InfoWorld ได้รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มิ.ย.) ว่าบริษัทซิสโก้ได้ประกาศใบรับรอง (certification) ระดับใหม่ ในชื่อ Cisco Certified Architect (CCA) ซึ่งระดับจะสูงกว่า CCIE ในปัจจุบัน โดย CCA เป็นการผสมผสานระหว่างความรู้ในการประยุกต์ใช้ในการทำงาน (know-how) ด้าน networking engineering ของ CCIE เดิมกับความรู้ด้านบริการจัดการ (MBA) สำหรับนิยามของ CCA โดยซิสโก้เป็นดังนี้:
The Cisco Certified Architect certification recognizes the architectural expertise of network designers who can support the increasingly complex networks of global organizations and effectively translate business strategies into evolutionary technical strategies.
โดยหลักสูตรอบรมสำหรับผู้ที่ต้องการ CCA จะเป็นการฝึกทำงานร่วมกับผู้บริการในสายผลิตภัณฑ์ระดับ C-level (C-level line-of-business executives) เพื่อที่จะแปลความต้องการทางธุรกิจไปยังระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการสอบจะอยู่ที่ 15,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยผู้ที่จะสอบได้ต้องการผ่านการสอบวิชาก่อนหน้าคือ Cisco Certified Design Expert (CCDE) (ในเว็บไซต์ของซิสโก้ ระบุเพียงแต่ CCDE เท่านั้น แต่ในเว็บไซต์ InfoWorld กลับระบุว่า CCIE หรือ CCDE อย่างใดอย่างหนึ่ง) นอกจากนั้นจะต้องมีประสบการณ์การทำงานในภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยซิสโก้จะเริ่ม CCA ในปีถัดไป
ในเว็บไซต์ของซิสโก้ ยังระบุถึงการต่ออายุ CCA (Recertification) ซึ่งทางซิสโก้จะประกาศให้ทราบภายหลัง
สำหรับรายละเอียดเพิ่มดูได้ที่ InfoWorld หรือเว็บไซต์ของซิสโก้ (คลิกที่นี่)
ที่มา: InfoWorld
CCNA ผมยังติดหล่มไม่ได้สอบเสียที! เฮ้อ...
Comments
คำว่า "ซิสโก้" ผมอ้างจากเว็บไซต์เลยนะครับ http://www.cisco.com/web/TH/index.html นอกนั้นผมแก้แล้วครับ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
ก่อน quote เขียนว่า "ซิลโก้" อันนึงครับ
ผมเห็นสองที่
ภาคอุตสหากรรม
NERD GOD
แกหมดแล้วครับ ลองดูครับ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
ผิดคำว่า บริหาร 2 จุดครับ (พิมพ์เป็นบริการ)
แก้ไม่ได้แล้ว โดนล็อกครับ
ขออภัยทุกท่านด้วยครับ ข่าวนี้ "ผิด" มากมายจริงๆ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
มันฟ้องว่าอะไรล่ะครับ ช่วยแจ้ง error เข้าใน group ด้วยครับ
มันไม่ฟ้องอะไรเลยครับ เพียงแต่ไม่มีแท็ป Edit โผล่ขึ้นมาเท่านั่น หลังข่าวได้่รับการนำขึ้นหน้าแรกนะครับ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
know-how คือองค์ความรู้ที่สามารถใช้นำไปประกอบธุรกิจ(ในมุมบริหารการตลาด)ได้อย่างมีความแตกต่างและความเป็นเลิศ เป็นทรัพย์สินของบริษัทที่เก็บเป็นความลับไม่ให้ผู้อื่นรู้ เช่น supply chain, management system, service oriented, public relation channel, distribution channel, powerful contact person, VIP Customer setting term, ETC.
"เคล็ดลับในการประกอบธุรกิจครับ"
ปล. ความเข้าใจที่ได้เรียนมาบวกกับประสบการณ์การทำงาน
ความรู้แบบ Know-how เป็นความรู้ในการนำ Know-why ไปประยุกต์ ต่อยอดเพื่อให้เกิดนวตกรรม และ/หรือวัตถุที่มนุษย์นำไปใช้งานได้ครับ
ความรู้แบบ Know-why เป็น Fact ที่เป็นความรู้ดิบ แบบที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักค้นคว้าทดลองทุกสาขาค้นหามาได้ครับ (นับถึงแม้กระทั่งนักโบราณคดี) ปัจจุบันในทางปฏิบัติแล้วมันดูออกจะกลืนๆ Prototype knowledge ไปเป็น Know-why ด้วยครับ (อย่างกรณีในข่าวนี้แหละ)
โอ้ว ศัพท์ใหม่ 'know-wky' ผมเพึ่งเคยได้ยิน
ป.ล. พอดีเปิดเล่นๆ ในเว็บ เจอมา เอามาฝากชาว Blognone ครับ: "Is There Too Little "Know Why" In Business?"
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
ไม่ใหม่เลยนะครับ
เพียงแต่สถาบันการศึกษาทางเทคโนโลยีทั้งหมดในทุกประเทศในเอเชีย ไม่มีสถาบันไหนสอนพื้นฐานให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง "Know why" และ "Know how" ก่อนเริ่มการศึกษาลงไปในแต่ละแขนงจริงๆ เลย
ความเห็นส่วนตัวผมในเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าเราถูกฝรั่ง "วางยา" ไว้จนถึงระดับ ศจ. เลยทีเดียว
ในเอเชียเราจึงมีปัญหามากในการใช้บุคคลากรในการ R&D และ Production ครับ
เรามีการใช้บุคคลากรผิดงานมากมาย สายอาชีพไปนั่งทำ R&D บ้าง วิศวกรไปทับงานสายอาชีพบ้าง ยิ่งนักวิทยาศาสตร์เอเชียนี่ 99% จุดยืนอยู่ผิดตำแหน่งไปหมด
จีน แซงฝรั่งได้นะครับ ในเรื่อง Production นั่นเพราะได้ "Know how" ไปเยอะ
แต่ถ้าใครจะมี "นวัตกรรม" ของตนเองขึ้นมาได้ นั่นต้องอาศัย "Know why" มากด้วยเหมือนกันครับ
ในสายตาผมแล้ว พวก Caucasoid "อำพราง" ได้เก่งทีเดียว เขาสอนให้เรารู้สึกว่า "Know why" เป็น "Fact" ไปเสียเฉิบ ทำให้เราก้าวความคิด/วิธีคิดข้ามกรอบที่เรารู้สึกว่าเป็น Fact นั้นออกมาไม่ได้ เมื่อไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะ "ปิ๊ง" นวตกรรมใหม่
ถ้าไอน์ไสตน์เชื่อ "กฏของนิวตัน" ว่าเป็น "Fact" แทนที่จะเห็นเป็นแค่ "Know why"
เราคงไม่ได้เห็น E=mc^2 แน่เลยครับ
นอกจากสายเทคโนโลยีแล้ว "Know why" และ "Know how" มันยังไปใช้คิดในสายอื่นๆ เรื่องอื่นๆ ได้ด้วย แต่ผมไม่ถนัด เพราะผมเป็นคนสายเทคโนโลยีครับ
ผมขอสรุปว่า ถ้าจะเรียกเป็นคำไทยสั้นๆ แล้ว "ความรู้" และ "ปัญญา" น่าจะรู้สึกใกล้เคียงกว่า
ความรู้ != ข้อเท็จจริงเสมอไป
แต่เราถูกสอนมาว่า All of ความรู้ = Fact
แต่เมื่อเริ่มมี "ปัญญา" จะเริ่มเห็นได้ว่าครึ่งหนึ่งของ ความรู้ คือ ความเชื่อ เหมือนกันครับ
คือผมไม่ได้เรียนด้านบริหารฯ นะครับ เน้นสาย IT เลยเคยเรียนแต่คำว่า 'know what' กับ 'know how'
เฮ้อ แค่ CCIE ก็ยากโคตรอยู่แล้ว
เอ๊ เดี๋ยวก็คงมี P4sure, Testinside, Testking, ActualTest for "CCA" แล้วสินะ 555