ต่อจากข่าว Ray Ozzie ลงจากตำแหน่ง เตรียมออกจากไมโครซอฟท์ ทาง Ray Ozzie ได้ออกบันทึกฉบับใหม่ชื่อ Dawn of a New Day ส่งถึงผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์ทุกคน และเผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย
เมื่อครั้งที่ Ozzie เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์ใหม่ๆ ในปี 2006 เขาเขียนบันทึกฉบับแรกชื่อ The Internet Services Disruption ซึ่งกลายเป็นพิมพ์เขียวสำหรับธุรกิจออนไลน์ของไมโครซอฟท์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ช่วงแรกของบันทึกฉบับที่สองย้อนรอยแผนการที่ Ozzie วางไว้ในบันทึกฉบับแรก โดย Ozzie บอกว่าไมโครซอฟท์เปลี่ยนไปในทิศทางที่เขาวาดฝันเอาไว้ แต่ก็มีหลายจุดที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า
ในบันทึกฉบับที่สอง Ozzie ยังเตือนว่าโลกของคอมพิวเตอร์กำลังเข้าสู่ "ยุคหลังพีซี" (Post-PC era) โดยเขาบอกว่ามันประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ
Ozzie บอกว่าแนวคิด 2 อย่างนี้เริ่มเห็นได้แล้วในปัจจุบัน แต่ในอนาคตมันจะไปไกลกว่านี้อีกมาก และพัฒนาไปในรูปแบบที่เราจะไม่มีวันเคยจินตนาการถึง
บันทึกค่อนข้างยาวและมีรายละเอียดเยอะครับ ใครสนใจลองอ่านต่อกันเอง
ที่มา - Ray Ozzie Blog
Comments
Romance Dawn of the New World สินะ
เข้าโลกใหม่ได้แล้ว MS
น่าสนใจมากครับ
พิมพ์เขียว หรือป่าวครับ
Plug-in to The Matrix
ถ้ายังอยู่บนโลก ก็ต้องเรียกประมวลผลผ่านกลุ่มเมฆ แต่ถ้าเป็นยุคอวกาศ คงได้เรียกว่า ประมวลผลผ่านกลุ่มดาว แน่ๆ
ซันเคยสรุป vision ออกมาเปนสำนวนทำนองนี้แล้ว ..
2008 JavaOne Conference: Sentilla's Pervasive Computing -- The Universe Is the Computer java.sun.com/javaone/sf/2008/articles/gen_sentilla.jsp
เปนการเล่นสำนวนต่อจาก The network is the Computer ซึ่งเปนวลียอดฮิตเกี่ยวกับ vision ของ sun ที่มีต่อ internet
ปล. เนื้อหาที่พูดมาทั้งหมด.. ไม่ว่าจะของ sun หรือ ozzie จิงๆ แล้วก็ไม่ได้มีอะไรใหม่
มีสำนวนงามๆ ที่นิยามไว้ใกล้เคียงสำนวนนี้อีกหลายสำนวน ใครสนก็ลองดูเกี่ยวกับ ubiquitous/pervasive computing
ประเดนหลัก ของ note ของ ozzie น่าเพื่อการประเมิน ms ซึ่งเปนเปนเรื่องปกติของ visionary .. ไม่ใช่จะด่าว่าไร ms
อย่างไรก็ตาม ข้อดีนึงของ note นี้คือ อธิบายได้เหนภาพดี คนที่ไม่รุ ubiquitous/pervasive computing ยังอ่านเข้าใจ
ปัญหาของซันคือ NC เจ๊งเละเทะ พอเอามาทำตามเลยเจ๊งต่อไปด้วย ฮ่าๆ
พูดง่าย MS กำลังจะโดนแซง(ก็โดนไปเยอะแล้วเนอะ)
ผมว่าวิสัยทัศน์ด้าน computing ของ ms ไม่ใช่ปัญหาหรอก
มันไม่ใช่มิติของเครื่องมือเพียงอย่างเดียว
ที่ ms ตามไม่ทันและไม่เห็นในวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงคือ
มิติของการที่ไอทีเข้ามาเป็นวิถีชีวิต ของคนธรรมดา
พฤติกรรมของคนธรรมดาที่ คนทำงานคอมพิวเตอร์มุ่งโฟกัสไปที่กลไก
มักลืมไปเช่น
ทำไมผู้หญิงหลายคนถึงสรรหาซื้อเสื้อผ้าสวย ๆ มาใส่ทั้ง ๆ ที่มัน
ใส่ไม่สบาย และต้องทำตัวลำบาก
ทำไมคนนิยมรถหรู ทั้ง ๆ ที่จริง ๆแล้วในเชิงความสามารถในการขับเคลื่อน
และความปลอดภัย แทบไม่ได้มีความแตกต่าง
ทำไมคนถึงสรรหาของกินอร่อย ๆ แม้มีราคาแพง แม้ว่ามันจะอิ่มหนึ่งมื้อเหมือนกัน
อื่น ๆ อีกมากมาย
ในยุคของการเปลี่ยนผ่านนี้ ปัจจัยทีจะครองตลาดในลักษณะ consumer
มันจะแตกต่างจากยุคก่อนอย่างมาก
โจทย์มันเริ่มคล้าย สบู่อาบน้ำสะอาดเหมือน ๆ กัน แต่ทำไมขายดีต่างกัน
ขายได้ราคาต่างกัน
วิศวกรใน ms นั้นเก่งครับ เพียงแต่ตอนนี้มันต้องใช้ความเก่งที่หลากหลาย
และทิศทางที่ถูกต้อง
+100000 วิเคราะห์ตลาดได้แม่นมากเลยครับ
แต่ก่อน บริษัท IT ได้เงินจาก Advanced user, Developer มากกว่า เพราะคนกลุ่มนี้ ซื้อ ทั้ง devices+APP มากกว่าเพราะเขาเอาไปใช้งานจริง
แต่เดี๋ยวนี้ คนข้างตัวผมแทบทุกคนจะมี iPhone iPad BB Android แล้วก็ซื้อ APP ในนั้นด้วย ซึ่งตัวเครื่องก็ราคาเท่า PC แล้วนะครับ ณ ปัจจุบันนี้ APP ก็ซื้อง่ายอีกครับ
สรุปว่าตอนนี้ บริษัท IT ได้เงินจากคนทั่วไปเยอะกว่า Advanced user, Developer อีกครับ เพราะมันเข้าถึงคนทั่วงไปเป็น consumer product ไปเรียบร้อย แถม Advanced user, Developer นี่ งก กว่าเยอะ เขียนโปรแกรมได้ตัง แต่ก็ยังใช้เครื่องมือที่มันฟรีอีก สารพัดจะเซฟคอส
และอีกเรื่องนะครับ ตอนนี้ เงินก้อนใหญ่น่าจะมาจาก APP ใน App store ของแต่ละค่ายด้วย
แต่เรื่องนี้ขอให้ความเห็นหน่อยนะครับว่า Apple จัดการเรื่องนี้ได้ดีสุดแล้ว App ราคาถูกน่าซื้อ
BB ห่วยมาก ใครคิดจะซื้อ APP ใน BB ต้องระวังเรื่องราคา บางตัวนี่เหมือนกะเอาไว้หลอกเอาตังคนคลิกผิดเลย จะแพงไปไหน ถ้าคนไม่คลิกผิดซื้อเข้าไปนี่ก็คงขายไม่ได้
ส่วน Windows Mobile เคยใช้มา 3 เครื่องครับ ห่วยสิ้นดี ไม่เอาอีกแล้ว ขนาด HTC HD2 ยังต้อง restart วันละ 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำ แฮงค์บ่อย BB กับ iPhone นี่ เยี่ยมครับ ส่วน Android ไม่เคยใช้
-Cloud computing อันนี้ผมว่า concept นี้ จะหาเงินจากคนทั่วไปได้น้อยนะครับ อันนี้ใครมีความเห็นยังไงช่วยบอกเล่าด้วยนะครับ ว่ามันมีประโยชน์ยังไง แล้วจะได้เงินจากอะไรครับ ผมเป็น DB programmer มา 10 ปี ยังคิดไม่ออกเลย ว่าทำไมถึงจำเป็น
+1 อันนี้แหละครับคือความท้าทาย
ตอนนี้ผมก็ยังคิดไม่ออกว่ามันจำเป็นอย่างไร
แล้วจะใช้หาเงินจากคนทั่วไปได้อย่างไร
อิอิ. ก็เหมือน Google ครับ
ตอนแรกก็ไม่มีใครคิดออก ว่าจะหาเงินจากบริกการ Search ได้อย่างไร
แต่ Google คิดออก
ปล.ดังนั้นถ้าคุณคิดออกว่า Cloud จะหาเงินจากคนทั่วไปได้อย่างไร
แล้วทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ คุณก็อาจจะรวยแบบ Google ก็ได้นะ
+1
ผมถึงบอกเพื่อนๆ ผมเสมอว่าตอนนี้น่ะ คนเก่งๆ ส่วนมากอยู่ที่ Google เพราะวิศวกร Google จะคิดถึงการตลอดด้วย User Friendly ด้วย รวมถึงการใช้งานด้วย
สิ่งที่ Google ทำมันเป็น Innovative มากๆ ส่วนผู้บริหารของ Microsoft ก็ไม่มีวิสัยทัศน์มากพอที่จะออกไปหากินห่างจากแหล่งหากินเดิมๆ ก็วนเวียนอยู่กับธุรกิจ OS และ Microsoft Office ไปเรื่อยๆ
iterator ขอทำความรุู้จักหน่อย ได้มั๊ยครับ มี facebook รึเปล่า
ผมกำลัง run บริษัทของตัวเองครับ www.chironsoftware.com ทำมาได้แปปนึงแล้ว Growth เยอะมากเลยนะครับ เพราะเริ่ม จากเล็กๆ 55
ความคิดเห็นคุณน่าสนใจเผื่อมีอะไรจะได้ถาม ผมมีเพื่อน จบ MBA จากเมืองนอกเยอะ แต่ไม่ค่อยช่วยได้เลย
FB singnoi@gmail.com
ผมคือคนที่ add คุณไปประมาณเดือนนึงแล้ว
ไว้เดี๋ยวส่งเมล์ไปแนะนำตัวอีกทีครับ
ไหนอ่าครับ ผมแอดคนไปเยอะเหมือนกัน นึกไม่ออกอะครับ
วิเคราะห์ได้โดนใจมากเลยครับ พฤติกรรมการบริโภคสาย IT เมื่อสมัยเริ่มส่วนมากคนที่บริโภคก็จะเป็นคนสาย IT ด้วยกันเอง แต่ต่อมาสินค้าก็ตกสู่มือผู้บริโภคซึ่งทำให้ลักษณะการบริโภคเป็นเป็นอย่างที่คุณ Iterator เขียนไว้ไม่มีผิด
{$user} was not an Imposter
+1
เห็นด้วยเสียยิ่งกว่าเห็นด้วยครับ
กำ 2 คนนี้อะไรกัน อิอิ ^^
ผมคิดว่าในมุมมองของเขาไม่ได้มองในแง่ MS จะโดนแซงนะครับ แต่เขามองว่าให้ MS รับมือดีๆ กับยุคใหม่ที่มันกำลังจะพ้นจาก "คอมพิวเตอร์ = PC (และ = Windows)" ไปแล้วต่างหาก ซึ่งก่อนจะมาถึงยุค PC มันก็ผ่านมาหลายยุคสมัยตั้งแต่คอมหลอดสูญญากาศเครื่องใหญ่โต จนถึงพวกเมนเฟรมที่แชร์กันใช้ สมัยนั้นก็คงนึกกันไม่ถึงว่าต่อมาเราจะมี PC ที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันผู้คนมากถึงขนาดนี้ (และแน่นอน เพราะสิ่งนี้ทำให้ MS รวยขึ้นมาจาก Windows)
ยุคถัดจาก PC มันคือคอมพิวเตอร์ที่ติดตัวเราไปในทุกที่ อย่างที่ข่าวว่ามันคือเป็นอุปกรณ์ฝังตัว ซึ่งอีกหน่อยมันน่าจะเป็นสิ่งที่แนบเนียนไปกับชีวิตเรา มากกว่า tablet หรือมือถือตอนนี้มาก ผมเองก็จินตนาการว่าเราอาจมี wall สาธารณะที่เป็นจอภาพสัมผัส แค่เดินเข้าไปใช้ มันจะดึงข้อมูลของเราออกมาจาก cloud มาใช้งานได้ทันที อะไรแบบนี้
อีกหน่อย Windows (หรือแม้แต่ OS X) ที่อยู่บน PC รวมถึงตัว PC เองอาจจะล้าสมัยในที่สุด ถ้า MS ยังอยากมีที่ยืนได้ในอนาคต อาจจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการทำ OS บนพวก embedded ยุคหน้า เอาอย่าง iOS หรือ android (ที่กำลังมีคนเอาไปใส่เครื่องครัว) แม้แต่ webOS (ที่ hp กำลังเอาไปยัดใส่ในทุกสิ่ง) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ยุคหน้ากำลังจะมาแล้วแน่ๆ
แต่ผมเชื่อว่า MS มีอะไรดีๆ ใน lab เยอะแยะเลยล่ะที่เป็นแนวทางของคอมพิวเตอร์ยุคหน้า แต่ก็เป็นเสือหลับทำไว้ดูเอง ไม่กล้าปล่อยออกมาให้ได้ตื่นเต้นกันเลย
ส่วนตัวผมเชื่อว่า
ในยุคอนาคต คอมพิวเตอร์พกพา จะอารมณ์เหมือนๆกับ PC ที่เราใช้ทุกนี้นี่แหละครับ
จอภาพอาจจะเป็นแว่นตา หรืออาจจะมีทั่วไปบนผนัง แต่สมรรถภาพ+สิ่งที่ทำได้+รูปลักษณ์ ก็คงไม่ต่างกับ PC ที่เรากำลังใช้
เหมือนที่ตอนนี้มือถือก็ไม่ได้ต่างกับ Windows98 นัก
แค่จอภาพเล็กกว่า+เน้นเครือข่าย Server มากกว่าที่จะ StandAlone
พูดกันตรงๆคือผมว่า Embed ยุคหน้า ควรจะมีสมรรถนะเท่า PC ยุคนี้แหงๆ
ประมาณว่าลง Windows 7 ได้บนมือถือ แล้วเป็นจอโฮโลแกรม
ตอนนี้สิ่งที่ีผมมองเห็นในไมโครซอฟท์คือเขาเน้นขายซอฟท์แวร์มากกว่าที่จะพัฒนานวัตกรรมรึเปล่า มุมมองของผมในไทยสายตาที่ผมมองเห็นไมโครซอฟท์มันเป็นอย่างนี้จริงๆ
ในสายตาผม ผมเห็นไมโครซอฟท์เน้นไปที่ "นวัตกรรมเพื่อการพัฒนานวัตกรรม" นะครับ
มันอาจไม่ใช่หน้าที่ของไมโครซอฟท์ที่จะต้องมานั่งพัฒนานวัตกรรมเอง
แต่สร้าง เครื่องมือ เพื่อให้คนเข้ามาพัฒนา นวัตกรรม ใน พื้นที่ ของไมโครซอฟท์
เพื่อการนั้นการออกแบบ การทำสิ่งที่จะเสถียร การทำให้ของที่ตัวเองเสนอกินส่วนแบ่งตลาด สำคัญมากกว่าการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆออกมา
สังเกตคำว่า FrameWork ที่ .NET ใช้
ชื่อมันพยายามสื่อต่างออกไปจาก Java ที่เรียกตัวเองว่าเป็น Virtual Machine
สะดุดกะคำว่า พัฒนานวัตกรรม ตอนแรกอ่านผิดเป็น พัฒนาน+วัตกรรม
พัฒนาน นี่นึกว่ามาจาก พัฒนา + นาน
ผมตระหนักถึงเรื่องเดียวกันนี้เมื่อเริ่มใช้ iPad ครับ แม้จะยังไม่ตอบโจทย์ที่คาดหวัง 100% แต่ก็ชัดเจนในแง่การขยายตัวของกลุ่มผู้ใช้ใหม่ๆ เช่นคุณแม่ กับญาติผู้ใหญ่หลายๆท่านที่ได้ลองใช้ หากเป็น Netbook ท่านเหล่านี้คงไม่คิดจะขอสัมผัสด้วยซ้ำไป นี่ไม่รวมถึงลูกสาววัย 3 ขวบที่เรียกไอแพดๆชัดแจ๋ว เพราะจะขอเล่นเกมส์นะ
ถ้าไม่มองกันที่อุปกรณ์ประเภท โทรศัพท์มือถือ หรือแท๊ปเบล็ท ลองมองดูอะไรที่อยู่รอบ ๆ ตัว เรากำลังจะมี TV ที่เป็น Internet-Connected (เช่น Google TV) เรามีเครื่องเสียงที่สามารถฟัง Internet Radio ได้ ในอนาคตอาจจะซื้อขายเพลงผ่านอินเตอร์เนตได้ (หรือว่าได้แล้ว) โดยไม่ต้องใช้ PC
ในรถ เรามี อุปกรณ์ GPS ที่ดึงข้อมูลแผนที่ผ่าน Mobile Network ได้แล้ว (หรือยังหว่า ? ไม่มั่นใจ) วิทยุในรถก็เชื่อมต่อได้
เดินถนนก็ไม่ต้องพูดถึง ทั้งโทรศัพท์ ทั้งแท๊ปเบล็ท ก็รู้ ๆ กันอยู่
Service ทั้งหมด เหมือนลอยอยู่ในอากาศ เหมือนก้อนเมฆที่ล่องลอยอยู่บนฟ้า แล้วอุปกรณ์พวกนี้ก็ดึงข้อมูลจากกลุ่มเมฆลงมา
แล้วก็ ... เอา PC กลับไปไว้ที่ห้องทำงานเหมือนเดิม ไม่ใช่มีมันทุกห้อง ทุกที่ทุกเวลา อย่างที่เป็นอยู่
... แต่ผมว่า ผมชอบว่าที่ฟ้าปลอดโปร่ง มีเมฆน้อย มากกว่ามีเมฆมาก ฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ นะ ...
ปล. แต่ว่า ผมก็นึกไม่ออกนะว่า Internet-Connected Microwave หรือ Fridge เนี่ยมันมีข้อดีตรงไหนนะ ... จะให้สั่งอุ่นอาหารจากระยะไกลคงไม่เวิร์คกระมัง ...
ในอนาคตมันอาจไม่ใช่แค่ Internet-Connected Microwave หรือ Fridge น่ะสิครับ
อาจจะกลายเป็นเครื่องอะไรก็ไม่รู้ ใหญ่ๆ เครื่องเดียว จัดเก็บอาหารอัตโนมัติ ผักเก็บไว้ด้านล่าง เนื้อเก็บไว้ช่องแข็ง
มีกล่องข้างตัวเป็นเครื่องทำอาหาร เวฟได้ อบได้ ย่างได้ นึ่งได้ แล้วดึง [ข้อมูลการให้ความร้อนกับวัตถุดิบ] จากอินเตอร์เน็ต (และก็จะมีคนเขียนโปรแกรมสูตรอาหารขาย)
แล้วมีช่องที่พอใส่อาหารเข้าไปก็จะถ่ายภาพ แล้วสามารถวิเคราะห์แคลอรี่กับระยะเวลาที่อาหารจานนั้นจะเสียได้
นิยายไซไฟมีอะไรแนวนี้เยอะอยู่นะครับ
ที่น่ากลัวอีกอย่างคือ อนาคต อาจจะมีขยะอิเล็กโทรนิคส์ล้นโลก เพราะว่า มันจะกลายเป็นทุกอย่างเชื่อมกับ เน็ทเวิร์คหมด แล้วอุปกรณ์ประเภทที่มันเชื่อมต่อกับอะไรเทือก ๆ นี้มีแววว่าจะได้อัพเกรดบ่อยมาก
ส่วนตัวยผมไม่เชื่อว่า อนาคตจะเป็นก้อนเมฆแบบสุดโต่ง คือ ... แบบที่เรียกได้ว่า อะไรก็ประมวลผลบนเมฆหมด (นึกถึงเวลาฟังเพลงแล้วเน็ทเวิร์คต้องส่ง uncompressed PCM ผ่านทางเน็ทเวิร์ค ... แค่คิดก็สยองแล้ว) แล้วตัวอุปกรณ์ก็แค่แสดงผล มันจะต้องมีกลไกลบางอย่างเพื่อที่จะลดปริมาณข้อมูลที่ส่งไปกลับระหว่างเน็ทเวิร์ค (ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้น่ะแหละ) ดังนั้นตัวอุปกรณ์ปลายทางจะต้องมีความสามารถในการประมวลผลบางอย่างเพื่อที่จะแสดงผล ไม่ใช่เหมือนเด็กที่ต้องป้อนข้าว(ว่างั้นเถอะ) ดังนั้นมันก็มีแววว่าอุปกรณ์ปลายทางจะต้องได้รับการอัพเกรดอยู่เรื่อย ๆ มิเช่นนั้นก็ไม่อาจทันกับตัวก้อนเมฆที่อาจจะอัพเกรดได้ตลอดเวลา ก็เลยเป็นสาเหตุของสิ่งที่คิดข้างบนน่ะแหละ
อันนี้ซิน่ากลัวของแท้ แค่นี้ก็มะเร็งรายล้อมรอบตัวแล้ว ส่วนนี้ Nokia ทำได้ดี ขาดแค่ SW มันห่วยเกิ้น
+1 เห็นด้วยครับ
ทุกวันนี้ผมยังไม่ลงทุนกัน Mobile Device เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้จบที่ตรงนี้ ก็เลยใช้ Computer เข้า Network ไปก่อน
แต่ผมคิดว่าแนวโน้มจะเน้นไปทาง Cloud Computing มากกว่า อะไรก็ได้ที่ access ได้ไม่ Device Lead แล้ว แต่เน้น Content Lead
ส่วนตัวคิดว่าอนาคตยังไงก็ต้องหากินจา่ก Cloud เพราะต่อไปคนก็จะไม่ค่อยยึดติดกับคอมที่บ้านแล้ว พกตัวเดียวคือมือถือแล้วไป access ได้ทุกที่มีข้อมูลทุกอย่างอยู่ในนั้น(มือถือกับ cloud อาจจะแยกกันไม่ออก) ทางเดียวที่เป็นได้คือราคามันต้องถูกลงทั้งมือถือและค่าเชื่อมต่อ ความครอบคลุม Platform independence บริษัทไอทีต่างๆ ก็ต้องหาพันธมิตรหลายด้านมากขึ้นในการให้บริการด้านข้อมูลและไอทีได้อย่างครบวงจร
น่าสนใจมาก ถ้าคิดว่าอนาคตเทคโนโลยีพัฒนาไปเรื่อยๆ ถึงจุดๆหนึ่ง
อุปกรณ์อย่างเช่นมือถือ จะสามารถใช้แทนพีซีได้
พกพาไปได้ทุกที่ ติดต่อกับเน็ตเวิร์กได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
พอกลับสำนักงานหรือบ้านก็แค่เสียบเข้ากับสถานีลักษณะเหมือนแท่นชาร์จ
สามารถแสดงผลผ่านหน้าจอขนาดใหญ่และคีย์บอร์ดขนาดใหญ่ได้เลย
ส่วนผมขอรอให้พ้นปี 2012 ไปก่อนครับ
...... โอ หัวข้อนี้อ่านมันสสสสส์ จัง ผมชอบจินตนการนะครับ สนุกจริงๆ
ความเห็นส่วนตัว อนาคตคงจะเหมือนๆกับ สตาร์เทรค + ไอร่อนแมน มั้ง?? ผมชอบแนวนั้นนะ
ยุคหลังพีซี หมายถึง ยุคหลังน้ำท่วมโลกที่ระบบ infrastructure ทั้งหมดใช้การไม่ได้รึป่าวครับ ^^
ยุคนั้นระบบพื้นฐานต่างๆอาจไม่ได้ตั้งอยู่บนดินอีกต่อไป