาคต Google จะผันตัวมาผลิตเองแบบ Apple ทั้งหมดน่าจะดีกว่าสินะแค่หาจ้างโรงงานผลิตแทน

By: iqsk131 on 27 January 2023 - 21:42 #1275868 Reply to:1275865

ถ้าจะให้ผันตัวเป็นแบบ Apple ก็ต้องไม่ใช่แค่หันมาผลิตเอง แต่ต้องเลิกขายอย่างอื่นด้วยครับ

ไม่ใช่แค่คดีนี้ แต่คดีผูกขาดส่วนใหญ่ที่โดนกันในยุคนี้ มักจะเกิดจากบริษัทใหญ่ทำธุรกิจย่อยในเครือหลายอย่าง และทำให้มันเอื้อในเครือเดียวกัน จนคู่แข่งสู้ไม่ได้นี่แหละ เพราะงั้นตราบที่ยังขายอย่างอื่นอยู่ก็ยังโดนอยู่ดีนั่นแหละครับ

อย่างไรก็ตาม ต่อให้ทำธุรกิจแบบ Apple ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีทางโดน เพราะเดิมทีกฎหมายป้องกันการผูกขาดก็ทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปอยู่แล้ว เพราะงั้นถ้าบริษัทมีอำนาจมากเกินไปจนเสี่ยงจะส่งผลเสียกับเศรษฐกิจเดี๋ยวเขาก็ปรับกฎมาเพื่อควบคุมอยู่ดี ซึ่งผมมองว่าต่อให้ทำธุรกิจแบบ Apple แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนใหญ่มากๆมันก็เสี่ยงเหมือนกัน (เป็นเหตุผลที่ผมบอกว่าผมไม่เข้าข้าง Apple และอยากให้ Apple โดนฟ้องเช่นกัน)