ประเด็นระหว่างแอปเปิลกับบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ Masimo มีคดีที่แยกจากเรื่อง Masimo ฟ้องแอปเปิล โดยกรณีแยกคือแอปเปิลก็ฟ้อง Masimo เช่นกันเรื่องละเมิดสิทธิบัตร ว่าสมาร์ทวอทช์รุ่น W1 (รูปประกอบด้านล่าง) และ Freedom ของ Masimo ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบของแอปเปิล
คณะลูกขุนของรัฐบาลกลางออกคำตัดสินว่า Masimo ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบของแอปเปิลจริง โดยแอปเปิลจะได้เงินค่าเสียหาย 250 ดอลลาร์ (พิมพ์ถูกแล้ว) ซึ่งเป็นเงินต่ำที่สุดในการจ่ายค่าปรับคดีละเมิดสิทธิบัตร เพราะทนายของแอปเปิลบอกว่าคดีนี้บริษัทไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการให้สินค้านี้หยุดขาย
Cloudflare ประกาศชัยชนะในคดีสิทธิบัตร หลังจากถูกบริษัท Sable IP เรียกค่าเสียหายเมื่อปี 2021 โดยบริษัทนี้ไปซื้อสิทธิบัตรเก่ามาไล่ฟ้องบริษัทต่าง เพื่อกดดันให้ตกลงยอมความกันนอกศาล แต่ Cloudflare เลือกที่จะสู้คดีจนจบ และชนะคดีในที่สุด
Sable Networks ได้สิทธิบัตรมาจากบริษัท Caspian Networks บริษัทเราท์เตอร์ที่ก่อตั้งโดย Lawrence Roberts หนึ่งในผู้ร่วมสร้าง ARPANET ต้นกำเนิดอินเทอร์เน็ต แต่บริษัทหยุดทำธุรกิจไปตั้งแต่ปี 2004 หลังจากนั้น Sable Networks ก็เข้าไปซื้อเพื่อเอาสิทธิบัตรในบริษัทมาไล่ฟ้องบริษัทเน็ตเวิร์คอื่นๆ
Pocketpair บริษัทผู้สร้างเกม Palworld ออกแถลงการณ์เรื่องการถูกนินเทนโดฟ้องสิทธิบัตร ว่ากำลังเตรียมตัวเข้ากระบวนการศาล และตอนนี้ยังไม่รู้ว่าโดนฟ้องจากสิทธิบัตรรายการใด
Pocketpair ยืนยันว่าตัวเองเป็นสตูดิโอเกมอิสระขนาดเล็กๆ มีเป้าหมายสร้างเกมที่สนุก ซึ่งเกม Palworld ประสบความสำเร็จมากกว่าที่คาดไว้ และบริษัทจะยังเดินหน้าพัฒนา Palworld ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ การที่บริษัทต้องแบ่งเวลาไปสู้คดี ย่อมทำให้เสียทรัพยากรไปกับสิ่งที่ไม่ใช่การพัฒนาเกม แต่บริษัทก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อแฟนๆ และผู้เล่นทุกคน
ที่มา - Pocketpair
Oppo เซ็นสัญญาสิทธิบัตร 5G กับ Nokia ยุติสงครามฟ้องร้องสิทธิบัตรในยุโรปที่ Oppo แพ้คดีจนถูกศาลสั่งห้ามขายมือถือ
ตอนนี้ไม่มีรายละเอียดว่า Oppo ต้องจ่ายเงินให้ Nokia เท่าไร บอกแค่ว่า Oppo จะต้องจ่ายเงินให้ Nokia ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และทั้งสองฝ่ายจะยุติคดีฟ้องร้องกันในทุกประเทศ แต่ยังไม่บอกว่า Oppo จะพร้อมกลับมาทำตลาดมือถือในยุโรปอีกครั้งเมื่อไร
การขายสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของ Nokia ที่ระบุว่ามีสิทธิบัตรรวมกว่า 20,000 รายการ ในจำนวนนี้มี 6,000 รายการเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G
ตามที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐได้ปฏิเสธคำร้องของแอปเปิล และให้หยุดการขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มีผลในสหรัฐอเมริกา ตามคำสั่งของ ITC เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 17:00น. วันที่ 18 มกราคม ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐ ล่าสุดมีคำชี้แจงจากแอปเปิลแล้ว
ศาลอุทธรณ์สหรัฐออกคำสั่ง ปฏิเสธคำร้องขอของแอปเปิล ที่ต้องการให้ระงับคำสั่งแบน Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ซึ่ง ITC สั่งแบนเนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo จากก่อนหน้านี้ศาลได้อนุญาตให้แอปเปิลขายสินค้าต่อชั่วคราว เพื่อรับคำร้องข้อมูลเพิ่มเติม
ผลจากคำสั่งนี้ทำให้แอปเปิลต้องหยุดขาย Apple Watch ทั้งสองรุ่นที่มีปัญหาในอเมริกาอีกครั้ง มีผลตั้งแต่ 17:00น. ของวันที่ 18 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น
มีรายงานล่าสุดในประเด็นที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกาหรือ ITC สั่งให้หยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 ในอเมริกา เนื่องจากละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดของ Masimo ซึ่งตอนนี้ศาลอุทธรณ์สหรัฐ ได้ระงับคำสั่งแบนชั่วคราว ทำให้แอปเปิลยังขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ได้ต่อไป
Joe Kiani ซีอีโอ Masimo บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้สัมภาษณ์กับ WSJ ประเด็นที่บริษัทฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด จนทำให้คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch มาขายในอเมริกาช่วงสั้น ๆ แต่ล่าสุดศาลรับคำอุทธรณ์ ทำให้แอปเปิลกลับมาขาย Apple Watch ต่อได้
จากข่าวที่คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch สองรุ่นมาขายในสหรัฐอเมริกา หลังจากบริษัทพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ Masimo ฟ้องแอปเปิลในข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ก็มีรายงานเพิ่มเติมว่าคดีน่าจะมีจุดเริ่มต้นจากอะไร
Mark Gurman แห่ง Bloomberg คนเดิม ระบุว่าตัวละครสำคัญของคดีฟ้องร้องนี้คือ Marcelo Lamego วิศวกรปริญญาเอกจาก Stanford สัญชาติบราซิล ซึ่งทำงานที่ Masimo ตั้งแต่ปี 2003 ในตำแหน่งนักวิจัยวิทยาศาสตร์ แล้วได้เลื่อนเป็นซีทีโอของ Cercacor บริษัทตั้งใหม่ในเครือของ Masimo ในปี 2014 เขาลาออกจาก Masimo ย้ายไปทำงานที่แอปเปิล เรื่องนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องปกติ
แอปเปิลประกาศเตรียมกลับมาขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 สองรุ่นที่ถูก ITC สั่งแบนห้ามนำเข้ามาขายในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มขายผ่านหน้าร้าน Apple Store ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และเตรียมกลับมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน
ประกาศของแอปเปิลนี้เป็นผลจากที่ศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดแบน Apple Watch สองรุ่นนี้ชั่วคราวตามที่แอปเปิลยื่นคำขอ ทำให้แอปเปิลสามารถขายสินค้าต่อไปได้ชั่วคราว
ตามที่ ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 มาขายในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเด็นละเมิดสิทธิบัตรระบบวัดออกซิเจนในเลือดของ Masimo ทำให้แอปเปิลตัดสินใจหยุดขาย Apple Watch สองรุ่นนี้ก่อนคำสั่งมีผลในวันที่ 26 ธันวาคม
อย่างไรก็ตามแอปเปิลก็ได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้ระงับคำสั่งนี้ชั่วคราวอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ได้ผล เพราะล่าสุดศาลอุทธรณ์ออกคำสั่งหยุดการแบนสินค้านี้ชั่วคราว โดยให้ ITC ชี้แจงข้อมูลสนับสนุนการออกคำสั่งแบนภายในวันที่ 10 มกราคม 2024 ซึ่งเท่ากับว่าแอปเปิลสามารถขาย Apple Watch สองรุ่นที่มีปัญหานี้ในอเมริกาได้ต่อไปเกือบ 2 สัปดาห์
ระหว่างที่ Apple เตรียมตัววางขายแว่น Vision Pro อย่างเป็นทางการ (คาดว่าเป็นต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา มีข้อมูลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาของฮ่องกง เผยว่า Apple จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์กว่า 70 รายการ
ทาง Patently Apple ที่เป็นเว็บไซต์นำเสนอข่าวสาร และการจดสิทธิบัตรของ Apple ได้ระบุไว้ว่ารายละเอียดของ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) ที่ Apple จดนั้นแตกต่างจากการยื่นสิทธิบัตรทั่วไป ตรงที่ไม่มีข้อกำหนดที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์ นอกจากหมายเลขของสิทธิบัตรนั้นๆ สู่สาธารณะ
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐอเมริกา หรือ ITC ออกแถลงการณ์ห้ามแอปเปิลนำเข้า Apple Watch รุ่นที่มีปัญหาขายในสหรัฐอเมริกา มีผลตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2023 เป็นต้นไป เนื่องจาก ITC พบว่าสินค้าละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo สองรายการ ซึ่ง ITC ให้อำนาจรัฐบาลไบเดนเป็นเวลา 60 วัน จนถึง 25 ธันวาคม ในการระงับคำสั่ง แต่ตัวแทนของรัฐบาลไบเดนกล่าวว่าหลังจากปรึกษากับหลายฝ่าย ก็ตัดสินใจไม่ระงับคำสั่งนี้
แอปเปิลได้ตัดสินใจหยุดขาย Apple Watch Series 9 และ Apple Watch Ultra 2 สองรุ่นที่มีปัญหาในอเมริกาไปแล้ว ไม่กี่วันก่อนที่คำสั่งนี้จะมีผล นอกจากนี้แอปเปิลก็ยื่นอุทธรณ์ขอให้ชะลอคำสั่งแต่ถูกปฏิเสธไป
Joe Kiani ซีอีโอ Masimo บริษัทเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg TV ในประเด็นที่บริษัทฟ้องแอปเปิลว่า Apple Watch ละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งต่อมา ITC ออกคำสั่งแบนการนำเข้า Apple Watch มาขายในอเมริกา และแอปเปิลก็ตัดสินใจหยุดขายก่อนที่คำสั่งจะมีผลใช้ตั้งแต่ 25 ธันวาคม
Kiani บอกว่าที่มีข่าวว่าแอปเปิลพยายามแก้ไขซอฟต์แวร์ของ Apple Watch เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องสิทธิบัตร เขามองว่าไม่น่าจะได้ผล เพราะสิทธิบัตรบริษัทไม่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลล่าสุดจากแหล่งข่าวในแอปเปิล หลังบริษัทเตรียมหยุดขาย Apple Watch สองรุ่นล่าสุดในอเมริกา เนื่องจาก ITC มีคำสั่งให้หยุดนำเข้าและขายในประเทศ เพราะละเมิดสิทธิบัตรเซ็นเซอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดของ Masimo โดยแอปเปิลจะแก้ไขปัญหานี้ที่ระดับซอฟต์แวร์
แหล่งข่าวบอกว่าตอนนี้ทีมวิศวกรของแอปเปิล กำลังปรับวิธีการประเมินระดับออกซิเจนในเลือด และปรับวิธีการแสดงผลข้อมูลกับผู้ใช้งาน ซึ่งสองส่วนนี้คาดว่าเป็นจุดที่ทำให้เป็นประเด็นละเมิดสิทธิบัตรของ Masimo ซึ่งหากแก้ไขส่วนดังกล่าว น่าจะทำให้แอปเปิลสามารถขาย Apple Watch ในอเมริกาต่อไปได้
สำนักงานสิทธิบัตรยุโรปประกาศถอนสิทธิบัตรหมายเลข 3 718 565 B1 ที่เป็นสิทธิบัตรเทคโนโลยี mRNA ของ Moderna โดย BioNTech ที่กำลังมีคดีกับ Moderna ออกมาแสดงความยินดีกับการถอนสิทธิบัตรครั้งนี้
Moderna ฟ้อง Pfizer และ BioNTech มาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยระบุว่าทั้งสองบริษัทละเมิดสิทธิบัตรหลายฉบับ ยังไม่แน่ชัดว่าสิทธิบัตรฉบับนี้มีน้ำหนักมากเพียงใดในคำฟ้องของ Moderna
ที่มา - Yahoo!! News
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ได้ทำข้อตกลงเพื่อยุติคดีฟ้องร้องแอปเปิลและ Broadcom เรื่องการละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับชิป Wi-Fi ที่ทาง CalTech ฟ้องสองบริษัทนี้เมื่อปี 2016 ซึ่งการเจรจานี้มีข้อตกลงคือแอปเปิลและ Broadcom ก็จะไม่ฟ้องร้องกลับด้วย อย่างไรก็ตามรายละเอียดในข้อตกลงไม่มีการเปิดเผยออกมา
คดีสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลกับ Sonos ในประเด็นฟีเจอร์ควบคุมเสียงของลำโพง Google Home มีความคืบหน้าเพิ่ม โดยกูเกิลยื่นต่อศาลว่าวิธีการฟ้องสิทธิบัตรของ Sonos เป็นการกลั่นแกล้งทางธุรกิจ ซึ่งศาลเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของกูเกิล
คำโต้แย้งของกูเกิลระบุว่า ทั้งสองบริษัทเคยหารือทำลำโพงร่วมกันในปี 2014 หลังจากนั้นดีลล่ม กูเกิลออกลำโพงเองในปี 2015 แต่ Sonos กลับรอจนถึงปี 2019 ค่อยยื่นฟ้องกูเกิลละเมิดสิทธิบัตร และเพิ่งนำฟีเจอร์ควบคุมเสียงตามสิทธิบัตรนี้มาใช้กับลำโพงของตัวเองในปี 2020 ด้วยซ้ำ
ก่อนหน้านี้ Apple ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Apple Vision Pro ชุดแว่นตาผสมผสานโลกเสมือน ล่าสุด 9To5Mac รายงานว่า Apple รับการอนุมัติสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว
เนื้อหาในสิทธิบัตร ระบุขอบเขตการใช้งานของ Digital Crown ที่กว้างและหลากหลายสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ที่ใช้กับ Apple Watch, Vision Pro และ Smart glasses
รายละเอียดในสิทธิบัตรระบุถึงการประยุกต์ใช้งานปุ่ม Crown เพื่อใช้ในการควบคุมที่หลากหลายมากขึ้นตั้งแต่สัมผัส, ปัดนิ้ว, หมุน, เอียง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวใดและช่วงเวลาไหนบ้าง
Nintendo ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร 31 รายการที่เกี่ยวข้องกับเกม The Legend of Zelda: Tears of the Kingdom โดยเริ่มจดสิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคมที่ผ่านมา
Nintendo ได้เปิดเผยสิทธิบัตรทั้งหมด 32 ฉบับต่อสาธารณะ โดยมีถึง 31 ฉบับที่มีความเกี่ยวข้องกับ The Legend of Zelda: Tears of the Kingdom โดยเฉพาะ แม้ว่า Nintendo จะยืนยันสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่เรื่องแปลก แต่จำนวนสิทธิบัตรที่แท้จริง และลักษณะเฉพาะที่บริษัทต้องการจดสิทธิบัตรน่าสนใจอย่างมีนัยยะ โดยองค์ประกอบของเกมที่ Nintendo ยื่นจดสิทธิบัตร มีตัวอย่างดังนี้
คณะลูกขุนแห่งศาลซานฟรานซิสโกมีคำตัดสิน ให้กูเกิลจ่ายค่าเสียหายให้ Sonos รวม 32.5 ล้านดอลลาร์ จากคดีที่ Sonos ฟ้องว่ากูเกิลละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยีลำโพง ซึ่งมาจากที่ Sonos ร่วมมือกับกูเกิลพัฒนาลำโพงตั้งแต่ปี 2013 แล้วต่อมากูเกิลลงมาทำตลาดลำโพงอัจฉริยะแข่งเอง
ก่อนหน้านี้ Sonos ก็ชนะคดีฟ้องร้องดังกล่าวที่คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้กูเกิลถูกสั่งห้ามนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร และตัดฟีเจอร์จัดการลำโพงแบบกลุ่มออกจาก Google Home, Google Nest
บริษัท Konami Digital Entertainment ยื่นหนังสือฟ้องค่ายเกมมือถืออย่าง Cygames โดยกล่าวหาว่าเกม Uma Musume Pretty Derby มีระบบเกมบางส่วนที่ละเมิดสิทธิบัตรของทาง Konami ซึ่งทาง Konami ได้เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 4 พันล้านเยน และเรียกร้องให้ศาลออกหมายบังคับให้เกม Uma Musume ยุติการให้บริการ
ทางฝั่งของ Cygames นั้นเคยมีการเจรจากับทาง Konami มาก่อนเพื่อแก้ไขระบบของเกมที่มีปัญหาอยู่ก่อนแล้ว แต่ทาง Konami กลับไม่ยอม แล้วยื่นฟ้องจนเป็นคดีความในที่สุด ซึ่งทาง Cygames เชื่อว่าจริง ๆ แล้ว เกม Uma Mesume Pretty Derby ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของทาง Konami และเตรียมสู้คดีต่อไป โดยคาดว่าระบบเกมที่เป็นปัญหาคือระบบกาชาภายในเกม
Vivo เตรียมต้องหยุดทำธุรกิจสมาร์ทโฟนในประเทศเยอรมนี หลังจากตกลงต่อสัญญาไลเซนส์สิทธิบัตรจาก Nokia กันไม่ได้
เมื่อปี 2022 สมาร์ทโฟนของ Oppo และ OnePlus (ซึ่งอยู่ในเครือ BBK Electronics เหมือนกัน) ถูกศาลเยอรมนีสั่งห้ามขาย เพราะละเมิดสิทธิบัตร 5G ของ Nokia และไม่สามารถตกลงเรื่องค่าไลเซนส์กันได้
ส่วน Vivo มีสัญญาไลเซนส์กับ Nokia มาตั้งแต่ปี 2021 เลยรอด แต่เมื่อสัญญาหมด ก็ไม่สามารถตกลงสัญญาฉบับใหม่กันได้ ทำให้ศาลเยอรมนีตัดสินว่า Vivo ต้องยุติการขายโทรศัพท์ในเยอรมนีด้วยเช่นกัน
Apple เพิ่งได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรใหม่ ที่ว่าด้วยการซ่อนเซ็นเซอร์อยู่ภายใต้หน้าจอ ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ระบบสแกนหน้าอย่าง Face ID แต่รวมถึง Touch ID และเซ็นเซอร์อื่นๆ อย่าง เซ็นเซอร์โมชัน เซ็นเซอร์วัดแรงกด เซ็นเซอร์จับ Air Gesture ฯลฯ
Apple ระบุด้วยว่านวัตกรรมนี้ ไม่ได้จะจำกัดแค่เฉพาะบน iPhone แต่อาจจะเอาไปใช้กับ iPad, Macs, Apple Watch, แว่นและเฮ้ดเซ็ต MR ด้วย
ที่มา - Patently Apple