ในที่สุดกูเกิลก็ปล่อยขีปนาวุธอีกลูกถล่มใส่ไมโครซอฟท์แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อวันที่ 7 เดือน 7 ปี 2009 กูเกิลแสดงพลังด้วยการประกาศพัฒนาระบบปฎิบัติการใหม่ เรียกว่า Google Chrome OS ระบบ Chrome OS นี้เป็นระบบปฎิบัติการขนาดเบาที่พัฒนามาใช้กับเน็ตบุ๊ก ปีนี้จะปล่อยออกมาเป็นโอเพ่นซอร์ส ปีหน้าก็จะออกมาในผลิตภัณ์เน็ตบุ๊ก กูเกิลยังประกาศตัวพันธมิตรธุรกิจจำนวนมาก นี่ไม่ใช่การออกผลิตภัณฑ์มาแข่งขันกันแบบธรรมดา แต่เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์อันยาวนานของกูเกิลที่จะเปลี่ยนโลกจาก desktop centric computing มาสู่ web centric computing อันจะเป็นการพลิกโลกไอทีทั้งโลก งานนี้ต้องมาดูแนวคิดทางยุทธศาสตร์ของแต่ละฝ่ายครับ ว่าเดินหมากสงครามนี้อย่างไร
อาชีพผมเป็นครูสอนหนังสือครับ พักนี้มีโอกาสคุยกับบรรดาสมาชิกประชาคมอาจารย์บ่อยๆ มีคนบ่นว่าไม่ค่อยเข้าใจเด็กรุ่นนี้ ผมพบว่าตัวเองเริ่มเลื่อนเป็นรุ่นคนที่แตกต่างจากเด็กสมัยใหม่ ตัวผมผมเชื่อมั่นในคนรุ่นใหม่ครับ แต่คิดว่าตอนนี้มีช่องว่างระหว่างเรากับนักเรียนมากขึ้น การให้การศึกษาคนได้ดี มาก และเร็วเป็นความเป็นความตายของชาติในยุคนี้ ยุคที่แข่งกันด้วยพลังแห่งนวัตกรรม เป็น Creative Economy การถมช่องว่างเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้ได้ ด้วยโมเดลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่รวดเร็วและทั่วถึง นับเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมเขาเหล่านี้ให้พร้อมจะก้าวสู่อนาคต
วันนี้เป็นวันหยุด ผมเองมีโอกาสไปเดินชื่นชมข้าวของสวยสวยงามๆ ที่ฟอร์จูนทาวน์เช่นเคย สังเกตไหมครับว่าเดี๋ยวนี้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ โดยเฉพาะเน็ตบุ๊กและโน๊ตบุ๊กนั้นเริ่มออกแบบมาให้เน้นรูปลักษณ์และสไตล์ที่ใหม่และก้าวหน้ามากขึ้น แนวโน้มเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมด้านไอที ที่จะมีบทบาทในอีกหลายปีข้างหน้า วันนี้เรามาลองดูกันว่าแนวโน้มพวกนี้ที่เรียกว่า ไลฟ์สไตล์คอมพิวติ้ง (lifestyle computing) คืออะไร มีแนวโน้มไปทางไหนกันบ้าง
หลังจากปล่อยบทความเรื่อง ไมโครซอฟท์ออฟฟิศพิชิตโลก แล้วมีคนอยากอ่านแบบไตรภาคสตาร์วอร์ วันนี้เลยขอปล่อยเรื่อง ศึกล้างตระกูลปาล์มบ้าง ลองมาดูว่าทำไมโลกของมือถือแบบพีดีเอถึงถูกไมโครซอฟท์ยึดไปได้ครับ ตอนนี้แอนดรอยกำลังจะเริ่มออกตัว เผื่อจะได้เทียบกันดู
ที่จริงแล้วอุปกรณ์แบบพีดีเอเป็นความฝันของมนุษย์มานาน หนังบางเรื่องเช่น สตาร์เทรค ก็แสดงอุปกรณ์บางอย่างที่คล้ายๆ กันมาตั้งแต่ปี 1960 กว่าๆ แต่บริษัทที่เรียกได้ว่าทำพีดีเอออกมาขายจริงเจ้าแรกคือแอปเปิล โดยออกอุปกรณ์ที่เรียกว่า "นิวตัน"
หากใครที่เล่นคอมพิวเตอร์มานานพอ คงยังจำโลกที่ไมโครซอฟท์ไม่ได้ครอบครองทุกสิ่งได้ ราวๆ ปี 1991-1992 ถ้าถามว่า โปรแกรมประมวลคำที่ฮิตที่สุดคืออะไร คำตอบคือ Word Perfect โปรแกรมตารางคำนวนที่ดังสุดคือ Lotus 1-2-3 ฐานข้อมูลล่ะ ต้อง Dbase กับ Foxbase ครับ เบราว์เซอร์ยังไม่เกิดเลย ตอนนั้น DOS ยังครองโลกที่ยังเป็น text และ command line อยู่ เราลองมาดูว่าโลกที่ไมโครซอฟท์ออฟฟิศครองโลกนี้เกิดมาได้อย่างไร
เมื่ออาทิตย์ก่อนไปดูหนังสตาร์เทรคตามประสาแฟนพันธุ์แท้ ในรื่องสตาร์เทรคเนี่ยมีเครื่องมืออย่างหนึ่งเรียกว่า "คอมมูนิเคเตอร์" เครื่องมือนี้ใช้เชื่อมโยงลูกเรือเข้าหากันตลอด อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นแรงบันดาลใจให้นักประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือเป็นอย่างมาก ถ้าว่าเรื่องมือถือแล้วจะเห็นว่าสองปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ตอนนี้เรากำลังเห็นศึกชิงเจ้าโลกแห่งมือถือ คุณว่าใครจะกำชัยชนะครับ
ตอนแรกมือถือเริ่มจากทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์กับส่งเอสเอ็มเอส ก่อน จากนั้นก็ติดกล้อง มีการสนับสนุนการส่งข้อมูลความเร็วสูง 3G และการหาตำแหน่งผ่านดาวเทียม จนมือถือบางรุ่นแทบจะเป็นคอมพิวเตอร์ดีๆ นี่เอง
ทางบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้เป็นเจ้าภาพส่งผมและอาจารย์หลายท่านจากมหาวิทยาลัยไทยไปเข้างานสัมมนาและอบรม 2009 Asia Pacific Windows Core Workshop ระหว่างวันที่ 11-13 เดือนมีนาคมที่ผ่านมา งานนี้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีไมโครซอฟท์รีเสิร์ชแล็บที่ปักกิ่งเป็นเจ้าภาพร่วมกับทางมหาวิทยาลัยปักกิ่ง งานนี้เขาพาไปสอนการทำงานของวินโดวส์เคอร์แนล และแจกซอร์สมาให้ลองศึกษาเล่นเพื่อสอนเด็กมหาวิทยาลัยไทยครับ สุดยอดมาก
เมื่อหลายปีก่อนนั้น คอมพิวเตอร์มีความเร็วเริ่มที่ 1 เมกะเฮิร์ต (เครื่อง Apple II+) ต่อมาไอบีเอ็มสร้าง PC XT เริ่มที่ 4.77 เมกะเฮิร์ต ในยุคถัดมา PC AT ก็เร็วขึ้นอีกเป็น 6 เมกะเฮิร์ต ขณะนี้ เราใช้เครื่องที่ซีพียูเร็วราว 2-3 กิกะเฮิร์ตกันอยู่ ทุกครั้งที่คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นผู้ใช้ก็จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วอยู่พักหนึ่งก่อนที่บริษัทจะออกโปรแกรมใหม่ๆ ที่เพิ่มความสามารถ แต่กินแรงเครื่องจนช้าเท่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่มีใครห่วงมากนักเพราะสักพัก ซีพียูใหม่ๆก็เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาอีก ทำให้เครื่องเร็วขึ้นเอง ผู้ใช้แค่เก็บเงินไว้เปลี่ยนเครื่องใหม่ๆเป็นระยะก็พอ ในหลายปีที่ผ่านมา วิธีการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาแบบเดิมเริ่มไม่ได้ผล ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้น ได้กลายเป็นขีดจำกัดที่ยังไม่สามารถ
ในงาน HOT CHIPS ที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคมปีนี้ ทาง Chinese Academy of Science (CAS) ได้นำผลงานการออกแบบซีพียูแบบ 4 คอร์ของจีนมานำเสนอ โดยโปรเซสเซอร์ Godson นี้เป็นโครงการที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2001 แล้วเนื่องจากระเทศจีนมองว่าเทคโนโลยีในการออกแบบซีพียูเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญกับยุทธศาสตร์ของประเทศ สำหรับซีพียูที่นำมาแสดงนี้จัดเป็นรุ่นที่สามแล้ว ถึงแม้ว่าทาง CAS จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ได้มากกว่าสามเท่าทุกรุ่น แต่ประสิทธิภาพก็ยังไล่ตามซีพียูของอินเทลและเอเอ็มดีอยู่บ้าง
ข่าวใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งในวงการคอมพิวเตอร์ช่วงนี้ คือ การที่บริษัทกูเกิลส่งเบราว์เซอร์ใหม่เรียกว่า Google Chrome ออกมาลงสนามแข่งกับเบราว์เซอร์ของบริษัทต่างๆ เช่น Internet Explorer ของไมโครซอฟท์, Safari ของแอปเปิล ทำไมกูเกิลต้องออกเบราว์เซอร์ของตัวเองด้วย ในเมื่อกูเกิลเองก็ร่วมสนับสนุนจิ้งจอกไฟ Firefox อยู่เต็มเหนี่ยวแล้ว คำตอบ คือ Chrome เป็นอาวุธใหม่ที่กูเกิลปล่อยออกมาแสดงแสนยานุภาพในมหาสงครามยึดโลกอินเทอร์เน็ตครับ
วันนี้ มีฝรั่งกลุ่มหนึ่งมาเยี่ยมโดยมาจากบริษัท HP ที่เมือง Huston Texas มาจากทางด้าน marketing เขามาเพื่อมาสัมภาษณ์พวกเราว่าผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ในปีหน้าควรจะเป็นอย่างไร ทีมนี้มากันสามคน เวลานำเสนอคนที่เด็กหน่อยก็ update road map ของเขาให้ฟัง ส่วนตัวหัวหน้าคอยจด เขามาพร้อมกับรายการยาวเหยียดของคำถาม เช่น เรามองแนวโน้มอะไรเป็นเรื่องใหญ่ พวกนี้เขาไม่ได้มาขายของ แต่มาเก็บข้อมูลจาก reference customer เพื่อทำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ มาให้เราใช้ คำถามบางเรื่องเป็นเรื่องเทคนิคสูงมาก เช่น ตอนนี้เราบริหารระบบเซิร์ฟเวอร์ แคร์เรื่อง IPMI หรือไม่ การใช้งาน workload ของกลุ่มผู้ใช้เรามีกี่กลุ่มและควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของเขาอย่างไรถึงจะดี
ถ้าเราจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ (NII) โครงสร้างนี้ควรมีหน้าตาอย่างไร? คนส่วนใหญ่จะเริ่มนึกถึงอินเตอร์เน็ต ไวร์เลส ไวร์ไฟร์ 3G วาง fiber optic ผมก็คิดว่าน่าจะคิดกลับกัน เหมือนเราจะสร้างบ้าน คิดกันก่อนว่าเวลาอยู่อยากให้มีห้องไหนไว้ทำอะไร แล้วค่อยดูว่ามีวัสดุและเทคนิคการสร้างบ้านอย่างไร ดังนั้นผมขอให้เราคิดถึง เจ้า NII ในเชิงขีดความสามารถ (Capability)และการประยุกต์ใช้ก่อนครับ ก่อนครับ แล้วมาดูเทคโนโลยีว่าจะใช้อะไรสร้าง มองเป็นการคิดแบบ usability driven และ top down ไม่ใช่ technology driven แบบเก่าๆที่ลงท้ายทำให้ซื้อของมาเล่นนักต่อนัก
ในอดีตการพัฒนาประเทศเริ่มจากการทำการเกษตรให้เข้มแข็ง ปัญหาพื้นฐานของศตวรรษที่ 19 และ 20 คือ การหาอาหารเลี้ยงประชาชนให้พอเพียง หลังจากศตวรรษที่ 19 โลกเริ่มก้าวสู้การปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลคือ การผลิตสินค้าจากโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายสินค้าออกสู่ตลาดอย่างทั่วถึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการสื่อสารคมนาคมจึงได้ถูกปรับปรุงอย่างรวดเร็วทั่วโลก อันที่จริงแล้วความสำคัญของการสร้างถนนเพื่อการเดินทางอย่างรวดเร็วนั้นเป็นที่ประจักษ์ตั้งแต่สมัยโรมัน หรือสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น รวมทั้งสมัยโตกุกาว่าในญี่ปุ่น แต่ยังมุ่งเน้นการใช้งานในแง่การสื่อสารเพื่อการปกครองมากกว่า แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้การสร้างระบบคมนาคมเป็นหัวใจสำคัญยิ่งที่จะเชื่อมโยง แหล่งผลิตวัตถุดิบ โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ตลาด และ ลูก
พักนี้ชีพจรลงเท้าครับ เดินทางไม่ได้หยุดหย่อน คราวนี้ผมกับนายสมศักดิ์ นักวิจัยประจำศูนย์ไทยกริด และคุณนวพล ฝ่ายประสานงาน ได้รับเชิญจากไมโครซอฟต์ให้ไปเยือนศูนย์วิจัย Microsoft Shanghai ที่ Zizhu science park, เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 18 – 20 มิถุนายน 2551 เรื่องของเรื่อง คือ ตอนนี้เราช่วยร่วมมือกับไมโครซอฟต์ Windows HPC group , Microsoft Server and Tools Business ในการประเมินผลิตภัณฑ์ Microsoft Windows Compute Cluster Server 2008 รุ่น Beta ซึ่งยังไม่ถูกส่งออกสู่ตลาด โดยทางศูนย์ได้รับหน้าที่เป็นหนึ่งในไม่กี่ศูนย์ทดสอบในโลกที่ทดลองผลิตภัณฑ์นี้และทางทีมวิจัยได้ทำรายงานผลการประเมินโดยละเอียดเพื่อทางฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟต์จะได้นำความต้องการเหล่านี้ไปปรับปรุงและกำหนดทิศทางข
วันนี้ผมไปงาน WTTC2008 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์คจัดโดยศูนย์ไทยกริดร่วมกับกระทรวงวิทย์ หน้าที่ตามเคยของผม คือคุยกับชาวบ้านและนักข่าว พยายามให้เขาเข้าใจว่า ประเทศไทยควรจะรับรู้ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆมีอะไรกัน จะได้ไม่ตกรถไฟ ปีนี้เราเชิญ ดร.โทมัส เสตอริ่ง บิดาของแบวูฟล์คลัสเตอริ่งเทคโนโลยีมาได้ ท่านได้ทิ้งข้อคิดไว้หลายประการครับ
ดร.โทมัส เสตอริ่ง เคยทำงานอยู่ NASA ที่ NASA Goddard Space Center ต่อมาย้ายไปที่ NASA JPL ปัจจุบันท่านทำงานที่ Louisiana State University ครับ ท่านผู้นี้เป็นผู้ให้กำเนิดเทคโนโลยีของคลัสเตอร์บนลินุกซ์ที่เรียกว่า แบวูฟล์คลัสเตอริ่งเทคโนโลยี (Beowulf Cluster)
ผมมีโอกาสเดินทางไปบรรยายที่งานสัมมนา HPCast10 ระหว่างวันที่ 18 – 22 พฤษภาคม 2551 ที่โรงแรม Grand Hyatt ประเทศ Singapore ตามคำเชิญของบริษัท HP Asia Pacific ที่สิงค์โปร์ งาน HPCast10 เป็นงานสัมมนาระดับโลกที่จัดเป็นประจำโดยบริษัท HP เพื่อให้กลุ่มลูกค้าด้าน Grid และ High Performance Computing จากทั่วโลก มานั่งคุย พบปะกัน และยังเอาตัวแทนจากบริษัทใหญ่ๆ เช่น Intel, Microsoft, AMD และอีกหลายบริษัท มาคุยให้ฟังเรื่องแนวโน้มทางเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เราได้เห็นทิศทางทั้งหมด พร้อมกันทีเดียว