Google

ก่อนหน้านี้มีข่าวมานานแล้วว่าทาง FCC ของอเมริกาพยายามที่จะเพิ่มข้อบังคับใหม่ให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่เรื่องก็เงียบหายไปเพราะไม่สามารถตกลงกันได้แต่สองสามวันที่ผ่านมาผมเห็นข่าวของ Google และ Verizon ที่ประกาศขอตกลงเรื่อง net neutrality ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและผมยังไม่เห็นทาง กทช. ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้เลยผมเลยอยากจะนำบทสรุปของข้อตกลงระหว่าง Google กับ Verizon ที่ทาง Engadget ทำสรุปไว้มาแปลเพื่อสอบถามความเห็นของทุกๆท่านครับ

เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างยาวและมีรายละเอียดมากผมจึงตัดสินใจแปลและปรับคำพูด ให้เข้าใจง่ายขึ้นแต่ไม่ตัดทอนเนื้อหาลง เพราะอาจจะทำให้่เข้าใจผิดในสาระสำคัญได้ แต่ถ้าทุกท่านเห็นว่ายาวและไม่จำเป็นก็คอมเมนต์ได้เลยครับผมจะปรับปรุงตามที่ทุกท่านแนะนำครับ

อนึ่งข้อตกลงนี้ใช้บังคับสำหรับการเชื่อมต่อผ่านระบบสายเท่านั้น ไม่รวมถึงการเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายนะครับ

  • การให้ความคุ้มครองผู้บริโภค : ภายใต้ข้อตกลงนี้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่สามารถปิดกั้นการเชื่อมต่อใดๆ ที่ไม่ผิดกฏหมายได้ไม่ว่าผู้ใช้บริการจะส่งหรือรับข้อมูลใดๆก็ตาม ถ้าข้อมูลนั้นไม่ส่งผลเสียหายแก่เครือข่ายหรือผุ้ใช้บริการายอื่น

  • ไม่แบ่งแยกผู้ใช้ (Non-discrimination) : ไม่อนุญาตให้ผู้ให้บริการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลจากที่ใดที่หนึ่งมากกว่าปกติได้ ข้อนี้อธิบายง่ายๆ ก็คือไม่อนุญาตให้ผู้ให้บริการจัดลำดับความสำคัญของ traffic นั่นเองเช่น ทรูอินเทอร์เน็ตไม่สามารถเลือกที่จะให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องการเข้าถึงเว็บไซต์ของทรูก่อน และทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจากทรูได้รับข้อมูลเร็วกว่าผู้ที่ต้องการข้อมูลจากเว็บของคู่แข่งเป็นต้น

  • ความโปร่งใส : ถ้าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องอธิบายเรื่องความแน่นอนและข้อมูลสำคัญอื่นๆ ในลักษณะที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายเช่น การที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการทำการดาวน์โหลดแบบ Peer to peer (BitTorrent) ในระบบของตนจะต้องอธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ใช้บริการทราบก่อนล่วงหน้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการรู้ถึงข้อจำกัดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละรายก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้บริการโดยมีข้อมูลที่ครบถ้วน

  • การจัดการโครงข่าย : ข้อนี้จะเชื่อมโยงกับข้อที่ผ่านมาเรื่องของความโปร่งใส เพราะข้อนี้จะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถบริหารจัดการโครงข่ายของตน เพื่อลดการติดขัดของข้อมูล (Congestion), ความปลอดภัย, จัดการกับการเชื่อมโยงที่ไม่ประสงค์ดี และทำให้คุณภาพการใช้บริการของผู้ใช้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยสรุปก็คือในเมื่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ชี้แจงเรื่องความสามารถและข้อจำกัดอย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงสามารถจัดการกับโครงข่ายได้ตามที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเห็นว่าจะทำให้ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้รับบริการที่ดีขึ้น ตราบเท่าที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ชี้แจงเรื่องข้อจำกัดและวิธีการจัดการล่วงหน้า

  • การให้บริการออนไลน์เพิ่มเติม : อนุญาตให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถสามารถสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ที่ไม่ใช่บริการอินเทอร์เน็ตและคิดค่าบริการเพิ่มได้ ถ้าบริการนั้นแตกต่างจากบริการอินเทอร์เน็ตทั่วไปยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอระบบที่สอง (second network) ที่ทำหน้าที่เฉพาะสำหรับการเข้าถึงข้อมูลบางประเภทเท่านั้น ข้อนี้ค่อนข้างเข้าใจยากซักนิดเพราะปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการในรูปแบบดังกล่าวครับ

  • อำนาจการควบคุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและกรอบของการควบคุม : จริงๆ มันเป็น 2 เรื่องแต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน โดยสรุปก็คือการลดอำนาจของ FCC ลงให้เหลือแค่การควบคุมให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทำตามข้อตกลงเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขข้อบังคับเองได้อีก แต่ต้องทำผ่านคณะกรรมการร่วมที่มีภาคเอกชนรวมอยู่ด้วย และลดจำนวนเงินค่าปรับสูงสุดที่ FCC จะปรับผู้ให้บริการเหลือเพียง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยอมให้ FCC เข้ามาดูแลในเรื่องของ broadband access แต่ไม่อนุญาติให้ควบคุมส่วนของเนื้อหา

ผมมองว่าข้อตกลงนี้หลายข้อดีและน่าสนใจในการนำมาปรับใช้กับบ้านเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค, ไม่แบ่งแยกผู้ใช้และเรื่องความโปร่งใส แต่หลายๆ ข้่อผมมองว่าเป็นการลดอำนาจการควบคุมของรัฐที่มีต่อบริษัทเอกชน ซึ่งส่วนนี้ผมไม่เห็นด้วย เพราะถ้าคุณบริสุทธิใจจริง คุณจะกลัวการควบคุมทำไม และในทางกลับกันทางผู้ควบคุมเองก็จะโดนสังคมตรวจสอบอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องลดอำนาจขององค์กรอิสระที่มาควบคุมผู้ให้บริการครับ

ที่มา : Engadget.com

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
  • ช่วยแท็กข่าวด้วยครับ
  • ที่หัวข่าว
    • net neutrality ที่หัวข่าว ตัวขึ้นต้นคำตัวใหญ่ได้, เว้น 1 เคาะหน้า FCC
  • ที่เนื้อข่าว
    • ก่อนย่อหน้า "อนึ่งข้อตกลงนี้ใช้บังคับ..." ช่วย ENTER ขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยครับ
    • หลังไม้ยมก (ๆ) เว้น 1 เคาะ, หน้าหลังคำว่า FCC, คำว่า เช่น และหน้าหลังตัวเลข เว้น 1 เคาะ
    • คอมเม้นต์ ตัดไม้โทออก, อนุญาติ ตัดสระอิออก, รายละเอีด ตกตัว ย, engadget.com แก้เป็น Engadget

แก้ไขเรียบร้อยครับ
ส่วนแท็กผมไม่แน่ใจว่าจะแท็คว่าอะไรดีครับ
แท็คแค่ Telecom ได้ไหมครับ

"การที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการทำการดาวน์โหลด แบบ Peer to peer (BitTorrent) ในระบบของตนจะต้องอธิบายเรื่องนี้ให้กับผู้ใช้บริการทราบก่อนล่วงหน้า"

ถ้าเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของบ้านเรา คงต้องใส่ตัวหนังสือตัวใหญ่เบ้งๆไว้ด้วยว่า
เราจำกัด Bandwidth Torrent 50% นะจ๊ะ ก่อนสมัครระวังให้ดี..

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง มันไม่บอก แต่เล่นจำกัดไปเลย.. -*-

um007 Wed, 08/11/2010 - 01:14

@Pearl จริงหรอครับที่บ้านเราเขาจำกัด Bandwidth Torrent 50%
ของอะไรมั่งอะครับ พอดีผมใช้3BB ปล.แต่ก่อนเป็นtt&t เข้าใจว่าไม่จำกันนะครับตอนนั้น แต่ก็ปีนึงได้แล้ว

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png