ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้ ได้ตัดสินว่า ข้อกฎหมายที่รัฐบาลใช้ในการจับกุมผู้ปล่อย "ข่าวลือ" บนอินเทอร์เน็ต ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
กฎหมายดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้านโทรคมนาคม กำหนดโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกิน 50 ล้านวอน (ประมาณ 1.3 ล้านบาท) แก่ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ อันส่งผลเสียหายต่อผลประโยชน์สาธารณะ
ศาลได้ให้เหตุผลไว้ว่า คำว่าผลประโยชน์สาธารณะนั้น เป็นคำที่กำกวม ทำให้การตีความสามารถทำได้หลากหลาย และประชาชนทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ว่าเส้นแบ่งที่ชัดเจนนั้นอยู่ตรงไหน ในขณะที่เสรีภาพในการแสดงออกนั้นได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
ที่ผ่านมา หนึ่งในผู้ที่โดนข้อหานี้คือบล็อกเกอร์ชื่อ Minerva จากการที่เขาเขียนในบล็อกว่ารัฐบาลเกาหลีใต้สั่งให้ธนาคารท้องถิ่นระงับการซื้อดอลลาร์สหรัฐ โดย Minerva เป็นบล็อกเกอร์ด้านเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงจากการที่ทำนายอย่างถูกต้องว่าบริษัทวาณิชธนกิจ Lehman Brothers ของสหรัฐจะล้ม ในคดีของ Minerva นั้นศาลได้ตัดสินยกฟ้องไปแล้ว เนื่องจากไม่สามารถสรุปได้ว่า Minerva รับรู้อยู่แล้วว่าข้อมูลนั้นเป็นเท็จ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้พยายามใช้ข้อหานี้ในการปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วยกับผลการสอบสวนกรณีเรือรบเกาหลีใต้จมเมื่อต้นปีที่ผ่านมาด้วย
ที่มา – The Sydney Morning Herald, Financial Times
Comments
บ้านเราก็มีคำว่า "ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี"
pittaya.com
ถ้าเป็นที่ไทยจะชอบแบบกำกวมมากกว่า จะได้ตีความตามอารมณ์ขณะนั้น
+1000000
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
+1
ตีเป็นตัวเลข กลับหน้ากลับหลัง กลางเดือนต้นเดือน แทง "เสีย" แทง "เสีย"
+10
แต่ต่อให้เขียนไม่กำกวมก็ยังมีตะแบงไปใช้พจนานุกรมได้อีก
+100
+1
ไม่ไหวจะ + ให้กับทุกความเห็นใน part นี้ เอาเป็นว่า
+ให้หมดใจเลยแล้วกีันครับ
ลงข่าวได้เหมาะเจาะกับช่วงนี้มาก
ถ้าหย่อนยานเกินไปมันก็ไม่ได้ มันต้องเข้าใจกันทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ควบคุมว่าควรควบคุมแค่ไหน
ปัญหาไม่ใช่ความหย่อนยานในการบังคับใช้กฏหมาย แต่เป็นปัญหาการออกกฏหมายคลุมเครือ ให้อำนาจแบบครอบจักรวาล ทำให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิ์