อาชีพผมเป็นครูสอนหนังสือครับ พักนี้มีโอกาสคุยกับบรรดาสมาชิกประชาคมอาจารย์บ่อยๆ มีคนบ่นว่าไม่ค่อยเข้าใจเด็กรุ่นนี้ ผมพบว่าตัวเองเริ่มเลื่อนเป็นรุ่นคนที่แตกต่างจากเด็กสมัยใหม่ ตัวผมผมเชื่อมั่นในคนรุ่นใหม่ครับ แต่คิดว่าตอนนี้มีช่องว่างระหว่างเรากับนักเรียนมากขึ้น การให้การศึกษาคนได้ดี มาก และเร็วเป็นความเป็นความตายของชาติในยุคนี้ ยุคที่แข่งกันด้วยพลังแห่งนวัตกรรม เป็น Creative Economy การถมช่องว่างเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้ได้ ด้วยโมเดลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่รวดเร็วและทั่วถึง นับเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมเขาเหล่านี้ให้พร้อมจะก้าวสู่อนาคต
ตอนผมเด็กๆ เราเรียนโดยการ อ่านตำรา ฟังครูสอน แล้วมาหัดทำ หนังสือหนังหาดีๆ หายากและแพงมาก ตอนนี้ อินเทอร์เน็ตเข้ามาเปลี่ยนทุกอย่าง ทำให้เด็กสมัยนี้เข้าถึงและสร้างความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว ผมคิดเล่นๆ ว่าการศึกษาสำหรับ Creative Economy สามารถใช้สูตรของไอน์สไตน์อธิบายได้แล้วครับ
E = MC^2
E= Education เกิดจาก
M = Motivation ทำอย่างไรให้คนอยากเรียนอยากรู้ ขุดค้นลงไปเอง
C = Collaboration การศึกษาอย่างลึกซึ้งเป็นเรื่องของการประสานงานเป็นทีมร่วมมือกันและเปลี่ยนความรู้กัน
C = Communication การศึกษาเป็นผลของการสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว การที่สามารถเก็บ สืบค้น ประมวลผลและกระจายความรอบรู้ได้เร็วมากๆ
คนรุ่นใหม่ตอนนี้เรียนเล่นทำงานแบบรวมกลุ่มใช้เวบและการส่งข้อความผ่านระบบ SMS, MSN และ Twitter ประสานงานกันตลอดเวลาครับ ทุกคนโตมากับสภาพแวดล้อมแบบ Interactive เช่น online games ดังนั้นบรรดาคุณครูทั้งหลายต้องเข้าใจตรงนี้ จับเด็กมาฟังเราสอนไปเรื่อยเขาจะหลับหมด และไม่มีสมาธิ เพราะเขาชินกับสภาพแวดล้อมที่เป็นไดนามิคมากกว่านี้
ดังนั้นครูและสถาบันการศึกษาตลอดจนถึงรัฐบาลน่าจะถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ ครับ
รัฐบาลคงต้องเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตสำหรับการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อสร้างให้ระบบการศึกษามีความพร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังมาถึง ประเทศไทยควรมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากๆ อย่างทั่วถึงกว่านี้ การสร้างถนนหนทางเป็นของดีสำหรับเศรษฐกิจการผลิตแบบอุตสาหกรรม อินเทอร์เน็ตต่างหากที่เป็นหัวใจของการสร้าง เศรษฐกิจแห่งความรอบรู้ สังคมแห่งปัญญาและการแบ่งปัน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคง
ผมเคยเห็นสะพานลอยข้ามแยกที่ถนนหนึ่งในกรุงเทพ โครงการ 200 ล้านบาทครับ เอามาทำเครือข่ายบรอดแบนด์ให้คนไทยเข้าถึงขุมปัญญาที่กระจายทั่วโลกแบบรวดเร็วได้บ้างไหม คนไทยจะได้ฉลาดๆ ขึ้น
ผมว่าเราต้องพยายามช่วยกันสื่อให้ถึงนักการเมืองและผู้บริหารประเทศว่าโลกเปลี่ยนแล้ว การสร้างรากฐานของ Creative economy ซึ่งแข่งกันที่การสร้างนวัตกรรมนั้น การสร้าง Cyber infrastructure ที่แข็งแกร่งที่ทำให้คนไทยสร้าง เข้าถึงและแบ่งปันองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็วนั้น เริ่มสำคัญกว่าการสร้างถนนหนทางและน่าจะทำคู่กันไปในการพัฒนาประเทศ แถมการลงทุนก็ต่ำกว่าการสร้างถนนมาก
หวังว่าวันที่เด็กไทยทุกคนจะอยู่บนเครือข่ายความเร็วสูง และมีปัญญาเฟื่องฟูได้โดยเร็วจะมาถึงสักวันครับ
Comments
ไม่ต้องขนาดนั้นแหละครับ
จนทุกวันนี้ผมยังเจอ คำตอบของครู มัธยมบางท่าน
ตอบคำถาม "สมการคืออะไร?" ว่า
"เอาไว้ใช้ใน มอปลาย"
ปัญญา ไม่ได้อยู่ที่ผู้เรียน เพียงอย่างเดียว
อ.บางท่าน ทำให้ Child Centre แปลว่า
"ไปทำรายงานมาส่ง"
มันถูกไหมละครับพี่น้อง...
ผลก็คือ ลอกกันทั้งนั้นแหละ
ถ้าให้แบ่งกลุ่มตอบในห้องคงได้อะไรมากกว่านี้..
อะไรอีกคำนะ.. บูรณาการ
ใช้กันได้พร่ำพรื่อ..
บางคนบอกว่า
นี่ไง ภาษาไทยบูรณาการ กับ คอมพิวเตอร์
ดังงรั้น ให้เรียก คอมว่า คณิตกรณ์นะ...
กูจะเป็นลม
ประเทศไทยชัยโย!!!
ปล. เป็นบทความที่ดีนะครับ.. แต่คงต้องถกกันนานๆ แน่ๆ
http://tomazzu.exteen.com
แล้วไม่มีใครเริ่มมันจะเป้นอย่างงี้ต่อไปไหมล่ะ?
ไม่ไ้ด้หมายถึงว่า ไม่ควรเริ่ม ครับ
แต่ควรเริ่มมตั้งแต่ Basic เช่น
การคิด การวิเคราะห์ แยกแยะ แหละครับ
http://tomazzu.exteen.com
ผมชอบคำที่ว่า เด็กๆ เค้าชินกับสภาพแวดล้อมที่เป็นไดนามิคมากกว่านี้ ทำให้รู้สึกว่าการสอนที่ทำๆ กันอยู่มันดูจืดชืดไปเลยคับ
สมัยก่อนไม่ไดนามิกขนาดนี้ เจอการสอนแบบเฉื่อยแฉะก็ทำให้จืดชืดแบะน่าเบื่อมาตั้งนานแล้ว
สมัยก่อนที่เรียนในวัดนี่อาจจะไดนามิกกว่าตอนนี้ ถึงเนื้อถืงตัวถึงคนมากกว่า
Moss 's blog
บทความดีๆ มาอีกแล้ว.. แต่ความเห็นของผมนะ ถ้าเรามีนักการเมืองดีเกินครึ่งสภา ประเทศของเราคงเจริญมากและเร็วกว่านี้แน่
จะหานักการเมืองดีเยอะขนาดนั้นมาจากไหนอะครับ
ก็ต้องเริ่มจากการศึกษาก่อนเช่นเดิมครับ
สื่อไทยนั้นปิดกั้น วิสัยทัศน์คับแคบครับ หาครามรู้แทบไม่ได้จากสื่อไทย มีแต่internetนี่แหละครับที่เปิดกว้างและไม่ปิดกั้น สังคมไทยจะพัฒนากว่านี้ถ้าคนทั่วไปเข้าถึงinternet แต่นี่คนไทยมากมายยังเสพสื่อสาธารณะของไทยกันอยู่เลย
...ประเทศไทยสู้ๆครับ
เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่เปิดกว้าง อีกด้านหนึ่งของความมืดที่คนไทยยังลุ่มหลงอยู่กับมันโดยปราศจากการยั้งคิด ใช้ไม่ถูกทางจนเป็นปัญหาตามมา
สื่อไทยดีๆ ก็มีมากมายครับแต่คนไทยไม่สนใจกันเอง ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับ
ศาสนา(http://www.religions.mbu.ac.th/)
ดาราศาสตร์(http://darasart.com/)
ภาษาไทย(http://www.sahavith.ac.th/website_link/thai.htm)
สุขภาพและยา(www.doctor.or.th)
แต่ที่เห็นมันจะเฮกันไปทางดารา หมอดู คลิปโป๊ กันเสียมากกว่า
เนื้อหาเยี่ยม
ตบมือให้สามแปะกับคุณครูผู้เขียนครับ ผมพบว่าปัญหาการศึกษาไทยที่มีอยู่ตอนนี้เกิดจากสาเหตุอย่างที่ผู้เขียนกล่าวมาจริงๆ คือช่องว่างที่มากเกินไประหว่างครูกับนักเรียน ยิ่งมารวมกับระบบการเรียนการสอนอันแสนจะมีประสิทธิภาพของบ้านเรา......ไม่อยากจะพูด ผมเองก้อยากเป็นครูเหมือนกัน ครูมัธยมเนี่ยแหละ (ถึงตอนนี้จะเรียนโทอยู่ก็ตาม) แต่อยากปลูกฝังแนวคิดใหม่ๆให้กับเด็กๆโดยไม่ทิ้งรากความเป็นไทย ขอบ่นนิดวันก่อนไปเดินเล่นที่ MBK พบว่ามีการแสดง cover นักร้องเกาหลีญี่ปุ่นเต็มไปหมด ผมเห็นแล้วล่ะเหี่ยใจ ไม่ใช่เพราะผมต่อต้านของเหล่านี้หรอกนะครับ (ผมเองก็แทบจะไม่รับสื่อบันเทิงของไทยเลยเหมือนกัน) แต่รู้สึกว่ามันมากไป และเด็กๆเหล่านั้นส่วนมากเอามาแค่ "เปลือก" ของวัฒนธรรม แต่งตัวตามเค้า ร้องเพลง (ลิปซิงค์) ตามเค้า เต้นตามเค้า ไม่อยากจะคิดเลยว่าหากเด็กๆเหล่านี้โตไปมีครอบครัว จะมีส่วนไหนบ้างที่เหลือความเป็นไทยอยู่ การศึกษาในบ้านเรายิ่งไม่ส่งเสริมการปลูกฝังความเป็นไทยเท่าไหร่ด้วย (เพราะมันห่วยไปซะทุกอย่าง ลองเดินไปถามเด็กมัธยมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยสิ)
ผมอาจจะหัวโบราณก็ได้มั้ง.....
ไม่ได้เข้ามาแย้งนะครับ แต่ศิลปะบางประเภทเกิดจากการลอกเลียนแบบ จนชำนาญแล้วเกิดความเบื่อหน่าย แล้วสร้างแรงผลักดันให้อยากสร้างสรรค์สิ่งที่เหนือกว่าของเดิมออกมา ดังนั้นบางครั้งเราอาจจะต้องยอมเป็นผู้ตามในตอนเริ่มเพื่อให้เข้าถึงจิตวิญญาณของงานชิ้นนั้น ก่อนที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เหนือกว่าออกมาครับ :)
งั้น เอาใจช่วย หวังว่าจะตั้งใจและลุยกันให้ถึงจุดนั้น .. ไม่ใช่ฉาบฉวย
ผมว่าเราลองมาคิดกันเล่นๆมั้ยครับว่า ถ้าเรามีอำนาจสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆได้ในประเทศนี้ เราจะเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยที่มีในปัจจุบันให้เป็นไปได้อย่างไร
ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินว่าปฏิรูปการศึกษา แต่เรามักไม่ได้ยินหรือได้เห็นต่อจากคำๆนั้นว่า เค้าจะทำอย่างไร ด้วยวิธีการไหน ไอ้คำว่าปฏิรูปการศึกษาเนี่ย ผมเลยยังไม่เคยเห็นว่าตลอด 10 - 20 ปีที่ผ่านมา การศึกษาของเราจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปในทางใด ยกเว้นแต่เรื่องเงื่อนไขการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่มีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ สอบนู่นนี่เต็มไปหมด
ผมยอมรับว่าอาชีพ ครู มีความสำคัญสำหรับประชากรทุกๆชุมชน ถ้าเรามีครูที่มีคุณภาพสิ่งที่จะตามมาคงมีมากมาย
เนื้อหาเยี่ยมครับ อยากให้มีการเริ่มอะไรจริงๆจังๆเสียที
อย่าโทษแต่สื่ออย่างเดียวเลยครับว่าปิดกั้น
ตัวสถาบันครอบครัวนั่นแหละต้องรู้จักปลูกฝังการดิ้นรน ขวนขวาย ไม่ใช่เลี้ยงลูกแบบ
"ไข่ในหิน" เป็นลูกคุณชาย เกิดมาไม่เคยทำอะไรเอง ไม่มีปัญญาคิดเอง ไม่รู้จักขวนขวายพ่อแม่จัดการให้หมด ยัดเยียดอนาคตให้หมด ไม่ได้ใช้สมองตัวเองคิดเอง จะอ้างความรักของพ่อแม่ หรือจะเรียกพ่อแม่รังแกฉันดีล่ะ?
พวกที่น่าหนักใจคือ คนที่ Ego สูง คิดว่าตัวเองรู้มาก น้ำล้นแก้ว ไม่คิดจะเรียนรู้อะไรเพิ่มนั่นแหละครับ
เด็กบางคนรุ้มากกว่าอาจารย์เสียอีก อ่านบทความจากพวกอินเตอร์เน็ต,ดูคลิปจาก Youtube เอาอะไรพวกนี้เยอะเสียกว่าอีก
ใครว่าสิ่งแวดล้อมไม่สำคัญ ขอเถียงเลยว่าไม่จริง ถ้าวันๆมัวแต่มาบ้าดาราเกาหลี ไม่ขวนขวายหาอะไรเพิ่ม ผมว่าหมดหวังที่จะมีอนาคตดีๆแน่
เห็นด้วยครับ เห็นด้วยจริง ๆ
มีคนคิด แต่ไม่ทีคนทำ
อาจมีคนทำ แต่ไม่มีคนเห็น
NERD GOD
ผมเองก็เคยสอนที่ โรงเรียนมัธยม มีโครงการ โรงเรียนในฝัน ที่เป็นแนวคิดที่จะนำความก้าวหน้า ความพรั่งพร้อมในการเรียนการสอน กระจายสู่ชนบท คือ การสร้างโรงเรียนชั้นดี ให้เด็กที่จนแต่เก่ง มีโอกาสสัมผัสกับการเรียนการสอน ในระดับสูงเหมือนอย่างเช่น รร มหิดลวิทยานุสรณ์ สามเสนวิทยาลัย เตรียมอุดมศึกษา เป็นต้น เป็นแนวคิด การลดความต่างชั้นด้านวิทยาการของนักเรียนในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท
แต่ในระดับผู้นำนโยบายมาปฏิบัติ กลายเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของโรงเรียนที่เข้าโครงการ โรยหน้าด้วยความโอ่อ่าฟู่ฟ่า การระดมทุนปรับภูมิทัศน์และอุปกรณ์ประกอบการประเมินที่ไม่ได้ใช้งานจริง เพื่อเพียงแค่โชว์ต่อคณะกรรมการ ในการประเมิน เท่านั้น
ผมมองว่า รากฐานปัญหามันอยู่ที่ความคร่ำครึ ของระบบราชการไทย ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง(อาจเพราะกลัวตัวเองเหนื่อย เพิ่มขึ้น)
ดูแค่นโยบายของส่วนกลาง เช่น
อะไรต่าง ๆ นา ๆ แต่ที่หนักสุด การออกนโยบายต่าง ๆ มาจากผู้ที่เป็น "ครู" จริง ๆ ไหม หรือแค่ รัฐมนตรี ที่ไม่รู้จักกระบวนการของการเรียนการสอนเลย
แก้ที่ตัวอาจารย์ทั่วไปเลยครับ เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
นี่ด่าเลย อาจารย์บางคน ยังใช้ วิธีโง่ ๆ scan หนังสือ ตัดรูป ตัดสมการ มาแปะลงใน powerpoint อยู่เลย แล้วเด็ก ๆ จะมีแรงบันดาลใจได้อย่างไร บางคนหนักกว่านั้น ใช้วิธี capture หน้าจอของ MATLAB เวลาจะเอารูปไปลง powerpoint ทำกันอย่างนี้แล้วก็ชอบสั่งเด็กให้พล็อตกราฟโน่นนี่ด้วย MATLAB เด็กทำไม่ได้ลอกกันมา ก็บ่น ๆ บลา ๆ แอบนินทาเด็กว่าโง่บ้าง ชอบลอกการบ้าน (แต่ไอ้ที่ทำนะ scan ตัดแปะ มันหนักกว่าลอกอีกพี่)
ผมคิดว่าข้อแรกที่คุณว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ ไม่จำเป็นจะต้องมีความทันสมัย ไดนามิค หรืออินเตอร์แอคทีฟ หรืออะไรเลย
สิ่งสำคัญคือ เมื่อใครก็ตาม "อยาก" ที่จะทำอะไรบางอย่าง เราเพียงให้โอกาส คนๆนั้นก็จะไขว่คว้ามาเอง
ผมว่านี่เป็นสิ่งที่การศึกษาหลงทางมาตลอด ตั้งแต่ยุคสมัยที่มีการสร้าง "ระบบ" การศึกษา เราบังคับให้เด็กมาเรียนในสิ่งเค้าที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร บังคับให้เด็กจำในสิ่งที่เค้าไม่อยากรู้ บังคับให้เด็กต้องคิดตามที่เราอยากให้คิด โดยที่ตัวเด็กไม่ได้ต้องการ เพราะไม่รู้ และไม่เข้าใจ ว่าจะทำไปทำไม
น้องสาวผมชอบเล่นเกมภาษาญี่ปุ่น แล้วก็ชอบดูนักร้องญี่ปุ่น ทำให้น้องสาวผมศึกษาภาษาญี่ปุ่นตอนช่วงมัธยมปลาย เรียนมหาวิทยาลัยตอนนี้ก็เรียนเอกภาษาญี่ปุ่น
ไม่ใช่แค่เด็ก แต่ทุกคนต้องการแรงกระตุ้นที่จะ "อยาก" ทำอะไรบางอย่าง ก่อนที่คิดจะเริ่มทำมัน
ต่อให้เราไม่มีการสื่อสารที่ดีอย่างทุกวันนี้ แต่แค่เราทำให้เด็ก "อยาก" ที่จะมีความรู้ แล้วมีหนังสือให้อ่าน มีอาจารย์ให้ปรึกษาพูดคุย เขาก็จะอยากรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
พูดตรงๆว่าผมเศร้าใจ เราชอบเอาเด็กต่างจังหวัด ที่อยากจะเรียน เพื่อได้วุฒิการศึกษา แค่เพื่อจะทำงานดีๆ ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้คิดที่จะอยาก "เรียน" เพื่อ "เอาความรู้" จริงๆจัง เอามาเปรียบเทียบว่า "เห็นมั้ยเนี่ย เค้าอยากเรียนแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน" ฟังแล้วของขึ้น
ยังไงก็แล้วแต่
ผมว่าพวกเราก็คงเคยได้ยิน บางคนอาจจะเคยผ่านด้วยตัวเองเลย เรื่องราวสมัยเก่า ที่เรายังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ หอสมุดอยู่ไกลแสนไกล ห้องสมุดโรงเรียนก็ไม่ค่อยมีหนังสือดีๆมากนัก แต่ก็ยังถ่อไปหาความรู้กันด้วยตัวเองไม่ว่าจะหาข่าว ไปหอสมุด ถามอาจารย์แนะแนว คุยกับผู้ใหญ่รอบตัว ทั้งหมดพวกเราทำกันได้ ด้วยความ "อยากรู้" เป็นที่ตั้ง เท่านั้น
มันไม่ใช่ปัญหาหรอกว่าเด็กสมัยนี้ไม่มีความพยายาม ไม่มีความขวนขวาย หรือแหล่งความรู้เข้าถึงยาก หรือสื่อปิดกั้น
ขอเพียงแค่เขารู้สึก "อยาก" เค้าก็หาเองแหละว่า วิธีไหนจะสนองความ "อยาก" ของเขาได้
นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่าคนเป็นครูต้องทำ กระตุ้นความ "อยาก" ที่จะโหยหาความรู้ของเขาให้ได้ก็พอ
ขอปิดท้ายนิดนึง
ในฐานะเกมโปรแกรมเมอร์(ในอนาคต) จริงๆแล้วผมก็มีแนวคิดของผม ผมอยากทำเกมที่ให้เด็กๆ ในช่วงเยาวชน จนไปถึงผู้ใหญ่ เล่น แล้ว อยาก ที่จะใช้สมอง อยาก ที่จะมีความรู้
เพราะผมเองก็ผ่านช่วงเวลาแบบนั้น ผมเคยเล่นเกมภาษาอังกฤษ แล้วก็การ์ด Magic The Gathering ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ แล้วทำให้ผมอยากที่จะเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะผมอยากจะเล่นเกมเข้าใจ อ่านการ์ดรู้เรื่อง และแน่นอน ตอนเล่นการ์ดผมก็ต้องนั่งคำนวนในใจ ตีไปจะลดเลือดฝั่งตรงข้ามได้เท่าไหร่ ฝั่งตรงข้ามมีแลนด์เหลือกี่ใบ มีมานาเท่าไหร่ ใช้การ์ดอะไรได้บ้าง ถ้าบล็อกสองตัวมันจะตายมั้ย ฯลฯลฯลฯ ถ้าตอนเด็กๆผมเล่นการ์ดนี้เป็น ผมจะเก่งคณิตศาสตร์ขึ้นอีกเยอะ
และที่สำคัญคือถึงผมจะเล่นการ์ดตอนโต การคิดเลขพื้นๆแบบนั้น แต่มันก็ทำให้ผมเรียนเลขง่ายขึ้น เพราะคิดเลขในใจตามกระดานได้จากการฝึกคิดตอนเล่นเกม และเมื่อผมเรียนเลขง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น การได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มันก็สนุกมาก ทำให้ผมเรียนเลขและฟิสิกส์อย่างมีความสุขมากขึ้น เพราะโจทย์บนกระดานก็เหมือนเกมปริศนา พอแก้ได้ก่อนอาจารย์เฉลยผมก็จะรู้สึกภูมิใจ
เกมมีความสามารถครับ ที่จะแอบสอดไส้อะไรบางอย่างให้คนที่อยากเล่น ได้คิด ได้ทำ ได้รู้ โดยคนเล่นไม่ได้ตั้งใจ และพอมันสะสมไปมากๆมันก็จะเห็นผล ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์แก้ปัญหา หรือการได้อะไรตรงๆอย่างภาษา การคำนวน ที่ว่าไปแล้ว
จริงๆสื่อบันเทิงทุกประเภทก็สามารถทำได้ทั้งนั้นครับ แต่เกมเป็นสื่อที่บังคับให้ผู้เสพต้อง คิด มากที่สุด และการมีตัวละคร ควบคุมได้เอง ทำให้คนมีทางเลือกที่จะตัดสินใจตามความคิดตัวเอง มีโอกาสลองผิดลองถูก และที่สำคัญคือ มันทำให้คนเสพมีอารมณ์ร่วมมากที่สุด
สรุปส่งท้าย
สุดท้ายแล้ว ความอยากสำคัญที่สุดครับ คนเราชอบเปรียบความรู้กับอาหาร มีทั้งใช้ศัพท์ว่า ป้อนความรู้ อาหารสมอง ฯลฯ
ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราก็ควรจะตระหนักว่า คนเราทุกคนชอบกินอาหารอร่อย หน้าตาสวยงาม กลิ่นหอมชวนกิน และ จะกินได้มากที่สุดเมื่อมีความรู้สึก "หิว" หรือ "อยากกิน"
เช่นกันครับ เราแค่ทำให้คนๆนึง "หิว" หรือ "กระหาย" ความรู้ ต่อให้มันไม่อร่อย หรือมันกินยาก เึค้าก็จะพยายามกินมันเข้าไป และถ้ายิ่งมันอร่อย กลืนง่าย หากินง่าย ก็จะยิ่งเสพเข้าไปเต็มๆ
ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องมีการกระตุ้นให้ถูกวิธี และเราควรจะเปลี่ยนสมองผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ให้เลิกค่านิยมหลงผิด ที่คิดจะกระตุ้นลูกหลานลูกศิษย์ลูกหาตัวเองด้วยคำว่า "เรียนๆไปเยอะๆ จะได้จบสูงๆ มีงานทำดีๆ" ได้แล้ว มันทำให้เด็กติดค่านิยมผิดๆแบบนี้ โตไปในสังคมแบบมักง่าย และไม่กระหายความรู้ แต่กระหายปริญญา กระหายเงินเดือน กระหายการทำงานสบายๆ กระหายตำแหน่งในสังคม
ผมว่ามันถ่วงความเจริญ
เห็นด้วยหมดหัวใจ
สมัยนี้หาเด็กที่เรียนเพราะอยากรู้ได้ยากเหลือเกิน
เจอแต่อยากได้กับอยากเป็น
ส่วนเกม โดยชาติกำเนิดของมัน ทุก ๆ เกมในโลกสร้างมาเพื่อการฝึกฝนบางอย่างอยู่แล้วครับ อย่างวิดิโอเกม ก็เพนทากอนนี่แหละ ตัวต้นเรื่องเลย
ส่วนตัวเวลาได้ยินใครบอกว่าเกมไม่มีประโยชน์ ไร้สาระ ผมตลกชิบเป๋ง การฝึกฝนที่ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงมันจะมีได้ยังไง
God's believed in many names.
ผมชอบสูตร E = MC^2 ครับ คือ ผมไม่มีคำตอบในการแก้ปัญหาครับ ไม่ชำนาญจริงๆ แต่ผมสนใจสมการของอาจารย์ครับ ผมขอคอมเมนต์แบบไร้สาระตามที่ผมรู้สึกสนใจในสมการดังกล่าว
ตามชื่อหัวข้อ "ถึงเวลาสร้างถนนแห่งอนาคตให้ประเทศไทยก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้หรือยัง" ผมคิดว่า ถนนเส้นนี้มีแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้เดินถนนเส้นนี้กันทุกคนครับ หรือแม้ว่าเข้ามาเดินแล้ว ก็เดินออกจากถนนเพราะมีสิ่งยั่วยุระหว่างทาง หรืออาจเป็นไปได้ว่าเหนื่อยที่จะเดินบนถนนสายนี้
ก็คงมีหลายปัจจัยเลยทีเดียวที่เป็นตัวจูงใจให้คนเข้ามาเดินถนนสายนี้ครับ ผู้เรียนบางคนมีแรงผลักอยู่แล้ว ส่วนคนที่ไม่มีแรง ก็ต้องการแรงสนับสนุนจากข้างนอก ก็คงเป็นตัวแปร M ดั่งสมการ ส่วน C Collaboration เป็นการรวมทุกฝ่ายที่มีบทบาทเข้ามาผลักดันการศึกษา และ C Communication คือ เครื่องมือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินการศึกษา
หากมองว่าเป็นปัญหา optimization ที่ต้องการ maximize ค่า E คงไม่ใช่ปัญหาง่ายเลยทีเดียว เป็น nonlinear programming เลยแหละครับ อีกทั้ง M, C, C มี constraint ผูกไว้ ไม่แน่ว่า E อาจจะมีัตัวแปรอีกหลายตัวโยงมาด้วย ซึ่งหากนักพัฒนาสามารถเขียน constraint ได้ครบ อย่างน้อยคงมองเห็นภาพรวมว่าปัญหานี้ "เป็นไปได้" (feasible) มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้สมการดังกล่าวใช้ได้กับผู้เรียนทุกท่าน (หรือได้ตามจำนวนที่ที่ตั้งไว้)
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ปัญหาเป็น NP hard มั้งคุณ javaboom
:) ใช่ครับ ปัญหา optimization เป็น NP-hard ได้หลายตัวเลยครับ อย่างพวก integer+nonlinear programming หลายปัญหา
วิธีการแก้ปัญหาอีกวิธีคือใช้ metaheuristics มาช่วยครับ แต่อาจจะไม่ได้ optimal solution
โทษทีครับ ... ผมเริ่มนอกเรื่องแล้วสิ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
อาจจะใช้ branch and bound แก้ปัญหานี้
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในแก้ปัญหา MIP ครับ แต่ถ้าไม่อยากปวดหัวก็ใช้ Optimization solver software พวก Cplex ก็ได้ครับ แต่ถ้าสมการใหญ่ๆมีหลายแสนหลายล้านตัวแปรและฟังก์ชันก็รันนานมากๆ และร้ายไปกว่านั้น คือ รันแล้วปัญหาเป็น infeasible ก็เจ็บใจน่าดู ของฟรีมีครับอยู่บน NEOS Server
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ขยัน ๆ หน่อยก็ใช้ Genetic algorithm มาช่วยก็ได้ ^ ^
It's my life. Open your mind for the future.
ผมชอบ Bioinspired อย่าง GA ครับ เป็นหนึ่งใน metaheuristics ที่ไว้หา optimal solution ที่ดีอีกตัว แต่บางครั้งมันรันนานกว่า LP มาก จนกระทั่งว่า LP รันเสร็จแล้ว GA ยังไม่ได้ optimal solution เลยครับ
อย่างไรก็ดี GA เหมาะกับสมการ E = MC^2 ตามบทความนี้ เพราะเป็น incomplete information ส่วน LP เหมาะสำหรับงานที่เป็น deterministic มากกว่าครับ (ยกเว้นไปพูดถึง stochastic LP นะ)
:) ตกลงเราจะแก้ปัญหานี้กันด้วย math แล้วหรือเปล่าครับ ผมชักสนุกแล้วนะเนี่ย
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ตามความเห็นของผม การที่เด็กหันมาเล่นอินเทอร์เน็ตมาก ไม่ได้หมายความว่า จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากอย่างที่คุณครูผู้เขียนกล่าวถึง ไปดูเถอะครับ เด็กส่วนใหญ่ยังใช้มันเพื่อความ "บันเทิง" (เหมือนที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นกัน) เช่น Hi5, Sanook, cam frog, เกมส์ออนไลน์, ชีซ่าดอทคอม ฯลฯ
คนที่วิจารณ์เด็กบ้าเต้น cover เกาหลี อยากจะบอกว่า นั่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในวัยนี้ครับ ที่จะรักดนตรีและการแสดงออก ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา (เคยเห็นการเต้น cover ที่เก่าแก่ที่สุดของไทยมั้ยครับ ก็พวกที่แต่งตัวมาระลึกถึงเอลวิสปีละครั้งนั่นไง ประมาณวิสูตร ตุงคะรัตน์, วสุ แสงสิงแก้ว อะไรนั่นแหละ หรือจะย้อนไปถึงสมัยโก๋หลังวัง แต่งตัวเป็นเจมส์ ดีน ขนาดนั้นก็ได้)
คนที่พูดถึงเรื่องครอบครัว, สื่อ ความเห็นของผมคือ ต่างคนต่างทำหน้าที่ครับ ถ้าหน่วยอื่นของสังคมทำหน้าที่บกพร่องก็เป็นปัญหาของเขา เอาเวลาชี้ปัญหาของเขา มาทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ดีกว่า
สรุปว่า ผมเห็นด้วยกับคุณครูประเด็นเดียว คือที่บอกว่า "เราให้แรงจูงใจเด็กพอหรือไม่ว่าวิชานั้นนี้เอาไปทำอะไร ทำให้จับต้องได้ ขุดเองได้และน่าสนใจอย่างไร เขาจะได้ทำให้ตัวเองเก่งโดยการเรียนด้วยตนเองชั่วชีวิตได้" ซึ่งผมว่านี่แหละคือหัวใจของการศึกษา ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีก็ได้
อยากให้การศึกษาไทยเหมือนระบบของสิงคโปร์ จัง
อยากรู้ครับว่าระบบของสิงคโปร์เป็นแบบไหน
อืม ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าเป็นยังไง แม้ว่าตอนนี้ผมเรียนอยู่สิงคโปร์ก็ตาม ผมก็ยังไม่ทราบเลยว่าดีอย่างไร ผมก็เคยได้ยินมาเหมือนกันว่าระบบการศึกษาของสิงคโปร์โดยเฉพาะระดับประถม-มัธยมนั้นเข้มแข็งมาก
มีวาทะตอนหนึ่งของโอบามากล่าวถึงการศึกษาของสิงคโปร์ว่า
อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวผมนะ ระบบการศึกษาที่ดี คงวัดกันที่คะแนนไม่ได้ครับ เพราะุถ้าวัดคะแนนแล้ว ผมเชื่อว่าคนไทยน่าจะัทำคะแนนได้มากกว่าครับ ผมเชื่อว่าเรามีหัวกระทิอยู่เยอะ อย่างไรก็ดี ระบบการศึกษาเป็นภาพรวมของประเทศ ซึ่งมีความสำัคัญไม่แพ้การสร้างคนเก่ง และเป็นมุมมองของการสร้างคนให้มีงานทำ(ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจด้วย)และเป็นคนมีจริยธรรมไปพร้อมๆกันด้วยครับ ดังนั้น เป็นไปได้ว่า ต่างประเทศเขามองสิงคโปร์ไปที่อัตราการจ้่างงาน หรือเศรษฐกิจที่โตไปพร้อมการศึกษา ส่วนจริยธรรมเขาคงมองในภาพที่ว่า สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีระเบียบ สะอาด อาชญากรรมน้อย คอรัปชันน้อย
เสริมอีกนิด: แต่ในความเป็นจริง สิงคโปร์ก็มีคนเห็นแก่ตัว คนมักง่าย คนไม่ดี อาชญากร ก็ึเหมือนๆทั่วโลกแหละครับ ... เพียงแต่เขามีกฎหมาย กฎสังคมอะไรบางอย่าง ที่ทำให้คนที่นี่ไม่กล้าทำอะไรไม่ดี หรือทำไม่ดีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะระวังได้
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
อีกประเทศหนึ่งที่ระบบการศึกษาแข็งแรงมากๆ คือญี่ปุ่นครับ ตอนนี้ผมเป็นนส.แลกเปลี่ยนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ... มันทำให้ผมรู้เลยว่า ความอดทนของเด็กไทยนั่นน้อยจริงๆ เมื่อเทียบการเด็กญี่ปุ่น ที่ระบบการเรียนการสอบเข้มข้นกว่า และการทำงานชนิดที่ถึงไหนถึงกัน (แต่ในหลายครั้งเขาก็พยายามนำงานที่ซ้ำซากด้วยมือของเขาเองมากเกินไป เช่น ต้อง solve สมการเลขที่ยากแต่เป็นสมการพื้นฐาน ซึ่งหากเราใช้เครื่องมืออย่างอื่นช่วยบ้างก็คงจะลดความเหนื่อยลงไปได้ทีเดียว)
แอบเปิดประเด็นไว้เท่านี้ครับ ตั้งแต่ศุกร์นี้ไปถึงสัปดาห์หน้ามีแต่นำเสนองานวิจัยกับสอบ ยังเตรียมตัวไม่ถึงไหนเลย เหอะๆ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
ระบบการศึกษาที่แข็งแกร่ง คือระบบการศึกษาที่เหมาะกับคนในประเทศนั้น ๆ อย่าไปลอกคนอื่นเท่านั้นก็พอ เจอปัญหาก็แก้ปัญหาแล้วรอ ดูว่าดีไม่ดี แล้วค่อยเปลี่ยน
มีเรื่องตลกนะ เด็กญี่ปุ่นไปเีรียนระดับหลังปริญญาตรีที่เนเธอร์แลนด์ กลับมาวิจารณ์ใหญ่เลยว่าเด็กญี่ปุ่นไม่ค่อยซักถามเหมือนเด็กยุโรป เด็กยุโรป (เนเธอร์แลนด์) ถามและให้ความเห็นด้วย เอาเข้าจริง ๆ พวกเนเธอร์แลนด์เขาเรียกตัวเองว่าเป็นพวกขี้โม้ พูดมาก ถามว่าข้อมูลของเด็กญี่ปุ่นคนนั้นผิดไหม
ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น รากฐานอยู่ที่การบอกเด็กตั้งแต่เล็กๆ เลยว่า ต้องมีวคามอดทน ดังนั้นผมว่าพี่ไทยลอกกันได้ (ปัญหาคือเราไปลอกชาวบ้านผิดจุดนี่แหละ)
ประเด็น "เรื่องตลก" ผมไม่แน่ใจนะ แต่ผมเห็นเขาก็ถามหลังคลาสเรียนนะ และหลายครั้งเขาก็ถาม 'เพื่อเป็นธรรมเนียม' เช่น ในเวลาสัมมนาของแล๊ป (ภาษาญี่ปุ่นเรียก semi) ถ้าสมมติจบแล้วไม่มีใครถามเลยแม้แต่คนเดียว ก็จะมีคนที่ผุดถามขึ้นมา บางครั้งคำถามนั่นฟังแล้วไม่น่าถามเลย ... แต่ก็ยังดีกว่าเราที่ไม่ถาม และเป็นการรักษาหน้าให้กับดูพูดด้วยว่ามีคนฟังอยุ่นะ ไม่ไ้ดนั่งหลับกันหมด เหอะๆๆ
ป.ย.เด็ด: "ในบางครั้งเราก็ควรถอย...เพื่อก้าวต่อไปอย่างมั่นคง... ปัญหาคือ "อะไรและทำไมควรถอย จะถอยเมื่อไร ณ ที่ไหน อย่างไรให้สง่างาม"
คือ "เรื่องตลก" ที่ผมยกมา คือธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคมมันไม่เหมือนกัน เราจะเอามาเปรียบและเทียบกันไม่ได้หรอก เราจะไปลอกประเทศโน้นประเทศนี้มา แต่ค่านิยมของคนมันไม่เหมือนกัน มีอยู่อย่างเดียวที่เหมือนกันไม่ว่าที่ไหนในโลก คือเวลาไปสัมมนา หรืออะไรก็แล้วแต่ คนจะแย่งกันนั่งแถวสอง เว้นแถวหน้าไว้ให้คนที่มาสาย (ฮา) เห็นมีครูไทยเนี่ยแหละที่ตัวเองก็นั่งแถวสอง แต่ชอบบอกเด็กให้นั่งแถวหนึ่ง
ก๊ากตรงเสริมอีกนิด--ที่ไหนไม่มีกล้องที่นั่นมีกลิ่นฉี่ กับเปลือกทุเรียน
นี่คือปัญหาต้นๆของประเทศนี้เลยครับ
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
ใช่ๆ แต่เขาภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำนะ ต่างกับพวกเราที่งงว่า "ทำเพื่ออะไรเนี่ย"
ตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น อย่างในแล๊ปของผม เวลาเขาพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานวิจัย เขาก็จะใช้กันแค่ C++ รันบนลีนุกซ์ ... แค่นี้เลยครับ ขนาด IDE ยังไม่มีให้เห็น (ถ้าเป็นที่ไทยอย่างน้อยก็เขียนบน IDE ในลีนุกซ์ล่ะ) ผมเห็นแล้ว 'เหนื่อใจจริงๆ'
เขียนโปรแกรมบน IDE เนี่ยผิดตรงไหนครับ ไม่ทราบจริง ๆ
เค้าเหนื่อยใจกับคนญี่ปุ่นที่ไม่ยอมใช้ IDE ให้เกิดประโยชน์?
อันที่จริงก็อยากเป็นอาจารย์เหมือนกันนะ ผมอยากเห็นเด็กๆตอบได้ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร ตอบได้แบบที่เข้าใจว่าอาชีพที่เค้าอยากเป็นนั่นมีหน้าที่อะไร ทำงานอย่างไร ทำได้คงดี
ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นดีๆของทุกม่านนะครับ ทำให้ทั้งหมดน่าอ่านประเทืองปัญญามากขึ้นมาก นี่ละครับ คือ ตัวอย่าง ของ Collaboration แล้วไม่ว่ากัน ไม่ต้องคิดเห็นเหมือนกัน เราก็อยู่กันได้ครับ
ผมประสบกับเด็กมหาลัยแทนครับ ด้วยวัยที่ไม่ห่างกันมาเท่าไหร่ เลยเข้าไปพูดคุยและสัมผัสปัญหาจากรุ่นน้องและรุ่นพี่ใหม่ๆ อยู่บ่อยครั้ง
ความมันของปัญหาคือ ด้วยความเข้าถึงความรู้ที่รวดเร็วและมากมายตั้งแต่เด็ก ทำให้สังคมมหาลัยกลายเป็นสังคมแห่งความ "กร่าง" ศัพท์ไอทีหน่อยก็เรียกว่า "เกรียนทางความรู้" ครับ ภาพเดิมที่ผมเคยเห็นอย่างเช่นการให้รุ่นพี่คอยแนะนำหรือสอน ค่อยๆ ซึมซับไปทีละอย่าง กลายเป็นก้าวกระโดด เด็กสมัยใหม่มีเครื่องมือครบชุด (กล้องถ่ายรูป) ตั้งแต่ปี 1 ขณะที่พวกผมทำงานมา 7-8 ปี ยังใช้เลนส์คิทอยู่เลย เพราะเมื่อก่อนเรียนฟิล์ม ที่ต้องใช้ความปราณีตสูงกว่า
รุ่นน้องผมที่กลายเป็นรุ่นพี่ของเด็กสมัยนี้บ่น เปรียบเปรยเหมือนจะให้เงิน 10 บาทกับพวกมัน แต่มันไม่รับกัน แล้วหันมาบอกว่า ผมก็มี 10 บาทแล้วครับพี่!
ดังนั้น วิธีการเรียนรู้เปลี่ยน การจัดการก็ต้องเปลี่ยนไป ผมมองว่าการศึกษาไทยยังไม่ยืดหยุ่นพอที่จะลู่ลมได้มากพอ เปลี่ยนระบบการศึกษาก็ไม่ได้ เปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษาก็ไม่ได้ เปลี่ยนสื่อการสอนก็ไม่ได้ ทำได้อย่างเดียวคือยกทิ้งทั้งระบบและสร้างใหม่!
สุดท้าย ผมตอบรุ่นน้องที่มาปรึกษาว่า ถ้ามันบอกว่ามี 10 บาท ก็ให้มันโชว์ว่าที่ถืออยู่คือ 10 บาท จริง หรือแค่ 3 บาท แต่เข้าใจว่าเป็น 10 บาท, ถ้าจริง เขาก็จะได้รู้และพัฒนาต่อ - ถ้าไม่จริง ก็เพิ่มพูนให้เขาจนเกิน 10 บาท
มันคือการเปิดพื้นที่ที่สร้างสรรค์ ภายใต้ความควบคุมอย่างเป็นระบบนั่นเอง
โดยแทบไม่ต้องลงทุนซักบาท ใช้แต่ไอเดียอย่างเดียว!!!!
up2gu.net - ใกล้ครบรอบ 6 ปีแล้วจ้า :D
เท่าที่ผมเห็นและได้ใช้ชีวิตเรียนอยู่ที่นี่ได้สักพักหนึ่ง สิ่งที่เห็นแตกต่างได้อย่างเด่นชั่นระหว่างนักเรียนไทยกับสิงคโปร์ คือ ตอนหลังเลิกเรียน เด็กสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะรวมตัวกันไปนั่งติวหรืออ่านหนังสือกันตาม Mcdonald หรือ KFC หรือไม่ก็ห้องสมุดที่กระจายอยู่ทั่วเกาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวีนสุดสัปดาห์ ซึ่งเป็นภาพที่ผมเองก็รู้สึกสงสัยว่าทำไมเด็กที่นี่ถึงขยันกันนักหนา แล้วผมก็ได้สอบถามกับคนที่นี่ได้ความว่า การสอบข้อสอบของที่นี่นั้นค่อนข้างโหด ไม่ว่าจะเป็นการสอบเลื่อนชั้นหรือสอบเข้ามหาลัยนั้นสุดหิน โดยใช้ระบบของ UK system
การแข่งขันที่นี่ไม่ได้มีแต่เฉพาะคนสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังมีนักเรียนต่างประเทศร่วมเรียนอยู่ด้วย เช่น ไทย,จีน,มาเลเซีย,อินโดนีเซีย ที่กำลังเรียนใน primary หรือ secondary school ซึ่งบังเอิญผมได้รู้จักกับนักเรียนไทยที่กำลังเรียน secondary ได้เล่าให้ฟังว่า ระบบการศึกษาของสิงคโปร์ นั้นเน้นสอนให้รู้จักการคิด ,วิเคราะห์ และ ที่สำคัญคือการ คิดอย่างมีระบบ ซึ่งเน้นปลูกฝังกันมาตั้งแต่อนุบาล โดยอาจารย์ที่สอนนั้น ส่วนใหญ่แล้วอายุห่างจากนักเรียน 10 กว่าปีกว่าๆเท่านั้น ไม่เหมือนบ้านเราที่อาจเรียกครูได้ว่า "ป้า" เลยก็ว่าได้
แล้วผมก็ยังได้ทราบอีกว่า วิชาที่ยากที่สุดนั้นไม่ใช่ เคมี,ฟิสิกส์ หรือ ชีวะ แต่เป็นวิชาอังกฤษ! ซึ่งน้อยคนมากที่จะได้คะแนนวิชานี้สูง เหตุผล? ก็คือว่า วิชานี้นั้นเน้นการเขียนเรียงความ(composition)ซึ่งคำถามนั้นก็ค่อนข้างเน้นความรู้รอบตัวและเหตุการณ์ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งก็รู้ๆกันอยูว่าการเขียนเรียงความให้ดีนั้นต้องมีพื้นฐานทางความรู้และรวบรวมความคิดออกมาถ่ายทอดโดยอิงบนเหตุผลและหลักการ
ซึ่งสรุปแล้ว โดยส่วนตัว เด็กนักเรียนที่จบที่นี่เอาแค่เทียบเท่าม.6 ผมว่าถ้าเทียบทางด้านวิชาการ นักเรียนไทยไม่แพ้แน่นอน แต่ถ้าด้านการสังเคราะห์ความคิดนั้นผมว่าเป็นอะไรที่โดดเด่น คุณเคยลองคิดกันไหมว่า ทำไมประเทศเล็กๆแห่งนี้ ถึงได้เจริญแบบทิ้งประเทศเพื่อนบ้านไปไกลโข ทั้งๆที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเรยแม้แต่น้อย แต่กลับมีการคิดค้นนวัตรกรรมเกิดขึ้นที่นี่มากมายและนำมาใช้กันอย่างจริงจัง
มาแชร์ไอเดียครับ ว่าทำไมสิงคโปร์ถึงเจริญเอาๆ
ทำเลดี (เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาตั้งแต่โบราณ)
ประชาชนพูดภาษาอังกฤษได้ (เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ สมัยก่อน บริษัทตะวันตก เวลาจะมาตั้งออฟฟิศในภูมิภาคนี้ ก็เล็งสิงคโปร์ไว้ก่อนเลย)
มีคนจีน (ชาติที่โคตะระขยัน) อยู่เยอะ
การเมืองนิ่ง มีนายกฯ คนเดียว (ลีกวนยู) ติดต่อกัน 31 ปี !
และเห็นด้วยว่า การศึกษาของเขาดี แต่ไม่น่าออกแนวของการสร้างนวัตกรรมใหม่ แต่ความเก่งกาจนั้นเป็นไปในเชิงการค้าและการลงทุนมากกว่า
M น้อยเพราะไม่รู้ว่าจะขยันเรียนไปทำไม จบมาแล้วก็ก้าวตามๆคนอื่นไป เป็นขั้นตอน สูตรสำเร็จ คิดไม่ออกก็ตามเพื่อนนี่แหละ
รู้สึกไปเองว่า ใน M ยังเป็นสมการที่เกิดจาก E และ C^2 เป็น Recursive Relation ด้วยครับ
นอกเรื่องนิดนึง อาจารย์พิมพ์ผิด คำว่า Creative Economy เป็น Creative ฎconomy ครับ
onedd.net
onedd.net
เมื่อก่อนครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ปัจจุบันนี้ ไม่รู้ยังจะใช้คำนี้ได้หรือเปล่า อายุผมเลยมาจนเพื่อนๆผมจบที่เอกมาเป็นอาจารย์กันอยู่ก็หลายคน ตัวเองก็ทำงานมาเป็นสิบปี แต่บอกตามตรง เห็นนบ้านเมืองแย่ลงทุกวัน คนรุ่นใหม่เก่งขึ้นก็จริง แต่สามัญสำนึก ผิดชอบชั่วดี กลับสวนทางกัน ถามว่า แล้วที่เราต้องการให้ประเทศเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เนี่ย มันจะทำได้หรือ
"แต่สามัญสำนึก ผิดชอบชั่วดี กลับสวนทางกัน"
ผมว่าไม่จริง เท่า ๆ เดิม แต่ปัจจุับันสังคมยอมเปิดเผยกันมากขึ้น คนเมื่อก่อนรุ่นพ่อเรามีเมียสามสีคน รุ่นปู่ทวดน่ะมีเป็นร้อย เมียแต่ละคนรุ่นลูกทั้งนั้น เรียกว่ามีครอบครัวทุกจังหวัดที่ไปทำงานเลยก็ว่าได้ อายุของผู้หญิงที่แต่งงานเมื่อก่อนก็ต่ำกว่า 15 เยอะแยะ เรื่องแย่ ๆ ของคนรุ่นก่อนมันพอ ๆ กับสมัยนี้แหละครับ เพียงแต่เราไม่รู้กัน เพราะปิด
ชาวบ้านอยู่ขอบกรุงเทพฯนี่แหละทิ้งขยะลงในคลอง บอกว่าไม่ให้ทิ้ง ก็บอกว่าก็ทิ้งกันตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วทำไมตอนนี้ทิ้งไม่ได้ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแถวปู่เ้จ้า สมัยผมเด็ก ๆ แม่กินกระทิงแดงเสร็จขว้างลงแม่น้ำเลย
เมื่อก่อนครูอาจารย์มีกิ๊กกับนักเรียนนักศึกษาก็เยอะแยะ จบแล้วแต่งก็เห็นเยอะแยะ งานบุญบวชนาคทีเมาทั้งตำบล ไม่รู้เดี๋ยวนี้มีหรือเปล่า
วงการศึกษาเมื่อก่อนรุ่นพี่ปีสี่จ้างปีหนึ่งปีสองแปลหนังสือเพื่อใส่ลงหนังสือโปรเจ็ค ยี่สิบปีผ่านไปดีขึ้นหน่อยคือมีบริษัทรับจ้างเป็นกิจลักษณะ ครูบางโรงเรียนเรียน ป. โท ก็จ้างทำ ครูคนนั้นก็สี่สิบกว่า พอว่าก็ใคร ๆ เขาก็ทำกัน(ดันไปด่าเด็กลอกการบ้าน) อาจารย์เมื่อก่อนกินเหล้ากับนักศึกษา เดี๋ยวนี้ก็เห็นอาจารย์กินกับนักศึกษาอยู่
คิิดเหมือนกันเลยครับ ดีใจที่ผมไม่ได้คิดแบบนี้คนเดียว
รูปแบบการเข้าถึงความรู้มันเปลี่ยนรูปแบบแบบก้าวกระโดด
ความรู้ไม่ใช่พลังอีกต่อไป เพราะทุกคนเข้าถึงมันได้ง่ายมากๆ
แต่จะทำให้ตัวเองแตกต่างและโดดเด่นได้ ก็ตรงความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งผลคือ innovation
วันนี้คนไทยทุกระดับส่วนใหญ่ยังติดอยู่กับคำว่าเรียนจบแล้วไม่ต้องอ่านหนังสืออีก ความรู้ใหม่ๆ ที่เิกิดขึ้นทุกวันเลยไม่ได้บรรจุใส่สมอง....เลยยังไม่ต้องคิดถึง step การวิเคราะห์+สังเคราะห์ -> innovation เห็นแบบนี้แล้วก็หดหู่ครับ ว่าไทยจะไปสู้ระดับโลกได้ยังไง
หวังว่าอีกไม่นานห้องเรียนที่จับนักเรียนไปฟังครูพูดคงไม่มีอีกต่อไป
ผมก็หวังแบบนั้นเหมือนกัน
ทุกวันนี้วิชาเอกที่ผมเรียนในมหา'ลัย กลับต้องมานั่งฟังอาจาร์ยพูดจากสไลด์ให้ฟัง
ผมไม่อยากเรียนแบบนี้ แล้วก็ไม่อยากให้รุ่นน้องต้องมานั่งเรียนแบบนี้ไปเรื่อยๆแล้วล่ะ บอกตรงๆ มันไม่ค่อยมีประโยชน์ ผมอยากลองงานจริงๆ รึไม่ก็ช่วยวิเคราะห์ให้ผมได้ใช้สมองคิดนิดนึง
การเรียนสมัยนี้มันป้อนอาหารเข้าปากมากไปจริงๆ
Acting Reporter & My Elder Brother Blog
คิดให้ปวดหัวก็จะออกมาเป็นระบบครู 1 คนสอนเด็ก 50-60 คนเหมือนเดิม ครูเงินเดือนน้อยแถมสอนวันนึง 5-8 ชั่วโมง ผมไม่เคยเห็นครูประถม มัธยม จะต่อยอดสร้างความรู้ใหม่ๆหรือสร้้างสิ่งเร้าตามกระแสสักเท่าไหร
คุณ p-joy ครับ งั้นผมขอยกตัวอย่างหน่อยนะครับ
เมื่อก่อนเด็กประถมต่างจังหวัดยังแก้ผ้าโดดน้ำเล่นกันได้ทั้งเด็กหญิงเด็กชายไม่มีใครคิดเรื่องอย่างว่า เดี๋ยวนี้ เด็กมัธยมต้นโดนรุมโทรมถ่ายคลิป
เมื่อก่อนผับบาร์ ซ่อง(เดี๋ยวนี้เรียกรัชดา วัดโพ) เป็นสถานที่อโคจร มี แต่ไม่โจ๋งครึ่มเหมือนทุกวันนี้
ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมเป็นห่วงว่าเทคโนโลยีมันช่วยเร่งความเลวของคนให้ถึงกันไวมากขึ้นด้วย แต่ลูกหลานของเรายังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี อยากให้ช่วยกันคิดตรงนี้ด้วย เมื่อเห็นคนที่เป็นอาจารย์คนนึงออกมาแสดงความคิดผ่านที่นี้ ครับ
ซ่อง ที่ชื่อ ศรีทอง กำแพงดิน ฯลฯ อะไรนั่น รู้จักกันมานานครับ มีก่อนมี ถุงยางอนามัยอีกครับ โจ๋งครึ่มหรือเปล่าไม่รู้ แต่เด็กมัธยมขึ้นไปไปเป็นทุกคน และก็มีอยู่ในเพลงเชียร์ด้วย ศัพท์คำว่า ขึ้นครู ก็มีมาแต่โบราณแล้ว
เมื่อก่อนก็มีการรุมโทรมในห้องเรียนครับ ประเภทปิดห้องล้วงกันน่ะมีมานานแล้ว นี่ไม่อยากยก เสภาขุนช้างขุนแผน นะครับ มันเก่าไป สึกหนึ่งคืนไปมีอะไรกับลูกสาวชาวบ้าน แล้วกลับมาบวชใหม่ มีอยู่ในเรื่องนี้เลย พระเอกด้วย
เพียงแต่ว่า กลุ่มคนพวกนี้ไม่ค่อยได้รับการดูแลจากผู้ปกครองเท่าไหร่ ต่อหน้าครูอาจารย์ก็เรียบร้อย ถ้าพูดถึงจำนวนมันไม่ได้มีสัดส่วนต่างกันมาก แต่การเปิดเผยมันมากขึ้นเพราะดาราก็ทำกัน ฮา
ศรีีทอง กำแพงดิน วัดโพ รัชดา ... ไม่ทราบพี่ๆพูดเรื่องอะไรกันเหรอครับ ผมไม่รู้เรื่องเลยครับพี่ :p
My Blog / hi5 / Facebook / Follow me
My Blog
เปรียบเทียบในฐานะที่เป็นครู ครับ(แม้จะแค่ อัตราจ้างก็เถอะ)
ผมพบว่า
เด็กที่เก่งในโรงเรียนแห่งนี้ หนองกุงศรี กาฬสินธุ์
ใช้ ไอที ได้เกิดประโยชน์ มี เครื่องบันทึกเสียง มีการขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติม
เกิดประโยชน์ แน่นอน
แต่ เด็กที่ปานกลาง ไม่ว่า จะค่อนไปทางไหนก็ตาม
มักจะวิ่งตามคนอื่น เช่น
เฮ้ย วันนี้ มีไรใหม่ๆ บ้าง เพลงใหม่ อะไร ใหม่
แต่ ไม่เคยที่จะนำไปสร้างประโยชน์ ให้กับตนเอง หรือ กระทั่ง คิดไม่ออก ว่าจะทำอะไร
ไม่เคยจะติดตามสิ่งที่เป็นสิทธิของตนเอง ไม่สนใจ ต้องจี้ ต้องกระตุ้นแรงๆ
หรือ กระ ทั่ง
เขียนชื่อ และ นามสกุล ของครูผู้สอนผิด ทั้งๆ ที่เด็กอยู่ มัธยม๔ แล้ว
เราควรโทษใครดีครับ
โทษ ครู หรือ เด็ก
หรือ โทษ ที่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สิ่งแวดล้อม
โอววว คอมเมนตืดีๆยาวๆทั้งนั้น ตอนนี้ยังไม่มีเวลาอ่าน ลงชื่อไว้ก่อนเดี๋ยวมาอ่านทีหลัง ขอบคุณทุกท่านครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
พูดถึงเรื่องการศึกษา ผมประสบมากับตัวเองครับ กับการสอนของครู ที่ทำให้นักเรียนนึกไม่ค่อยออกว่า "จะเรียนไอ้นี่ไปหาพระแสงของ้าวอะไร ?" ซึ่งผมและเพื่อนจะพบกับปัญหาพวกนี้ตลอดครับ อีกทั้งการสอนก็น่าเมื่อมาก นอกจากจะไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรแล้ว ยังเป็นว่าการสนไม่น่าสนใจด้วย
ระบบการสอนปัจจุบัน เป็นระบบ Child Center โดยยึดเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง แนวคิดของระบบนี้ดูเหมือนจะเลิศหรู แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบนี้กลับส่งเสริมให้มีการลอกงานกันมากขึ้น เนื่องจากมันจะมาจากคำสั่งว่า "ไปหา xxx มานะ ส่งครูตอน yyy" ซึ่งจากประสบการณ์ที่เจอคือจะเอาคีย์เวิร์ดนั้นไปใส่ในกูเกิล แล้วเจอเว็บไหนหัวข้อตรงกับที่หา ก็ลากครอบ ก็อป วาง ปรินท์ ส่ง ! ส่วนแบบฝึกหัดที่ให้ไปเป็นการบ้าน ก็จะเห็นมีคนทำแค่ไม่กี่คน ที่เหลือก็ลอกกันทั้งสิ้น
หรือบางทีก็ลอกกันแม้กระทั่งรายงาน...
ที่จริงการแก้ปัญหาพวกนี้สามารถทำได้ครับ แต่ว่าเราจะประสบปัญหากับการไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของครูหลายๆท่าน ส่วนตัวผมยังมั่นใจในระบบการสอนแบบใช้ครูเป็นศูนย์กลางแบบเดิมครับ แต่ครูเล่านักเรียนฟัง แล้วทำกาีรบ้านส่ง มันใช้ไม่ได้ น่าเบื่อเกินครับ
ผมอยากให้ครูสอนสัก 10-30 นาทีจากทั้งหมด 1 คาบเรียน (50-60 นาที) แล้วใช้เวลาที่เหลือ ทำกิจกรรมอะไรง่ายๆ แล้วท้ายคาบก็ทำงานเล็กๆส่ง อาจจะเป็นแก้โจทย์สักข้อ แต่งกาพย์สักบท สรุปเนื้อหาในคาบนั้น หรืออะไรสักอย่าง
ไม่มีการบ้าน...
แน่นอนว่าการให้การบ้านเป็นการฝึกความรับผิดชอบ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่จะให้เอาไปฝึกความรับผิดชอบ น่าจะให้เป็นรายงานมากกว่าครับ เทอมหนึ่งสักวิชาละเล่มสองเล่ม และให้รายงานพวกนี้เป้นรายงานที่เนืื้อหาง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่เสียเวลาทำมาก ส่วนรายงานใหญ่ๆ ไว้ให้ทำตอนปีสุดท้ายครับ เหมือนว่าเป็นโปรเจ็กท์จบ ซึ่งทั้งปี ให้สั่งกันแค่วิชาละเล่มก็พอครับ (เพราะโปรเจ็กท์นี้เราเน้นอลังการ)
ทีนี้ปัญหาจะอยู่ที่เทคนิคการสอนของครูแต่ละคนครับ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เจอมา ครูจะสอนน่าเบื่อมาก อันนี้ต้องให้ครูแก้กันเองครับ แต่ว่าครูก็ควรได้เรียนเรื่องเทคนิคการสอนแบบกึ่งๆ Entertain ด้วย จะได้ไม่น่าเบื่อ แต่ผมก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะสอนกันยังไง
ต่อมาคือเรื่องเนื้อหาที่เรียน อย่างที่กล่าวไปตอนแรกว่าสิ่งที่เรียนไปแล้วไม่รู้จะเอาไปทำอะไรเยอะมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องบอกนักเรียนให้ได้ว่าไอ้ที่เรียนเนี่ย จะเอาไปทำอะไรได้ นอกจากว่าเอาไปใช้สอบเข้ามหาลัย
และผมก็อยากให้ในการสอบต่างๆ มีการจัดอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นสำหรับการสอบวิชานั้นเอาไว้ให้ด้วย เช่นเครื่องคิดเลข พจนานุกรม ตารางธาตุ หรืออื่นๆ แต่อาจจะกำหนดก็ได้ ว่าสามารถขอสิทธิ์ใช้ได้กี่ครั้ง หรือใช้ได้นานแค่ไหน ประมาณนั้น จริงอยู่ว่าการให้คิดเอง สามารถฝึกทักษะทางความคิดได้ การให้จำตารางธาตุมาเอง ช่วยฝึกความจำได้ แค่ผมว่าในความเป็นจริงแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้นนี่ครับ ปกติเราก็ใช้เครื่องคิดเลขช่วยระหว่างที่คิดแก้โจทย์คณิตศาสตร์เป้นปกติอยู่แล้ว
และที่สำคัญคืออยากให้รัฐบาลออกหลักสูตร และจ่ายให้ทุกโรงเรียนสอนนักเรียนด้วยหลักสูตรเดียวกัน จะัได้แก้ปัญหาที่นักเรียนจะไปกระจุกอยู่เฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเืท่านั้น และทำให้สามารถมอบความรู้ให้นักเรียนได้เท่าๆกันด้วย
ทั้งนี้ แหล่งข้อมูลสำหรับหาความรู้เพิ่มเติมก็สำคัญครับ ส่วนนี้ผมอยากให้ใช้สื่อสารสนเทศเข้ามาช่วย อยากให้รัฐกระจายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมากให้ทั่วประเทศ และมีเว็บศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้เข้าใช้ ซึ่งรัฐอาจจะแจกจ่าย user กับ Password ให้นักเรียนด้วยก็ได้ เพื่อให้นักเรียนทำคะแนนแข่งกัน และมีการมอบรางวัลพวกได้คะัแนนสูงๆ ซึ่งรางวัลจะเป็นตัวล่อให้เกิดการแข่งขันและหาความรู้ในตัวเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าอินเตอร์เน็ตมันไม่มีพรมแดน (ยกเว้นตาปิศาจ) เด็กที่ทำแบบทดสอบในเว็บศุนย์กลางนี้ จะสามารถหาเนื้อหาเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น เราอาจจะทำคีย์เวิร์ดแนะนำสำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเดิม
จบเหอะ พิมพ์ไรไปมั่งวะ งง
[ JIRAYU.INFO ]
เห็นด้วยกับที่อ.เขียนในบทความครับ ความอยากสำคัญที่สุดครับ
เรื่องระบบ โดยส่วนตัวผมว่าการเรียนที่นักเรียนนั่งฟังในห้องเรียนผมคิดว่าดีที่สุดแล้วสำหรับการสร้างพื้นฐานความรู้ ถ้าไม่มีคนย่อยให้เราคงต้องเรียนกันจนอายุเลยสามสิบให้ได้ความรู้เท่้าเด็กม.6 แต่ก็ต้องเล่าให้เหมาะกับคนฟัง เล่าเรื่องที่คนฟังยังไม่รู้ ดังนั้นแทนที่จะจัดนักเรียนเป็นห้องๆเรียนเหมือนกันหมด ควรจะเปลี่ยนเป็นจัดตามระดับความรู้ที่มีอยู่ หาวิธีอะไรซักอย่างมาให้คนเรียนแสดงว่ามีความรู้อยู่ขั้นไหน เพื่อที่จะได้ต่อขั้นต่อไปได้เลย ทั้งนี้ก็ไม่ได้แปลว่าให้นักเรียนเลือกวิชาที่จะเรียนได้ทั้งหมด แบบนั้นก็จะหลายเป็นคนโลกแคบไปอีก
ในขณะเดียวกันก็ต้องหัดให้นำความรู้ออกมาใช้ให้เป็นด้วย วิธีที่ผมชอบคือการให้งานใหญ่ๆมาทำ วิชาละงานสองงานก็พอแล้ว ให้ไปรวมความรู้แล้วเสนอออกมาเอง งานเล็กงานน้อยผมว่าทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์เท่าไหร่ ยกเว้นสิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจ เช่น ภาษา
p.s. อ่านเจอว่าเด็กยุโรปชอบถาม อันนี้ผมว่าไม่ทุกประเทศนะครับ ผมเรียนอยู่ UK ไม่เห็นจะมีใครถามซักเท่าไหร่เลย
เป็นหัวข้อที่อ่านสนุกดีนะครับ แต่เห็นว่ามีแต่คน "อยากได้" ครูแบบนั้น ครูแบบนี้ แต่ไม่มีคน "ลงมือทำ" มาเขียนให้อ่านสักคน...?
\(@^_^@)/
M R T O M Y U M
ใช่ครับ ยังไม่มีใครลงมือทำ เป็นจริงเป็นจัง เพราะอย่างว่าครับ ถ้าระดับบนที่เป็นนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับไอซีที และการศึกษา ก็ยังไม่รู้ความเป็ฯจริงที่เป็น เด็กส่วนมากก็เกิดปัญหา และสิ่งยั่วยุในปัจจุบันมีมาก ตอนนี้อยู่ที่ว่าเราต้องเริ่มลงมือแล้วครับ