ผมไม่แน่ใจว่ามีใครอ่าน จดหมายของสตีฟ จ็อบส์ กล่าวถึง Flash แล้วรู้สึกแปร่งๆ บ้างหรือเปล่า (เท่าที่ผมเช็คดู มีความเห็นของคุณ HudchewMan เพียงคนเดียว) แต่เมืองนอกมีคนออกมาพูดเรื่องนี้กันเยอะ เผอิญหยุดสามวันนี้พอมีเวลา เลยเรียบเรียง "คำโต้" ของผู้หาญกล้าคัดค้านศาสดามาให้อ่านกัน
ที่เลือกมามี 2 เวอร์ชัน ภาคแรกนี้เป็นฉบับของ Thom Holwerda บรรณาธิการของเว็บไซต์ OS News ครับ
หมายเหตุ: นี่ไม่ใช่การแปลแบบตัวต่อตัว แต่เป็นการสรุปใจความบางส่วน กรุณาอ่านต้นฉบับประกอบอีกครั้ง
OSNews เริ่มต้นโดยบอกว่าจดหมายของสตีฟ จ็อบส์ มีประเด็นที่ดีหลายอย่าง เช่น Flash เป็นซอฟต์แวร์เจ้าปัญหา มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย และเป็นแพลตฟอร์มปิด
แต่จ็อบส์เองกลับ "ตีสองหน้า" เสแสร้งและให้ข้อมูลผิดๆ ซึ่งเป็นทริคด้านการตลาดแบบหนึ่ง ทาง OSNews ต้องการจะโต้ข้อมูลกับจ็อบส์ใน 3 ประเด็น
จ็อบส์โจมตี Adobe ว่าช้ามากในการเปลี่ยนจาก Carbon มาใช้ Cocoa (ผมยกฉบับแปลของคุณ Zerothman มาเลยละกัน)
ที่ผ่านมา Adobe ช้ามากในการใช้ฟีเจอร์บนแพลตฟอร์มของแอปเปิล โดยอ้างว่า Adobe เพิ่งสามารถสร้างแอพพลิเคชันที่ใช้ Cocoa ได้ (CS5) ทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีนี้มากกว่า 10 ปีแล้วตั้งแต่ Mac OS X เวอร์ชันแรก โดยแอปเปิลยังระบุว่า Adobe เป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชันรายใหญ่บนแมคเจ้าสุดท้ายที่ย้ายมาใช้ Cocoa
OSNews บอกว่าแอปเปิลต่างหากที่ช้ากว่าใคร ตัวอย่างไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดบน Mac OS X นั่นคือ Finder ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนเป็น Cocoa ใน Mac OS X 10.6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2009
แต่ที่แย่กว่านั้นคือ iTunes ซอฟต์แวร์หลักของแอปเปิล ยังเป็น Carbon 32 บิตอยู่เลย รวมถึง Final Cut Pro ด้วย
OSNews บอกว่า Microsoft Office 2008 เองก็เป็น Carbon เหมือนกัน และยังไม่เห็นแอปเปิลจะว่าอะไร นี่อาจแปลว่า "แอปเปิลไม่เปลี่ยนเป็น Cocoa ไม่เป็นไร แต่ Adobe ช้า กลับด่า Adobe???"
OSNews บอกว่า H.264 ไม่ใช่ฟอร์แมตที่ดีกว่า Flash เลย มันมีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร และไม่ใช่มาตรฐานเปิดแบบที่อ้าง รวมถึงเจ้าของอย่าง MPEG-LA ก็เคยออกมาบอกชัดว่า ผู้ใช้ธรรมดาก็มีสิทธิ์โดน MPEG-LA ฟ้องข้อหาละเมิดสิทธิบัตรได้เช่นกัน ถ้าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ยอมจ่ายเงินให้ MPEG-LA (ข่าว OSNews)
The MPEG-LA further reiterated that individual users are just as liable as distributors or companies. "I would also like to mention that while our Licenses are not concluded by End Users, anyone in the product chain has liability if an end product is unlicensed," Harkness explains, "Therefore, a royalty paid for an end product by the end product supplier would render the product licensed in the hands of the End User, but where a royalty has not been paid, such a product remains unlicensed and any downstream users/distributors would have liability."
OSNews ตั้งคำถามว่า ทำไมแอปเปิลจึงผลักดัน H.264 อย่างเต็มที่ ทั้งที่มันไม่ใช่มาตรฐานเปิด? คำตอบก็คือ แอปเปิลนั้นเป็นสมาชิกของ MPEG-LA (เช่นเดียวกับไมโครซอฟท์) และคนยิ่งใช้ H.264 มาก จ่ายเงินให้ MPEG-LA มาก เงินก็ยิ่งเข้ามายังแอปเปิลมากขึ้นนั่นเอง
ทาง OSNews ได้สรุปว่า แรงจูงใจของแอปเปิลในการผลัก H.264 คือเรื่องเงินล้วนๆ โดยปลอมแปลง H.264 ว่าเป็นมาตรฐานเปิด และโจมตี codec ของ Flash ว่าเป็นมาตรฐานปิด
ประเด็นเรื่องข้ามแพลตฟอร์ม จ็อบส์พูดไว้ดังนี้ (คัดมาจากฉบับแปลของคุณ Zerothman)
เหตุผลที่สำคัญที่สุด คือแอปเปิลเห็นว่าการที่มีชั้นของซอฟต์แวร์ที่มากั้นกลางทำให้แอพพลิเคชันที่ออกมาแย่ลง เพราะแอพพลิเคชันที่ข้ามแพลตฟอร์มจะสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ที่มีร่วมกันข้ามแพลตฟอร์มเท่านั้น ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ที่เป็นจุดเด่นแยกกันไปเฉพาะของแต่ละแพลตฟอร์มได้
OSNews ยกตัวอย่างค้าน (counter example) เป็นซอฟต์แวร์แบบ native ของแอปเปิลตัวหนึ่ง ที่ไม่กลืนกับระบบปฏิบัติการแม้แต่น้อย ไม่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะของแพลตฟอร์ม แถมยังช้า ไม่เสถียร ไม่รองรับ 64 บิต และแถมขยะมาให้ในตอนติดตั้งเป็นจำนวนมาก
โปรแกรมตัวนี้คือ iTunes for Windows
Thom สรุปปิดท้ายจดหมายว่า แอปเปิลกำลังทำตัวเป็นฮีโร่ของฝ่ายมาตรฐานเปิด ซึ่งไม่ผิดอะไร บริษัทอื่นๆ ก็ทำกันทั้งนั้น (เช่น กูเกิล) แต่ผู้อ่านไม่ควรลืมว่านี่คือ "ข้อความทางการตลาด" ไม่ใช่ "ข้อเท็จจริง"
ที่มา - OSNews
Comments
เริ่มมึนส์ๆ แล้วตรูจะเอนไปที่ฝ่ายไหนดีหว่า.. XD
เอาเข้าจริงแล้ว ผู้บริโภคก็ไม่ได้มีทางเลือกมากเท่าไรนักครับ หันไปทางไหนก็เจอแต่คนไม่จริงใจ ไม่ว่าจะเป็น Adobe, Apple, Microsoft หรือแม้แต่ภาพดีๆ อย่าง Google
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เรื่องพวกนี้เราสามารถรู้เท่าทันได้ อย่าให้ภาพลักษณ์ของบริษัทหรือศาสดามาบังตาจะดีที่สุดครับ
+1 เยี่ยมเลย คนไทยชอบเอาตัวเองตกเป็นทาสผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ให้บริการอีกด้านหนึ่งจับมือกันเพื่อที่จะรวมหัวกันเก็บเงินผู้ใช้ยังไงดี
+1
kurtumm
+1 เห็นด้วยครับ และผมคิดว่าเรื่อยอื่นๆ ก็เหมือนกัน แยกฝ่ายเป็น fan boy ทั้งๆ ที่ต่างก็ evil ด้วยกันทั้งนั้น
ผมก็พยายามช่วยเหลือให้พวกเขา "รู้เท่าทันศาสดา" เท่าที่จะช่วยได้น่ะครับ
พี่ลองเขียนหนังสือรู้ทัศาสดาออกมามั่งสิครับ แข่งกับพวกรู้ทันทักษิณ รู้ทันจอร์จบุช ไรพวกนี้ ฮ่าๆ
+1 และอยากให้สังคมITเมืองไทยพัฒนาไปให้ไกลกว่าการเป็นเพียงแค่ "ผู้บริโภค" ครับ
ข้อความทางการตลาด ... +1
ป.ล. ใครรู้จักเว็บคำศัพท์ทาง IT และ คอมพิวเตอร์ บ้างครับ
คือว่า ผมอ่านข่าวที่ blognone เจอคำศัพท์ที่ไม่ค่อยคุ้นอยู่บ่อยๆ
เลยนำไปค้นหาในอินเตอร์เน็ต และผมไม่เก่งภาษาซะด้วย
เจอแต่ อังกฤษ แปลเป็น อังกฤษ
ซึ่งลองแปลแล้วก็ยังไม่เข้าใจแล้วก็กลัวแปลความหมายไปผิดเพื้ยน
"ข้อความทางการตลาด" ไม่ใช่ "ข้อเท็จจริง" +1 ด้วยคนครับ ทั้งคมทั้งโดน
ตอน jobs พูดก็เห็นจริง
ตอนนี้ก็เห็นจริง
ไม่รู้แหละ แต่ flash ไม่ได้เข้า iPhone ง่ายๆ แน่ 555
ไม่ได้โกหกนะ แต่พูดความจริงไม่หมด
มีข้อจริงทั้งคู่นะครับผมว่า . . . แต่บทความนี้ก็ไม่ได้พิสูจน์ว่า Jobs พูดเท็จทั้งหมด . . . แต่ Jobs จัดมุมให้ตัวเองดูดี เอิ๊ก ๆ . . .
+1
ผมงงกับที่บอกว่า iTunes for Windows ไม่รองรับ 64 บิตครับ มันมีให้โหลดเป็นแบบ 64 บิตไม่ใช่เหรอ?? (อย่างน้อยเครื่องผมก็ใช้อยู่) หรือว่ามันแค่แปะยี่ห้อว่า 64 บิตเฉยๆ?? ไม่รู้อ่ะ
มัน 64 bit แค่ Driver เชื่อมต่อ กับ gadget ของ Apple ส่วนตัว iTunes เป็น 32 bit
(ต่อจากข้างบน) และโปรแกรม 32-bit ก็ใช้กับ Windows 64Bit ได้
แง่ม งั้นจะพะยี่ห้อ 64 bit ทำไมหว่า? เพราะว่า driver ipod มันจำเป็นต้องเป็น 64 bit เหรอครับ หากใช้ Windows X64 เนี่ย??
os 64 บิทใช้ไดรว์เวอร์ของ 32 บิทไม่ได้ครับ
+10 โดยเฉพาะคำว่า ข้อความทางการตลาด เป็นการชี้นำให้ชาวโลกเห็นว่าตัวเองคือพระเอกซึ่งจริงๆแล้วมีนัยแอบแฝงอยู่เหมือนกัน
มึนนน
ยังไงก็ยังอยากใช้ flash ใน iPhone iPod iPad อะ ถึงจะรู้ว่ากินแบตมากก็ตาม
ความจริงอีกด้าน
แต่อยากรู้ว่าผลประโยชน์เป็นเงินที่ได้จาก h.264 นี่มันมากพอเป็นแรงจูงใจให้ apple ผลักดันเลยหรอครับ ไม่มีความรู้ใครรู้ช่วยแชร์หน่อยครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมไม่มีความรู้อะไรมากมายนะครับ แต่ลองคิดเล่นๆว่า ระหว่างได้ผลประโยชน์บ้างถึงจะไม่มาก กับไม่ได้เลย คนทำธุรกิจจะเลือกแบบไหน
ที่ผมสงสัยเพราะได้ผลประโยชน์ แต่ต้องลงแรงผลักดัน ในขณะที่ถ้าใช้ Flash อีกบริษัทลงแรงให้เกือบหมด จึงอยากรู้ว่าผลประโยชน์จาก MPEG-LA พอจะจูงใจเลยหรอครับ และไม่ใช่ผลประโยชน์จาก core ของบริษัทด้วย แต่ผมคิดว่าคงเป็นเพราะแบบที่คุณ Zerothman บอกข้างล่างแหละครับ เพราะจ่ายเงินก้อนโตไปแล้ว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อีกบริษัทลงแรงให้เกือบหมด แต่ Apple ไม่ได้อะไรกลับมาเลย...
เทียบกับลงแรงเองบ้าง แล้วได้ผลตอบแทนกลับมามากกว่า
เล็กๆน้อยอย่าง สล็อต ที่น่าจะแถมมาให้บน ipad แกยังตัดมาแยกขายได้เลย คิดดู
ไม่นานก็คงตามมาด้วยการฟ้องร้องจากจดหมายที่ดิสเครดิตกัน ;(
my blog
ต้องติดตามตอนต่อไป
ปิดท้ายได้ดีครับ .... ได้ข้อสรุปทุก ๆ อย่างเลย ..
เห็นด้วยสุดฯ โดยเฉพาะเรื่อง H.264 กับ Cocoa
ตอนแปรก็นึกๆ อยู่เหมือนกันว่าแล้ว Office ล่ะ แต่ก็เดาไปเองว่าเค้าน่าจะหมายถึงมีสักโปรแกรมของบริษัทที่เป็น Cocoa แล้ว เลยทำให้เหลือแค่ Adobe จริงๆ
เรื่อง H.264 ผมว่าเป็นเพราะแอปเปิลจ่ายเงินก้อนโตไปแล้วเลยต้องใช้ให้คุ้ม แล้วถ้ามองในมุม user experience แล้วยังไง H.264 มันก็ดีกว่า
อืม เค้าพูดเลี่ยงได้ดีนะ ถ้าไม่ได้อ่านอันนี้คงเชื่อเรื่อง H.264 แล้ว
ไม่มี สาวกใน ข่าวนี้หรอครับเนี่ย หุหุ
ผมรอให้สาวกออกมาให้หมดก่อน แล้วค่อยตลบหลังน่ะครับ สาวกแอปเปิลมักไม่ค่อยฉลาดเท่าไร
ตอนนี้ก็ได้ list ของคนที่เป็นสาวกมาไว้เรียบร้อย :P
list แล้วจะทำการขอพื้นที่คืนรึเปล่าครับ XD
ไม่ทำอะไรครับ มีไว้เฉยๆ เวลานึกถึงกันจะได้ไปดูสะดวกๆ
+1 แรง
อู้ยยย..
ตามไปอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษเขียนได้แสบกว่าฉบับแปลอีกครับ
+1
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
อันนี้แปลแบบเกรงใจน่ะครับ เดี๋ยวมีคนอกแตกตายหลายคน แถมอันไหนสำนวนเยอะมากก็ตัดทิ้งไปบ้าง จะได้ไม่ซ้ำซ้อน
แต่ iTunes for Windows นี่ไม่ไหวจริง มันช้าที่สุดในเครื่องผมละ
เป็นโปรแกรมที่ช้าที่สุดเท่าที่เคยใช้มาในชีวิตเลยครับ ช้ากว่าโปรแกรมที่เขียนด้วย Java แล้วใช้ Swing อีก
สงสัยมีเลเยอร์ของซอฟต์แวร์มาคั่นกลางไว้ ฮา
อันนี้ผมไม่ฮานะครับ เพราะว่าผมไม่สงสัยว่ามันมีหรือไม่มี
แต่มันมีชัวร์ครับ :D ผมก็เลยเฉดหัวมันลงถังขยะไปอย่างจริงจัง !
... -*- ช้าจริงอะไรจริง
แต่ก็ต้องใช้ต่อไป เพราะยังใช้ iPod และยังไม่เจอทางเลือกอื่น
เคยเอา SongBird มาลองแล้ว บัดซบกว่า iTunes เยอะ - -"
ผมใช้ MediaMonkey แทน ก็พอถูไถครับ
foobar2000 + foo_dop.dll
เวอร์ชั่นหลังๆ ช้ามากๆ ยิ่งตอนหาเพลงยิ่งไม่ต้องพูดถึง สุดท้ายผมหนีมาใช้ Foobar แทน
Flash ต้อง ครองโลกให้ได้
บระจ้าววว เราโดนข้อความทางการตลาดหรอกหรือนี้
ไม่รู้จ๊อบส์เห็นวิดีโอนี้รึยัง
"Steve Jobs HTML5 web experience on the iPad"
ฮ่า..ๆ
หรือเหตุผลที่แท้จริงคือ H.264?
จะได้รู้กันไปว่าใครจริงใจใครไม่จริงใจ
ใครชอบโกหก และ สร้างความเข้าใจผิดๆ
เข้ามาครั้งแรก งงเลย
ไม่น่าเชื่อว่านี่จะเป็นblogข่าวสาธารณะ(หรือผมเข้าใจผิด)
ท่านmkมีปูมหลังอะไรกับappleรึเปล่าครับ
คุณเป็นคนนำเสนอข่าวทำไมไม่ทำตัวให้เป็นกลาง
ทำไมถึงมีคำพูดถากถาง แดกดัน ประชดประชัน
"ผมก็พยายามช่วยเหลือให้พวกเขา "รู้เท่าทันศาสดา" เท่าที่จะช่วยได้น่ะครับ"
"ผมรอให้สาวกออกมาให้หมดก่อน แล้วค่อยตลบหลังน่ะครับ สาวกแอปเปิลมักไม่ค่อยฉลาดเท่าไร"
"อันนี้แปลแบบเกรงใจน่ะครับ เดี๋ยวมีคนอกแตกตายหลายคน"
บลาๆๆ
หรือว่าเรื่องแบบนี้ เป็นเรื่องปกติของblognone
ไม่เป็นกลางผิดตรงไหนครับ ? อธิบายหน่อย
อีกอย่าง ที่มีคนแปลอย่างนี้เพราะมีคนอย่างคุณไง... พวกแฟนบอยทำตัวน่าแหย่ก็โดนบ่อยอยู่แล้ว ยิ่งทำตัวโวยวายนี่ยิ่งน่าเล่นใหญ่ ดูจากโพสถ์คุณก็เห็นชัดเจนดีว่าการล้อแฟนบอยแอปเปิ้ลมันคุ้มค่าขนาดไหน... ขนาดล้อ ps3 กับ xbox360 ยังไม่ให้ความรู้สึกดีเท่านี้เลยมั้ง
จะว่าไปมีบริษัทไหนมั้ยเนี่ยที่เจ้าของบริษัทถูกเรียกว่าเป็นศาสดา.......... ขนาดคนที่ทำภาษาโปรแกรมมิ่งยังไม่ได้เกียรติแบบนี้เลยนะนั่น
ฟุดฟิดๆ ได้กลิ่นดราม่า
ผมคิดว่าอันนี้เป็นจุดยืนของคุณ mk ที่มีกับ Blognone มาตั้งแต่ต้นนะครับ คุณ mk จะพูดเสมอว่าคนเขียนข่าวสามารถที่จะแทรกแนวคิดของตนเองเข้าไปในข่าวได้อยู่แล้ว ตราบเท่าที่มันไม่ได้ไป alter ให้เนื้อหาของข่าวผิดเพี้ยนไป (ซึ่งผมเชื่อว่าในจุดนี้คนอ่านส่วนมากก็น่าจะแยกได้ว่า ส่วนไหนเป็นเนื้อหา ส่วนไหนเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน)
และผมก็เห็นด้วยที่คุณ mk มักจะใช้ตอบเวลามีใครพูดแบบนี้ว่า ก็เขียนข่าวที่มีความคิดอีกด้านส่งมาได้เสมอเหมือนกันครับ ถ้าทุกอย่างมีเหตุมีผล ที่มาชัดเจน อ่านรู้เรื่อง สะกดถูก ก็ได้ขึ้นอยู่แล้วครับ ซึ่งผมเองโดยส่วนตัวก็ชอบที่เวลาเราได้เห็นความคิดที่ไม่ตรงกับเรา มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าอะไรทำไม่ได้ใครคิดถึงแบบไหน โดยที่ไม่ได้จำเป็นต้องหาข้อสรุปให้ได้ว่าความคิดใครถูกใครผิด
บางคำบางข้อความคิดเห็นที่เราไม่เห็นด้วย เราไม่ชอบ บางทีมองข้ามหรือปล่อยผ่านไปยังเนื้อหาจริงๆ ของมันก็ได้ครับ ป่วยจิตน้อยลงเยอะ :) ในขณะที่เราก็ยังได้สาระสำคัญของข่าวอยู่ครับ ยังมีอะไรดีๆ ใน Blognone อีกมากมายครับ :) อย่าเพิ่งหนีไปไหนเลยนะ ^^
(ลบๆ)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จริงๆ ตรงส่วนนั้นคุณ mk ก็เอามาใส่ใน comment แทนที่จะเป็นเนื้อข่าวนะครับ
ผมเป็นคนรีวิว MacBook Air คนแรกของประเทศ และเป็นคนแปลหนังสือ iPhone ครับ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมบน iPhone ครับ เผื่อว่าจะยังไม่ทราบ
เล่มนี้ผมมีครับ เดี๋ยวจะขอลายเซ็นต์ด้วย
แต่อ่านไปยังไม่ถึงห้าหน้าเลยง่ะ - -
จริงๆ เล่มนี้มันยากไปนิดครับ แต่ สนพ. เลือกเล่มนี้เพราะขอลิขสิทธิ์ง่ายกว่า มันควรอ่าน guide อื่นๆ มาก่อนแล้วค่อยมาอ่านเล่มนี้ต่อครับ
คุณ mk ผมว่าเค้าก็เคยเป็นสาวกตัวยงของ Apple เหมือนกันนะครับ คนติดตามมาตลอดคงทราบดี :)
หลังจากที่ได้ไปค้นหาข้อมูลนิดๆหน่อยๆเกี่ยวกับblognoneแล้วก็ท่านmkในgoogle
ทำให้ผมเข้าใจอะไรมากขึ้นเกี่ยวกับที่นี่
และผมจะไม่ตอบโต้อะไร ไม่อยากให้เป็นดราม่า
เอาเป็นว่า ผมเข้ามาผิดที่ผิดทางเองครับ
เป็น account ใหม่ที่สมัครมาแค่ 6 ชม. เป็นตำรวจลับปลอมตัวมาหรือเปล่าครับ :P มุขแบบนี้สาวกแมคเล่นกันเยอะแล้วนา
ขอนิดนึงนะครับ ในกรอบข้อความด้านล่างหัวข้อ "กฎเกณฑ์สำหรับการแสดงความเห็น"
น่าจะลบข้อที่บอกว่า -ไม่ใช้ถ้อยคำเสียดสี กระทบกระทั่งผู้อื่น- ออกนะครับ
+1
555 อันนี้จริงแฮะ
+1
ขอบคุณท่านZerothmanครับ
ผมไม่พูดถึงเรื่องข่าวนะครับ จะจริงไม่จริงยังไงหรือสตีฟจ๊อบจะโกหกอะไรก็เรื่องของเค้า
แล้วผมก็ไม่ได้คิดว่าใครเป็นศาสดาและก็ไม่ได้เป็นสาวกของใคร เพราะผมใช้งานmacกับwindowsควบคู่กัน
แต่ประเด็นที่ผมพยายามจะพูดถึงคือการที่ผู้นำเสนอข่าวใช้คำพูด ถากถาง ดูถูก ประชดประชัน ผู้ใช้macหรือผลิตภัณฑ์ของapple ผมคิดว่ามันไม่ใช่การกระทำที่สมควรเลย มันออกแนวสร้างความแตกแยกระหว่างผู้ใช้แมคกับผู้ใช้วินโดว์
ทุกวันนี้บ้านเมืองเราก็แตกแยกมากพอแล้วมั้งครับ
เฉยๆครับ จนมาเจอความคิดเห็นคุณ
มนุษย์ประเภท "สาวก" มีอยู่จริงครับ
และคุณคงจะไม่ใช่หนึ่งในนั้น ดังนั้นอย่าร้อนตัวเลยครับ
ถ้าคุณรู้จัก Sample ของมนุษย์ประเภทนี้บ่อยในระดับหนึ่ง
คุณจะเข้าใจคุณ mk มากขึ้นครับ
ส่วนตัวผมขอพูดว่า เพราะแอปเปิลดีเกินไป ถึงได้มีสาวกมากกว่าค่ายอื่น
ซึ่งคุณ mk ก็ใช้แอปเปิล แต่ที่นี่ไม่ชอบสาวกครับ ไม่ว่าจะสาวกอะไรก็ตาม
ไอ้คำว่าศาสดากับสาวก เป็น Self POV ครับ สำหรับผู้ใช้ Apple ธรรมดา จอบส์ก็จะเป็นแค่ "คนเก่ง"
แต่สำหรับคนที่เห็นจอบส์เป็นศาสดา ทุกอย่างไม่ผิดพลาด จอบส์ถูกเสมอ จอบส์เป็นบร๊ะเจ้า
ถึงจะได้รับคำขนานนามว่า "สาวก" ครับ
รอดูข่าวของแอปเปิลเอาซักวันน่ะครับ จะมี Sample ของสาวก โผล่มาได้เสมอ
MS มันกากส์เป็นระยะๆ เลยไม่ค่อยมีใครหลงใหลถึงขั้นเป็นสาวกได้ครับ
แต่ก็ยังพอมีสาวก Windows อยู่บ้าง เผอิญมันหายากจนไม่เจอในเว็บนี้เท่านั้นเอง
ถ้าอยู่เว็บนี้ สาวกอะไรก็โดนตามแต่ว่าข่าวที่ไหนล่ะครับ
ผมไม่ใช่คนที่ชอบซัดกับสาวกแอปเปิล แต่บางทีเห็นแล้วมันก็ให้ฟีล ด็อคเตอร์เลยทีเดียว
ตัวอย่าง:
เมื่อแรกมีข่าวหลุดมา
...ไอโฟน4 เป็นตัวปลอมชัวร์ หน้าตาน่าเกลียดยังกะไอโฟนปลอมจากจีน ถ้าเป็นไอโฟนจริงยอมให้หยืบ แอปเปิ้ลไม่ทำอะไรสไตล์นี้หรอก
ต่อมายืนยันว่าของจริง
...โอ้ สวยเมพเลยทีเดียว ช่างสวยแตกต่างไปอีกแบบหนึ่งอะไรเช่นนี้
ขนาดผมเองใช้ทั้งแมคบุ๊คโปร ไอแมค ไอพอด ไอโฟน
และผลิตภัณฑ์ตราแอ๊ปเปิ้ลสารพัด จนเรียกได้ว่าเป็นแฟน
ผมยังอดฮาสาวกไม่ได้เลย
"ถ้าเป็นไอโฟนจริงยอมให้หยืบ" << ยังคงคำของ original ไว้จริงๆ :p
เปรียบเทียบได้เห็นภาพมาก แต่บางคนก็เป็นแบบนี้จริงตามเขาว่า ผมว่ามันก็สวยดีนะครับไอโฟนตัวใหม่สวยแบบเป็นเหลี่ยมดูมีพลังดี แต่แหวกแนวไปนิดเพราะช่วงนี้แอปเปิ้ลไม่ทำแนวนี้ (เห็นแล้วคิดถึงสมัยออกเครื่อง Cube ที่เป็นสี่เหลี่ยมเลย)
ชอบมากอะคห.นี้ อ่านทีไรขำทุกที ตอนที่ภาพหลุดออกมาผมจำได้แม่นเลย 555555555+
อาจจะเพราะคุณพึ่งมาน่ะครับ เลยไม่รู้ว่าของเขาแรงแค่ไหน
ปล. ผู้ใช้ apple != แฟนบอย apple เน่อ
User < Fanboy < Zealot
แต่ผมรักพวกเขานะ มันทำให้ blognone คึกคักเป็นระยะๆ
+1 ผู้ใช้ apple ไม่ใช่ แฟนบอย apple น่ะครับ
อ่าว งี้ผมต้องเอา Badge ออกปะคับเนี่ย 555555+ ใช่แต่ไม่เปนแฟนบอยไม่ได้อ๋อ
Everybody lies.
มัน แย่ตรง IE 9 จะ Support แค่ H.264
H.264 คงกลายเป็นมาตรฐานไปจริงๆ
ปัญหา ก็จะเกิดแก่ Opensource Browser กับ หน้าใหม่ ที่คิดจะทำ Browser เพราะ H.264 นั้นท่าทางจะแพงพอตัว
ถ้า W3C เอา H.264 เป็นมาตรฐาน ล่ะก็ โอย กลัวครับ
ประเด็นเรื่อง iTunes ผมไม่เห็นด้วย
การที่ Software ตัวใดตัวตัวหนึ่งนั้นทำงานได้ไม่ดีบน Platform หนึ่ง ๆ แม้จะเขียนแบบ Native ก็ตามมันไม่ได้แปลว่าเทคนิคการเขียน Program แบบ Native นั้นไม่ดี Software อาจจะไม่ดีเพราะผู้พัฒนาไม่มีความสามารถมากพอ การออกแบบที่ไม่ดี หรือบน Platform นั้น ๆ ไม่มี Resource ที่เหมาะสมกับการทำงานของ Software ตัวนั้นก็เป็นได้
แนวคิดที่ว่า Native ย่อมดีกว่ามีตัวกลาง ผมว่ายังเป็นแนวคิดที่เป็นความจริงและสมเหตุสมผลอยู่ เหมือนอย่างเขียน Program ด้วย Assembly กับผ่าน Compiler สุดท้ายแล้วยังไงถ้าเขียนสำเร็จ Assembly ก็ต้องทำงานได้เร็วกว่า
That is the way things are.
ผมเข้าใจว่า เค้าจะสื่อว่า โปรแกรมที่เขียนด้วย Native โดยไม่ได้มี 'ตัวกลาง' มาคั่น มันก็ทำออกมา performance แย่กว่าได้เหมือนกัน ถ้าคนเขียนไม่ดี (อย่างที่คุณว่าแหละครับ)
เพราะยังไงสุดท้ายแล้ว ก่อนโปรแกรมจะเข้า AppStore ก็ต้องผ่านการตรวจสอบจาก Apple ก่อนอยู่ดีนิครับ ถ้าโปรแกรมนั้นมัน performance ห่วยเกินรับได้ ก็ reject พร้อมให้เหตุผลน่าจะพอนะครับ
"ถ้าโปรแกรมนั้นมัน performance ห่วยเกินรับได้ ก็ reject พร้อมให้เหตุผล" - กรณีนี้หมายถึง Flash ด้วยหรือเปล่าครับ เหอเหอ
จะว่าไปผมเห็นด้วยว่าโปรแกรมที่ทำงานบนโมบายควรจะเป็น Native นะครับ เพราะเครื่องระดับนี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะมารันโปรแกรมที่มีอะไรสักอย่างมาคั่นตรงกลาง
ตอนนี้สองแพลตฟอร์มใหญ่คือ Android กับ Windows Mobile 7 ไม่เป็น native แล้วนะครับ หรือพวก Java ME ก็ไม่ใช่เช่นกัน
เอาจริงๆ Process ของสองตัวนี้ มันก็กึ่ง Native นะครับ คือมันเรียกใช้ทรัพยากรระบบได้โดยตรง ไม่ใช่ว่า Framework ไปคั่นกลางระหว่าง application กับระบบ
งานหลักของตัว Framework มันคือ Compiler สคริปต์ให้กลายเป็น Native มากกว่า ประสิทธิภาพเสียไปจริงๆก็เสียให้กับระบบแบ็คโบน(อย่าง GC)
ไอ้พวกนี้บางทีมันช่วยเรา Optimize ให้ด้วย เพราะงานบางอย่างมันมี Pattern มาตรฐาน อย่างเช่นงาน string ทั้งหลายแหล่ ที่ .NET มันช่วยเราได้ในบางงาน
เช่นว่า string ใน .NET มันจะกองเป็น Pool อยู่ที่เดียวกันทั้งระบบ และเวลา switch case มันจะ compare ด้วย pointer (ไม่รู้โม้รึเปล่าแต่ถ้าจริงก็เจ๋งไปเลย)
ผมว่ามันไม่ได้เรียกใช้โดยตรงครับ ค่อนข้างมั่นใจว่า HW หลาย ๆ ตัวปัจจุบันยังไม่รองรับ Dalvik Byte Code (โดยตรง) (ในกรณีของ Android นะ) (เอ๊ะ Byte Code ของ Dalvik นี่เรียกว่าอะไรนะครับ) ดังนั้นมันต้องมีตัวกลางที่คอยเปลี่ยน call จาก Dalvik VM ให้เป็น Native ก่อน (ARM, MIPS, x86 หรืออะไรก็ว่าไป) ตรงนี้แหละที่เป็น CL
ส่วน WM7 ก็น่าจะเหมือนกัน แต่เป็น .Net Assembly (ซึ่งไม่ได้คล้ายกับ Native ASM เลย) แทน ไม่งั้นโปรแกรมผมก็รันบน ARM, MIPS หรือ x86 ไม่ได้น่ะสิ (ว่าแต่สเปคมันบังคับให้เป็น CPU ตัวไหนอ่ะ ??)
ส่วน iPhone ต่างกัน เพราะทุกเครื่องรันบน ARM platform แถมมี HW ใกล้เคียงกันมาก (ต่างกันที่ความเร็ว/ความจุ และ HW เสริมที่ต่างกัน) ดังนั้นโปรแกรมก็สามารถเป็น ARM Binary ที่ทำงานบน iPhone OS Platform ได้เลย และเดาว่า ตามสไตล์ Apple ถ้าเกิดมีวันใดเขาเกิดเปลี่ยนใจไปเล่น Arch อื่น ก็คงมี Universal Binary ที่รองรับหลาย ๆ Platform แทนที่จะเป็น Byte Code กลาง ๆ (เป็น design decision บนพื้นฐานที่ว่า "เราควบคุม HW ได้" ซึ่งผมว่าก็ไม่ผิดแหละเป็นทางเลือกที่ดีด้วยสำหรับ iPhone) อย่างที่เคยทำมากับ Mac ครับ
การที่ตัด CL ออกไปนั้นทำให้ iPhone เป็นมือถือที่เร็วและกินทรัพยากรต่ำ รวมทั้งพัฒนาต่อยอดและควบคุมคุณภาพได้ง่าย เมื่อเทียบกับ Android ในขณะที่ก็จะทำให้ไม่มีความหลากหลายด้าน HW (ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ Apple ต้องการแต่แรกอยู่แล้ว)
ปล. บางคนอาจจะไม่ทราบ Obj-C นั้นคอมไพล์เป็น Native Code (PowerPC, x86, ARM) นะครับ ต่างกับ Java และ .Net ที่จะคอมไพล์เป็นภาษากลาง ๆ (และใช้ Intepreter เป็นตัวแปลภาษาตอนรันอีกที (อาจจะมี JIT Compiler หรือ AOT Compilter ด้วย อันนี้ก็แล้วแต่นะ)
.NET มันคอมไพล์เสร็จ ก็แทบจะเป็น Native exe แล้วนะครับ
อย่าง array นี่ แค่พอยน์เตอร์สองชั้น แล้วมันดึง Pointer ระบบ มาเป็น Pointer จริง แบบ C++ ได้ด้วย
.NET มันจะคอมไพล์โค้ดใหม่เรื่อยๆครับ ถ้าไมโครซอฟท์เขียน Runtime ให้ CPU ตัวไหน โค้ดเดิมก็รันบนตัวนั้นได้หมด(แต่ตอนนี้มีแึค่ x86 กับ x64 แล้วก็ XBox Zune ซึ่งผมไม่รู้ว่า CPU อะไร)
ส่วน DALVIK ผมไม่ทราบ ไม่แน่ใจครับ แต่คิดว่าเหมือนกันนะ
คือ .NET มันส่ง byte code ไป HW รันตรงๆไม่ได้ก็จรง แต่พอกดเปิดปั๊บ มันก็คอมไพล์เป็น Native Assembly ให้ มันก็เสียเวลาแค่ตรง Compile เขียน Native มาก็ได้โค้ด ASM หน้าตาเหมือนกัน
ผมเข้าใจว่าอย่างนั้นน่ะครับ
จุดต่างอย่างการ Optimize เฉพาะ CPU แต่ละแบบ คนเขียน Native บางคนก็ไม่ทำกันนะ
"แทบจะ" ก็ไม่ใช่ native ครับ
byte code ปรกติทุกแพลตฟอร์มก็พยายามออกแบบให้ "บาง" กันอยู่แล้ว เพื่อให้คอมไพล์แบบ JIT กันได้ง่ายๆ
การที่มันต้องการ Runtime Compiler นี่ล่ะครับ มันถึงได้เรียกว่า managed code
lewcpe.com, @wasonliw
+1 เห็นด้วย
ถึงใกล้เคียงแต่ก็ไม่ใช่ครับ กรณีนี้
ขอถามให้ชัวร์ก่อน
พอ JIT มัน Compile เสร็จ โปรแกรม exe จาก .NET ที่มันจะรันใน Process หน้าตาเหมือน Process ที่เขียนด้วย Native แค่ไหนครับ?
ขึ้นกับคุณภาพของตัว JIT ครับ (กำปั้นทุบดินไปไหม)
ประเด็นมันอยู่ที่่ว่า เมื่อโค้ดที่เป็น .NET Assembly ถูกแปลงไปเป็น Native Assembly แล้วถึงจะถูกคอมไพล์ด้วย JIT เนี่ย มันมีการเสีย overhead ในการแปลง/แปลตรงนี้ด้วย และ ตามปรกติ ยิ่งใช้เวลามาก โค๊ดที่ได้ก็จะยิ่งมีคุณภาพมากขึ้น
แต่เวลาที่เสียไป กระบวนการที่เพิ่มขึ้นมา ก็มีผลต่อ Performance ครับ และทำให้อายุแบทหดลงไปอีก
เพราะงั้นสมมุติว่าถ้า JIT ดี ก็จะเสียเวลาแค่ตัว Compile พอตัดออกไปประสิทธิภาพก็ต้องพอกันสิครับ?
ซึ่งกลายเป็นว่า มันก็จะเรียกใช้ทรัพยากรได้โดยตรง เหมือน Native จริงๆ ถูกใหม?
จากตรงนี้ทำให้ผมเข้าใจว่า มันไม่มี Layer คั่นกลาง ระหว่าง Process กับ System
ซึ่งผมเข้าใจว่า Flash ยังไม่ได้ทำถึงขั้นนี้ น่ะครับ
เท่าที่ผมเคยใช้ Compile Time มันไม่เคยมากกว่า 1 นาที เลยนะครับ
Initial Loading ของตัวเกม Native บางเกม ยังกินเวลามากกว่า
ใช้อะไรครับ? App อะไร platform ไหน?
lewcpe.com, @wasonliw
อ่อ ลืมไป...
อันนี้เผลอเทียบบน Desktop น่ะครับ = ="
JIT ยิ่ง optimize มากยิ่งใช้เวลา start-up นาน
JIT ของ Flash นั้นค่อนข้าง optimize มาแย่ แต่เรียกใช้ได้เกือบทันที
JIT ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นของ JAVA ซึ่ง start-up ช้ามากก(รวมถึงกิน CPU/RAM ขณะ start-up มากด้วยเช่นกัน)
ปล. Flash ใช้ทั้ง Interprete และ JIT
Edit: ไปเจอที่ wiki พบว่า JAVA มี JIT 2 โหมดคือ client ที่เน้นความเร็วในการ start-up(แต่ performance ต่ำ) กับ server ที่เน้น performance
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้า JIT ทำงานนานเป็นนาที ... ผมว่าเข้าขั้นแย่แล้วครับ น่าจะเป็นการคอมไพล์ทั้งโปรแกรมทีเดียวก่อนเรียกใช้ (เข้า่ข่าย AOT ไหม ?)
JIT มันจะคอมไพล์แค่บางส่วนครับ อาจจะแค่ฟังก์ชั่นที่กำลังจะถูกเรียกใช้ หรือแม้กระทั่งแค่ส่วนเดียวของฟังก์ชั่น เพราะมีความเป็นไปได้สูงมากที่โค๊ดส่วนใหญ่ของโปรแกรมจะไม่ถูกใช้งานเลย (จนกระทั่งปิด)(เช่น ผมเปิด iTunes (สมมติว่ามันไม่เป็น Native) เพื่อฟังเพลง ไม่ได้คิดจะ sync iPhone มันก็ไม่จำเป็นต้องคอมไพล์ส่วนที่จะ Sync กับ iPhone เลย (จนกว่าจะมีการต่อ iPhone) )
JIT มันจะเป็นงานแบบ คอมไพล์ไป ทำงานไป ใช้เสร็จลบทิ้งครับ ต่างกับการคอมไพล์ปรกติตรงที่ไม่มีการสร้าง Native Code ถาวร แต่ก็ต่างกับ Intepreter ตรงที่ไม่ได้แปลทีละคำสั่ง ลองทำความเข้าใจอีกนิดนะครับ
อืม อันนี้ลืมไปครับ ต้องคิดใหม่เรื่อง Perf จริงๆด้วย ลืมคิดอะไรไปหลายอย่างเลย
P.S.
JIT = Just-In-Time Compiler - compiles things only when they're needed.
AOT = Ahead-of-Time Compiler - compiles the whole programs before execute it. Caching could be used as well (I think ?).
Both of them are runtime-compilers. Don't be confused with ordinary compiler.
จะแปล "Just-In-Time" ว่า "ทั้งหมด After Executed" ได้หรือไม่?
จะแปล "needed" ว่า "ทั้งหมด ทันทีที่กด Enter" ได้หรือไม่?
ก้ำกึ่งนะผมว่า
ขอให้ดู กรณี Toyota และ พรรคการเมือง เป็นตัวอย่างครับ
ทุกๆองค์กรณ์ (ทุกคน) มุ่งหวัง การสร้าง ภาพ ให้ตัวเองดูดี มี "จริยะธรรม"
แต่จะความจริงลึกๆก็ต้องทำเพื่อ "ผลประโยชน์" กันเป็นหลักครับ....
(แต่จริงๆผมชอบ apple นะ เพราะ ดูจะมี "อุดมการณ์" แฝงอยู่ด้วยนิดนึงครับ...)
เป็นการตลาดแบบนึงน่ะครับ เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) ก็ถ้ามองง่าย ๆ ก็เช่นโตโยต้าเช่าพื้นที่เพื่อปลูกต้นไม้ เครือซีเมนต์ไทยช่วยชาวบ้านสร้างฝายกั้นน้ำจากวัสดุธรรมชาติ อะไรทำนองนี้
หลัก ๆ CSR เน้นการคืนสิ่งดี ๆ สู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมหรือธุรกิจนั้น ๆ ก็เริ่มตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ผู้บริโภค ชุมชนและสังคมแวดล้อม รวมไปจนถึงประชาชนทั่วไปที่อาจได้รับผลเสียหายจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กรนั้น ๆ โดยไม่ได้จำกัดว่า CSR จะต้องออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งกรณีนี้ผมว่ามันไม่เข้าข่าย CSR นะครับ มันเป็นข้อมูลด้าน Product ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4P's มากกว่า แล้วก็ Apple กำลังนำเสนอในมุมของ 4C's ในส่วนของ Customer น่ะครับ ว่า Customer เจอปัญหาอย่างไร ต้องการอะไร ซึ่งสิ่งที่ Customer ต้องการไม่ได้หมายความว่าจะต้อง Perfect ในแง่ของผู้ผลิต ดังนั้นจึงแปลว่า Product ไม่ต้องดีที่สุดตามทฤษฎีก็ได้ เอาแค่ดีที่สุดตามที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ต้องการก็พอแล้ว