Donald Trump แถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า หากเขาชนะเลือกตั้งและได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอีกสมัย เขาจะตั้งคณะกรรมการประสิทธิภาพรัฐบาล (government efficiency commission) เข้ามาปฏิรูปงบประมาณและการทำงานของรัฐบาลกลางครั้งใหญ่ โดย Elon Musk ยินดีเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการนี้
Trump เล่าแนวคิดของการตั้งคณะกรรมการนี้ว่า รัฐบาลกลางสหรัฐจ่ายเงินฟุ่มเฟือย รั่วไหล มีการฉ้อโกง ทำให้สิ้นเปลืองเงินภาษีประชาชนไปมหาศาลเป็นหลักล้านล้านดอลลาร์
Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta เปิดเผยในจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมาธิการยุติธรรมของสภาผู้แทนราษฎร (Committee on the Judiciary of the US House of Representatives) ระบุว่ารัฐบาลไบเดน ในช่วงปี 2021 เคยกดดันให้บริษัทเซ็นเซอร์คอนเทนต์ COVID-19 บางประเภท เช่นคอนเทนต์เสียดสี
Mark บอกว่า การตัดสินใจลบหรือไม่ลบคอนเทนต์ สุดท้ายแล้วอยู่ที่ Meta ล้วนๆ แต่การกดดันแทรกแซงดังกล่าวของรัฐบาลก็ถือว่าผิด และเจ้าตัวก็เสียใจที่ไม่ออกมาเปิดเผยเร็วกว่านี้
ย้อนกลับไปช่วง COVID โซเชียลมีเดียทั้ง Meta และ Twitter (ตอนนั้น) ถูกโจมตีทั้ง 2 ด้าน ไม่ว่าจะเรื่องการเซ็นเซอร์เนื้อหา หรือกระทั่งเรื่องการปล่อยให้มีข่าวปลอมเกี่ยวกับไวรัสและวัคซีนถูกเผยแพร่อยู่บนแพลตฟอร์ม
กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปลี่ยนเว็บไซต์ให้ประชาชนตรวจเช็คประวัติอาชญากรรมของตัวเอง จากเดิมที่ใช้โดเมนเนม www.crd-check.com มาเป็น www.crd.go.th ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ใช้โดเมน .go.th เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน
หลังเมื่อวานมีประกาศจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) เรื่องการชนะการประมูลพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางของรัฐของ Bluebik จนทำให้เกิดการคาดการณ์ไปว่าจะเป็นการพัฒนาแอป Digital Wallet
ล่าสุด Bluebik ออกมาปฏิเสธข้อมูลดังกล่าวแล้ว พร้อมชี้แจงว่าส่วนที่เข้าไปรับงาน คือการพัฒนาระบบลงทะเบียนแอปทางรัฐ ที่สามารถรองรับผู้ใช้งานอย่างน้อย 50 ล้านราย, การปรับปรุงการออกแบบหน้าจอ (UX/UI) และการตั้งค่าบริการคลาวด์ของแอปทางรัฐ เท่านั้น โดยส่วนงานอื่นๆ เช่น Digital Wallet และระบบบริการต่างๆ ของภาครัฐ ไม่ได้อยู่ในขอบเขตการทำงานในโครงการนี้
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศความสำเร็จในการสั่งหน่วยงานกว่าร้อยหน่วยงานที่ต้องส่งข้อความหาประชาชน โดย SMS ทั้งหมดจะส่งผ่านระบบกลางด้วยชื่อผู้ส่ง "gov.sg" เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ประชาชนจะถูกหลอกจากคนร้ายปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากหน่วยงานทั้งหมดต้องส่ง SMS ภายใต้ชื่อเดียวกันหมด ข้อความที่ส่งออกไปจะมีชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อมูลอยู่ในข้อความเอง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ประกาศรีแบรนด์ เพิ่มโลโก้แบบใหม่ที่มีความทันสมัย เพื่อใช้ในรูปแบบ “กึ่งทางการ” แทนโลโก้ตราพระพุธที่ยังคงไว้เป็นโลโก้ทางการ
โลโก้ใหม่จะเป็นตัวย่อ DE แรงบันดาลใจ มีที่มาจากสัญลักษณ์อินฟินิตี้ (∞) สื่อถึงการเติบโตอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนโครงสร้างตัว E เปิดปลายก็ตั้งใจจะสื่อถึงการเชื่อมกันของโลกความจริงและโลกดิจิทัล รวมถึงยังสามารถมองโลโก้รวม ๆ เป็นตัว S ซึ่งย่อมาจาก Society บ่งบอกถึงเป้าหมายของกระทรวงอย่างการมุ่งพัฒนาสังคมที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ
Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซียประกาศสั่งห้ามหน่วยงานรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นทำแอปเพิ่ม หลังหน่วยงานต่างๆ ทำแอปแยกกันอิสระจนตอนนี้มีแอปรวมเกิน 27,000 แอป
Widodo ระบุว่าปัญหาของแอปเหล่านี้คือมันไม่ได้ทำงานร่วมกันนัก และแอปจำนวนมากก็ทำงานทับซ้อนกันไปมาก แถมยังใช้งบประมาณแต่ละปีมากถึง 6.2 ล้านล้านรูปีย์ (ประมาณ 14,000 ล้านบาท) และหลังจากนี้การพัฒนาแอปควรเน้นวัดผลที่ความพอใจของประชาชนและความง่ายในการทำธุรกรรม
นโยบายห้ามทำแอปใหม่ออกมาพร้อมกับการตั้ง GovTech INA Digital เป็นหน่วยงานกลางสำหรับการเชื่อมต่อบริการสาธารณะเข้าด้วยกัน โดยจะเริ่มจากบริการทางการศึกษา, สาธารณสุข, การขอใบอนุญาตธุรกิจ, และภาษีก่อน ส่วนบริการอื่นๆ จะค่อยๆ ตามมา
รัฐบาลแคนาดา นำโดยนายกรัฐมนตรี Justin Trudeau เสนองบประมาณลงทุนด้าน AI มูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2024 เพื่อผลักดันให้แคนาดาเป็นประเทศแถวหน้าด้าน AI ของโลก
ในแพ็กเกจมูลค่ารวม 2.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา เงินก้อนใหญ่ 2 พันล้านดอลลาร์แคนาดา จะนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ (เรียกง่ายๆ คือซื้อจีพียู) ภายใต้กองทุน AI Compute Access Fund เพื่อให้นักวิจัยและภาคเอกชนมีทรัพยากรประมวลผลมากเพียงพอ และส่งผลระยะยาวคือช่วยดึงดูดทรัพยากรบุคคลเก่งๆ ของโลกมาทำงานในแคนาดาได้ด้วย
เงินก้อนอื่นๆ ในแพ็กเกจมีวัตถุประสงค์ดังนี้
Google ประเทศไทยจัดกิจกรรม Safer Songkran ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน ที่สามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้โครงการ Safer with Google ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 พร้อมประกาศความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ให้กับคนไทยผ่านฟีเจอร์และแคมเปญใหม่ ได้แก่
สรรพากรสหรัฐฯ (Internal Revenue Service - IRS) เปิดบริการ Direct File บริการรับยื่นภาษีประจำปีโดยที่ประชาชนสามารถยื่นแบบเข้าไปยังสรรพากรได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านบริการรับยื่นภาษีเอกชนอื่นๆ
วันนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการว่าด้วยมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญคือการยกเว้นภาษีเงินได้ จากการทำกำไรจากโทเคน (เงินปันผล) หากมีการชำระภาษี ณ ที่จ่าย (15%) ไปเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องไม่มีการขอรับภาษีคืนหรือไม่ขอภาษีเครดิตที่ถูกหักไว้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 (ปีนี้) เป็นต้นไป
เบื้องต้นกระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการนี้ จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละประมาณ 50 ล้านบาท แต่มองว่ามาตรการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการระดมทุนด้วยโทเคนดิจิทัล เพิ่มเติมจากวิธีเดิมๆ อย่างตราสารหนี้หรือตราสารทุนมากขึ้น
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) อัปเดตการดำเนินงานระยะเวลา 3 เดือน หลังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในกระทรวงฯ หน่วยงานรัฐและภาคเอกชน กระทรวง DE ประกาศความสำเร็จ 9 ผลงาน โดยผลงานเด่นๆ มีดังนี้
รูปแบบ One Stop Service แก้ปัญหาออนไลน์ให้บริการ 24 ชม. และใช้ติดตามสถานการณ์ สั่งการ ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์อย่างบูรณาการและทันเวลา ซึ่งระบบนี้ จะทำงานเชื่อมโยง กับ Central Fraud Registry ของสมาคมธนาคารและ Audit Numbering ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของ กสทช.
รัฐบาลสหรัฐนำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เซ็นคำสั่งประธานาธิบดี (Executive Order) ให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐเตรียมความพร้อมรับมือ AI ในด้านต่างๆ
ถึงแม้นี่ไม่ใช่กฎหมายระดับผ่านสภา มีผลบังคับต่อภาคเอกชนโดยตรง แต่คำสั่ง Executive Order ฉบับนี้ถือเป็นมาตรการของรัฐบาลสหรัฐที่จับต้องได้มากที่สุดในตอนนี้ เนื้อหาในคำสั่งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐหลายแห่งต้องออกมาตรการรับมือ AI รวมทั้งหมด 8 ด้าน
ปัจจุบันมีรูปแบบการหลอกลวงเกิดขึ้นจำนวนมาก ทาง Meta ประเทศไทยออกมาพูดถึงมาตรการการรับมือปัญหาภัยลวงออนไลน์ มีการร่วมมือกับกระทรวง DE และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดตัวแคมเปญ #StayingSafeOnline ให้ความรู้เท่าทันภัยทางออนไลน์
เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าการตรวจจับและป้องกันสแกมบนแพลตฟอร์มของ Meta หากพบบัญชีที่มีพฤติกรรมการหลอกลวง เจ้าของบัญชีจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เป็นความจริง หากเจ้าของบัญชีไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ตามที่กำหนด หรือหากผู้ตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดกฎและนโยบายต่างๆ บัญชีดังกล่าวก็จะถูกลบ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงกรณีเหตุการณ์ในห้างสยามพารากอนวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวทางห้างได้แจ้งเตือนโดยใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้ที่อยู่บริเวณห้างว่า “ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าข้อความอาจจะไม่ได้ส่งถึงคนอีกจำนวนมากในห้าง และไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจงสำหรับคนในพื้นที่
ทาง DE ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการร่วมกับ กสทช. หาแนวทางในการแจ้งเตือนแบบเจาะจง ดังนี้
การประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรี นำโดยรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง ร่วมกับ สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโครงการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการนี้แล้ว
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงดีอี แต่งตั้งนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรี
นายประเสริฐ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค จบการศึกษาปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประสบการณ์ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย ปี 2544, 2548, 2550, 2554, 2562 ในระบบแบบแบ่งเขตของจังหวัดนครราชสีมา และเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
คุณเจย์ ธนาวุฒิ Software Engineer ได้เขียนหน้าเว็บ 4km.jaytnw ขึ้นมา เพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ 4 กิโลเมตรจากจุดปักหมุดบนแผนที่ ทำให้พอได้เห็นภาพว่าระยะ 4 กิโลเมตรจากบ้าน ครอบคลุมถึงแค่ไหน
คุณเจย์บอกว่า ตัวแผนที่ใช้เอนจิน Mapbox และเขียนเพิ่มแค่ Front-end ด้วย NextJS
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประกาศเตรียมฟ้องศาลเพื่อขอคำสั่งให้ปิดกั้นเฟซบุ๊กไม่ให้สามารถใช้บริการในไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มรับเงินค่าโฆษณาจากเพจปลอมแต่กลับไม่มีการตรวจสอบ
ปัญหาใหญ่ที่ประชาชนถูกหลอกลวงมาจากเฟซบุ๊ก โดยมีการหลอกลวงให้ลงทุนผ่านโซเซียล 70% มาจากเฟซบุ๊ก และหลอกขายของออนไลน์จำนวน 90% ก็มาจากเฟซบุ๊ก ที่ผ่านมาทางกระทรวงพยายามปิดแอคเคาท์ แต่ก็เหมือนจับแมวไล่หนู ปิดไป 1 เพจ ก็เปิดมาอีก 10 เพจ ซึ่งการที่เฟชบุ๊กรับเงินจากเพจเหล่านี้โดยไม่มีการตรวจสอบถือว่า เป็นผู้สนับสนุนและไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งชัยวุฒิระบุว่า ถ้าเฟซบุ๊กไม่ปรับปรุง ก็ไม่ควรทำธุรกิจในเมืองไทยต่อไป
หมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภา พรรคก้าวไกล ทวีตเผยว่าตอนนี้สภานิติบัญญัติใช้เครื่องมือ Trello ในการติดตามสถานะของร่างกฎหมายที่ค้างท่ออยู่ในกระบวนการ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปติดตามดูความคืบหน้าได้แล้ว โดยสถานะร่างกฎหมาย สส.ชุดที่ 26 ภายในบอร์ดจะกำหนดหัวข้อเช่น ประกาศราชกิจจา, ทูลเกล้าพิจารณา, สว.วาระ 3, ร่างพรบ. ค้างสภาก่อน และอื่นๆ
เผื่อใครยังไม่รู้จัก Trello เป็นแพลตฟอร์มเครื่องมือช่วยการทำงาน สามารถช่วยให้ผู้ใช้เห็นภาพรวมผ่าน Dashboard ได้ มีระบบที่เรียกว่าการ์ด (Card) ช่วยติดตามความคืบหน้าในขั้นตอนต่างๆ และสามารถกำหนดผู้รับผิดชอบ, กำหนดวันเวลา รวมไปถึงเพิ่มรายละเอียด Checklists, Label, ไฟล์แนบต่างๆ ได้อีกด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อัปเดตว่ากำลังพัฒนาระบบ Digital Identification (Digital ID) ภายใต้โครงการ ThaiD พร้อมยังระบุว่ากำลังผลักดัน Go Cloud First สร้างระบบคลาวด์ในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้งานได้
ดีอีเอสยังอัปเดตในส่วนของมาตรการลดการหลอกลวงทางออนไลน์ หลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก. ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนการแจ้งความคดีออนไลน์จาก 800 คดี เหลือประมาณ 600 คดีต่อวัน
ที่ผ่านมาเราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นนโยบายในแง่เทคโนโลยีจากพรรคการเมืองที่ใช้ในการหาเสียงเท่าไหร่ แต่การหาเสียงเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคก้าวไกลหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดบ่อย มีบางส่วนเป็นนโยบายที่ค่อนข้างเด่นด้วย เช่น นโยบาย AI ปราบโกง หรือการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเป็น machine readable ก่อนที่ล่าสุด จะประกาศนโยบาย รื้อกระทรวงดิจิทัลฯ
พรรคก้าวไกลเผยนโยบายที่เจาะจงเรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางของกระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม เนื่องจากมองว่า เป็นกระทรวงที่เป็นฟันเฟืองสำคัญและมีศักยภาพ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับความสำคัญในแง่บทบาทระดับประเทศนอกจาก “บล็อกเว็บ” โดยประกาศแนวทางของกระทรวงทั้งหมด 5 ข้อ
1. Single Digital ID
ทำให้บัตรประชาชนหรือเลข 13 หลัก สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐได้ทั้งหมด เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนหรือกรอกเลข 13 หลัก ก็สามารถเข้ารับบริการได้ทันที หลังจากที่ผ่านมาเราได้ยินกันบ่อย แต่แทบไม่เคยใช้ได้ในทางปฏิบัติ โดยพรรคจะเชื่อมโยงระบบที่กระจัดกระจายของหลายหน่วยให้มารวมกันที่ระบบเดียว
รัฐบาลเวียดนามประกาศให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเวียดนามต้องทำการยืนยันตัวตนเร็วๆ นี้ เป็นข้อกำหนดเพื่อใช้ในการปราบปรามการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยต้องทำการยืนยันบัญชีบนแพลตฟอร์มทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่าง Facebook โดยบัญชีที่ไม่ได้รับการยืนยันตัวตนทางรัฐบาลจะทำการตรวจสอบและอาจจะบล็อกบัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อ
ซึ่งข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ที่บังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Google และ Facebook ต้องลบเนื้อหาข่าวปลอมภายใน 24 ชั่วโมง จากเดิม 48 ชั่วโมง รวมไปถึงข้อกำหนดที่ให้บริษัทเทคฯ เก็บข้อมูลข้อมูลผู้ใช้ไว้ในประเทศ
เว็บไซต์ The101.World และ 101 PUB หน่วยวิจัยนโยบายสาธารณะ รวบรวมสถิติของนโยบาย "รัฐบาลดิจิทัล" ของประเทศไทยในช่วง 8 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้