Gmail ได้ออกความสามารถใหม่ที่ไม่เหมือนใครคือ Priority Inbox มาซักพักหนึ่งแล้ว โดยความสามารถนี้จะเป็นการยกระดับการจัดการอีเมล์ที่มีอยู่ ให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ลดการใช้งานของผู้ใช้และให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่นี้แทน ซึ่งเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่และน่าสนใจถึงที่มาที่ไปของโครงการนี้
Ario Jafarzadeh หนึ่งในทีมงานพัฒนา Priority Inbox ได้มาเผยถึงเบื้องหลัง ที่มาที่ไปของโครงการนี้ (วิดีโอ Behind the Scenes of Gmail's Priority Inbox) ซึ่งน่าสนใจทีเดียว
วิดีโอดูได้จากข้างล่างครับ
- Priority Inbox เกิดจากไอเดียในโครงการ 20% โปรเจ็ค
- ไอเดียเริ่มจากทีมใน Zürich 8 คน เมื่อ 2 ปีที่แล้ว !!
- ชื่อเดิมคือ Magic Inbox
- เริ่มพัฒนาไอเดียจนได้ทีม Designer มาร่วมทีมอีก 3 คน และนักวิจัยอีก 3 คน จาก 3 ประเทศ (รวม 15 คน)
- ย้ายที่นั่งทีม Designer มานั่งข้างๆ กับ Engineer เพื่อลดช่องว่างในการทำงาน
- ไอเดียคือการจัดความสำคัญของอีเมล์ อันไหนสำคัญไม่สำคัญ
- ปัญหาใหญ่ที่สุดคือผู้ใช้ Gmail มีเยอะมาก จนไม่สามารถคาดเดาความต้องการของแต่ละคนได้
- บางอย่างสำคัญมากกับบางคน แต่อาจจะเป็นขยะของอีกคนหนึ่ง
- การให้ผู้ใช้สร้าง Filter เองมันยากเกินไป
- เลยมาสรุปที่จะต้องสร้าง Machine Learning ขึ้นมา แล้วให้ผู้ใช้เป็นคนสอนระบบ
- ระดับความเก่งของวิศวกรของกูเกิล สร้าง Machine Learning ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากที่สุดคือสร้าง UI ให้เป็นตัวกลางระหว่างหน้าจอ กับตัว Machine Learning ที่ซับซ้อนมากๆ
- กูเกิลลองเปลี่ยน UI ไปเรื่อยๆ ทุกอาทิตย์แล้วนั่งวิจารณ์กันว่าจะแก้ยังไงไปเรื่อยๆ
- Dual Inbox ช่วยแบ่งได้ดีว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ
- ทำไปซักพักเริ่มเข้าใจสัจธรรมว่า ทีมงานกูเกิลเป็นกลุ่ม Power User ที่ใช้ระบบเก่งเกินไป แต่คนใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้เก่งอะไรมาก เลยต้องเปลี่ยน UI อีกรอบ
- ป้าย + / - เกิดจากทีมดีไซเนอร์คิดอะไรไม่ออก เลยเดินไปรอบเมืองและเจอป้ายบอกทางซ้ายขวา เลยลองเอามาใช้ดู
- เพิ่มความยืดหยุ่นอีกหน่อย ให้ User Customize ตัว Dual Inbox ได้
- ได้ UI ครบหมดแล้ว มาเจอปัญหาอีกอย่างคือ แล้วจะสอนผู้ใช้ยังไงให้ใช้เป็น ?
- ส่งเมล์มาอธิบายคนไม่อ่าน โชว์กล่องข้อความเล็กๆ คนก็กดข้ามไปเลยไม่สนใจ
- ทีมงานคิดไม่ออกเลยไปเล่นเกมส์ แล้วได้แรงบรรดาลใจมาจากเกมส์ชื่อ Heavy Rain บน PS3 ซึ่งเกมส์นี้ต้องใช้ปุ่มเยอะมาก ต้องสั่นจอยขึ้นลงด้วย ก่อนเข้าเกมส์ก็เลยมี Mini Game เล็กๆ ให้ลองเล่นคือสั่นจอยขึ้นลงเพื่อแปลงฟัน เพียงแค่นี้คนใช้ก็พอรู้แล้วว่าต้องยกจอยขึ้นลง
- เอาไปสร้างเป็นหน้าต่าง Mini Game ขึ้นมา เมื่อผู้ใช้ลองเปิด Priority Inbox ครั้งแรก Gmail จะเลือกเมล์ที่มั่นใจว่าสำคัญสุดๆ 3 อันมา และไม่สำคัญ 3 อันมาให้ผู้ใช้ลองเล่นดู แค่นี้ผู้ใช้ก็พอรู้แล้วว่าอะไรคือ Priority Inbox
- เป็นโครงการที่ดีมาก เลยข้าม Labs ไปเป็น Beta ออกมาให้คนใช้เลย
- ลองให้ผู้ใช้จริงมาลองเล่นดู 2 อาทิตย์แรกรับสมัครกลุ่มทดลองใช้ แล้วทดลองใช้จริง 8 อาทิตย์ เก็บข้อมูลทุกอย่างที่กลุ่มทดสอบลองมาใช้ดู
- กลุ่มทดสอบชอบ Mini Game กับวิดีโอ เลยเอาทั้งสองอย่างมาใส่รวมกัน
- ผมสำรวจคนใช้เวลาอ่านเมล์น้อยลง 6% ใช้เวลาอ่านอีเมล์ที่ไม่สำคัญน้อยลง 13%
- ได้ Review ที่ดีมาก เป็น Feature ที่ต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน
- Q&A: ปัญหาใหญ่ของ Machine Learning คือถ้าเราสอนมันไป แล้วไม่สนใจมันซักปี พอกลับมา มันจะไม่ฉลาดแล้ว จะทำยังไง ? นั่นคือเหตุผลนึงที่ยังอยู่ใน Beta ก่อน
- Q&A: จะมีโอกาสกับ Native Email Application ที่ใช้ IMAP อย่าง Outlook, iPhone Email ? กูเกิลจะสร้าง Label กับ Folder ใหม่ให้เวลาเราจะเรียกผ่าน IMAP จะเลือกเองได้
- Q&A: เด็กสมัยใหม่ใช้อีเมล์น้อยลงมาก ส่วนใหญ่ไปคุยผ่าน Social Network มากกว่า กูเกิลมีแผนยังไง ? จริง ลูกของคนพูดใช้อีเมล์แค่ตอนส่งงานอาจารย์เท่านั้น ส่วนแผนในอนาคต กูเกิลก็กำลังคิดเรื่องนี้อยู่
- Q&A: ช่วงวิจัยมีการคิดถึงคนในภาษาอื่นประเทศอื่นๆ นอกอเมริกายังไง ? กูเกิลทดสอบกับกลุ่มผู้ใช้ใน 35 ประเทศขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจว่ามันทำงานได้ดี
- Session ของต่างประเทศใช้เวลาพูดไอเดียสั้นๆ แค่ 15 นาที ที่เหลืออีก 30 นาทีเป็น Q&A
2010/09 Ario Jafarzadeh | Google from Zurich/CreativeMornings on Vimeo.
ที่มา - Google Operation System
Comments
แรกๆ ก็ดูงงๆ ครับ เพราะดูเหมือนจะซ้ำๆ กับ filter และต้อง "สอน" มันเล็กน้อย แต่ใช้ไปใช้มาก็เข้าท่าดีครับ
แต่ชื่อ "กล่องจดหมายสำคัญ" อ่านไปอ่านมาก็ดูทะแม่งๆ ยังไงไม่รู้
พิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ
"ให้เป็นตัวหลางระหว่างหน้าจอ"
แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
"ผมสำรวจคนใช้เวลาอ่านเมล์น้อยลง 6% "
โอ้ว กว่าจะได้ความสามารถใหม่ ๆ สักอย่างไม่ใช่ง่ายๆเลยถ้าจะให้ออกมาดี แต่มันก็คุ้มค่า
ปล. ฮาภาพประกอบใน office ไหง Designer มีแต่เก้าอีละนั้น แถมวิวหน้าต่างสวยอีกตั้งหาก
เก้าอี้หันผิดทางครับ อีกด้านมีจออยู่ ๕๕
เค้าอาจจะนั่งคร่อมก็ได้นะ =,.=''~
designer เป็นคนถ่ายภาพนี้อยู่ไงครับ
machine Learning ก็ว่ายากแล้ว ต้องออกแบบให้คนที่ไม่ใช่ Power User ใช้ นั้นยากกว่า
+1M ครับ
เรื่องนี้คุยกับ geek ทีไรมแทบจะอยากจะตีกันเลยทีเดียว
"แต่ที่ยากที่สุดคือสร้าง UI ให้เป็นตัวหลางระหว่างหน้าจอ กับตัว Machine Learning ที่ซับซ้อนมากๆ"
ตรง "ให้เป็นตัวหลางระหว่างหน้าจอ" น่าจะเป็น "ให้เป็นตัวกลางระหว่างหน้าจอ" หรือเปล่าครับ
-- ^_^ --
ชอบตรงที่อย่างน้อยเค้าก็ทันคิดด้วยว่า ตัวเองเป็น power user แต่คนทั่วไปคงไม่เข้าถึงในระดับนั้น
เป็นข่าวที่อ่านแล้วเพลิน เข้าใจง่าย
ชอบบทความแบบนี้ครับ อธิบายกระบวนการออกแบบ ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปเอาไปประยุกต์ใช้ได้
ผมกลับไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่เลย
เพราะว่าสร้าง filter+Lebel เอาไว้ครอบคลุมเกือบทุกอย่างแล้ว
น่าจะเหมาะสำหรับคนทั่วไปมากกว่าเพราะว่าสะดวกดี
ส่วนตัวผมคิดว่า priority เกิดขึ้นมาสำหรับ end user ล้วนๆ
ส่วน filter label มีไว้สำหรับ power user นั่นแหละครับ ปรับแต่งได้เยอะกว่าอยู่แล้ว
+1 เห็นด้วย ว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไร ปกติใช้แต่ดาว : D
แต่ของผมเมล์ขยะหลายอันเข้ามากลายเป็นเมล์สำคัญไปด้วยซะงั้น - -"
สังเกตุว่าห้องพนักงาน Google นี้ง่ายๆ นะ ไม่ได้มีอะไรมากอย่างที่คิด
แต่สามารถสร้างนวัตกรรมดีๆ ได้
อันนี้แก้ปัญหาอะไร ๆ ได้ดีกว่าที่คิดนะ สองฝ่ายนี้มักมองกันคนละมุมอยู่เสมอ ๆ
Jusci - Google Plus - Twitter
ขอบคุณที่เอามาเล่าครับ ชอบแนวนี้ได้ความรู้ดี
ชอบด้วยครับ
จริงใจดี...
อ่านเข้าใจง่ายมากใช้เวลาแป๊บเีดียว ไม่ต้องนั่งดูวีดีโอนาน ๆ