หนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่ค้ำฟ้าในโลกคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คือ BIOS ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่ช่วงต้นยุค 1990 หรือเกือบ 20 ปีแล้ว และทาง MSI ก็เตรียมย้ายเมนบอร์ดของตัวเองไปใช้งานระบบ UEFI ภายในสามปีข้างหน้า เริ่มต้นด้วยเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต Sandy Bridge ของอินเทล
จุดต่างในเชิงเทคนิคของ UEFI นอกจากมาตรฐานที่ต่างกันแล้ว UEFI ยังพัฒนาด้วยภาษา C แทนที่ภาษา Assembly ที่ใช้ใน BIOS
UEFI เป็นการพัฒนาต่อมาจากระบบ EFI ที่อินเทลพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับ Itanium มาตั้งแต่ปี 2000 เครื่องพีซีจากแอปเปิลทั้งหมดในตอนนี้ก็ใช้ระบบ EFI แทน BIOS มาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้จำเป็นต้องใช้ Boot Camp เพื่อติดตั้ง Windows และเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ๆ ในตลาดระดับสูงก็มักรองรับ EFI แล้วทั้งหมด
ความจำเป็นอย่างหนึ่งในการใช้ UEFI คือการรองรับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ขึ้น โดยต่อจากนี้คอมพิวเตอร์ที่ต้องการบูตจากไดร์ฟที่ขนาดใหญ่กว่า 2TB โดยตรงจะต้องทำงานผ่าน UEFI ทั้งหมด
ที่มา - THINQ
Comments
BIOS มีใช้มาก่อน ค.ศ. 1990 ครับ
เพราะ HDD สินะ
ไม่งั้นก็ไม่จำเป็น หึ หึ หึ
แล้วจะโกง windows 7 กันยังไงดี
ไดร์ฟที่บูตจะแบ่งให้มันใหญ่ๆทำไมนิ
แล้วบริษัทอื่นจะโบกลาเมื่อไหร่
ผมก็อยากเห็นแบบนั้นเร็วๆเหมือนกัน..
OS ต้องไป 64 bit เพราะ RAM
BIOS ก็ต้องเปลี่ยนเพราะ HDD
สินะ สินะ สินะ
I need healing.
อะไรจะเป็นรายต่อไป? อิอิ
fat
แล้วพวกบริษัททำ chip bios จะทำยังไง
ออกชิพ UEFI แทน ?
แบบนี้ก็ทำให้ PC ทั่วไปลง OSX ได้ง่ายกว่าเดิมหรือเปล่า
ที่ลงไม่ผ่านกันตอนนี้ส่วนหนึ่งก็มาจาก EFI ด้วย