นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงแต่อ่านคำพูดจากปาก ยังสามารถบอกความแตกต่างของแต่ละภาษาได้อีกด้วย
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย Anglia พัฒนาเทคโนโลยีนี้โดยคำนวนจาก การขยับปากของผู้ทดสอบจำนวน 23 คน ซึ่งสามารถพูดได้สองภาษาถึงสามภาษา
โดยเจ้าเครื่องที่ว่านี้สามารถระบุภาษาพูดในแต่ละภาษาได้อย่างแม่นยำมาก อีกทั้งยังสามารถระบุถึงคำของภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อาระบิก, จีนกลาง, จีนกวางตุ้ง, อิตาลี, โปแลนด์และรัสเซีย
"นี่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่มีเทคโนโลยีในการอ่านริมฝีปากอัตโนมัติ และเป็นการยินยันได้ว่าเมื่อคนเราพูดในภาษาที่แตกต่างกัน เราก็จะใช้รูปแบบในการขยับปากที่ต่างกันออกไป โดยตัวอย่างที่เราพบบ่อยเช่น การห่อปากของชนชาวฝรั่งเศส และการใช้ลิ้นที่โดดเด่นของชนชาวอาระบิก" ศาสตราจารย์ Stephen Cox กล่าว
โดยการค้นพบครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับคนหูหนวก, กฏหมาย, ทหารที่ประจำการอยู่ในต่างแดน รวมไปถึงการวิจัยคำทำนาย
ที่มา : CNET
Comments
Has anyone here ever tried reading news anchors' lips while watching news on TV? It's very interesting when trying to get the meaning of what they say.
ข่าววิทยาศาสตร์-วิทยาการเหล่านี้ เดี๋ยว Jusci เปิดตัวใหม่ (อีกรอบ) แล้ว จะไปอยู่ที่ Jusci ทั้งหมดนะครับ
รับทราบครับผม พอดีผมแยกไม่ออกว่ามันควรจะไปอยู่ที่ไหนดี - -"
My Blog
ข่าวนี้น่าจะเกี่ยวกับ Computer/Technology นี่ครับ
เพราะดูท่าทางจะจัดเป็น Pattern Recognition ประเภทหนึ่งได้
Oakyman.com
แน่จริงลองทำไทยซิ ร
http://tomazzu.exteen.com
แน่เร้อ เจอภาษาปะกิตสไตล์อินโดนี่ก็เดี้ยงแล้วมั๊ง ไหนจะภาษาไทยอีก
ต้องเจอ ไทยจีน ไทยเหนือ ไทยอีสาน ไทยใต้ ฮ้าๆๆๆๆ คนทำคงท้อไปแล้ว
ไหนจะเจอไทยแดง ไทยเหลือง ไทยน้ำเงิน ที่คุยกันคนละภาษาอีก
แต่ถ้าได้จริงก็ต้องคนไทยมาต่อยอดอยู่ดีครับ ปวดหัวๆๆ
เอามาทำ sub ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเหนื่อยสินะ แบบว่ามีพิธีกรพูดสดบนเวทีก็มี subtitle ขึ้นให้ด้วย เผื่อฟังไม่ทันหรือฟังไม่ชัด :P
My Blog -> http://paiboonpa.wordpress.com
อ่านความเห็นแล้วรู้สึกแย่แฮะ
ผมกลับคิดว่า ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ว่า ภาษาไทย ไทยกลาง ไทยอีสาน ไทยโน่น ไทยนี่ ไทยนั่น มันยาก มาทำสิ แล้วจะท้อ
แต่ประเด็นที่อยากให้เห็นคือ ภาษาไทย กับคอมพิวเตอร์ล่ะ
ไม่ว่าจะ soundex (เสียงคล้าย), word segmentation (การตัดคำ), word-steming (การหารากศัพท์), OCR (การแปลงภาพเอกสารให้เป็นตัวหนังสือ) หรือแม้แต่ font อันสุดท้ายนี่ดีหน่อย แต่มันเพิ่งจะมี font แห่งชาติเมื่อไม่ถึง 5 ปีนี้เลย คือ มันไม่มีองค์ความรู้ที่เป็น public เป็นเรื่องเป็นราวเลย ทั้งๆที่เป็นเรื่องหลัก ไม่ต้องไปมองถึงการอ่านริมฝีปากเลย
ยกตัวอย่างเช่น algorithm Thai OCR ก็อยู่กับกลุ่มเชิงพาณิชย์เท่านั้น แถมความแม่นยำระดับที่ใช้งานได้ดีระดับแทนการใช้คนมานั่งพิมพ์ได้ คือสูงกว่า 99% ผมว่ายังไม่เห็นมีเลย
ภาษาไทยมันซับซ้อนด้วยล่ะครับทั้งการอ่านการเขียน และแย่ยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง
OCR ผมว่า ArnThai ทำได้ดีอยู่นะ (แต่ผมก็ไม่เคยใช้ของอันอื่น ^^")
My FingerSports Site
Jusci - Google Plus - Twitter
ส่วนใหญ่ NECTEC ก็ทำอยู่ครับ
แต่จะหาบริษัทเอกชนทำคงยาก เพราะมีแต่ค่าใช้จ่าย
ยังเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์ไม่ค่อยได้
Oakyman.com
"การใช้ลิ้นที่โดดเด่นของชนชาวอาระบิก"
อ่านแล้วเกิดความรู้สึกสยิวขึ้นมาทันที อยากลอง....
ผมว่ามันน่าจะหมายถึงท่าทางการพูดที่เห็นลิ้นชัดเจนมากกว่า...
พูดซะคิดเลยเอ้อ!!
My Blog