เอชพีเปิดเผยว่าขณะนี้กำลังพัฒนานาฬิกาข้อมือที่มีจอภาพม้วนงอได้ซึ่งผลิตจากพลาสติกให้กองทัพสหรัฐฯ
นาฬิกาข้อมือดังกล่าวจะใช้แสดงแผนที่และข้อมูลการรบให้กับทหารได้โดยตรง นอกจากนั้นยังใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จึงไม่ต้องกลัวว่าแบตเตอรี่จะหมดกลางทางระหว่างสู้รบแต่อย่างไร
ต้นแบบนาฬิกาข้อมือดังกล่าวน่าจะเสร็จภายในปีนี้ เพื่อให้กองทัพได้ทดลองใช้ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรจะผลิตใช้งานในวงกว้างหรือไม่
ที่มา: ซีเอ็นเอ็น ผ่าน Engadget
Comments
ผมว่า CNN ก็ปล่อยให้มันเป็น CNN ไปเถอะครับ
บางคำไม่ต้องพยายามทำให้มันเป็นคำไทยก็ได้ ยิ่งบางตัวทับศัพท์ด้วยคำไทยหมด ผมรู้สึกแปลกๆ
ผมว่าสำนักข่าวในไทยหลายสำนักก็ใช้ภาษาไทยนะครับ (อาทิ ไทยรัฐ คมชัดลึก โพสต์ทูเดย์)
งั้นควรเขียน เอ็นแก็ดเจ็ต ด้วยรึเปล่าครับ จะได้ไม่เป็นสองมาตรฐาน
+1 นั้นดิ สองมาตรฐาน
ผมไม่สองมาตรฐานครับ
แต่มากกว่าสองเหรอครัฟ... :D
Engadget ผมไม่เคยเห็นใครเขียนเป็นภาษาไทย ถึงจะเขียนหากไม่เป็นที่แพร่หลายผมก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเขียนครับ :)
ที่ เอ็นแก็ตเจ็ต ไม่มีใครเขียนเพราะมันเพิ่งเกิดได้ไม่นานไงครับ คนไทยรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และทำให้ชินกับ Engadget ส่วน CNN เกิดขึ้นตอนที่คนไทยยังไม่รู้ภาษาอังกฤษมากเท่าตอนนี้ ทำให้ ณ เวลานั้นต้องเขียน ซีเอ็นเอ็น ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีผู้อ่านจำนวนมาก (เช่น ไทยรัฐ คมชัดลึก และโพสต์ทูเดย์ ตามที่กล่าว) เพื่อให้คนส่วนใหญ่อ่านเข้าใจ ส่วนเว็บ blognone นั้น ผมว่าทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์รู้ภาษาอังกฤษหมดครับ เลยทำให้การเขียน ซีเอ็นเอ็น ดูแปลกตา
ตามความเห็นผม ความแพร่หลายไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่สำคัญคือ audience และการเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผนและไวยากรณ์ครับ
+1
+1
หวังว่าผู้อ่านคงจะเข้าใจครับ :)
สไตล์การเขียนของ "แต่ละคน"
ผมว่าบางทีคุณก็แนะนำให้คนอื่นแก้โน่นแก้นี่บ่อยไปนาาา
+1
ที่แนะนำคือพิมพ์ผิด (หรืออ่านแล้วงง ถ้างงจริงๆ) ซึ่งคนอื่นก็แนะนำบอกกล่าวผมอยู่เรื่อยๆ ครับ และส่วนใหญ่ผมก็ "แก้" แต่กรณีคำว่า "ซีเอ็นเอ็น" (CNN) ผมไม่เห็นว่าต้องแก้แต่ประการมใดครับ
คำว่า audience แปลเป็นไทยได้ว่า กลุ่มผู้ชม/ผู้ฟัง/ผู้อ่าน
เท่าที่ผมทราบ ไม่มีคำใดๆ ในภาษาไทยเพียงหนึ่งคำที่มีความหมายเทียบได้กับคำๆ นี้ครับ
ที่ผมใช้คำนี้ (audience) เพราะต้องการสื่อว่า ในการแสดงมหรสพ การพูด และการเขียน ไม่จำเป็นต้องยึดหลักความแพร่หลาย แต่ควรยึดกลุ่มผู้ชม ผู้ฟัง และผู้อ่านที่เป็นเป้าหมายเป็นสำคัญ โดยต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามแบบแผนและไวยากรณ์ควบคู่ไปด้วยครับ
ก็ไทยรัฐเป็นภาษาไทยนี่ครับ แต่ CNN เป็นอังกฤษก็น่าจะใช้ตามเค้านะ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
คงเป็นสไตล์การเขียนของแต่ละท่านนะครับ :)
รอดู Lab HP มั่ง ;)
*ผมว่า CNN ต่างจาก โพสต์ทูเดย์ ตรงที่เค้าเป็นคำย่อน่ะครับ พอเขียนเป็น ภ.ไทย เลยดูแปลกตาไป ปรกติเราเอาคำเต็ม มาเขียนทัับศัพท์ ความเข้าใจยังตรงๆ แต่คำย่อมันมีความหมายเชื่อโยงกับตัวเต็มอยู่ พอเห็น ภ.ไทย มันเลยจบ .. ไปต่อไม่ถูก -_-'
my blog
เห็นด้วยครับ เมื่อเป็นคำย่อก็ไม่น่าจะทับศัพท์
โอ้ว.. คอมเมนท์เรื่องข่าวหนึ่งเดียวในกระทู้ T T
ผมชินแล้วครับ ฮ่าฮ่า
อยากเห็นหน้าตามันจัง
ปรากฎว่าใช้ ๆ นาฬิกาดับกลางสนามรบ เพราะความร้อนสูง
ข่าวของคุณ nuntawat บางประโยคที่เขียนทับศัทพ์เป็นภาษาไทยผมต้องอ่านอีก 1-2 รอบเพื่อทำความเข้าใจ -*- แต่ผมก็คิดว่าผมคงไม่เก่งเอง
ขอบคุณครับ
ในอนาคตผมก็อาจจะต้อง "ตามกระแส" การเขียนภาษาอังกฤษในคำที่น่าจะเขียนภาษาไทยได้ และการพูดไทยคำอังกฤษ(หลาย)คำตามสังคมไปนะครับ ... ผมรู้สึกว่า "ไม่อยากไหลทวนน้ำให้เหนื่อยแล้ว" :)
"และการพูดไทยคำอังกฤษ(หลาย)คำตามสังคมไปนะครับ" -- ผมว่าไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้สักหน่อยนะ
ที่คนเค้าพูดถึงกันก็คือเรื่องการเขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยทั้งๆที่มันไม่จำเป็น อย่างเช่น "ซีเอ็นเอ็น" "สไกป์" เป็นต้น
+65535
+1
ผมว่าไอชื่อเฉพาะก็น่าจะเขียนเป็นภาษาอังกิดเลย ภาษาไทยอ่านแล้วงงๆ ต้องมาหยุดอ่าน //
ถ้าเกิดวันไหนมีเมฆครึ้มจะทำไงล่ะเนี่ย ^^
หรือดูท่าผมต้องพิจารณาตัวแล้วสินะ ...
ผมจะขอหยุดเขียนข่าวลง Blognone เป็นเวลา 3 วัน แล้วหลังจากนั้นจะกลับมาเขียนอีกทีหรือไม่ แล้วจะแก้ไขพวกชื่อเฉพาะภาษาอังกฤษที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือไม่ก็ค่อยรอดูแล้วกันครับ
ราตรีสวัสดิ์ครับ
มีคนคอยแก้ให้ก็อุ่นใจดีครับ
แต่มาตราฐานการแก้ว่าควรจะเป็นแบบไหน มันก็น่าจะเป็นเรื่องที่คุยกันได้นะ
ครับ ปกติผมก็จะมักจะแก้ตามที่คนอื่นแนะนำนะครับ แต่ถ้าเป็นจุดยืนของผมเองผมก็ไม่ต้องจะแก้นะครับ
ในฐานะที่เป็นคนเริ่มเรื่อง แล้วอ่านความเห็นไปพอสมควร พอจะเข้าใจมุมมองของคุณ nuntawat ครับ
แต่ว่า ...
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่จะเป็นสื่อ คือ "การเข้าใจความต้องการของผู้ชม" ครับ
เหมือนทำข่าววาไรตี้ตอนบ่ายสอง การเขียนสคริบให้มันสบายๆ สดชื่นๆ ดูจะดีที่สุดน่ะครับ
แล้วสำหรับบล็อกนัน นั่น นั้น (ชื่ออะไรแน่เนี่ย) ที่ข่าวแทบทั้งหมดมาจากต่างชาติ การเขียนภาษาไทยแต่เหมาะสม และไม่ดันทุรังใช้เมื่อมันสื่อสารไม่เข้าใจ รวมไปถึงการเคารพแหล่งที่มา น่าจะเหมาะสมที่สุดแล้วครับ
ผมคิดเสมอว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติครับ แต่ไม่เคยคิดว่าต้องเอามาใช้กับทุกอย่างที่เขียนได้
+1
ดันทุรังแบบรับไม่ค่อยได้นะ กรณีนี้ :(
+1
ต่อไปข่าวใน Blognone จะใช้ชื่อเฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษครับ ไม่ดันทุรังแล้วครับ
ตอนนี้กำลังสร้างบล็อกส่วนตัวอยู่ และต่อไปก็จะเอาข่าวไปลงในบล็อกของผมเอง แต่ค่อยอ้างอิงมาที่ Blognone แบบแก้ชื่อเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษ ครับ
ยังไงก็ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ
เฮือก...
ซีเอ็นเอ็น สำหรับผมไม่มีปัญหานะ
จะล้ม G-Shock ได้ไหมเนี่ย (ถูก, ทน, ดี)
สายไม่ค่อยทน แต่ตัวเรือนทนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
เข้ามาดูคนเถียงกันเรื่อง CNN กับ ซีเอ็นเอ็น
ส่วนตัวน่าจะเป็น CNN นะครับ เข้าใจง่ายกว่าเยอะ แล้วผมก็เห็นว่ามันไม่น่าจะยากนะกับการเปลี่ยนไปเป็น CNN