หลังจากอินเดียประสบความสำเร็จกับ RIM ผู้ผลิต BlackBerry ที่จะยอมให้หน่วยงานด้านความปลอดภัยสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่ถูกเข้ารหัสไว้ได้ตามกฎหมาย อินเดียก็มีเป้าหมายต่อไปที่จะเข้าไปบังคับให้ตนสามารถเข้าไปติดตามคอนเทนต์ได้ คือ กูเกิล และ Skype
ที่อินเดียสนใจทั้งสองบริษัทก็ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับ BlackBerry คือ หน่วยงานด้านความปลอดภัยประสบปัญหาในการติดตามคอนเทนต์ที่วิ่งผ่านบริการดังกล่าว อันเนื่องมาจากการเข้ารหัสที่บริการเหล่านั้นใช้
ข้าราชการคนหนึ่งได้กล่าวกับสำนักข่าวท้องถิ่นว่า รัฐบาลส่งหนังสือแจ้งให้สองบริษัททราบในวันอังคาร [ที่ผ่านมา] และทั้งสองบริษัทจะต้องดำเนินการตามคำสั่ง มิเช่นนั้นบริษัทนั้นจะต้องปิดเครือข่ายของตนลง
นอกจากสองบริษัทนี้แล้ว อินเดียยังเพ่งเล่งไปยังเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ที่ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงเครือข่ายภายในบริษัทของเขาได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย
ที่มา: Neowin.net
Comments
บร๊ะเจ้าโจ๊ก!!
งานนี้มีบางคนต้องย้ายไปทำงานประเทศอื่นแน่
กูเกิ้ลคงปิดบริการในอินเดียแหงๆ
ถ้าอินเดียจะเล่นไปถึงบริษัทที่ใช้ VPN ด้วยเนี๊ยะ ได้มีการย้ายฐานจากอินเดียไปที่อื่นๆ แน่ๆ สร้าง VPN ขึ้นมาก็เพื่อกันไม่ให้คนนอกเห็นข้อมูลแล้วยังดันต้องเปิดให้รัฐบาลเข้ามาส่องได้อีก
เยี่มครับอินเดีย นายมาถูกทางแล้ว (ในสายตาประเทศอื่น)
ฮิ ฮิ
Who will watch the watchmen?
India กำลังประสบปัญหาขาดแคลนเด็กอัจฉริยะ ต่อไปจะกลับมาไทย และ เวียดนาม
อย่างไหรหรือครับ ชวนอธิบายที่หรือมีบทความให้อ่านก็ยังดี
แต่กระผมเห็นว่า ไทยมีด้วยหรอ ถึงมีก็ไหลไปอยู่ที่อื่น หรือถ้าอยู่ไทย คนอัฉริยะเข้าก็ดันไปทำอย่างอื่น จากที่เห็นๆ มาน่ะ
อีกหน่อย VPN ก็คงมีรู hacker เจาะง่าย เอิ๊กๆ
บล็อกของผม: http://sikachu.com
กูเกิลเคยถอนตัวออกจากจีนมาแล้ว เพราะเหตุผลทำนองนี้
ถ้าคราวนี้ยอมอินเดีย ก็เท่ากับ 2 มาตราฐาน
แต่ถ้าไม่ยอม ก็เท่ากับทิ้งตลาดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก
ที่มีประชากรรวมกันเท่ากับ 1 ใน 3 ของโลก
และเป็นประเทศดาวรุ่งที่กำลังเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว
แล้วเราจะได้ดูว่าอุดมการณ์ของพวกฝรั่งมันมีจริงหรือไม่
หรือเอามาอ้างเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และกีดกันคนอื่นเท่านั้น
แล้วแบบนี้ถ้าใช้ key ที่ sign กันเองก็ไม่ได้ซินะ ไปกันใหญ่แล้ว
แต่ถ้าตรวจสอบไม่ได้เลย ก็อันตรายเกินไปอีก ยุคเสรีของโลกดิจิตัลกำลังจะหมดแล้วแน่ๆ เลย