ชาว Blognone คงเห็นข่าวการแสกนหนังสือของกูเกิล พร้อมกับคดีความที่ตามมาอย่างไม่รู้จบกันอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร แต่กระแสของการแสกนหนังสือทั้งห้องสมุดของกูเกิลนั้นก็ทำให้หลายหน่วยงานเห็นความสำคัญของการแปลงเอกสารจำนวนมากเป็นดิจิตอลเต็มรูปแบบ
ที่เราหลายคนไม่รู้คือหนึ่งในผู้เล่นหลักในตลาดนี้เป็นบริษัที่ก่อตั้งโดยคนไทย! ที่ชื่อว่าบริษัท Atiz Innovation
ประวัติย่อๆ ของบริษัทคือเมื่อดร.สารสิน บุพบุพพานนท์ กำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ เมสันนั้นการเรียนทำให้ดร.สารสินต้องไปห้องสมุดเพื่อทำสำเนาจากหนังสืออยู่ร่ำไป ภายหลังจึงได้ติดต่อผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ เพื่อสร้างหุ่นยนต์พลิกหน้าหนังสือ เพื่อที่จะแปลงหนังสือเป็นข้อมูลดิจิตอลได้โดยสะดวก และบริษัท Atiz ก็ก่อตั้งขึ้นไปปี 2005 นั่นเอง
ข้อมูลส่วนที่เหลือนั้นสามารถหาเพิ่มเติมได้ในเว็บของทาง Atiz เอง
จริงๆ แล้วผมรู้จักกับทาง Atiz เมื่อได้รับการติดต่อลงโฆษณาอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว (จำกันได้ไหม?) และพบว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีขึ้นด้วยตัวเอง, ก่อตั้งโดยคนไทย, ผู้พัฒนาเป็นคนไทย, และมีฐานการพัฒนาอยู่ในเมืองไทย แม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอื่นเช่นกล้อง SLR มาต่อยอดอยู่บ้าง คงเรียกได้ว่านี่เป็นบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีขึ้นใหม่มาเพื่อขาย
ความน่าสนใจของบริษัทนี้ทำให้ผมยินดีกระจายข่าวสมัครงานให้อยู่หลายครั้ง และผมว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ชาว Blognone จะได้ทำความรู้จักกับบริษัทแห่งนี้ เลยขอชวนทุกท่านที่อยากรู้เรื่องราวของบริษัทนี้ส่งคำถามกันเข้ามาได้เลยครับ
Comments
จำโฆษณานั้นได้ และได้คลิกเข้าไปดูด้วยครับ :-D น่าภูมิใจๆ
รออ่านบทสัมภาษณ์ด้วยใจจดจ่อครับ ส่วนคำถาม (อันนี้เป็น Ask Blognone ใช่ไหมครับ) นั้นให้ท่านต่อๆ ไป มาถามดีกว่า น่าจะได้ความกว่าผมหลายเท่านัก :-)
อ่านแล้วเพิ่งรู้ตัวว่าไม่ได้บอกให้คนอ่านตั้งคำถาม แก้ล่ะ - -
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าตั้งหัวข้อข่าวเป็น "ชวนสัมภาษณ์ดร.สารสิน บุพพานน ผู้ก่อตั้งบริษัท Atiz Innovation"
หรือ "ช่วยกันสัมภาษณ์ดร.สารสิน บุพพานน ผู้ก่อตั้งบริษัท Atiz Innovation"
แบบนี้จะทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ตรงกว่าไหมครับ
แก้แล้วนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ย่อหน้าแรก "แสกน" พิมพ์ผิดครับ
ป.ล. ย่อหน้า 5 เป็นเนื้อหาไทยทั้งหมดอยู่แล้ว ไม่น่าต้องมีลูกน้ำคั่นก็ได้นะ
มีหลายประเด็นเลยครับที่น่าสนใจ พยายาม list เป็นข้อหลักๆไว้น่ะครับ
1.แน่นอนทุกคนต้องสัย ว่าเป็นไปได้ไหมที่แนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้กับหนังสือต่างๆของประเทศไทย ไม่แน่ใจว่าต้องกระทำผ่านองค์กร NGO หรือ ผ่านหน่วยงานของรัฐ หรือต้องทำผ่านเอกชน แต่เชื่อว่ามีหนังสือมากมายที่น่านำมาใช้งาน (อาจเป็นวิทยานิพนธ์ นศ. โดยกระทำผ่านสิทธิบัตรของมหาลัยต่างๆ) มีความเป็นไปได้ หรือมี มหาลัยไหน(ในไทย)ที่คิดจะให้บริการแบบนี้ในอนาคตอันใกล้บ้างหรือยังครับ?
2.เราไม่สามารถเอาสัญญา Creative Common หรือการเข้ารหัสแบบอื่นมาใช้เพื่อสร้างบริการกับ Business model ลักษณะนี้ ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย เฉกเช่นการให้บริการหนังสือในห้องสมุดได้เลยหรือครับ (เช่นสมัครสมาชิกเหมือนห้องสมุด ดาวส์โหลดไฟล์ที่เข้ารหัสไว้ซึ่งอาจกำหนดวันล๊อคตัวเองตามเวลา หรือสิทธิในการยืม ต่ออายุการยืมด้วยการกลับมาแจ้งเพื่อขอ Active Code อะไรแบบนั้น ฯลฯ *การต่ออายุการยืม เพื่อเอาข้อมูลการเข้าใช้บริการมาทำ CRM หรือเพื่อประโยชน์อื่นต่อไป)
3.ต้นทุนในการแปลงหนังสือ โดยใช้เทคโนโลยีของบริษัท Atiz Innovation จะใช้วิธีคำนวนยังไงครับ มีตัวอย่างคร่าวๆไหมครับ เช่น จากจำนวนหนังสือ, จากมูลค่า หรือความเสี่ยงในการสร้างความเสียหายของหนังสือ (รวมทั้งความถูกผิด ที่อาจเกินขึ้น เช่นเนื้อหาอาจกล่าวถึงสมการสำคัญทางคณิตศาตร์ กรณีหากเกิดความผิดพลาดในกระบวนการแปลงมาเป็น e-book ซึ่งอาจส่งผลสำคัญต่อเนื้อหาเดิม ใครจะรับผิดชอบครับ เช่นหนังสือต้นฉบับมีรอยขีดเขียน หรืออาจพิมพ์ตกหล่น แล้วส่งผลให้กระบวนการแปลงไฟล์อาจจะเก็บข้อมูลที่ผิดพลาดไปเป็น e-book เป็นต้น)
4.ทิศทางของเทคโนโลยีนี้ในอนาคตของความเป็นจริง (ซึ่งมีทั้งข้อจำกัดเรื่องกฏหมาย, เทคโนโลยี และความพร้อมในการปรับตัวของผู้คน)ผลจะเป็นเช่นไรครับ และความสามารถจริงๆของเทคโนโลยีนี้ในวันนี้นั้นไปถึงไหนแล้ว
จะรออ่านครับ ขอบคุณครับ ;) ..
my blog
ผมว่าอาจจะหลุดประเด็นนะครับ Atiz ไม่ได้รับจ้าง digitize หนังสือนะ เค้าขายอุปกรณ์+ซอฟท์แวร์ช่วยในการ digitize หนังสือนะครับ ในลักษณะกึ่งอัตโนมัตินะ
สินค้าชิ้นต่อไปจะเป็นอะไรครับ
(เน้นแต่ Tablet เลยเรา)
เอ่อ ไปเห็น Atiz เค้าขาย Tablet หรือ eBook Reader ที่ไหนครับ ?!?
ซักงานครับ จำไม่ได้ คิดว่ายังไม่ได้ขายครับ เห็นแค่ Prototype
ตอนนี้มีลูกค้าแล้วหรือยัง ? ถ้ามีแล้ว ใครบ้าง (ทั้งในและต่างประเทศ) ?
สินค้าของบริษัท เป็นคู่แข่งของ reader ของ Amazon, Techcrunch ใช่หรือไม่ ? ถ้าใช่ มีความเห็นอย่างไรกับคู่แข่งดังกล่าว ?
มองอนาคตของการใช้ reader แทนการอ่านหนังสือ (กระดาษ) อย่างไร (ทั้งในระดับสากลและในเมืองไทย) ?
ปล.scan คิดว่าน่าจะสะกดว่าสแกนนะครับ
มาตอบแล้วนะครับ
ขอบคุณคุณลิ่ว กับทุกคำถามของชาว Blognone นะครับ
ขอตอบจากที่ตอบง่ายไปยากแล้วกันนะครับ เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ อาจถูกบ้างผิดบ้าง
ตอนนี้เอทิซ ทำอยู่หลายอย่างครับ สแกนเนอร์สินค้าหลัก แล้วเราก็ทำใหม่อีก 3 อย่าง คือ Tablet, เว็ปไซต์ประมาณเหมือน Google News สำหรับข่าวไทย,และอุปกรณ์ไว้บอกความฟิตของร่างกายแบบพกพา
Q: การทำสินค้าออกมาแต่ละตัว เริ่มจากไหน? A: เริ่มจากรู้ว่าตัวเราเองอยากได้สินค้าอะไรก่อนครับ ไม่ต้องไป market research อะไรที่ไหนมากมาย จินตนาการเอาเลยว่า device ที่เราฝันอยากจะได้ มันทำอะไรได้ มีประโยชน์ยังไง ใช้งาน มี interface ยังไง ออกแบบออกมา แล้วดูว่ามีขายอยู่แล้วหรือเปล่า ถ้ามี ก็ไม่ต้องไปทำ อุดหนุนของเขาดีกว่า ถ้าที่มีอยู่ ไม่มีอันไหน ตอบโจทย์ของเราได้ แล้วความต้องการของเรามันสำคัญ มันจำเป็นจริงๆ ก็แสดงว่ามีโอกาสน่าทำ device ตัวนั้นครับ ก็ list ดูว่า technical requirements เป็นยังไง ก็จัดหาคน หาทีม หา resources ให้เหมาะสมครับ ออกแบบ แล้วก็เริ่มทำกันเลย
Q: ส่วนไหนที่ยากที่สุดของการขั้นตอนการพัฒนาสินค้าแต่ละตัวครับ? A: การหาคนครับ ของเรา ไทยทำ ฝรั่งใช้ครับ กว่าจะหาคนตรงกับงาน สามารถทำงานที่เราตั้ง target ไว้ได้ ยากมากๆๆ ครับ บาง job หากันเป็นปี กว่าจะเจอคนที่ใช่ และเขาสนใจจะมาทำงานกับเรา
ยกตัวอย่าง ตำแหน่งที่เราต้องการ เช่น - โปรแกรมเมอร์ ร่วมพัฒนา web browser ขึ้นมาใหม่โดยใช้ WebKit engine สำหรับ run บน linux embedded device (Tablet) - โปรแกรมเมอร์ C++ - วิศวไฟฟ้า วิศวอิเล็กทรอนิกส์, วิศวเครื่องกล, เมคาโทรนิกส์
การพัฒนาสินค้าเหล่านี้ เราจะพอรู้เค้าว่ามีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหนตั้งแต่ตอนฟอร์มทีมงานครับ ไม่ต้องรอยืดเยื้อนาน คนทำได้ก็ทำได้ คน skill ไม่ถึง ให้เวลานานแค่ไหนก็ทำไม่ได้
เรื่อง Tablet A. ผมว่า e-ink ไม่ work ครับ ลองใช้แล้วก็ไม่ชอบครับ refresh rate ช้าเกินไป หน้าจอขาวดำ แล้วจะแสดงรูปสียังไง ดูวีดีโอยังไง สังเกตความไม่ work ของมันได้ ที่รุ่นใหม่ๆ เช่น nook ของ Barnes & Noble ที่ออกมาวันนี้ ต้องใส่จอ 2 แบบ ข้างบนเป็น e-ink ข้างล่างเป็นจอสี
ถ้าใช้คอนเซปท์ Steve Jobs ก็ต้องตอบว่า มันไม่ elegant, Solution ที่ได้ต้อง Simple, functional and elegant ครับ ถามว่าขายได้ไหม ขายได้ครับ อาจขายดีด้วย เหมือน netbook แต่มันไม่ functional and elegant ครับ
Q. สินค้าของบริษัท เป็นคู่แข่งของ reader ของ Amazon, Techcrunch ใช่หรือไม่ ? ถ้าใช่ มีความเห็นอย่างไรกับคู่แข่งดังกล่าว ? A. e-ink readers ไม่เป็นคู่แข่งดังเหตุผลข้างบน Crunchpad ของ techcrunch ก็สวยดีนะครับ คอนเซปท์เขาก็วางชัด เหมือนเป็น netbook ใน form factor ของ tablet เป็น touch device ที่มีแต่ web browser ถ้าเขาออกมา ผมก็อาจจะซือของเขานะครับ
แต่สิ่งที่มันยังติดค้างสำหรับผมก็คือ ปัจจุบันผมก็มี tablet อยู่แล้วนะครับ Dell Latitude XT (ใช้มาเกือบทุกรุ่นแล้ว) แต่ผมก็ยังขาดกระดาษสมุดโน็ต สมุดฉีกเอาไว้สำหรับจดโน็ต หรือวาด ร่างงาน ร่างไอเดียไม่ได้
คำถามคือจะทำยังไง ให้ คอมพิวเตอร์เหมาะกับการเก็บข้อมูล free-form writing พวกนี้ จดโน็ต ขีดเขียน วาดรูป แบบสะดวก ถ้าทำได้ กระดาษก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
อันนี้คือโจทย์ของ tablet ที่เราทำอยู่ครับ ซึ่งชื่อมันคือ Inkipad ซึ่งเราต้องการไม่ใช่ให้มันเป็นแค่ touch device, เราไม่ต้องการให้มันเป็นแบบ crunchpad หรือ iphone หรือ Apple Tablet ที่คาดว่ากำลังจะออกมา แต่ต้องการให้เป็น ink + touch device. ก็จะออกมา เมื่อไหร่ หรือจะออกมาไหม ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ ผมเองก็อยากให้มันออกมาเร็วๆ อย่างน้อยผมจะได้เอามาใช้เอง แต่งานด้านซอฟท์แวร์มันก็เยอะมากทีเดียว ก็ถ้าใครสนใจอยากจะมาร่วมพัฒนากับเรา ก็ยินดีนะครับ
Q. มองอนาคตของการใช้ reader แทนการอ่านหนังสือ (กระดาษ) อย่างไร (ทั้งในระดับสากลและในเมืองไทย) ? A. กระดาษจะยังคงมีอยู่บ้าง แต่เมื่อใดที่ หนังสือ เริ่มมีการ publish ซื้อขายไว้อ่านกันบน pc บน web browser เมื่อไหร่ และมี device ที่เหมาะกับการอ่าน (Apple tablet) และ การ ink เช่น่ ไฮไลท์ เหมือนเวลาที่เด็กอ่านหนังสือสอบ เมื่อไหร่ (inkipad) ผมว่าคนคงหยุดใช้กระดาษ มันก็น่าตั้งคำถามกันน่ะครับ ว่าทำไม มนุษย์ยังต้องเอา content ไปปะไว้บนผลิตผลแปรรูปจากต้นไม้กันอยู่อีก เปลืองต้นไม้ เปลืองหมึก เปลืองน้ำมันในการขนส่ง เป็นวิธีดึกดำบรรพ์มาก
เรื่องเครื่องสแกนเนอร์ Q. ทำไมถึงไม่เห็นข้อมูลอุปกรณ์แบบ automatic แล้วล่ะครับ เห็นแต่เป็น semi-automatic? A. รุ่นแรกเราออกมาเป็น auto ครับ ราคาแพงไป และยังมีข้อบกพร่องทางเทคนิคหลายประการ เลยถูกแทนที่ด้วยรุ่นที่ถูกกว่า simple กว่า but get the job done. ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก หลังจากนั้น เราก็เลยทำออกมาแต่รุ่นประเภทนี้
Q. ไม่ทราบว่าแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างไรกับคุณ Nick A. หน้าที่พัฒนาสินค้าทั้งหมดอยู่ที่ Atiz Thailand Atiz USA ทำตลาด North America ที่เหลือ Atiz Thailand เป็นคนดูแล ขายตรงบ้างหรือ ผ่าน Distributors
Q. ไม่เห็น reference ในเมืองไทย เกิดอะไรขึ้นกับตลาดในเมืองไทยครับ ไม่มี demand/awareness หรือ ไม่มีทุนทรัพย์ หรือไม่มี mind-share A. ดูข้อมูลลูกค้าของเราได้ที่หน้านี้ครับ http://www.atiz.com/customers
องค์กรในไทยที่ใช้ก็เช่น สำนักงานราชเลขาธิการ สำหรับสแกนงานราชกรณียกิจ,ห้องสมุดวุฒิสภา, จุฬา,วัดบวรฯ ไว้สแกนหนังสือของสมเด็จพระสังฆราช, AC Neilsen, โรงเรียน, บริษัทรับจ้างสแกน, etc. เราไม่ได้ promote ในวงกว้างนัก เพราะเราเน้นลูกค้าวงแคบๆ คือห้องสมุด หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งก็พอรู้จักเราพอสมควร และหน่วยงานในไทย งบน้อย ใช้เวลาค่อนข้างนาน ตลาดไทยคิดเป็นประมาณไม่ถึง 5% ของตลาดทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราจะใช้ effort ไปโฟกัสที่ 95% ของตลาดครับ
Q. NGO, Creative Common, Business mode, cost, etc. A. ทุกอย่างมีต้นทุน กิจกรรมใดจะมีคนทำหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าจะมีคนรับภาระค่าใช้จ่ายไหม อย่าง Google เขาลงทุนสแกนหนังสือทั้งหมดในห้องสมุดอเมริกาได้ เพราะ สุดท้ายเขาก็สามารถขายโฆษณาแปะไว้กับ search result ได้ หรือเปิด ebook store ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น business model มันตอบโจทย์ได้ครับ ของเมืองไทย ถามว่าจะมีใครมีความพร้อมหรือเปล่าตรงนี้ มหาวิทยาลัยเอง หรือรัฐบาลเป็นคนออกเงิน หรือเราจะทำ ebook store ขึ้นมา อันนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปนะครับ
55 เลยไม่รู้ progress ของตัว tablet กับ spec เท่าไหร่เลย
แต่ไม่เป็นไรครับ พอเข้าใจว่าบางส่วนน่าจะยังเปิดเผยไม่ได้ (หรือไม่ควรเปิดเผยเลย)
ว่าแต่ตัว scanner เห็นมีขายของไทย 5% อย่างนี้ปกติมีใช้ OCR ภาษาไทยบ้างรึเปล่าครับเนี่ย? แล้วเท่าที่ลองนี่ accuracy ประมาณไหนครับในปัจจุบัน (เทียบกับภาษาอังกฤษด้วยก็ได้ครับ)
เป็น pre-process ให้เฉยๆ ครับ สามารถเอาไปทำ OCR ต่อได้ , ภาพดี >> ocr ง่าย , ตัว software ดีๆ ก็มีแล้วอย่าง abbyy.com ครับ :)
ผมเคยเห็นว่า Thai OCR ทุกเจ้าที่มีในท้องตลาดเมื่อ 5 ปีก่อน
ถ้าพูดถึงตัว font แบบอิสระ คือไม่ได้ใช้ฟอนต์ ที่กำหนดไว้ก่อน มีทั้งอักษรไทย อังกฤษ ตัวเลขอารบิก ตัวเลขไทย อยู่ระดับ 95%-99% ซึ่งนับว่าห่างไกลจากการใช้งานจริงนะครับ (บรรทัดหนึ่งผิดที่หนึ่งถึงห้าที่) หน้าละสามสิบบรรทัด ก็ปาเข้าไป 30 จุดเป็นอย่างน้อยๆ
ไม่ทราบว่าใครมีประสบการณ์จริงกับ OCR ภาษาไทยที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ จริงๆ รบกวนแชร์ให้ทราบด้วยจะยินดีมากครับ
"มันก็น่าตั้งคำถามกันน่ะครับ ว่าทำไม มนุษย์ยังต้องเอา content ไปปะไว้บนผลิตผลแปรรูปจากต้นไม้กันอยู่อีก เปลืองต้นไม้ เปลืองหมึก เปลืองน้ำมันในการขนส่ง เป็นวิธีดึกดำบรรพ์มาก"
น่าคิดแฮะ...
คิดว่าต่อไป e-book reader กับโทรศัพท์มือถือ จะรวมร่างกันไหมครับ (เป็น reader ที่โทรออกได้)
onedd.net
@คุณOakyman
ตอนนี้ progress อยู่ที่ prototype A ครับ (ไว้เดี๋ยวแชร์รูปให้ดูครับ)
กว่าจะผลิตวางขายสู่ตลาดได้จริงๆ อีกนานครับ (ไม่ต้องลุ้น) ต้องมี prototype B and C เร็วที่สุดก็ปีนึงจากนี้ครับ
สเปคตอนนี้
- ชิปตระกูล Arm Cortex A8 (ของ Ti OMAP) แบบที่ใช้ใน iphone 3GS, Palm Pre or Nokia N900
- หน้าจอ capacitive touch + active digitizer 12 นิ้ว 1280 x 800
- hardware support เรื่อง multitouch ครับ แต่ software เราจะไม่ได้ทำให้ multi-touch ครับ เพราะต้องใช้เวลาครับ และเห็นว่า หน้าที่หลักของ multi-touch คือเอาไว้ zoom เท่านั้นเอง ซึ่งเราจะมีวิธีที่สะดวกไว้ให้ครับ
@wiennat
ผมไม่คิดว่าเขาจะใส่ function โทรศัพท์เข้าไปใน e-book reader ที่ใช้ e-ink นะครับ เครื่องคงใหญ่น่าดูเลย
แต่ที่ทำคือ ใส่ function e-reader เข้าไปในโทรศัพท์มากกว่า (iphone) หรือไม่ก็เปิด content ให้มัน access ได้โดย web browser ซึ่งน่าจะเป็น solution ที่ดีที่สุด
โอ้ว A8 Ti OMAP! เร็วสุดขีด -__-a แสดงว่าต้องการการประมวลผลเยอะใช้ได้เลยนะเนี่ย
ว่ากันดื้อๆ ยืมมารีวิวสักตัวได้มั๊ยครับ
lewcpe.com, @wasonliw
555 จิตวิญญาณบล็อคเกอร์จริงๆ นับถือๆ
ว่าแต่เอาหลายอย่างมาเปิดเผยขนาดนี้ (แม้แต่แนวคิด) ไม่คิดว่าเสี่ยงเกินไปเหรอครับ หรือคิดว่าแนวคิดแบบนี้ใครๆ ก็คิดได้ เลยไม่หวง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
อีกอย่างน้อย 1 ปีนี่
คิดว่ามันจะ "ช้า" ไปมั้ยครับ เมื่อวางขายจริงๆ
ยังรับ C++ Programmer มั้ยครับ ^^
ยังรับอยู่ครับ สนใจส่ง resume มาได้เลยครับที่ info at atiz dot com