เชื่อว่าทุกคนคงจำข่าวสมาคมนักดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU - International Astronomical Union) ลงมติปลดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ และถูกลดชั้นเป็นดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) กันได้แม่น (เพราะต้องเปลี่ยนความรู้ที่เคยเรียนมากันหมด)
เหตุผลที่ดาวพลูโตถูกปลดเป็นเรื่องของระยะทาง ซึ่ง IAU บอกว่า "ดาวเคราะห์" นั้นต้องอยู่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์มากจนเกินไป ทาง IAU จึงต้องคิดศัพท์ใหม่มาเรียก ซึ่งชื่อแรกที่เสนอ pluton (พลูตัน) ไม่ผ่านเพราะไปชนกับคำศัพท์ด้านธรณีวิทยา ระหว่างนี้จึงใช้คำว่า transneptunian dwarf planet ไปพลางๆ ก่อน
มาตอนนี้ได้ชื่อแล้วครับ นั่นคือ plutoid (พลูตอยด์) ซึ่งคำนิยามอย่างคร่าวๆ คือเป็นวัตถุที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลเกินดาวเนปจูน และมีขนาดใหญ่พอสมควรที่เกิดแรงดึงดูด จนตัววัตถุเองมีขนาดเกือบเป็นทรงกลม (near-spherical)
ปัจจุบันมีพลูตอยด์ 2 ดวงคือ พลูโต และอีริส (Eris - อยู่เลยพลูโตออกไปอีก) ส่วนซีรีส (Ceres) นั้นไม่นับเพราะว่าอยู่ใกล้เกินไป (ระหว่างดาวอังคารกับพฤหัส)
ในวิกิพีเดียบอกว่ามีวัตถุที่อยู่ไกลเกินดาวเนปจูน (trans-Neptunian objects - TNO) อีกสองชิ้นคือ 2003 EL61 และ 2005 FY9 กำลังอยู่ในกระบวนการเสนอชื่อเรียก และจัดเข้าเป็นพลูตอยด์ต่อไปในอนาคต
ที่มา - Ars Technica, Wikipedia - Plutoid
หมายเหตุ: คำอธิบายเรื่องดาวพลูโตถูกปลด ดูในคอมเมนต์ของคุณ thep ด้านล่างนะครับ
Comments
ในโหราศาสตร์ Uranian นั้น ใช้ทั้งดาว
Uranus หรือ มฤตยู(ฉับพลัน)
Neptune(สูญสลาย ต่างประเทศ ของเหลว อากาศ ก๊าซ)
Pluto (พลิกกลับ ไม่มีเสถียรภาพ อ้วน เยอะ)
เมื่อ Pluto ถูกถอดออกไป จึงมีคำถามว่าตำรา Uranian ซึ่งอิงกับดาวบนท้องฟ้าโดยตรง จะถอด Pluto ออกด้วยหรือไม่
ปรากฏว่า ไม่ เพราะ Pluto ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นดาวที่สำคัญทีเดียวในการทำนาย
ต่อไปอาจจะมี Eris มาให้ทายกันอีกหรือเป่าไม่รู้สิ
แต่ดาวในจานก็เยอะแล้วนะ ดาวจริง 10
อาทิตย์ จันทร์ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต
และดาวเสมือนที่เกิดจากดาวจริงมาผนวกกัน อีก 12 ดวง
เมอริเดียน ลัคนา ราหู เมษ โครโนส คิวปิโด้ เซอุส วัลคานูส ฮาเดส แอตเมตอส โพไซดอน อาพอลลอน
เวลาท้องฟ้าจำลอง ชวนให้ชมปรากฏการณ์ ดาวอะไรทับอะไร บนจานดวงก็จะปรากฏดาวเดินมาทับตามนั้น
ดาวเคราะห์แคระ ครับ ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อย
ขอบคุณครับ แก้แล้ว
ขนาดนั้นสำคัญไฉน
PoomK
พลูโต > พลูตอยด์ ตายแล้ว น่าขำจัง ถ้ามันมีชีวิตคงน้อยใจแย่ ^_^Y
notz-dev :: RIA Develop & Design
ไม่ได้เปลี่ยนชื่อพลูโตไปเป็นพลูตอยด์นะครับ
แค่ตั้งชื่อจำพวกว่าพลูตอยด์
นั่นคือ พลูโตเป็นหนึ่งในพลูตอยด์ของระบบสุริยะ
ตาม guideline แล้ว
plutoid ไม่ต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ครับ
(ไม่ใช่ proper noun)
แล้วก็ (trans-Neptunian object ด้วยครับผม
และ trans-Neptunian dwarf planet
สองคำแรกแก้แล้วนะครับ ส่วนคำสุดท้ายผมยกมาจากข่าวต้นฉบับตรงๆ ขอคงไว้แบบนี้ละกัน
ครับผม
(ผมว่าทั้ง Ars Technica และ press release ของ IAU ที่ประกาศเรื่องนี้
ต่างก็ลืมสะกดคำวิเศษณ์คำนี้อย่าง consistent)
อีกนิดนึงครับ
pluton ก็เป็น common noun ครับ
แล้วก็ space หลังวงเล็บเปิดยังมีอยู่เลยครับ
space หลังวงเล็บปิดก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ
ขอโทษครับ
ซาฟารี (แมค) ผมเว้นช่องหน้าลิงค์วลี trans-Neptunian objects ด้วย!!!
ผมเลยนึกว่าคุณ mk เผลอไปเคาะวรรคครับ
พลูโตไม่ได้ถูกปลดจากทำเนียบดาวเคราะห์เพราะระยะทางนะครับ แต่เป็นเพราะมันไม่ได้มีขนาดใหญ่พอที่จะเก็บกวาดมวลสารจนกลายเป็นวัตถุเดียวที่ใช้วงโคจร (พลูโตใช้วงโคจรร่วมกับแครอน ดวงจันทร์บริวาร ซึ่งโคจรรอบจุดศูนย์ถ่วงซึ่งกันและกัน เป็นระบบดาวคู่) คำว่า ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ก็เลยเกิดขึ้นเพื่อเรียกเทหวัตถุที่มีมวลมากพอจะมีรูปร่างเกือบทรงกลม แต่ไม่มากพอที่จะครอบครองวงโคจรแต่ผู้เดียว นิยามใหม่นี้ ทำให้ Ceres ถูกยกระดับจากดาวเคราะห์น้อยเป็นดาวเคราะห์แคระไปด้วย
plutoid ไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับดาวเคราะห์แคระอย่างที่จั่วหัวใน subject แต่พลูตอยด์เป็น subset ของดาวเคราะห์แคระ คือใช้เรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ห่างเกินวงโคจรของเนปจูนออกไป Ceres จึงยังเป็นดาวเคราะห์แคระอยู่ แต่ไม่ใช่พลูตอยด์
ปล. ผมว่าจะเขียนข่าวนี้เหมือนกัน แต่เผอิญว่าติดเรื่องอื่นอยู่ แล้วก็เห็นว่าข่าวมันล่วงเลยมาหลายวันแล้ว (ตั้งแต่ 11 มิ.ย.)
ปล. 2: มีบางแหล่งแปลข่าวผิด ว่าพลูโตเปลี่ยนชื่อเป็นพลูตอยด์ด้วย ไปซะไกลเลย
วันก่อนฟังข่่าววิทยุช่องหนึ่ง ก็เห็นรายงานแบบนี้เหมือนกันครับ แย่เลย
ข้อ 1 เนี่ย เป็นคำอธิบายของ Cleared the neighbourhood หรือเปล่าครับ ?
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ใช่ครับ ซึ่งก็ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ของพลูโตนี่แหละ ที่ทำให้เกิดคำว่า "dwarf planet" ขึ้นสำหรับดาวจำพวกพลูโตนี้
เดิมนั้น บริวารของดวงอาทิตย์ที่โคจรเป็นวงรีเกือบกลม จะแบ่งเป็นแค่ 2 ประเภท คือดาวเคราะห์ (planet) กับดาวเคราะห์น้อย (asteroid) แต่พลูโตเป็นที่ถกเถียงกันมานานเพราะมันก้ำกึ่งระหว่างสองกลุ่มนี้ คือมีขนาดเล็กมาก แถมยังเต้นรำคู่กับดวงจันทร์บริวาร แทนที่จะอยู่นิ่งให้บริวารโคจรรอบ (ก็ตัวมันเล็กจนโดนบริวารจับเหวี่ยงได้นี่) แล้วก็ยังมีระนาบโคจรรีและเอียงกว่าใครเพื่อนเสียอีก
หลังจากถกเถียงกันมานาน นักดาราศาสตร์ก็เลยรวมหัวกันปลดพลูโตเมื่อปี 2549 ด้วยการสร้างตำแหน่งรองจากดาวเคราะห์ให้พลูโตครอง เรียกว่า ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) โดยนิยามเป็นลำดับอย่างนี้:
จากนิยามอย่างนี้ พลูโตก็เลยร่วงจากทำเนียบดาวเคราะห์ลงเป็นดาวเคราะห์แคระ ด้วยคุณสมบัติข้อหลังเรื่องความบกพร่องในการ "clear neighborhood" นี่ไงครับ
พร้อมกันนี้ ซีรีส (Ceres) อดีตดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุด ก็เลยพลอยถูกเลื่อนขั้นขี้นมาเป็นดาวเคราะห์แคระกับเขาด้วยในตอนนั้น
แต่ในการสร้างคำว่า "พลูตอยด์" ในครั้งนี้ ก็มุ่งจะเรียกดาวเคราะห์แคระที่อยู่ไกลกว่าเนปจูนออกไป ซีรีสก็เลยไม่เป็นพลูตอยด์ แต่ก็ยังคงเรียกว่าดาวเคราะห์แคระอยู่ ด้วยประการฉะนี้
ด้วยความที่พลูโตไม่ได้ถูกสอยด้วยเหตุผลเรื่องระยะทางจากดวงอาทิตย์ ถ้าในอนาคต มีการพบดาวเคราะห์ (planet) ที่มีคุณสมบัติครบตามนิยาม อยู่ไกลกว่าเนปจูนออกไป ก็จะไม่เรียกว่าพลูตอยด์ เพราะไม่ใช่ดาวเคราะห์แคระครับ ดาวเคราะห์ดวงนั้นก็อาจจะกลายเป็นผู้กั้นโซนของพลูตอยด์ ในทำนองเดียวกับที่ดาวพฤหัสเป็นผู้กั้นโซนของดาวเคราะห์น้อยนั่นแหละครับ แล้วโซนดาวเคราะห์แคระที่อยู่ห่างออกไปอีก ก็คงได้ชื่อใหม่ตามดาวเคราะห์ดวงนั้น (นี่ว่ากันตามนิยามนะครับ แต่เท่าที่ค้นพบกันมา เทหวัตถุที่อยู่ไกลกว่าเนปจูนออกไป ยังไม่มีดวงไหนมีคุณสมบัติเป็นดาวเคราะห์ได้)
สาเหตุอีกอย่างนึง เพราะนิยามของดาวเคราะห์แบบเก่าไม่ชัดเจน ถ้าใช้ตามนิยามแบบเดิม ในอนาคตก็จะมีโอกาสที่ วัตถุแถบวงแหวนไคเปอร์อีกจำนวนมาก จะได้เป็นดาวเคราะห์ ถึงวันนั้นเราคงมีดาวเคราะห์อีกเยอะเลย
ผมว่านิยามใหม่มันก็ยังมีข้อถกเถียงกันอีกเยอะ แต่ก็คือว่าดีสุึดเท่าที่ทำได้ในตอนนี้แล้วครับ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net