สองสัปดาห์หลัง กทช. ประกาศระงับประกาศเพื่อศึกษาและฟังความเห็นเพิ่มเติมกรณีการบังคับการคิดค่าบริการให้เท่ากันทั้งในและนอกเครือข่าย เมื่อวานนี้ กทช.ก็ออกมาประกาศว่ามติเดิมจะมีผลต่อไปโดยผู้ให้บริการทั้งหมดจะต้องยกเลิกโปรโมชั่นภายในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ เนื่องจากวันที่ 1 กันยายน จะเป็นวันที่เริ่มให้บริการนัมเบอร์พอร์ท
สำหรับค่าโทรที่จะแพงขึ้นนั้น กทช.ระบุว่าการลดค่าไอซีระหว่างกันน่าจะทำได้ในเวลาไม่นาน โดยทุกวันนี้แม้ค่าบริการระหว่างกันมักจะอยู่ที่นาทีละ 1 บาท แต่การเชื่อมต่อบางคู่เช่น DTAC และ Hutch นั้นก็อยู่ที่ 50 สตางค์เนื่องจากตกลงราคากันไม่ได้จึงต้องใช้ราคากลางของ กทช.
หากผู้ให้บริการไม่เห็นด้วยกับมตินี้จะต้องยื่นเรื่องอุทธรณ์ไปที่ กทช. (ซึ่งน่าจะปัดเรื่องตกไปในที่สุด) แล้วจึงไปยื่นฟ้องศาลปกครองอีกครั้ง โดยการแก้มตินี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะกฏหมายระบุไว้ว่าบริการประเภทเดียวกันจะต้องมีการเก็บค่าบริการเท่าๆ กัน (ดูรายละเอียดในข่าวเก่า)
โดยส่วนตัวผมกังขากับการตีความว่าการโทรในและนอกเครือข่ายเป็นบริการประเภทเดียวกันพอสมควร เพราะชัดเจนว่าต้นทุนที่ผู้ให้บริการแบกรับนั้นต่างกัน เช่นเดียวกับการโทรทางไกล หรือการโทรข้ามประเทศ เช่นนั้นแล้วทำไมผู้ให้บริการโทรทางไกลจึงมีอิสระในการกำหนดค่าบริการที่ต่างๆ กันไปได้ ขณะที่การโทรระหว่างค่ายโทรศัพท์ไม่มีอิสระในส่วนนี้?
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
มี number port อีก
แข่งกันถูกสินะ
กลัวว่านอกจากค่าโทรจะขึ้นแล้ว (เพราะจะตั้งราคาขาดทุนไม่ใด้ ดังนั้นเวลาโทรในเครือข่ายจะแพงขึ้นเท่าตอนโทรออกนอกเครือข่าย) ยังกลายเป็นการเร่งให้เกิด monopoly (กติกานี้ ค่ายใหญ่ใด้เปรียบ) สิครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมว่าตั้งราคาขาดทุนได้นะ นอกเครือข่ายขาดทุนนิดหน่อยได้ ได้โทรในเครือข่ายกำไร และค่า ic สองอย่างมากลบ เมื่อไม่มีโปรโทรในเครือข่าย อัตราการโทรในเครือข่าย และนอกเครือข่ายจะเข้าสู่สมดุลเองแหละครับ เดิมพอเจ้านึงทำโปรในเครือข่าย สมดุลเลยเบี้ยวไปหมด ทุกเจ้าก็เลยต้องทำด้วย ไม่งั้นจะมีแต่คนโทรออกนอกเครือข่ายและเจ๊ง ยังไงถ้าไม่ฮั้วกันก็ต้องแข่งเรื่องราคากันอยู่ดี และถ้ายังโดยรวมยังกำไรก็ต้องลดค่าโทรได้
แต่คนมีแฟนหรือมีคนที่ต้องโทรประจำเสียประโยชน์เต็มๆ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
สมมุติว่ามีค่าย 2 ค่าย ค่าย x มีลูกค้า 70% ค่าย y มีลูกค้า 30%
ถ้าการกระจายตัวของการโทรออกเท่ากันเพราะราคาเท่ากัน
ลูกค้าค่าย x จะมีโอกาศโทร์ในเครือข่ายถึง 70%
แต่ลูกค้าค่าย y จะมีโอกาศโทร์ในเครือข่ายเพียง 30%
ถ้าผมเป็นผู้บริหารค่าย x ผมมี 2 แผนคือ
1 ตั้งราคาเท่าค่าย y แล้วกินกำไรที่สูงเพราะเป็นการไช้วงจรภายในเยอะกว่า (ชึ่งค่ายเล็กที่มีความเสี่ยงสูงจะตั้งราคาโดยรวมสูงกว่าเดิม)
2 ตั้งราคาในจุดสมดุลย ชึ่งจะต่ำกว่าที่ค่าย y จะตั้งใด้แล้วในที่สุดก็จะกลายเป็น monopoly
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ค่าไอซีบริษัทที่รับสายก็ได้เงินนะครับ
ถ้าคิดอีกมุมนึง บริษัทที่มีส่วนแบ่ง 70% มีโอกาสได้ค่าไอซีจากการรับสายนอกเครือข่ายแค่ 30% ในขณะที่บริษัทที่มีส่วนแบ่ง 30% มีโอกาสได้รับค่าไอซีจากต่างเครือข่ายถึง 70%
ยังไงก็สมดุลอยู่ดีครับ น่าจะนะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แต่บ. ที่ส่วนแบ่ง 70% ก็มีโอกาสเสียค่า IC เพียง 30%, ขณะที่บ. เล็กๆ 30% กลับมีโอกาสเสียค่า IC สูงกว่า ที่ 70%!
iPAtS
ก็เลยหักกันไปไงครับ เจ้าใหญ่เสีย 30% ได้ 30% เจ้าเล็กเสีย 70% แต่ก็ได้ 70% ที่เหลือก็กำไรจากค่าโทรที่ไม่เกี่ยวกับไอซีเลย ดังนั้นถ้าหักค่าไอซีออก-เข้าที่หักกันไป โทรในเครือข่ายนอกเครือข่ายไม่แตกต่างกันไงครับ
รู้สึกว่าคิดแบบนี้้ค่าโทรยิ่งถูกกว่าไอซีได้อีกนะครับ เพราะไม่ว่าค่าไอซีเท่าไหร่หักไปหมด ผมคิดถูกไหมเนี่ย ในกรณีลักษณะการโทรของแต่ละเครือข่ายกระจายเหมือนๆ กัน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
คิดว่าคุณคิดผิดนะครับ
แจกแจงด้วยสิครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
จริงๆ แล้วมันเป็นดังนี้ครับ
ให้ A บริษัทที่มีส่วนแบ่ง 70%, B บ. ที่มีส่วนแบ่ง 30% และสมมติให้การโทรเป็นแบบสุ่มเท่ากัน จะได้ว่า
โอกาสที่ A จะได้รับ call จาก B คือ 0.3 * 0.7 = 0.21 ของ call ทั้งหมด
โอกาสที่ A จะได้รับ call จาก A คือ 0.7 * 0.7 = 0.49 ของ call ทั้งหมด
โอกาสที่ B จะได้รับ call จาก A คือ 0.7 * 0.3 = 0.21 ของ call ทั้งหมด
โอกาสที่ B จะได้รับ call จาก B คือ 0.3 * 0.3 = 0.09 ของ call ทั้งหมด
จะเห็นว่าโทรข้ามเครือข่ายจำนวน call มันหักล้างกัน (แต่อย่าลืมว่า เราสมมติว่ามันกระจายเท่ากัน, และมีแค่ 2 op, แล้วก็.. มันคือจำนวน call ไม่ใช่จำนวนเงิน)
แต่.. การโทรในเครือข่าย เครือข่ายใหญ่ จะได้เงินเยอะกว่ามาก เพราะ network effect ทำให้ ได้ call = 0.49 ซึ่งคือ (0.7/0.3)^2 * 0.9 (คือส่วนแบ่งเป็น 2.3 แต่ call ต่างกัน 5.4)
ทีนี้ ถ้า A ลดค่าโทรต่ำกว่า B จะเกิดอะไรขึ้น?
ผลคือ A จะยังได้เงินมากกว่า B เพราะถึงแม้จะได้เงินต่อ call น้อยลงในการโทรข้ามเครือข่าย, แต่ในเครือข่ายโดยรวมยังได้มากกว่า
เมื่อ A ได้อัตราส่วนกำไรเพิ่มขึ้น (เพราะโทรในเครือข่ายต้นทุนต่ำกว่า) โดยราคาก็ทำได้ต่ำกว่า สุดท้ายผู้ใช้ก็จะย้ายมา A (เพราะโทรถูกกว่า) แล้วก็กลายเป็น monopoly ในที่สุด
iPAtS
ที่ผมจะสื่อคือค่าไอซีไม่มีผลไงครับ ที่คุณเขียนพิสูจน์ออกมาก็แบบนั้นนิครับ เพราะที่ A โทรหา B และ B โทรหาเองเท่ากัน ดังนั้นค่าโทรมันต่ำกว่าไอซีได้แน่นอน เพราะค่าไอซีหักกันหมด ส่วนเรื่องเครือข่ายใหญ่ได้เปรียบเป็นเรื่องปกติของสินค้าแทบทุกอย่างครับที่ scale ใหญ่จะได้เปรียบ กรณีแบบปัจจุบันก็เป็นเหมือนกันถูกหรือเปล่าครับ แต่หลายๆ คนกังวลว่าค่าโทรจะแพงเพราะต้องตั้งราคาให้สูงกว่าไอซีซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่ลือกันไปเองครับ จากที่คุณ ipats ตอบไว้ด้านบนจะเห็นได้เลยว่ากำไร ขาดทุนของบริษัท ไม่ได้สัมพันธ์กับค่าไอซีเลย เกิดจากเพียง scale ใหญ่ได้เปรียบด้านต้นทุนเท่านั้น
network ใหญ่ได้เปรียบ ก็เทียบได้กับสินค้าอื่นที่บริษัทผลิตมากกว่า ต้นทุนจะต่ำกว่า แต่เจ้าเล็กก็ยังสามารถแข่งขันกันได้อยู่ดี
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
สัมพันธ์กับค่า IC แน่นอนครับ เพราะว่ามันเป็นการบังคับให้ค่าโทรที่ผ่าน IC และไม่ผ่าน IC นั้นเท่ากันครับ ซึ่งถ้าจะทำให้ราคาถูก ค่ายเล็กจะต้องยอมขาดทุนในส่วนของโทรนอกเครือข่าย และได้กำไรในส่วนของค่าโทรในเครือข่าย ซึ่งเมื่อหักลบแล้วค่ายเล็กจะได้กำไรน้อยมากหรือขาดทุนด้วยซ้ำครับ ดังนั้นค่ายเล็กจะไม่กล้าตั้งราคาต่ำกว่าค่า IC มากนัก หรือไม่กล้าเลย
แล้วเมื่อก่อนค่ายเล็กอยู่ได้อย่างไร
อยู่ได้เนื่องจากปริมาณการโทรในเครือข่ายจำนวนมากครับ n(2+0.25t) ซึ่งต่อไปค่ายเล็กจะไม่ได้กำไรจากส่วนนี้อีกแล้ว เพราะค่าโทรเท่ากันหมด ลูกค้าก็หันไปโทรหาค่ายอื่นแทน/หันไปใช้ค่ายอื่นแทน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ลองอ่านโพสที่คุณ ipats โพสดูนะครับ อันนั้นแสดงชัดเจนว่าค่า IC ที่ต้องจ่ายและได้รับจะเท่ากัน ไม่ว่าจะมีลูกค้ามากหรือน้อย และค่าโทรนอกเครือข่ายไม่ขาดทุนครับแม้จะตั้งราคาต่ำกว่า ic เพราะที่ได้รับจากเครือข่ายอื่นโทรเข้ามาจะกลบกัน ถ้าลักษณะการโทรเหมือนกันทุกค่าย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แล้วปัจจุบันค่าโทรเฉลี่ย (ทั้งในและนอกเครือข่าย) ไม่ต่ำกว่าค่า IC หรือครับ ?
ที่พยายามบอกก็คือ เมื่อมีกติกาใหม่ "ค่ายเล็กต้องปรับราคาสูงขึ้น เพราะความเสี่ยงที่จัดการโดยเรียกเป็นการโทร ใน/นอก เครือข่าย ทำไม่ใด้อีกต่อไป"
ส่วนค่ายใหญ่ก็เลือกใด้ระหว่างกดราคามุ่งสู่ monopoly, ปรับราคาเอากำไรมากขึ้นเพราะเจ้าอื่นขึ้นหมด หรือตัวเลือกที่น่าจะเป็นมากที่สุด ปรับราคาตามแต่ขึ้นไม่มากเท่าค่ายเล็ก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ค่าโทรเฉลี่ยต่ำกว่า แต่การกระจายมันเบี้ยวครับ เนื่องจากโทรในเครือข่ายแล้วเครือข่ายใหญ่ได้เปรียบมากเนื่องจากมีคนให้โทรถูกเยอะกว่า คนก็ย้ายเข้ามามากกว่า และผลักภาระค่าโทรแพงตกไปอยู่ที่คนโทรข้ามเครือข่ายแทน และปัญหาที่กทช หรือบางคนอ้างว่าทำให้สับสนในการคิดค่าโทรของผู้บริโภค (ซึ่งถ้าไปดูโปรเดี๋ยวนี้ก็ปวดหัวจริงๆ ครับ มีทั้งกำหนดช่วงเวลา ในเครือข่าย นอกเครือข่าย ไม่รู้จะเลือกอะไร)
ผมไม่รู้อะไรดีกว่าเหมือนกันนะครับ สำหรับผมเองโทรในเครือข่ายดีกว่าอยู่แล้วเพราะผมโทรเยอะ แต่พยายามมองอีกด้านครับ เพราะตอนไปเลือกโปรให้พ่อ ซึ่งไม่ได้โทรหาใครประจำนี่ไม่มีโปรที่ดีเลยครับ และคิดว่าลักษณะการใช้งานแบบนี้ได้ประโยชน์เพราะราคาโทรจะถูกลง และไม่ต้องปวดหัวเรื่องค่าโทรว่าจะโทรหาใครครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
นั้นแหละครับ ค่าโทร์เฉลี่ยเดิมจะต่ำกว่าค่าโทร์เฉลี่ยใหม่ ... ชึ่งก็คือค่าโทรใหม่แพงขึ้น แล้วยังจะมาเหวงว่าค่าโทร์ใหม่ไม่แพงขึ้น?
บ้านเราค่าโทรถูกมากในระดับโลก การแบ่งเป็น ในเครือข่าย / นอกเครือข่าย เป็นองค์ประกอปหนึ่งที่ทำให้มันถูกใด้แบบนั้น มันไม่มีความเสี่ยง
แต่ถ้าจะยอมขาดทุนบนราคาเท่ากันมันจะมีความเสี่ยงถึงจะยอมลดราคาขาดทุนเวลาโทร์ออกนอกเครือข่าย แต่ราคารวมก็ต้องเอากำไรมากขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
แถมยังไม่มีอะไรจะยืนยันว่า ค่ายมือถือจะไม่จับมือกันหนีความเสี่ยง โดยปรับค่าโทรในเครือข่าย"ขึ้น"ให้เท่านอกเครือข่าย แต่ไม่มีการลดราคาลงเพราะไม่ต้องการความเสี่ยง หรือค่ายมือถือโดยเฉพาะค่ายใหญ่ๆ จะยอมลดค่า IC ลง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไม่ฟังเสียงประชานแล้วเหรอ ห๊า..
อืม .. เป็นข้อที่ไม่รู้จะดีใจรึเสียใจดี
ไม่ค่อยเข้าใจมติกทช. เหมือนกันครับ อย่างที่ lew บอก
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
เฮ้ยยย!!!! ตกลงเอาจริงดิ!!! แล้วโปรผมหล่ะ เซง!!!!
ไม่พอ ๆ เปลี่ยจาก 3G เป็น 3.9G อีก
ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาอันใหม่อีกหรอ
ยังบอกว่ามั่นใจสิ้นปีนี้ได้ใช้แน่นอน
บอกอีกว่าใคร Implement เสร็จแล้วต้องเลิก 2G อีก
เครื่องเก่า ๆ จะทำไงครับ
เหอะๆ ทีเรื่องแบบนี้หละ ใช้เวลาศึกษากันเร็วเชียวนะ
เอ่อ... แล้ว PCT ผมจะมีผลด้วยไหมนะ
ป.ล. สังเกตุไหมว่า ค่ายใหญ่อย่าง AIS บอกว่าไม่มีปัญหา ทำไม?
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เท่าที่ทราบเรื่องนี้ค่ายใหญ่อย่าง AIS กะ DTAC นี่งงๆเหมือนกันครับ แต่รู้สึกจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรนะครับ ส่วน True ผมนี่ไม่ทราบข่าวเหมือนกัน...
อ่านจากที่มา "ไทยรัฐ" ทาง ais บอกว่าไม่มีปัญหาอะไรหนิครับ ส่วนสองค่ายที่เหลือดูเหมือนตอบแบ่งรับแบ่งสู้ ซึ่งผมก็เข้าใจเองว่า ไม่ค่อยเต็มใจนั่นแหละ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ผมว่าประเด็นอยู่ที่ Interconnection Charge (IC) หรือค่าโทรข้ามโครงข่ายที่ผู้ให้บริการแต่ละรายต้องจ่ายให้แก่กัน ตอนนี้อยู่ที่นาทีละ 1 บาท สมมุติว่าโปรโมชั่นโทรในเครือข่าย (on-net) อยู่ที่ราวนาทีละ 25 สตางค์ และโทรนอกเครือข่าย (off-net) อยู่ที่ 1.25 บาท (เพราะต้องเผื่อ IC ไว้ 1 บาทเต็มๆ)ถ้า กทช. สั่งให้ราคาโทรใน-นอกเครือข่ายราคาเท่ากันแล้ว ผู้ให้บริการก็ต้องตั้งราคาที่สูงกว่า 1 บาทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ทุกคนโทรนอกเครือข่ายกันหมด สมมุติว่าตั้งราคาไว้ที่ 1 บาทพอดี นั่นเ่ท่ากับว่าทุกครั้งที่มีคนโทรภายในเครือข่ายเดียวกัน ผู้ให้บริการจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้น อีก 75 สตางค์ทันที หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น 4 เท่าในทุกๆ นาทีที่มีคนโทรในเครือข่าย หรือถ้าคิดในอีกแง่หนึ่งคือถ้าผู้ให้บริการรายใหญ่คิดถัวเฉลี่ย on-net/off-net ราคาอาจจะต่ำกว่า 1 บาทต่อนาที ซึ่งผู้ให้บริการรายใหญ่กว่าก็จะลดราคาได้ถูกกว่าเช่นกัน
เกมนี้ผู้ที่ได้เปรียบคือผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่มีฐานลูกค้าเยอะและมีความน่าจะเป็นว่าจะมีคนโทรในเครือข่ายมากกว่า... แล้วมันจะช่วยให้รายเล็กแข่งขันได้อย่างไร?
แอะใจตรง 1 ก.ย. จะให้บริการเปลี่ยนเครือข่ายเบอร์เดิมเนี้ยแหละ ทุกค่ายเขาพร้อมแล้วหรือ
ได้ยินว่า ทาง vendor ปั่นกันหัวหงิกเลยครับ มีแววไม่ทันหรืออาจจะทันแบบลุ้นๆสูง
คาดว่าระบบ Mobile Number Portability จะเสร็จปลายปีนี้หรือไม่ก็ราวต้นปีหน้าครับ แต่ถ้าจะให้ทัน 1 ก.ย. ตามที่ กทช. ปักธงไว้... คาดว่ายากส์ ถึงเวลาจริงเดี๋ยวโรคเลื่อนก็มาเยือนอีก...
Number Port พร้อมไม่พร้อมส่วนตัวแล้วผมว่าต้องทำให้เร็วที่สุดอยู่ดี เพราะเรื่องนี้มันผลประโยชน์สำหรับผู้บริโภคเต็ม ๆ แบบเถียงไม่ได้เลยครับ
@TonsTweetings
ผมเห็นด้วยเต็ม ๆ เลย
แย่ๆๆ
ถ้าจะปรับค่าโทรขึ้นแล้วได้ใช้ number port ผมยอมให้มันพับเก็บ number port แล้วใช้ค่าโทรเท่าเดิมดีกว่าเหอะ
Think so!
ตามนั้น ย้ายค่าย จะย้ายไปไหนก็ไม่มีดีเหมือนๆกัน -..-"
ปกติก็อยู่ไกลกับแฟนอยู่แล้ว กทช. ยิ่งมาเพิ่มความห่างไกลให้อีก. ขอบคุณนายนะ กทช
ตกลง กทช. ทำเพื่อผู้บริโภคจริงๆเหรอ บังคับให้เท่ากัน แล้วจะให้ถูกลงหรือแพงขึ้นก็ไม่เห็นบังคับ ถ้าไม่พอใจให้ไปร้องศาลปกครองเองเรอะ เกินไปมั้ง กทช มีมติออกมาแล้ว ความชัดเจนก็ไม่เห็นมีว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ตรงไหน.. ยังงง '-'
เรื่องราคามันต้องเป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้วครับ อาจจะแพงตอนแรกๆ แล้วก็ค่อยๆ ลด หรือมีโปรเรียกลูกค้าอยู่ดี
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมสงสัยว่าโปรจะออกมาหน้าตาเป็นยังไง
ในเมื่อค่าโทรต่างก็แพงเท่ากันหมด
หรือถีบค่าโทรนอกเครือข่ายให้แพงขึ้นไป ?
เหวยๆ จะใช้ VoIP ผ่าน 3G กทช ก็ไม่มีวี่แววจะเข็นออกมาสักที โทรคมนาคมสยามประเทศมันดักดานเพราะ กทช นี่เองหรืออย่างไร ?
เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วครับ มาถูกทางแล้วล่ะ
...เอาหน่า เช้าใจว่าผู้บริโภคหลายคนโวยวายแน่ แต่เรื่องแบบนี้ดูไปกันนานๆ ครับ ก็ถ้าดูผลประโยชน์เฉพาะหน้าจะเห็นว่าโปรโทรถูกในเครือข่ายที่หลายคนต้องการมันหายไป อันนี้ก็จริงล่ะ แต่สิ่งที่ผมรอดูไปไกลกว่านั้นคือ นโยบายนี้จะทำให้ทุกเครือข่ายต้องหาจุดสมดุลของค่าโทรในที่สุด และผลักดันให้มีการคิดค่า IC ที่เหมาะสม สุดท้ายผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับผู้ใช้เอง
และไม่ต้องเป็นห่วงครับ ส่วนตัวคิดว่า เครือข่ายทุกค่าย ไม่ยอมให้ค่าโทรของตนแพงหรอกครับ เพราะเสียลูกค้า เสียหน้าคู่แข่ง และทำยอดการเจริญเติบโตได้ไม่เข้าเป้าด้วย ..ส่วนจะทำไงไม่ให้มันแพง ก็คงต้องดิ้นรนหาทางออกตามวิธีที่กล่าวมาล่ะครับ
และเผลอๆ.. พอมีเรื่องของ number port ที่ต้องดึงคนเข้าเครือข่ายเยอะๆ ด้วยแล้ว บางค่ายอาจจะปล่อยให้โทรในเครือข่ายฟรีเลยด้วยซ้ำ เพราะในเมื่อถ้าต้องให้คิดค่าโทรแล้วมันแพง แต่ทุกวันนี้ที่เก็บมันก็ถูกติดดินอยู่แล้ว ถ้าจะให้โทรฟรีไปเลยก็น่าจะเป็นไปได้อยู่
เค้าให้ค่าโทรใน/นอกเครือข่ายเท่ากันนะครับ...
ผมทึกทักเอาเองว่า การโทรฟรี ถือว่า "ไม่มีค่าบริการ" ครับ นั่นแปลว่าหลุดข้อบังคับที่ว่า ค่าโทรใน/นอกเครือข่ายต้องเท่ากัน
สมมติว่าเดิมโทรในเครือข่ายนาทีละ 0.01 บาท (ตัวเลขสมมติ) แม้จะเป็นเสี้ยวเงิน แต่ก็ยังถือว่ามีการคิดเงิน ถือเป็นค่าโทร และเมื่อเรื่องนี้ถูกบังคับใช้ ก็ต้องปรับค่าโทรใน/นอกเครือข่ายให้เท่ากัน แต่ถ้า 0 บาท ก็ถือว่าไม่มีค่าบริการ ไม่มีการคิดเงิน เป็นการให้บริการฟรี ไม่มีค่าโทร ก็อาจจะหลุดข้อบังคับดังกล่าว แต่ถ้าเอาจริงคงต้องไปตีความกันอีกที
อาจจะดูเป็นไปได้ยากเรื่องให้โทรฟรี แต่การที่ต้นทุนต่ำ กับต้องดึงคนเข้าระบบมากๆ ก็ไม่แน่ครับ
ช่วยทำให้คิดค่าโทรเป็นวินาทีได้ด้วยน่ะครับ จะขอบคุณมาก
อ๊อ ลืมไปว่าหน่วยงานนี้มันไร้น้ำยา
อันนี้ผมว่าน่าทำที่สุด... แต่เสือ_ไม่ทำ...
แล้วมันน่าจะนาทีละกี่บาทละครับ ใครพอทราบบ้าง
ปกติทุกวันนี้ผมโทรแค่ 2 เบอร์ คือ ที่บ้าน กับ แฟน ซึ่งใช้โปรเครือข่ายเดียวกันนาทีละไม่ถึงบาทของ AIS
ผมไม่ได้ว่าอะไร อยากทำอะไรก็ทำ..ถ้า!! คุณมีอำนาจที่จะทำ เพราะะบ้านนี้เมืองนี้ก็เป็นแบบนี้แหละครับ เอวัง..
ยังไงก็ได้ ขอซิมน๊านนานของผมยังเติมตังแล้วได้วันเพิ่ม 1 ปีเป็นพอ(ผมมนุษย์เน้นรับสาย)
ผมสงสัยอย่างเดียวว่า ประชาชนธรรมดา ได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้เพราะเท่าๆที่เห็นคือ อัตราค่าโทรศัพท์จะแพงขึ้นอย่างเดียว
แล้วองค์กรทำแบบนี้แล้วประชาชนสามารถรวมตัวยื่นฟ้องเอาผิดได้ไหมครับ
หรือว่าประชาชนมีหน้าที่แค่ยินยอมรับฟังไม่ว่าจะผลจะดีร้ายยังไง
นโยบายนี้ มันไม่ได้เอื้อให้บางเจ้าได้รับผลประโยชน์เหรอ? (ยังไม่ชัดเจนด้วยซ้ำว่าประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์)แน่นอนว่ามันต้องมีทั้งคนที่ได้ และเสียประโยชน์ แต่เวลาคนอื่นทำหาว่าหาประโยชน์ใส่ตัวเอง ไปยึดเงินเค้าซะงั้น งงจริง ๆ
ประโยชน์ที่ได้แน่ ๆ คือ คนแก่ ๆ จะไม่ต้องใช้ความจำหรือความคิดวิเคราะห์ว่าเบอร์ที่โทรไปเป็นเบอร์ในหรือนอกเครือข่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าหงุดหงิดมาก และคนแก่ ๆ ทั้งหลายเหล่านี้นั้นก็เป็นคนที่ทำงานอยู่ กทช นั่นเอง
จริง ๆ ควรจะแก้เรื่อง IC ให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบเวลาที่มีจำนวนลูกค้าในแต่ละค่ายไม่เท่ากันด้วย
งดค่า IC ไปเลยได้มั้ยเนี่ย :P
ถ้าไม่มีค่า ic ปัญหาก็กลับไปอยู่เรื่อง link ระหว่างเครือข่า่ยเหมือนเดิมน่ะครับ เจ้าเล็กๆ ลงทุนค่า link เยอะๆ โดยได้ค่าโทรน้อยยิ่งเจ๊งนะครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ถ้างั้น ... ถ้าเอาเป็นแบบว่า แทนที่จะจ่ายกันเองระหว่างเครือข่าย ก็ให้มีหน่วยงานกลางขึ้นมารับหน้าที่เก็บเงินและบริหารการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย (อาจจะเป็นคนของ กทช. หรืออะไรก็ว่าไป)
ส่วนอัตรา IC ให้คิดเป็นอัตราคงที่ ขึ้นอยู่กับจำนวนของเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการให้บริการอยู่ ใครไม่จ่ายก็ไม่ต้องโทรออกนอกเครือข่ายมันเลย (โหดจริง)
จะว่าไปขอถามเลย แล้วโมเดลที่ใช้ในโทรศัพท์บ้านพื้นฐานปัจจุบัน อย่าง ทศท. ทรู หรือ TT&T ตอนนี้เป็นยังไงครับ เป็นลักษณะเดียวกับโทรศัพท์มือถือหรือเปล่า
เคยอธิบายกันไปแล้วในข่าวหนึ่งก่อนหน้า แนะนำให้ไปลองอ่านดูครับ
That is the way things are.
" ราคา on net กับ off net ที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้ผู้ใช้บริการสับสน "
กำลังสงสัยว่า กทช เอาความคิดของตัวเองมายัดเยียดให้คนอื่นหรือไง?
แล้วผมจะเปิดเบอร์ บุฟเฟ ไปเพื่ออะไรครับ
จุดประสงค์คือ จะได้โทรถูกหาครอบครัว
-*-
รัฐบาลเทพประทาน
ผมล่ะเซ็งเลย ปกติก็ปิดหูปิดตา บล็อกเวปไปหลายเวป จนเซ็งแล้ว ยังจะมาปิดปากผม ไม่ให้โทรคุยอีกเหรอ กทช จะเถียงว่าไม่ได้ปิด ก็ไม่ว่า แต่ผมต้องโทรน้อยลงเห็นๆ ถ้าไม่อยากกระเป๋าฉีกเพราะค่าโทรศัพท์ที่แพงขึ้น .. โปรเดิม ฟรีบางเบอร์ ก็ดีแล้ว เบอร์ไหนที่ต้องโทรมาก โทรบ่อย มันก็ประหยัดได้เยอะ .. เฮ้อ อยากไปก่อม็อปขับไล่ผู้บริหารจริงๆ ทำไมไม่เปิดให้แข่งกันกันเสรี อุปสงค์อุปทาน ของผู้ใช้และผู้ให้บริการ มันก็ปรับสมดุลกันเองแหละ .. ทำไมชอบมาคิดแทนผมด้วย ว่าผมไม่รู้ว่าเบอร์ไหนเครือข่ายอะไร ... แย่ๆ แย่มากๆ ส่งไปด่าได้ทางไหนมั่งล่ะเนี่ย -_-"
ดีแล้วครับ สนับสนุน
เค้าจะสนับสนุนให้กลับไปใช้โทรศัพท์แบบมีสายมั้ง...
"กทช.ระบุว่าการลดค่าไอซีระหว่างกันน่าจะทำได้ในเวลาไม่นาน"
จะรอดูคำนี้แหละ
สงสัยจะดันให้ไปใช้ 3.9G โทรเป็น VoIP กันให้หมดคิดเป็นปริมาณข้อมูลเอา
ค่าโทรเท่ากัน 2 บาทเท่ากัน
แต่โทรในเครือข่ายได้คืน 2 บาท
แบบนี้เรียกค่าโทรเท่ากันไหม?
กฎหมายต้องตีความ!!
โปรโมชั่นโทรฟรีภายในเครือข่าย จะถูกยกเลิกมั้ยนิ