Gartner รายงานว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปี 2024 มีมูลค่าอยู่ที่ 625,971 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้น 18.1% จากปีก่อน โดยมีชิป GPU และโปรเซสเซอร์ AI ที่ใช้ในแอปพลิเคชันของดาตาเซ็นเตอร์ (สำหรับ Servers และ Accelerator Cards) ช่วยผลักดันการเติบโตนี้
นอกจากนี้ มีผู้ผลิตชิป 11 แห่งที่มีรายได้เติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก และมี 8 ราย จาก 25 อันดับแรกที่มีรายได้ลดลงในปีที่ผ่านมา ส่วนผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 9 จาก 10 อันดับแรก มีรายได้เติบโตเป็นบวก
Samsung Electronics กลับมาครองอันดับ 1 แทน Intel จากการฟื้นของราคาอุปกรณ์หน่วยความจำ ทำให้มีรายได้รวมที่ 66,524 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้น 62.5% จากปีก่อน
Gartner คาดว่ามูลค่าใช้จ่ายไอทีทั่วโลกในปี 2025 จะเติบโตขึ้น 9.8% จากปีก่อน เป็น 5.61 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดย Generative AI จะมีอิทธิพลกับการลงทุนไอที แต่การใช้จ่ายจะไม่ได้ใช้สำหรับ Generative AI โดยตรง
สำหรับหมวดที่เติบโตมากที่สุดคือ ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ (23.2%), ซอฟต์แวร์ (14.2%), และอุปกรณ์ดีไวซ์ (10.4%) ส่วนใหญ่เป็นเพราะการอัปเกรดฮาร์ดแวร์สำหรับ Generative AI แต่จะยังไม่เห็นความแตกต่างในแง่ของฟังก์ชันการทำงาน แม้จะมีฮาร์ดแวร์ใหม่ก็ตาม
Gartner รายงานการจัดส่งพีซีทั่วโลกในไตรมาสที่ 4/2024 และตลอดทั้งปี 2024 พบว่าในไตรมาสที่ 4/2024 มีการจัดส่งพีซีทั่วโลก 64.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 1.4% จากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา
สำหรับ 6 อันดับแบรนด์ที่มีการจัดส่งมากที่สุด พบว่าอันดับไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดย Lenovo ยังครองแชมป์ส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด (26.3%) ตามมาด้วย HP Inc. (21.3%), Dell (15.5%), Apple (9.8%), ASUS (7.4%), และ Acer (6.4%)
Gartner ออกรายงานว่ากระแส AI และ Gen AI เป็นตัวเร่งให้การใช้พลังงานไฟฟ้าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าพลังงานที่จะใช้สำหรับศูนย์ข้อมูลที่เทรน AI จะอยู่ที่ 500 เทราวัตต์ชั่วโมง (TWh) ในปี 2027 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 261 เทราวัตต์ชั่วโมง
ด้วยตัวเลขการคาดการณ์การใช้พลังงานดังกล่าว ทำให้ Gartner ระบุว่าในอนาคต การเติบโตของ Gen AI และ AI จะเจอเพดานว่าพลังงานมีไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน พร้อมทั้งคาดว่า 40% ของศูนย์ข้อมูลในปัจจุบัน ก็จะเจอกับเพดานลักษณะนี้ด้วย
การ์ทเนอร์ชี้องค์กรถึง 55% ระบุว่าต้องมี AI Board เพื่อดูแลควบคุมการใช้งาน AI ในองค์กร
การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจล่าสุดของผู้บริหารระดับสูงกว่า 1,800 ราย พบว่า 55% ขององค์กรมีคณะกรรมการที่ดูแลด้านการใช้งาน AI หรือ AI Board และ 54% ระบุว่ามีหัวหน้าด้าน AI หรือ AI Leader ที่ประสานงานและดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร โดย AI Board มีหน้าที่ขับเคลื่อนกลยุทธ์ AI ให้บรรลุเป้าหมายเสมือนคณะกรรมการกลางที่คอยกำหนดทิศทาง ดูแล และควบคุมการใช้ AI
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานเกี่ยวกับส่วนงานให้บริการและสนับสนุนลูกค้า (Customer Service & Support) โดยเป็นการสำรวจเรื่องการนำ AI มาช่วยเหลือในงานบริการลูกค้า
ผลสำรวจพบว่าลูกค้าที่ติดต่อฝ่ายให้บริการลูกค้า 64% บอกว่าอยากให้บริษัทไม่นำ AI มาใช้งาน, 53% บอกว่าอาจพิจารณาย้ายไปใช้บริการคู่แข่ง ถ้าบริษัทที่ใช้บริการอยู่นำ AI มาใช้กับฝ่ายบริการลูกค้า
Keith McIntosh ฝ่ายวิจัยของ Gartner บอกว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งท้าทายเพราะหัวหน้าทีมฝ่ายบริการลูกค้า 60% ยอมรับว่าพวกเขาถูกกดดันให้นำ AI มาใช้ในการทำงาน แม้รู้ว่ามีความเสี่ยงที่ลูกค้าจำนวนหนึ่งอาจไม่พอใจ
Gartner รายงานการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ทั่วโลกในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นจาก 5.61 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 6.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นราวๆ 20.4% ปัจจัยสำคัญมาจากการใช้ Generative AI และการปรับปรุงพัฒนาแอปผ่านผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระ
ส่วนขององค์กรในไทย Gartner ประเมินค่าใช้จ่ายในปีนี้จะสูงกว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 30.1% จากปีที่แล้ว โดยกลุ่มบริการ IaaS จะเติบโตสูงสุด เพิ่มขึ้น 39.6% ตามมาด้วย PaaS อยู่ที่ 26%
Huawei Cloud อ้างข้อมูลจากรายงาน Market Share: Services, Worldwide 2023 ของบริษัท Gartner ที่สำรวจส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์แบบ Infrastructure as a Service (IaaS คือนับเฉพาะส่วน infra ไม่รวมบริการอื่นอย่างอีเมล) ของประเทศไทยในปี 2023 วัดตามรายได้ ดังนี้
Huawei Cloud เริ่มให้บริการในไทยครั้งแรก 30 กันยายน 2561 ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลแห่งล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม 2565
บริษัทวิจัยตลาด Gartner คาดการณ์ว่าปริมาณการค้นหาข้อมูล ผ่านเสิร์ชเอ็นจินแบบดั้งเดิม จะลดลง 25% จากปัจจุบัน ภายในปี 2026 โดยสิ่งที่มาแทนที่คือการค้นหาผ่านแชทบอต AI หรือผ่านระบบตัวแทนอื่น
Alan Antin รองประธานฝ่ายนักวิเคราะห์ของ Gartner บอกว่า ตัวเลขที่ลดลง 25% นี้มีความสำคัญ เพราะปัจจุบันช่องทางทำการตลาดดิจิทัลหลักทางหนึ่ง คือการทำตลาดผ่านผลการค้นหาทั้งแบบออแกนิก และแบบจ่ายเงิน เมื่อ Generative AI (GenAI) เข้ามาแทนที่การเป็นคำตอบของการค้นหา การตลาดดิจิทัลก็ต้องปรับวิธีคิดให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะเปลี่ยนไป
Gartner คาดการณ์ยอดส่งมอบ AI PC และ GenAI สมาร์ทโฟนทั่วโลกในปี 2024 รวมทั้งหมดประมาณ 295 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 29 ล้านเครื่องในปี 2023 โดยยอดจัดส่ง GenAI Smartphone จะอยู่ที่ประมาณ 240 ล้านเครื่อง ขณะที่ AI PC จะมียอดจัดส่งที่ 54.5 ล้านเครื่อง คิดเป็นสัดส่วน 22% ของ Smartphone ในระดับพื้นฐานและพรีเมียม และ 22% ของ PC ทั้งหมดในปีนี้
IDC และ Gartner รายงานตัวเลขยอดขายพีซีตลอดปี 2023 ทิศทางตรงกันคือยอดขายพีซีลดลงจากปี 2022 อย่างมาก (IDC ให้ลดลง -13.9%, Gartner บอกลดลง -14.8%) โดยตัวเลขของ Gartner ประเมินว่ายอดขายพีซีตลอดทั้งปี 241.8 ล้านเครื่อง ถือเป็นครั้งแรกนับจากปี 2006 ที่ต่ำกว่า 250 ล้านเครื่องด้วย (ตัวเลขของ IDC บอกว่า 259.5 ล้านเครื่อง) ถือเป็นปีที่ตลาดพีซีหดตัวหนักเป็นประวัติการณ์ และเป็นการลดลงต่อเนื่องจากปี 2022
ผู้ขายพีซีทุกรายล้วนมียอดขายลดลงถ้วนหน้า ตัวเลขฝั่ง IDC ยกให้แอปเปิลตกหนักสุด -22.4% ตามด้วย Dell -19.6%, ASUS -18.1% ส่วน Gartner ให้ Dell ตกหนักสุด -19.5%, แอปเปิล -18.4%, ASUS -17.5%
สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Gartner และ Canalys ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซี ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ตัวเลขของแต่ละค่ายแม้จะแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มไปในทิศทางเหมือนกัน นั่นคือจำนวนส่งมอบรวมลดลงที่ระดับ 7-9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2022 จำนวนส่งมอบ 64-68 ล้านเครื่อง
อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า คือไตรมาสที่ 2 ปี 2023 ทุกค่ายจึงต่างมองว่าในไตรมาส 4 ปี 2023 หรือไตรมาสปัจจุบันแนวโน้มจำนวนส่งมอบพีซีที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ตัวเลขเป็นทิศทางเติบโตแบบเทียบปีก่อนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ไตรมาส
บริษัทวิจัย Gartner รายงานข้อมูลการใช้จ่ายไอทีขององค์กรปี 2023 โดยเป็นข้อมูลเพิ่มเติมส่วนของประเทศไทย ต่อจากรายงานข้อมูลภาพรวมทั่วโลกก่อนหน้านี้
Gartner ประเมินว่ายอดรวมการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรในประเทศไทยปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 4.2% จากปีก่อนเป็น 9.35 แสนล้านบาท ซึ่งการเติบโตสูงระดับเลขสองหลักจะมาจากกลุ่มซอฟต์แวร์และกลุ่มบริการด้านไอที เนื่องจากองค์กรมีการเพิ่มค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับโครงการดิจิทัลที่มากขึ้น ส่วนแนวโน้มกลุ่มอื่นคล้ายกับภาพรวมทั่วโลก นั่นคือกลุ่มอุปกรณ์ไอทีมีการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่เพิ่งถูกเร่งอัพเกรดไปในช่วงโควิด 19 จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องอัพเกรดตอนนี้
บริษัทวิจัย Gartner คาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอทีของภาคองค์กรในปี 2023 จะเติบโต 2.4% ที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตน้อยลงจากตัวเลข 5.1% ที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามก็ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แม้มีแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ
John-David Lovelock นักวิเคราะห์ของ Gartner ให้ความเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ CIO องค์กรต่าง ๆ ต้องจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตามงบประมาณด้านไอทียังไม่เห็นผลกระทบชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาการลงทุนทางไอทีพิสูจน์ว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายอื่นได้
สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Canalys และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 โดยทั้งสามบริษัทให้ตัวเลขทิศทางเหมือนกัน นั่นคือยอดขายพีซีในไตรมาสยังคงลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2021 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4
โดยยอดขายภาพรวม IDC ประเมินที่ 67.2 ล้านเครื่อง ลดลง 28.1%, Canalys 65.4 ล้านเครื่อง ลดลง 29%, Gartner 65.3 ล้านเครื่อง ลดลง 28.5%
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner มองว่าลูกค้าส่วนใหญ่ได้ซื้อพีซีใหม่ไปแล้วตั้งแต่ช่วงโควิด 19 ระบาด รวมกับปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ตลอดจนเงินเฟ้อ จึงกระทบทำให้ความต้องการพีซีเครื่องใหม่ลดลง
Gartner ออกรายงานพยากรณ์การใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ของปี 2023 คาดเติบโต 20.7% มีมูลค่ารวม 5.92 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตัวเลขปี 2022 ประเมินว่าอยู่ที่ 4.90 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่มากขึ้น
Sid Nag รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่าปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ส่งผลทั้งบวกและลบต่อการใช้จ่ายพับลิกคลาวด์ แต่ด้วยจุดเด่นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงและสเกลที่รวดเร็ว จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญของผู้ใช้งาน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางไอทีรวมได้
บริษัทวิจัยตลาด Gartner พยากรณ์ว่าจะมีการลงทุนใน AI สำหรับตอบโต้บทสนทนา (Conversational AI) เพื่อใช้ในงาน Call Center รวมราว 2 พันล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2022 ผลจากการลงทุนนี้จะช่วยลดต้นทุนแรงงานคนได้ถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2026
Daniel O’Connell รองประธานฝ่ายวิเคราะห์ของ Gartner ให้ข้อมูลว่าองค์กรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาท้าทายของการขาดแคลนแรงงานในฝ่าย Call Center และต้นทุนส่วนใหญ่ของธุรกิจนี้ก็คือค่าแรง การนำ AI มาช่วยจึงลดต้นทุนส่วนนี้ได้ และ AI ประเภทดังกล่าวก็มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมาก ในแง่ประสบการณ์ของฝั่งลูกค้า
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 จำนวนส่งมอบอยู่ราว 72 ล้านเครื่อง ลดลง 12.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ซึ่งเป็นอัตราลดลงที่มากกว่าเมื่อไตรมาส 1/2022 รวมทั้งการลดลงเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ทั้งจากปัจจัย ภูมิรัฐศาสตร์, เศรษฐกิจ และซัพพลายเชน
Mikako Kitagawa ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ความเห็นว่า ปัญหาเงินเฟ้อและการสู้รบในยูเครน ส่งผลมากต่อความต้องการ Chromebook ขณะเดียวกันผู้ผลิตพีซีก็พบปัญหาการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการ แต่เริ่มดีขึ้นหลังจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการในช่วงปลายไตรมาสที่ 2
บริษัทวิจัยตลาด Gartner พยากรณ์ยอดขายพีซีประจำปี 2022 คาดว่าจะลดลง 9.5% จากปี 2021 ส่วนอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ก็หดตัวเช่นกัน โดยแท็บเล็ตลดลง 9% และโทรศัพท์มือถือลดลง 7.1%
หากแยกตลาดพีซี ฝั่งคอนซูเมอร์จะลดลงเยอะที่สุดคือ 13.1% ส่วนฝั่งธุรกิจจะลดลง 7.2% ส่วนแยกตามภูมิภาค ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา (EMEA) ลดลงเยอะที่สุด 14%
เหตุผลของการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง มาจากหลายปัจจัย ทั้งสภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย
ที่มา - Gartner
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 1 ปี 2022 จำนวนส่งมอบ 77.5 ล้านเครื่อง ลดลง 7.3% เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2021
ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดส่งมอบลดลงคือ Chromebook ซึ่งมีการเติบโตสูงของยอดขายในปี 2020 และ 2021 จากภาคการศึกษา จึงเป็นความท้าทายของภาพรวมตลาดพีซีที่จะรักษาการเติบโตในปีนี้
หากไม่รวมตัวเลขของ Chromebook ภาพรวมตลาดพีซีจะเติบโต 3.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่เริ่มชะลอตัว เนื่องจากตลาดส่วนบุคคลเริ่มเปลี่ยนหรือหยุดการซื้อ ขณะที่ภาคธุรกิจยังมีการซื้อพีซีเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริด
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามแบรนด์ 3 ลำดับแรกยังเหมือนเดิมคือ Lenovo HP และ Dell ตามด้วย Apple และ Acer ในลำดับที่ 4-5
บริษัทวิจัย Gartner ออกรายงานประเมินการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรทั่วโลก โดยภาพรวมของปี 2022 จะเพิ่มขึ้น 4% จะจากปีก่อนเป็น 4.43 ล้านล้านดอลลาร์ และมองแนวโน้มปี 2023 เพิ่มเป็น 4.67 ล้านล้านดอลลาร์
John-David Lovelock รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ข้อมูลว่า การประเมินงบประมาณใช้จ่ายไอทีขององค์กรในปีนี้ค่อนข้างผันผวน เพราะมีตัวแปรที่คาดการณ์ยากไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซัพพลายเชน
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานหัวข้อ Cloud Shift ระบุว่าการใช้จ่ายของหน่วยงานไอทีองค์กร จะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี Public Cloud มากขึ้น จนแซงเทคโนโลยีแบบเดิม (Traditional) ในปี 2025
รายงานพิจารณาการใช้จ่าย 4 หมวดเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์ได้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์ Infrastructure, Business Process และ ระบบ Infrastructure พบว่าในปี 2025 องค์กรมีแผนใช้จ่ายบนคลาวด์ 51% ของค่าใช้จ่ายรวม เทียบกับตัวเลข 41% ในปี 2022 หมวดที่มีการย้ายไปอยู่บนคลาวด์สูงสุดคือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน (65.9% ปี 2025)
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าราคาเฉลี่ยของพีซีจะแพงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากปัญหาเงินเฟ้อ ชิปขาดตลาด
ตอนนี้ผู้ผลิตพีซีเริ่มเจอปัญหาชิ้นส่วนขาดแคลน โดยเฉพาะแผงวงจรสำหรับแสดงผล แผงวงจรจัดการพลังงาน และชิ้นส่วน USB-C ทำให้ต้องเลือกว่าจะนำไปใส่พีซีรุ่นไหน ทางออกคือใส่พีซีราคาแพงที่มีอัตรากำไรดีกว่า ผลคือพีซีราคาถูกมีจำนวนสินค้าน้อยลง หาของยากขึ้น
หากผู้ผลิตพีซีไม่อยากขึ้นราคาสินค้า ก็ยังมีทางเลือกอื่นคือตัดฟีเจอร์บางอย่างลง (เช่น แรมหรือสตอเรจขนาดลดลง) หรือใช้ชิ้นส่วนที่มีราคาถูกลง
ตัวเลขของ IDC ประเมินว่าราคาเฉลี่ยของโน้ตบุ๊กในปี 2021 อยู่ที่ 820 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาของปี 2020 คือ 790 ดอลลาร์
Gartner ออกรายงานสำรวจตลาดคลาวด์แบบ IaaS ทั่วโลกประจำปี 2020 (วัดตามรายได้เป็นจำนวนเงิน) พบว่า AWS ยังเป็นเจ้าตลาดแบบทิ้งห่าง ด้วยส่วนแบ่ง 40.8% แต่ส่วนแบ่งตลาดก็ลดลงจากปี 2019 ที่ครองตลาด 44.6% แถมอัตราการเติบโตของ AWS อยู่ที่ 28.7% ต่อปี ซึ่งโตช้ากว่าตลาดโดยรวมโต 40.7% จากปี 2019
Microsoft Azure ตามมาเป็นอันดับสองที่ 19.7% เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ทำไว้ 17.4% ส่วนอันดับสามคือคลาวด์จีน Alibaba ส่วนแบ่งตลาด 9.5%, อันดับสี่ Google Cloud 6.1%, อันดับห้า Huawei Cloud ที่ 4.2%
การที่ส่วนแบ่งตลาดคลาวด์จีนมาแรง เป็นผลจากการเติบโตในประเทศจีนเป็นหลัก รายได้ของ Huawei Cloud ก็มาจากจีนถึง 90% ส่วน Alibaba มีปัจจัยเติบโตมาจากตลาดการศึกษา และซอฟต์แวร์ DingTalk ที่ใช้เยอะในจีนด้วย
Gartner รายงานยอดขายสมาร์ทโฟนตลอดทั้งปี 2020 เติบโตติดลบ -12.5% จากวิกฤติโควิด โดยมี Huawei ติดลบมากสุด -24.1% ผลจากการถูกสหรัฐแบนไม่ให้ใช้ GMS มีส่วนแบ่งตลาดตกมาอยู่อันดับ 3 ส่วนแบ่ง 13.5%
อันดับ 1 ยังคงเป็นซัมซุงแม้จะเติบโตลดลง -14.6% ส่วนแบ่ง 18.8% ตามมาด้วยแอปเปิลส่วนแบ่ง 14.8% เติบโต 3.3% เช่นเดียวกับ Xiaomi ในอันดับ 4 ที่เติบโต 2 หลักอยู่เจ้าเดียวที่ 15.7% ส่วนแบ่ง 10.8%
อันดับ 5 เป็น Oppo ส่วนแบ่ง 8.3% เติบโตลดลง -5.8%
ที่มา - Gartner