น่าจะยังพอจำกันได้ถึงกลุ่ม Anonymous ที่เคยใช้เทคนิค DDoS โจมตีเว็บไซต์อย่าง Paypal และ Mastercard เพื่อ "แก้แค้น" ให้ Wikileaks นะครับ
มาวันนี้ตำรวจอังกฤษได้จับกุมชายห้าคนที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 26 ปี เพราะเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Anonymous ซึ่งกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำผิดด้วยคอมพิวเตอร์
กลุ่ม Anonymous เคยออกแถลงการณ์บอกว่าพวกตนไม่ใช่แฮ็กเกอร์ แต่เป็นแค่ "พลเมืองเน็ต" ที่รวมตัวกันเพราะทนความอยุติธรรมไม่ได้ เคยมีการถกเถียงกันว่าการทำ DDoS จะเรียกว่าเป็นอารยะขัดขืนได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับที่เคยมีการรุมเข้าไปนั่งในร้านอาหารจนเต็มเพื่อประท้วงเรื่องการจ้างงาน
ที่มา - BBC
Comments
DDoS จะเรียกว่าเป็นอารยะขัดขืนได้หรือไม่?
เรียกไม่ได้ ไปนั่งร้านอาหารเต็มถ้าสั่งนั่นสั่งนี่ มันก็โอนิ ถ้าไม่ัสั่งร้านก็ไล่ออก หมดเรื่องกันไป
ddos ถ้าจะเอาไปเทียบ ประมาณเข้า web เยอะ จน service ไม่สามารถรองรับได้ มันไม่ได้เข้าจริงๆ ด้วย Browser ที่ใช้นิ จะบอกว่า ddos ด้วยเปิด tab ไป 10,000 หน้า? รึก็เปล่า ก็ใช้่ program request flood เอาทั้งนั้น
ไอ้เรื่องหาเหตุผลให้ตัวเองถูกอ่ะฉลาดกันนัก คิดได้กันบ้างไหมน่ะ ว่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนมันไม่ดี
Ton-Or
+1
DDoS มันเป็น offense การจู่โจมชาวบ้านมันจะเป็นอารยะขัดขืนได้ไง
+1
อารยะขัดขืนนั้น อย่างต้นฉบับของท่านมหาตมคานธีนั้น ท่านทำผิดเพื่อประท้วงต่อต้านกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม แต่ท่านยอมให้ผู้ใช้อำนาจรัฐเข้ามาจับกุมนะครับ
เดี่ยวนี้ อารยะขัดขืน กลายเป็นหมายถึง กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายมากกว่า ไม่รับผิดชอบ ไม่ยอมรับบทลงโทษ
+1
ผมเห็นด้วยว่า DDoS ในหลายกรณีเรียกว่าเป็นอารยะขัดขืนไม่ได้ เช่น กรณีการโจมตีประเทศเอสโตเนีย เป็นต้น แต่ในบางกรณีมันก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกของการแสดงออกถึงการไม่ยอมรับอะไรบางอย่าง เช่นตอนที่เว็บไซต์ของ Lufthansa ถูกคนนัดกันเรียกดูจนล่ม เพราะสายการบินยอมให้เครื่องบินตัวเองถูกใช้ในการเนรเทศผู้ขอลี้ภัย