ช่วงนี้หลายๆ ประเทศฮิตผลักดัน "แผนบรอดแบนด์แห่งชาติ" เพราะถือว่านี่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานชนิดต่อไป ถัดจากน้ำไฟถนนหนทาง
ในกรณีของสหรัฐได้อนุมัติแผน National Broadband Plan ซึ่งมีเป้าหมายให้คนทั้งประเทศเข้าถึงบรอดแบนด์ความเร็วขั้นต่ำ 4Mbps ภายในปี 2020 เป็นที่เรียบร้อย
แต่วุฒิสมาชิกของสหรัฐบางคนกลับติงว่าตัวเลข 4Mbps มันดูน้อยไปหรือเปล่าสำหรับปี 2020 เพราะคู่แข่งบางประเทศอย่างฟินแลนด์ ประกาศเป้า 100Mbps ในปี 2015 ด้วยซ้ำ
ทาง กทช. ของสหรัฐจึงชี้แจงเรื่องนี้ โดยบอกว่านี่เป็นความเร็วขั้นต่ำสุดๆ เท่านั้น และตัวเลข 4Mbps เป็นเป้าพื้นฐานที่จะประเมินกันใหม่ทุกปีว่าควรปรับเป็นเท่าไร นอกจากนี้สหรัฐยังมีขนาดพื้นที่และประชากรมากกว่าฟินแลนด์ (รวมถึงเกาหลีใต้) มาก ทำให้แผนการขยายบรอดแบนด์ของสหรัฐถือเป็นแผนที่มีขนาดรวมใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว
ที่มา - Ars Technica
Comments
เมืองไทยเราหากดันได้ และใช้งานได้จริงผมว่าแก้ปัญหาเรื่องจราจรไปได้เยอะเชียว โดยเฉพาะคนในตำแหน่งผู้บริหารที่ใช้รถส่วนตัว สามารถสั่งงานโดยไม่ต้องเข้าที่ทำงานได้สะดวก ผมว่าเช้าๆ ถนนคงโล่งไปดีเชียว
----------------- Yokey My Blog
เมืองไทยตอนนี้ผมมองว่าการผลักดันอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสวัสดิการยังไม่จำเป็น
เพราะในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตในบ้านเรานับว่าโอเคแล้ว ถึงจะไม่ดีเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ผมว่าโอเค
งานเร่งด่วนน่าจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและสร้างความปรองดองมากกว่า
ไม่ใช่ชาวสวนถูกเอารัดเอาเปรียบเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เห็นด้วยครับ ถ้าทำไปตอนนี้คนที่ได้ใช้ก็คือคนที่มีฐานะในระดับนึงแล้ว คนยังไม่ได้ใช้ก็ยังคงไม่ได้ใช้เหมือนเดิมครับ
ทุกวันนี้เหมือนทุกอย่างมันกระจุกตัวอยู่ที่หัวเมืองที่เดียวเลย
+1 ผมอยากเห็นแบบนี้ (ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสให้เห็นไหมในชีวิตนี้)
- มี HotSpot อยู่กลางทุ่งนา ชาวนาชาวสวนสามารถอัพเดทราคากันได้นาทีต่อนาที
- ชาวสวนจูงวัวเดินไปพร้อมกับดึงข้อมูลผลผลิตมวลรวมของปีที่แล้วจาก Cloud
- เฟสบุค, ทวิตเตอร์ ของเกษตรกร
- ระบบ RFID กับผลผลิตทางการเกษตร
ฟังดูไม่ค่อยเศรษฐกิจพอเพียงเท่าไรแต่เทโนโลยีพวกนี้ ช่วยพัฒนาระบบการเกษตรได้ดีเท่าระบบเศษฐกิจอื่นๆแน่นอน
หลายๆ ที่มีทำแล้วครับ เช่น อินเดีย
ลองดู Nokia Life Tools
โอ้ เป็นอะไรที่ดีมากๆเลยครับ เท่าที่ผมรู้คือเรื่องพวกนี้เป็นของพื้นๆในยุโรป แต่ไม่ทราบว่าในเอเชียหรือในไทยมีอะไรแบบนี้หรือเปล่านะสิครับ
แล้วถ้ามีชาวไร่ ชาวนาคนไหนเล่น tweet หรือมี Facebook
น่าจะเป็นบุคคลที่มี Follow มากเหมือนกัน
อย่างน้อยเราก็จะรู้ความเป็นอยู่ของเค้าในแต่ละวัน
หรือว่าผมควรลาออกไปทำไร่ ไถนา
คนเลี้ยงหมูได้ไหม?
4Mbps สำหรับ 2020 ต่อให้เป็นขั้นต่ำก็ยังดูช้าไปจริงๆ สำหรับ 10 ปีข้างหน้า
พอมีข่าวแบบนี้เดาได้ว่าแล้วจะมีคน2กลุ่มออกมา กลุ่มหนึ่งจะบอกว่าควรทำตามอย่างงู้นอย่างงี้ให้พัฒนาเทคโนโลยีทัดเทียมตปท.ให้ประเทศเจริญบลา ๆ อีกกลุ่มก็ออกมาบอกว่าเงินภาษีเอาไปพัฒนาการศึกษาการคมนาคมบลา ๆ ดีกว่า
และแล้วก็เงียบไป ... แล้วก็วนกลับมาใหม่ เดจาวู! xD
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเชื่อว่ามี ความเร็ว 100Mbps ยังน้อยไปด้วยซ้ำในอีก 10 ปีข้างหน้า
ผมเคยโหลดบิทด้วยความเร็วขนาดนั้น
ผลคือ ฮาร์ดดิสเขียนไฟล์ไม่ทัน ฮ่าๆ
อยากรู้จังเลยครับว่าต่างประเทศ เน็ต 1MB นี่วิ่งเต็มๆ 1mb/s เลยไหมครับ หรือเหมือนกับบ้านเรา 1MB = 128k/s
เท่าที่ดู Review มือถือของ US
3G เค้าวิ่งแค่ 0.7 - 1Mbps เองอะครับ
1 Mbps = 128 KB/s
อ่านว่า
1 เมกกะ'บิต'ต่อวินาที (Mb=Megabit) = 128 กิโล'ไบต์'ต่อวินาที (KB=กิโลไบต์)
เพราะ 1 MegaBytes (MB) = 8 Megabits (Mb) ไงครับ (1ไบต์มี8บิท)
เพราะฉะนั้น ตามหัวข้อข่าว 4Mbps ก็จะได้ความเร็วราวๆ 512KB/s ประมาณนั้นครับ
เรื่องวิ่งเต็มไม่เต็มนั่นอีกเรื่องครับ แต่ว่าผมว่าคุณสับสนเรื่อง MegaBytes กับ Megabits อยู่
เวลาพิมพ์ต้องใช้หน่วยให้ชัดเจนครับ Mbps Kbps กับ MB/s KB/s ไม่เหมือนกันนะครับ
+1 informative เพิ่มเติมว่า KiB กับ KB ครับ KiB = 1024B ส่วน KB == 1000B
อ้างอิง Kibibyte
lewcpe.com, @wasonliw
k ที่หมายถึง 1000 ต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กนะครับ kB
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แสดงว่าที่ Windows ไม่เคยเห็น ฮาร์ดดิสเต็มความจุซักทีเพราะใช้หลักมันใช้หลัก KiB, MiB, GiB ?
{$user} was not an Imposter
ขอโทษทีครับพิมพ์ตกไป ในความหมายคือ KB ครับ ไม่ใช่ K ^^
เน๊ท 4Mb 3BB เว็บนอกช้ามาก
เน็ต 1 MB วิ่ง 1 mb/s
แปลว่าไม่เต็มนะครับ
เพราะ B = byte = 8 bit(b)
ของบ้านเราก็ถือว่าวิ่งเต็มนะ
หารสิบก็ถือว่าเกือบๆ จะเต็มแล้วแหละ
เน็ตบ้านผม 3 Mb โหลดบิตก็วิ่ง 300 กว่าๆ อะ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เท่าที่ใช้อยู่ วิ่งได้เต็มครับ
ผมก็รู้สึกว่าช้าไปมากกๆ เหมือนกันนะคับ แต่อาจเป็นเพราะประเทศเค้าใหญ่ก็ได้ ถึงเวลานั้นจิงๆ ทั้วทั้งประเทศได้ 4 Mbps แต่ทั่ว New York อาจจะเป็น 10 Gbps ไปแล้วก็ได้
positivity
ของไทยมาดูภาคการศึกษา คาดว่าเสร็จปี 2555
-Backbone 50Gbps
-จาก Backbone มา Distribution 20Gbps
-ความเร็วขั้นต่ำ จาก Distribution ในจังหวัด ไปยัง ......
โรงเรียน 10Mbps นำร่อง 2,000 โรงเรียน
ระดับอาชีวะ 100Mbps ทุกแห่ง(อาชีวะ เทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ)
มหาวิทยาลัย 1,000Mbps ทุกแห่ง
น่าแปลกใจที่ ณ บัดนี้ยังมีคนสับสนเรื่อง Bit กับ Byte กันอยู่อีก
ไม่แปลกหรอก คนชอบคอมฯ ชอบไอทีอาจไม่ได้มีพื้นฐานพวกนี้มาก่อนก็ได้