ในช่วงหลังเราเริ่มได้ยินข่าวเกี่ยวกับ MPEG-LA มากขึ้นเรื่อยๆ จากความพยายามใส่วีดีโอลงไปในเว็บ จนหลายๆ คนน่าจะตั้งคำถามว่ามันไม่มีทางทำวีดีโอโดยไม่หนีไปจาก MPEG-LA ได้เลยหรืออย่างไร และในวันนี้บริษัท Nero AG ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีชื่อดัง ก็ยื่นฟ้องต่อ MPEG-LA ในข้อหาผูกขาดแล้ว
เมื่อครั้งที่ MPEG-LA กำลังจะให้บริการขายสิทธิ์ใช้งานสิทธิบัตรในปี 1997 MPEG-LA มีสิทธิบัตรในมือเพียง 53 ใบ และทั้งหมดติดแน่นกับเทคโนโลยี MPEG-2 โดยในการก่อตั้ง MPEG-LA ได้ให้คำมั่นกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดึงเอาสิทธิบัตรที่ไม่ใช่สิทธิบัตรหลักของเทคโนโลยีออกไปจากพูลของสิทธิบัตรที่ MPEG-LA ถือสิทธิ์ และให้บริการขอใช้สิทธิบัตรด้วยความ "ยุติธรรม, สมเหตุสมผล, และไม่แบ่งแยก"
แต่ผ่านไป 13 ปี ทาง Nero ก็อ้างว่าสิ่งที่ MPEG-LA ได้สัญญาไว้ไม่เป็นจริง โดยทาง MPEG-LA ได้ขยายพูลสิทธิบัตรไปจนมากกว่า 800 ใบสำหรับเทคโนโลยี MPEG-2 เนื่องจากสิทธิบัตรทั้ง 53 ใบแรกนั้นหมดอายุไปหมดแล้ว สิทธิบัตรในพูลตอนนี้จึงกลายเป็นสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งสิ้น Nero ยังอ้างว่า MPEG-LA นั้นสะสมสิทธิบัตรในพูลสำหรับเทคโนโลยี MPEG-4 Visual ไว้ถึง 1,300 ใบ และ H.264 ไว้ถึง 1,000 ใบ ทำให้บริษัทครองตลาดได้ทั้งหมดเนื่องจากยากที่จะมีใครออกเทคโนโลยีโดยไม่คาบเกี่ยวกับพูลสิทธิบัตรขนาดใหญ่เช่นนี้ได้
MPEG-LA ตอบข้อกล่าวหานี้สั้นๆ เพียงว่าการโต้ตอบเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกจากหน่วยงานที่ไม่เคารพข้อตกลงการเข้าใช้สิทธิบัตรของ MPEG-LA
ไม่รู้ผมคิดมากไปไหม แต่ผมรู้สึกว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามสิทธิบัตรรอบใหญ่อีกรอบแล้ว
ที่มา - OS News
Comments
ยากใหญ่นี่หมายถึงอะไรครับ?
ว่าแต่ครองแบบนี้นี่ผมว่ามันก็เวอร์ไปหน่อย ระบบสิทธิบัตรในอเมริกาน่าจะถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้วจริงๆ แหละครับ
แก้แล้วนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
สิทธิบัตรของ MPEG-LA หน้าตามันเป็นยังไงว้า เป็นโค็ด หรือ เป็นอะไร นึกภาพไม่ออกถ้าแอปเปิลก็เป็นรูปแบบพวก UI ของ iPhone iPod
คิดว่าส่วนมากเป็นพวก algorithm นะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมว่าเขาคิดขึ้นมามันก็น่าจะมีสิทธิในการใช้งานนั้นนะครับ แต่ผลงานมันพัฒนาต่อยอดออกมาเรื่อยนี่สิเลยทำให้เขากินส่วนแบ่งตลาดไปหมด
tactic นี่ไม่ค่อยตรงไปตรงมานักของระบบสิทธิบัตรครับ
เช่นว่าสิทธิบัตร 53 ใบแรกเป็นเทคโนโลยีของ MPEG-2 ก็กินค่าสิทธิบัตรกันไปไม่ว่ากัน
สิบปีต่อมามันจะหมดอายุ ผมก็ทำโน่นนิดหน่อย ดีขึ้น 2% แล้วจดสิทธิบัตรใหม่ ให้มันงงๆ ว่าตกลงมันครอบคลุมอะไร
จดไปจดมานับสิบๆ ใบ จนกลายเป็นว่าใครทำอะไรกับเทคโนโลยีเดิมก็ต้องเผลอไปทับเส้นสิทธิบัตรชุดใหม่เข้าทั้งหมด
วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น กลายเป็นว่าสิทธิบัตรมันไม่หมดอายุเสียที
lewcpe.com, @wasonliw
ยกตัวอย่างเช่น B-frames จาก MPEG'1'
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ไม่ใช่ทุกประเทศนะครับที่ยอมรับ "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์"
deadlock ใน "สิทธิบัตร"?
มีผู้เริ่มแล้วเดี๋ยวก็ต้องมีผู้ตาม
ว่าแต่ถ้าผู้ขาดจริงแล้วจะทำยังไงได้
แยกบริษัท?
โดนฉีกบริษัทเป็นส่วนๆ ครับ
แบบเดียวกับสมัย AT&T
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่า ... อาจจะแค่ยุบ สิทธิบัตรของใครก็คืนคนนั้นไปก็น่าจะจบเรื่อง เพราะมันจริง ๆ แล้วก็เป็นการรวมกันเฉพาะกิจอยู่แล้วน่ะครับ
กฏหมาย Anti-Trust ตามไม่ท้น? การเป็นจ้าวโลกของอเมริกาก็ทำให้หลายๆอย่างล้าหลังได้เหมือนกัน หลายๆคนควรเปลียนทัศนคติประเภท "อเมริกาคือความถูกต้อง" ได้แล้ว
ก็ยื่นฟ้องต่อ (ศาล) MPEG-LA ในข้อหาผูกขาดแล้ว หรือเปล่าครับ
"พูล" นี่ควรใช้ภาษาไทยว่า "กอง" แทนจะเหมาะสมกว่าหรือเปล่าครับ?
ผมว่า "พูล" เหมาะสมแล้วนะครับ ยังคิดคำไทยที่เหาะไม่ออก