Tags:
Node Thumbnail

บริษัท การ์ตเนอร์ ทำนายแนวโน้มการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์ virtualization ของทั่วโลกในปีนี้ว่า จะมีรายได้สูงกว่าปีก่อนถึง 43 เปอร์เซนต์ หรือคิดเป็นรายได้ทั้งหมด 2.7 พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ การ์ตเนอร์กล่าวว่า ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้องค์กรต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์ virtualization มาจากคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์, ลด carbon footprint, และประหยัดพลังงานไฟฟ้า

จากแหล่งข่าว การ์ตเนอร์แบ่งตลาดซอฟต์แวร์ virtualization ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • Hosted Virtual Desktops (HVDs) คือ ซอฟต์แวร์สำหรับติดตั้งคอมพิวเตอร์เสมือน แต่เน้นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี ทั้งนี้ บริษัทสามารถเตรียมโซลูชันที่ทำให้พนักงานในองค์กร (หรือลูกค้า) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว แต่เป็นคอมพิวเตอร์เสมือนได้จากที่ใดๆในองค์กรหรือที่บ้านก็ได้ โดยการ์ตเนอร์คาดว่าในปีนี้ ตลาด HVDs จะมีรายได้เติบโตขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน กล่าวคือ เพิ่มขึ้นจากรายได้ 74.1 ล้านเหรียญในปีก่อน ไปเป็น 298.6 ล้านเหรียญในปีนี้

  • Server Virtualization Infrastructure ตรงข้ามกับ HVDs คือเป็นการรวมระบบเซิร์ฟเวอร์มาไว้ที่ระบบเดียว (หรือเรียกว่า server consolidation) ซึ่งเป็นโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ อาทิเช่น การรวมระบบแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์จากหลายหน่วยงานมาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวกัน ซึ่งแต่ละระบบจะถูกแยกออกจากกันเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือน 1 เครื่อง เป็นต้น โดยการ์ตเนอร์คาดว่าในปีนี้ ตลาดกลุ่มนี้จะโตขึ้นจากปีก่อน 22.5 เปอร์เซนต์ หรือคิดเป็นรายได้ถึง 1.1 พันล้านเหรียญ

  • Server Virtualization Management Software เป็นซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์จริงหลายเครื่อง ซึ่งผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทนี้อาจจัดให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นโซลูชันสำหรับบริหารศูนย์ข้อมูลหรือศูนย​์การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่อิงกับซอฟต์แวร์ virtualization ตัวอย่างของซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ ได้แก่ C3 ของบริษัท Citrix [ข่าวเก่า], VDC-OS ของบริษัท VMware [ข่าวเก่า], และ SCVMM ของบริษัทไมโครซอฟท์ [ข่าวเก่า] เป็นต้น ทั้งนี้ การ์ตเนอร์วิเคราะห์ไว้ว่าปีนี้ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้จะมีรายได้สูงขึ้น 42 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือคิดเป็นรายได้รวม 1.3 พันล้านเหรียญ

นอกจากนี้ การ์ตเนอร์ยังกล่าวว่า VMware จะมีคู่แข่งรายใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ และการ์ตเนอร์ทำนายไว้ว่าในปี 2013 ไมโครซอฟท์จะกลายเป็นพ่อค้ารายใหญ่ในตลาดกลุ่ม server virtualization infrastructure โดยไมโครซอฟต์จะไปได้รุ่งในกลุ่มลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

ที่มา - eWeek

Get latest news from Blognone

Comments

By: javaboom
WriteriPhone
on 21 February 2009 - 14:18 #86541
javaboom's picture

จริงๆข่าวนี้ออกมาได้สัก 10 วันแล้ว แต่ผมเพิ่งมีเวลาเขียน ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ในนี้นะครับ

virtualization ลด carbon footprint รวมถึงประหยัดไฟ ด้วยวิธีการ consolidation ซึ่งเป็นวิธีรวมเอาระบบงาน/เซิร์ฟเวอร์/พีซี หลายๆหน่วย นำมาไว้ที่คอมพิวเตอร์จริงเครื่องเดียว (หรือกลุ่มเดียว) ทำให้เราเปิดคอมพิวเตอร์จริง 1 เครื่อง แต่รันคอมพิวเตอร์เสมือนได้หลายเครื่อง ทั้งนี้ เขามีการศึกษามาว่า ระบบงานหรือคอมพิวเตอร์จริงบางเครื่องทำงานไม่เต็มที่ 100% บางเวลาก็เปิดเครื่องทิ้งไว้เฉยๆ เขาเลยคิดวิธีรวมระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้มายำรวมกันไว้ที่เดียว อันทำให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่า

Server Consolidation กับ Live Migration

ในเรื่อง server consolidation ตามที่กล่าวไว้ในข่าวในส่วน Server Virtualization Infrastructure นั้น เราแยกระบบจากหลากหลายหน่วยงาน​ ให้ 1 ระบบติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์เสมือน 1 เครื่อง เช่น ระบบดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงาน A, ระบบแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ชันของหน่วยงาน B, และไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของ หน่วยงาน C ดังนั้น เรามีเซิร์ฟเวอร์เสมืิอน 3 เครื่อง เป็นต้น แล้วเราก็รวมเอาเซิร์ฟเวอร์เสมือนเหล่านี้รันบนเซิร์ฟเวอร์จริง 1 เครื่อง (หรือ 1 กลุ่มตามแต่เหมาะสม)

สาเหตุที่เราแยก 1 ระบบติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์เสมือน 1 เครื่อง ก็คือ เราสามารถใช้ Server Virtualization Management Software สำหรับแบ่งเบาภาระของกลุ่มเซิร์ฟเวอร์จริงได้ (หรืออาจเรียกว่า server farm) อาทิเช่น หากเซิร์ฟเวอร์จริงชื่อ X มีภาระการทำงานหนัก เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์เสมือนบางเครื่องที่รันบน X ไปรันบนเซิร์ฟเวอร์จริงชื่อ Y ได้ (หาก Y มีภาระการทำงานต่ำมาก) เป็นต้น

[UPDATE] อีกกรณีคือ เรารันเซิร์ฟเวอร์เสมือนกระจายไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์จริงหลายเครื่อง แต่มีเซิร์ฟเวอร์จริงบางเครื่องแทบไม่ได้ประมวลผลเลย (อาจจะไม่มีการรันงาน) เราสามารถย้ายเอาเซิร์ฟเวอร์เสมือนบนเซิร์ฟเวอร์จริงที่ภาระประมวลผลต่ำมากองไว้รวมกันบนเซิร์ฟเวอร์จริง 1 เครื่อง แล้วจากนั้น เราสามารถปิดเซิร์ฟเวอร์จริงที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์เสมือนรันอยู่ ทำให้ประหยัดไฟ ประหยัดเงินค่าไฟ ค่าดูแลรักษา และลดการปล่อย CO2 ได้ด้วย

โดยกลไกในการย้ายเซิร์ฟเวอร์เสมือนนี้ นิยมใช้กลไกชื่อ Live Migration อันทำให้เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์เสมือนไปรันที่อื่นโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ทำให้(แทบ)ไม่มี downtime

ในยุคที่โปรเซสเซอร์มีหลายคอร์หรือ multi-core รวมถึงพวก many-core อย่างร้อยคอร์ หรือพันคอร์ (อย่าพันแน่นมากแล้วกัน) ซอฟต์แวร์ virtualization เป็นตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจของโปรเซสเซอร์ประเภทนี้เลยก็ว่าได้

My Blog / hi5 / Facebook / Follow me


My Blog

By: mekpro
ContributorAndroidUbuntu
on 21 February 2009 - 16:42 #86555
mekpro's picture

มาตามอ่านครับ

By: godzilla
Android
on 21 February 2009 - 21:18 #86587
godzilla's picture
  • หาก server/desktop นั้นๆ ต้องการ h/w พิเศษ visualization ไม่ใช่คำตอบ
  • ด้วย environment เดียวกัน visualization ไม่สามารถทำให้มันมี performance ได้มากกว่า ได้มากสุดคือเท่ากันหรือน้อยกว่า
  • network เป็นหัวใจหลัก ถ้าจะทำจริงๆ วางแผนดีๆ เพราะ core switch ไม่เคยมียี่ห้อมี 2 psu
By: amorny on 21 February 2009 - 23:42 #86611 Reply to:86587

ผมว่า concept ของ visualization มันคือการ Utilization มากกว่าครับ ส่วนเรื่องPerformance ต้องกลับมาคิด ยืนคิด นอนคิด สุดท้ายก็ไม่้พ้นเรื่อง cost T-T

By: javaboom
WriteriPhone
on 22 February 2009 - 00:51 #86615 Reply to:86587
javaboom's picture

ถูกต้องแล้วครับ

มีงานที่เหมาะสมและก็ไม่เหมาะสม หากว่าต้องการ performance สูงหรือใช้ความสามารถ video card แล้ว คงต้องมองข้าม virtualization ไปเลย แม้มีบางเจ้ากล่าวว่าเล่นเกม 3D อย่าง Gear of War ได้บน virtual machine แต่ผมลองแล้ว มันก็ยังสู้เล่นบน machine จริงไม่ได้

อย่างที่คุณ amorny กล่าว คือ utilization รวมถึงเรื่องการลด Total Cost of Ownership (TCO) เป็นอาวุธสำคัญของ virtualization เลยครับ

ส่วนเรื่อง network ก็เป็นปัญหาอย่างที่คุณ godzilla กล่าวเลยครับ ผมได้ฟังผู้บริหารของ VMware จากงาน VMware Technology Day ที่สิงคโปร์ เขากล่าวว่าผู้ผลิตอุปกรณ์ network บางเจ้าได้ออกแบบฮาร์ดแวร์ของเขาให้สนับสนุน virtualization แล้ว ตัวอย่างหนึ่งเลย เช่น VN-Link ของ Cisco ตัวนี้ทำงานกับ VMware (อาจเป็นเพราะ Cisco มีหุ้น 2% ใน VMware อยู่แล้ว เลยไปกันได้ดี) แต่ผมลองอ่านข้อมูลคร่าวๆของ VN-Link แล้ว เหมือนยังเน้นไปที่ VMotion

Cisco เข้ามาเล่นตลาด server virtualization เต็มที่แล้ว [อ้างอิง] และมีข่าว Cisco จะซื้อ VMware [ข่าวเก่า] ซึ่งต่อไปเป็นไปได้ว่า performance ของ network บน virtualization คงทำงานได้แจ๋วมากขึ้น ( สาธุ :) ) และทางที่ดีผู้ผลิต NIC ควรเข้ามาเล่นในตลาด virtualization ด้วย ตอนนี้ก็มีของ SMC [อ้างอิง] เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติมของ Cisco กับ virtualization ลองติดตามได้ที่ส่วนโซลูชัน Virtulization และ Data Center Virtualization ดูครับ

My Blog / hi5 / Facebook / Follow me


My Blog

By: jane
AndroidUbuntu
on 22 February 2009 - 13:09 #86651 Reply to:86587
jane's picture

network เป็นหัวใจหลัก ถ้าจะทำจริงๆ วางแผนดีๆ เพราะ core switch ไม่เคยมียี่ห้อมี 2 psu

มีนะ

By: godzilla
Android
on 23 February 2009 - 07:56 #86695 Reply to:86651
godzilla's picture

brand ? ราคา ? เผื่อจะได้ขอซื้อมาใช้มั่ง

By: TAXZe
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 21 February 2009 - 23:35 #86609

อย่างน้อย VS ก็ ช่วยประหยัดงบไปได้เยอะนะ ผมว่า

TAXZe.com|[T]echnology [A]dvise [X]-Ray [Z]ero [E]ffect

By: javaboom
WriteriPhone
on 22 February 2009 - 01:13 #86622 Reply to:86609
javaboom's picture

ครับ ตัวอย่างเช่น ที่ไมโครซอฟท์ได้กล่าวไว้ในข่าวเก่า ว่าระบบไอทีระบบหนึ่งที่ใช้ในไมโครซอฟท์ ประหยัดงบต่อปีได้ 11 ล้านเหรียญเมื่อใช้ virtualization (ถ้าจำไม่ผิด เขาลดเซิร์ฟเวอร์จริงได้ไปกว่า 30,000 หน่วย)

My Blog / hi5 / Facebook / Follow me


My Blog

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 22 February 2009 - 10:38 #86636
tekkasit's picture

Virtualzation มันจะมีข้อติดขัดเรื่องการคิด license การใช้งานซอฟท์แวร์ที่เป็นคอมเมอร์เชียลทั่วไป ถ้าคิดเป็น named user, user, seat พวกนี้คงไม่เป็นประเด็นอะไร แต่แบบที่คิดเป็นต่อเครื่องหรือต่อฮาร์ดแวร์เช่น socket/core มันจะคิดกันอย่างไร

ในมุมมองการพัฒนา, หรือพวก SI จะมีปัญหาการทำ hardware sizing กับการทำ certify บนแพลตฟอร์มพวกนี้จะเป็นเรื่องปวดหัวมาก เพราะในแง่เดิม เครื่องแต่ละเครื่องจะ dedicated ให้กับโครงการ,ระบบงานใดระบบงานหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้เรื่องสมรรถนะที่ได้จะค่อนข้างทำนายได้ หรือถ้าเน่า ก็หาคนอื่นโทษไม่ได้ รับผิด(ชอบ)ไปเต็มๆ

กรณี virtualization การที่แอพพลิเคชันไม่ตอบสนอง อาจจะมาจากการที่แอพพลิเคชันที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่าต้องการใช้ทรัพยากรอย่างมาก (Memory, CPU, I/O) ถ้าไม่มีการปรับแต่ง virtualization software ให้เหมาะสม ทำให้จังหวะนั้นแอพพลิเคชันบางตัวโดนผลกระทบ ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นอะไรที่ไดนามิค การไล่ตามปัญหาเมื่อเกิดปัญหาแล้ว (ไม่ถึง SLA) การนั่งชี้นิ้วหาคนรับผิดชอบ ว่าทำไมแอพมันเดี้ยง เป็นเรื่องที่สนุกสนานมาก และท้าทายความรู้ความเข้าใจของ Infrastructure Administrators + Application Owner + Software Architecture อย่างมาก

By: javaboom
WriteriPhone
on 22 February 2009 - 11:11 #86639 Reply to:86636
javaboom's picture

ใช่ครับ ตอนนี้เลยเป็นงานท้าทายมาก เพราะหลายเจ้ายก software development/system integrator ให้เป็นโซลูชันต้นๆของ virtualization เลยครับ จริงๆปัญหานี้มันก็อิงไปถึง Cloud Computing ด้วยครับ และก็มีประเด็น SLA ยกขึ้นมาถกอยู่เรื่อยๆ

ส่วนเรื่อง licensing ตอนนี้หลายเจ้ามีเรื่องกำหนดราคามาสำหรับ virtulization และ Cloud Computing แล้วนะครับ อย่างเช่น มีหลายเจ้าเลยที่ผลักดันซอฟต์แวร์ให้ไปรันบน Amazon EC2 (ซึ่งอิงกับ Xen) อย่างเช่น Microsoft, IBM, Adobe, และ Oracle เป็นต้น ผมเพิ่งทราบว่า Wikipedia ก็มีหัวข้อ Virtualization software licensing แต่ข้อมูลยังน้อยไปหน่อย

My Blog / hi5 / Facebook / Follow me


My Blog