ผู้ใช้ลินุกซ์ฝั่ง GNOME คงคุ้นเคยกับตัวจัดการไฟล์ Nautilus กันเป็นอย่างดี (ไม่ว่าจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม)
ล่าสุดใน GNOME 3.6 ที่กำลังจะออกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ Nautilus ถูกยกเครื่องครั้งใหญ่ให้หน้าตาเข้าชุดกับ GNOME 3.x ที่เน้นความเรียบง่ายของส่วนติดต่อผู้ใช้
Nautilus รุ่นใหม่ถูกปรับเปลี่ยนหน้าตาไปหลายอย่าง เมนูต่างๆ ถูกย้ายไปรวมกันในปุ่มรูปเฟืองด้านขวามือ (คล้ายกับ Chrome) เพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามาอย่างการจัดการ sidebar ด้านซ้าย, เพิ่มคำสั่ง Copy/Move to แต่ก็มีปัญหาคือโดนถอดความสามารถเดิมๆ ไปหลายอย่าง เช่น Compact View, Tree View, เมนู Go/Bookmark, การแบ่งครึ่งจอด้วยปุ่ม F3 เป็นต้น (ภาพประกอบ)
การเปลี่ยนแปลงของ Nautilus ซึ่งเป็นโครงการต้นน้ำของ GNOME ส่งผลให้ Nautilus รุ่นล่าสุดยังทำงานกับดิสโทรปลายน้ำอย่าง Ubuntu ได้ไม่ดีนัก (แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของธีมซึ่งแก้ไขได้) อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้ Nautilus เดิมจำนวนไม่น้อยไม่พอใจที่ความสามารถเก่าๆ ถูกถอดออกไป และมีคนออกแพตช์เพื่อนำความสามารถบางอย่างกลับคืนมาแล้ว
กรณีของ Nautilus น่าสนใจเพราะแสดงให้เห็นถึงทิศทางของ GNOME ต้นน้ำ (ที่ถูกผลักดันโดยคนของ Red Hat) กับ Unity ของ Ubuntu ที่ห่างไกลกันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจเห็น Ubuntu หันมาสร้างตัวจัดการไฟล์ของตัวเองก็เป็นได้
ที่มา - OMG Ubuntu (1), OMG Ubuntu (2)
Comments
สวย เรียบๆ ดีแฮะ
ถ้า Ubuntu ต้องการสร้างประสบการณ์ผู้ใช้แบบจริงๆ จังๆ ขึ้น ผมว่าตัวจัดการไฟล์เป็นอีกอย่างที่ Ubuntu ต้องทำรุ่นของตัวเองแล้ว
ถ้าไม่คิดอะไรมาก แนะนำให้ใช้ Windows Explorer เอาไว้
ลอกเป็นแรงบรรดาลใจ :Dเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
ลองใช้บน 12.10 Alpha ตกใจ .. มันแบบว่า ยังไม่ใช่อย่างแรง
ใช้ตัวนี้แทน http://en.wikipedia.org/wiki/File_System_Visualizer
ไม่เห็นด้วยกับการที่ canonical จะสร้างเครื่องมือจัดการไฟล์ตามที่ลงท้ายครับ
ผมคิดว่าความเป็น opensource และความเป็นต้นน้ำที่เนื้อหาข้างบนเขียนมา ก็เป็นเหตุผลที่ดีและควรจะเป็นเหตุผลหลักได้ที่สนับสนุนที่จะตัดความสามารถปลีกย่อยออกไปก่อนในตอนพยายามจะรื้อทำอะไรใหม่ครับ อันที่จริงแล้ว gnome 3 มีแผนที่จะแก้หลายส่วนจริงๆ https://live.gnome.org/Nautilus/Future
ความเป็นต้นน้ำ ก็เหมือนกับการที่ตัดความรับผิดชอบในส่วนปลีกย่อยที่ปล่อยให้ community อื่นที่มีความถนัดมากกว่าเลือกใช้ หรือทำเสริมไป แล้วทำในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญให้เสถียรหรือยืดหยุ่นกว่าก็พอก็น่าจะถูกต้องแล้ว เช่น patch ต่างๆ ที่บอกว่าจะเอาคุณสมบัติบางอย่างกลับมา ถ้ามันเอากลับมาได้ง่ายและเร็วขนาดนั้น แปลว่าผู้พัฒนา ubuntu จะสามารถนำมันกลับมาได้ง่ายหรือทำอะไรที่เจ๋งๆ กว่าลงไปได้ง่ายด้วย
หรือท้ายที่สุดแล้ว ถ้า patch จาก community ทำเพิ่มขึ้นมาถ้าเสถียรดี และไม่ไปเพิ่มความซับซ้อนโครงการหลักได้ ก็จะถูกนำกลับไปใช้เอง
ยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นจากที่กล่าวมานี้เช่น:
ubuntu ที่เดิมทำ unity ครอบบน gnome 2 แทนที่ cannonical จะไม่ใช้ gnome 3 หรือผลักดัน gnome 2 ต่อเอง ปัจจุบันก็ย้ายไปทำครอบบน gnome 3 แทน แถมยังไม่พอ ย้ายไปติดตั้งบน fedora ได้ด้วย อาจจะสามารถสรุปว่า ui ของ gnome 3 แย่แล้วก็ถูกแทนด้วย unity ก็ไม่ใช่ เพราะโค๊ดที่เป็น ui ผิวๆ ด้านบน(ส่วนที่ผู้ใช้อาจจะไม่ชอบแล้วคิดเหมารวมทั้ง project) กลับถูกแทนด้วย unity ได้ง่ายและเร็ว ก็แปลว่า gnome community ทำงานรู้ขอบเขตของตัวเองดี