ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวเป็นเรื่องที่เราเห็นกันมานานแล้ว แต่คราวนี้ IBM มาแปลก สร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ระบายความร้อนด้วย "น้ำร้อน"
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีชื่อว่า Aquasar ซึ่ง IBM สร้างร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งซูริค (ETH Zurich) ตัวฮาร์ดแวร์ไม่มีอะไรพิสดารเพราะใช้ BladeCenter รุ่นมาตรฐานของ IBM แต่ที่ไม่เหมือนใครคือระบบระบายความร้อน ซึ่งนำน้ำอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส มาวิ่งผ่านซีพียูแต่ละตัว
หลักการทำงานคือซีพียูจะมีความร้อนสูงกว่า 60 องศาอยู่แล้ว (อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 85 องศา) น้ำร้อนที่วิ่งผ่านจะกลายเป็นน้ำร้อนกว่าเดิม (ประมาณ 65 องศา) และน้ำนี้จะนำไปผลิตความร้อนให้อาคารของ ETH Zurich
Aquasar เป็นการทดลองสร้างระบบระบายความร้อนแบบใหม่ๆ ให้คอมพิวเตอร์ ซึ่งผลก็คือมันใช้พลังงานน้อยกว่าระบบระบายความร้อนด้วยอากาศถึง 40% การทำงานทั้งหมดเป็นระบบปิดและใช้น้ำอย่างต่ำ 10 ลิตร ดูวิดีโอสาธิตการทำงานด้านใน
ที่มา - DataCenterKnowledge
Comments
ยังแอบสงสัยเรื่องไอน้ำ ว่ามีวิธีควบคุมได้มั้ย
เจ๋งดี แต่ถ้ามองดีๆ ไอ้คำว่า "น้ำร้อน" มันเป็นปริมาณเชิงเปรียบเทียบนี่นา เพราะฉะนั้น น้ำที่ 60 องศาเซลเซียสก็เหมือนกับ "น้ำเย็น" สำหรับซีพียูนั่นแหละ
งั้นบ้านเรานี่ควรจะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ตามโรงแรมไหมหว่า?? จะได้เอาน้ำร้อนไปใช้ได้ (ที่อื่นคงไม่ได้เพราะบ้านเราร้อนจะแย่ มีแต่โรงแรมนั่นแหละ หนาวจริงจัง)
แอบ งง
เมืองนอกมันหนาวไงครับ เลยเอาไปทำเป็นฮีทเตอร์
ผมว่ามันคงมีระบบควบคุมอุณหภูมิของน้ำอ่ะครับ
ถ้างั้นบ้านเราหมดสิทธิ์
คิดง่ายๆก็คือใช้น้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนจาก CPU และอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดความร้อนแล้วจ่ายไปทั่วอาคารเพื่อทำความร้อน ผลก็คือเหมือนใช้ CPU ในระบบต้มน้ำแล้วจ่ายไปทั่วอาคารเพื่อให้เกิดความอุ่น แล้วน้ำที่ไหลย้อนกลับมาจะมีอุณหภูมิที่เย็นลง
แทนที่จะต้องติดตั้งระบบทำความเย็นก็เอาความเย็นที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติมาทำความเย็นให้น้ำในระบบซะเลย อากาศในอาคารก็อุ่น ระบบซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ก็เย็น win win ไม่ต้องติดตั้งฮีทเตอร์ในอาคารแล้วก็ไม่ต้องติดตั้งระบบหล่อเย็นให้ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์
เอาซีพีพูมาต้มน้ำ เทพจริง :D
เอ่อ เดี๋ยวนี้แผ่นรองเมาส์ก็ทอดไข่กับย่างเสต๊กได้นะครับ .. - -'
เออ ไอเดียดีแฮะ
สงสัยมานานแล้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าเราก็มากมายใช้แล้วต้องปล่อยความร้อนออกมา(เช่น เครื่องปรับอากาศ) แล้วก็ปล่อยลมร้อนๆออกมา ทำไมไม่เคยมีใครเอาพลังงานพวกนั้นไปใช้ทำอะไรบ้าง
มันติดปัญหาตรงไหนหรือครับ
พลังงานความร้อนพวกนั้นมันคงมี Energy Quality ต่ำน่ะครับ มันเอาไปใช้ทำอย่างอื่นได้ยาก
เข้าใจผิดแล้วครับ เรื่องการใช้ประโยชน์จากความร้อนของคอมเพรสเซอร์แอร์ บ้านเราทำมานานแล้วครับ โดยการผลิตน้ำร้อนจากคอมเพรสเซอร์แอร์ มีบริษัทที่ทำธุรกิจนี้เป็นเรื่องเป็นราวด้วย บริษัทอยู่แถวบ้านผมเองแหล่ะ ถ้าอยากรู้รายละเอียดลองไปดูในเว็บของเขาได้ครับ บริษัท พรหมจักรแอร์ เซอร์วิสโกลด์ จำกัด
ส่วนใหญ่จะอยู่ใน โรงแรม และ โรงงาน
ตามบ้าน ไม่มีใครอยากอาบน้ำร้อน ตอนเปิดแอร์ จริงไหมครับ :)
เท่าที่ผมลองอ่านในเว็บของเขาแล้ว เขาบริการติดตั้งตามบ้านที่อยู่อาศัยด้วยครับ เพราะเขามีถังเก็บน้ำรักษาความร้อน สามารถเก็บความร้อนได้นาน ผมเข้าใจว่า ถ้าเราเปิดแอร์นอนตอนกลางคืน น้ำในถังถึงจะร้อน และสามารถเอามาใช้ในเวลากลางวันได้ คงแบบนี้ครับ อย่างไรลองอ่าน หลักการทำงานเครื่องทำน้ำร้อนจากแอร์ ตามลิ้งก์ดูครับ
ผมเห็นรถของบริษัทวิ่งอยู่ในซอยแถวบ้าน ก็เคยคิดจะเข้าไปอ่านรายละเอียดในเว็บเขานานแล้ว แต่ไม่เคยเข้าไปสักที เพิ่งมีโอกาสเข้าไปศึกษา ด้วยหัวข้อข่าวอันนี้ทำให้นึกถึงบริษัทนี้อีกครับ
ประเด็นก็คือมันไม่คุ้มที่จะลงทุนในแง่ของผู้ประกอบการละครับ ทั้งค่าศึกษาเอย ค่าบำรุงรักษาเอย ต้องอาศัยบุคลากรเฉพาะทางบ้าง
ผมเอากางเกงในไปตากหน้าส่วนระบายความร้อนของแอร์ครับ รับรองแห้งเร็ว
ผมก็เอารองเท้าผ้าใบ ไปตกบนพัดลมระบายความร้อนน่ะครับ แห้งชัวร์ดี ซักทิ้งไว้กลางคืน ตอนเช้ามาก็ใส่ได้เลย
สงสัยว่า ไอ้น้ำร้อน 60 องศา นี่เอามาจากไหน หรือว่าต้องใช้พลังงานต้มให้มันร้อนอยู่ดี?
แล้วทำไมไม่ใช้น้ำที่อุณหภูมิปกติมาใช้ (ต่ำกว่า 60 องศาแน่ๆ) มันน่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าไม่ใช่เหรอ
สรุปคือ อ่านจบแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจว่าข้อดีของมันคืออะไร (เทียบกับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำปกติ)
+1
ยังไม่ได้บทความอย่างละเอียด แต่ถ้าให้ผมเดา คิดว่าคงจะเป็นการรันระบบแบบ closed-loop ซึ่งน้ำที่เอามาใช้ในการระบายตวามร้อน CPU คือน้ำที่นำไปผ่านระบบผลิตความร้อนของอาคาร รู้สึกว่าระบบทำความเย็นของอาคารสุวรรรณภูมิก็ใช้วิธีการคล้ายๆกัน เพียงแต่กลับด้านกัน คือใช้น้ำเย็น
CPU ที่ไม่มีการระบายความร้อน ปรกติจะสูงกว่า 65 องศาอยู่แล้ว แทบจะไหม้ได้เลย
ไม่แน่ใจว่า น้ำร้อนที่ 60 องศา อาจจะมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับควมร้อนที่มีอยู่ใน CPU อาจจะถ่ายเทความร้อนได้รวดเร็วกว่าหรือเปล่า
เข้าใจว่า เขาไม่ได้ "ต้องใช้ น้ำร้อน 60 องศา" หรอกครับ
แต่น่าจะหมายถึงอุณหภูมิโดยประมาณในท่อน้ำที่ปิด จากระบบนี้มันไม่ได้เอาไปหล่อเย็นที่ไหนเป็นพิเศษ แต่ใช้เอาไปต้มน้ำที่อื่นๆ เป็นการหล่อเย็นไปในตัว
เป็นเหมือนระบบรีไซเคิลพลังงานมากกว่าระบบหล่อเย็น ซึ่งมันจะมีสถาณะว่า น้ำจะร้อนที่ 60 องศาหรือต่ำกว่า เสมอ และจะส่งน้ำออกไปเมื่อมันร้อนถึง 65 องศา
ซึ่ง 60 องศาและไหลเวียนเรื่อยๆก็น่าจะเพียงพอต่อการหล่อเย็น CPU โดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานเพื่อลดอุณหภูมิ
เป็นการสร้างระบบที่เสถียร โดย Assume ว่า น้ำจะร้อนที่สุดที่ 60 องศา(แต่ถ้าต่ำกว่าก็ดี)
ส่วนตัวเท่าที่อ่านแล้วผมก็ไม่เชื่อนะว่าจะใช้น้ำร้อนที่ 60 องศาตลอดเวลา น่าจะหมายถึงระบบนี้จะรักษาอุณหภูมิ CPU ให้คงที่ที่ 60 องศา ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นแบบไหน และได้รีไซเคิลพลังงานส่วนเกินไปในตัว
มากกว่าน่ะครับ
ป.ล. อยู่เมืองไทย ให้อากาศร้อนยังไง ผมก็ยังชอบอาบน้ำร้อนมากกว่านะ
แล้วออกมาซดน้ำเย็น/นมเย็น
ชื่นใจ
อยากให้ server หลายๆ ตัวมีให้ต่อท่อน้ำระบายความร้อนจัง
ที่ทำงานที่มีระบบทำน้ำเย็นรวมอยู่แล้ว สบายไปเลย