Dr. Hermann Hauser ชาวออสเตรีย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ARM บอกว่าธุรกิจไมโครโพรเซสเซอร์ของ Intel จะไปไม่รอด โดยให้เหตุผลว่า ยุคถัดไปจะเป็นยุคของอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่ก็ไม่ใช่เพราะ Intel จะไม่สามารถผลิต Atom ที่ดีเท่า ARM ได้ แต่เป็นเพราะวิธีการทำธุรกิจของ Intel เนื่องจากผู้ผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่ซื้อไมโครโพรเซสเซอร์ ดังนั้นการขายไมโครโพรเซสเซอร์จึงเป็นวิธีที่ผิด ผู้ผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่ซื้อสิทธิในการใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ มันจึงไม่ใช่การแข่งขันระหว่าง ARM กับ Intel แต่เป็นระหว่าง Intel กับบริษัทผลิตอุปกรณ์จากสารกึ่งตัวนำทั่วโลก
Christian Heidarson นักวิเคราะห์จาก Gartner ก็มีความเห็นในทำนองเดียวกับ Dr. Hauser ว่ารูปแบบการทำธุรกิจของ Intel จะไม่สามารถใช้ได้ต่อไป โดยกล่าวว่าสิ่งที่จะทำลาย Intel ไม่ใช่ ARM แต่เป็นผู้ผลิตที่ทำธุรกิจในแนวตั้ง เช่น Apple ที่ทำทุกอย่างเอง ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบหน่วยประมวลผล และ Intel จะประสบปัญหาอย่างหนักถ้าหากลูกค้ารายใหญ่ของพวกเค้า เช่น HP ทำตามแบบ Apple ด้วยการซื้อสิทธิการผลิต ARM
ที่มา - Tech Europe
Comments
ยังเหลือ Google ลูกค้ารายใหญ่อันดับต้นๆของโลก
ถ้า cloud แพร่หลาย ก็ไม่ต้องสน platform ฉะนั้นใช้ device อะไรก็ได้ที่ access cloud ได้เป็นพอ
ตายในตลาดโมบายหรือตายจากโลกนี้?
แต่ได้ข่าวว่า AMD จะขายสิทธิ์ในการผลิตบวกพิมพ์เขียวต้นแบบเหมือนกันนี้หว่า bobcat มั้ง
กาลครั้งหนึ่งประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว โลก Desktop เต็มไปด้วย CPU ที่หลากหลาย x86, POWER, SPARC, ฯลฯ ผู้ผลิตยิ่งมากกว่านั้น บริษัทใหญ่ๆ (Fujitsu, Motorola, IBM) ล้วนออกแบบ CPU ด้วยตัวเอง (แม้จะใช้สถาปัตยกรรมจากคนอื่นเพื่อให้ใช้ Compiler ร่วมกันได้)
ปรากฏว่าอินเทลเข้ามาในตลาดด้วยชิป x86 ราคาถูก (ประสิทธิภาพแย่?) แต่เป็นสินค้า commodity หาซื้อได้ง่าย ถอดเปลี่ยนไปมากับผู้ผลิตรายอื่นได้ (AMD, Cyrix, Winchip, ...) ปรากฏว่า x86 กินตลาดอย่างรวดเร็วด้วยราคาที่ต่ำกว่า แม้จะมีข้อครหาว่าประสิทธิภาพแย่, ไม่เสถียร ฯลฯ แต่ราคาชนะทุกอย่าง และอินเทลก็กินตลาด 90% ของ x86 ไป
ผมไม่แน่ใจว่าอินเทลจะชนะหรือไม่นะ แต่ผมมองว่าในระยะยาวธุรกิจแนวตั้งไม่น่าจะกินตลาดได้มากขนาดนั้น โดยเฉพาะเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มนิ่ง ไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลงมันมากนัก ทุกคนจะอยู่กับต้นทุนที่ต้องเค้นให้ต่ำที่สุด การพยายามทำ vertical integration จะทำให้หน่วยผลิตไม่มากพอจนไม่สามารถแข่งขันในแง่ของต้นทุนได้
อย่างชิป ARM เองผมว่าสุดท้ายแล้วตลาดก็จะตกไปอยู่ในมือผู้ผลิตจำนวนหนึ่ง (Qualcomm, TI, NVIDIA) แล้วผู้ผลิตโทรศัพท์ทั้งหมด ก็ต้องไปเลืิอกจากผู้ผลิตที่มี
lewcpe.com, @wasonliw
ฐานความรู้แน่นดีครับ ขอบคุณที่แบ่งปัน
+1 ให้ความรู้ดีครับ
That is the way things are.
ผมมองว่า x86 ยังไม่เป็น commodity จริง เพราะแต่ละเจ้าก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป เช่น การใช้พลังงาน ประสิทธิภาพ ทำให้สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนจากเจ้าหนึ่งไปอีกเจ้าหนึ่งได้จริง แต่ถ้าแบบ ARM ไปซื้อจากเจ้าไหนก็เหมือนกัน เพราะว่ามาจากแบบเดียวกันเลย ทำให้ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบ
ในยุคหนึ่ง x86 ในถอดเสียบกันได้เลยนะครับ ถอด Intel เอา AMD มาวางแทนลงไปได้เลย
ในยุคนี้เองระดับความ commodity ก็ยกระดับขึ้นมาเป็นระดับ board/bus เอา mainboard วางแทนกันลงไปได้ SATA, USB, PCI มันถอดใส่กันได้หมด ลงวินโดวส์ครอบลงไป device ใช้ได้ตามที่คาดหวัง ซีพียูอะไร เมนบอร์ดอะไรข้างล่างเราก็ไม่ต้องสนใจแล้ว
lewcpe.com, @wasonliw
แต่ถ้าถอดเปลี่ยน ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะใช้พลังงานเหมือนเดิม ประสิทธิภาพเหมือนเดิม (เหมือนเดิม = ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ)
ในยุคของการเติบโต (386-486) ผมว่ามันขาดนัยสำคัญจริงๆ นะ AMD ร้อนกว่านิดหน่อย ถูกกว่าเยอะ รอบตัวผมเห็น AMD เพียบเลย
เพิ่งมาตายเอาช่วง Pentium ซึ่งตอนนั้นคือตลาด CPU กินกันเอง ส่วนพวก Vertical Integration นี่ตายไปก่อนแล้วทั้ง DEC, SGI, ช่วงนั้นแอปเปิลเองก็ร่อแร่ (แถมตอนนั้นแอปเปิลเองก็ไม่ได้ vertical จริง ต้องพึ่ง IBM/Motorola อยู่ดี)
lewcpe.com, @wasonliw
สมัย 486 ที่บ้านผมก็ใช้ AMD ครับ ซึ่งเรื่องพลังงาน ความร้อนก็ไม่ใช่ประเด็นจริงๆ (แต่ถ้าผมมีคอมหลายๆ เครื่องก็อาจจะต้องคิดเรื่องค่าไฟด้วยเหมือนกัน)
แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ มันก็มีข้อจำกัดอยู่ที่แบตเตอรี่ ถ้ามีของถูกกว่าแต่ใช้พลังงานมากกว่า ก็ไม่สามารถหลับตาเลือกของถูกได้แล้ว
ยุค Pentium มันต้อง Cyrix ซิครับ :D
iPAtS
ไม่ตายแต่น่าจะอยู่ตัวมากกว่า
คิดว่า intel ขยายตลาดได้ยากขึ้น
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ตัว x86 เอง Intel ก็ถือสิทธิ์ แล้วก็อนุญาตให้คนอื่นเอาไปผลิตด้วยหนิครับ อาจจะต่างกันตรงที่ Intel ถือ instruction set แต่ ARM ถือ architecture แต่ถ้าเทียบให้ ARM = Intel ก็จะได้ (Qualcomm, Samsung, etc.) = (Intel, AMD, VIA, etc.) มันก็พอจะดูคล้ายๆ กันอยู่นา
iPAtS
มันคล้ายๆครับ แต่มันต่างกันเยอะในแง่ต้นทุน
ARM นั้นคุณจะได้ทั้งคำสั่งและพิมพ์เขียวมาเลยคุณมาก็ไปจ้างโรงงานผลิตได้เลย
แต่กับ x86 นั้นคุณจะได้แต่คำสั่งอย่างเดียว คุณต้องออกแบบ CPU ให้ทำงานได้อย่างถูกต้องเอง
ซึ่งอย่างที่รู้ x86 "จริงๆ" มันช้า จะโดนแปลกเป็นคำสั่งอื่นที่เร็วกว่าก่อนทำงานหมดแล้ว
รวมไปถึง MMX,SSE ฯลฯ ซึ่งต้องวิจัยเองและ Contact กับผู้พัฒนา Software ให้ไปทางเดียวกันด้วย
สำหรับผม
ARM ก็คือ ARM จริงๆ
แต่ x86 ณ ตอนนี้คือ x86 Compatible
I need healing.
มีบริษัทจำนวนมากขายพิมพ์เขียว x86 ครับ เช่น PA Semi ที่แอปเปิลซื้อไปก่อนหน้านี้ก็มีขายพิมพ์เขียวเหมือนกัน แต่ชุดคำสั่งเสริมอาจจะไม่ครบ
lewcpe.com, @wasonliw
พูดไปเรื่อยละ ถ้า Intel ไปไม่รอด AMD ก็ไปไม่รอดเหมือนกัน สรุปคือ อยู่รอดทั้ง 3 แต่สัดส่วนตลาดต่างกันต่างหาก และหาก Intel, AMD ร่วมมือกันอัด ARM ย่อมส่งผลให้เห็นสิ่งที่ไม่คาดหมายแน่นอน
ตลาด desktop, notebook ยังมีอีกเยอะแยอะ
อีกอย่าง margin สูงกว่าด้วย
ไม่ถึงขนาดนั้นมั้ง อินเทลไม่ธรรมดานะ
ต้องดูกันต่อไป
ถ้า intel อยู่เฉยๆก็เป็นได้ว่าไม่รอด แต่บริษัทระดับนี้ ทุนขนาดนี้ คงไม่ได้อยู่เฉยๆรอวันตายมั้งครับ วันดีคืนดีอินเทลอาจจะลุกขึ้นมาทำอุปกรณ์เองก็ได้
"ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน"
intel ก็ทำเทคโนโลยีหลายด้าน เช่น Light Peak คงไม่มีวันไปไม่รอดหรอกมั้ง แต่ก็ไม่แน่ครับ
คิดว่า INTEL คงรู้ตัวแล้วเหมือนกันนะครับดูจากท่าทีหลังๆมานี่ เนื่องด้วยอุปกรณ์พกพาปัจจัยสำคัญมันไปตกอยู่ที่ชั่วโมงการใช้งานของแบตเตอรี่ การออปติไมซ์ที่ดีคือความร่วมมือกันของการจัดการพลังงานของโพรเซสเซอร์กับระบบปฏิบัติการ การที่ Apple ตัดสินใจผนวกการออกแบบ ARM มาด้วยเลยทำให้การจัดการพลังงานทำได้ดี ที่ผ่านมา INTEL ออกแบบให้เข้ากับ Windows (อาณาจักรปิด WinTEL) ซึ่งไม่ได้มีประเด็นเรื่องแบตเป็นจุดเป็นจุดตายเพราะ N/B ก็ยังพก adapter ไปด้วยบ่อยๆ สถานการณ์ตอนนี้เปลี่ยนไปมากแล้วเหมือนกัน อาจจะเรียกว่าขยับตัวช้าไปมาก
ไว้ ARM เล่น Crysis ได้ละกันนะ...
ATOM ในไทยหาซื้อยาก ประหยัดไฟดี