Tags:
Node Thumbnail

ข่าวหมายเลข IPv4 หมดโลกอาจจะสร้างความตกใจให้กับหลายๆ คนว่าวันพรุ่งนี้เราจะใช้งานอินเทอร์เน็ตกันไม่ได้หรืออย่างไร เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้

แนะนำโปรโตคอล IP

ก่อนยุคอินเทอร์เน็ต โลกของเรามีเครือข่ายหลากหลายรูปแบบที่ล้วนเชื่อมต่อกันไม่ได้ เช่น IPX, Nowell Netware (Xerox Network Systems), หรือแอปเปิลเองก็มีเครือข่าย Appletalk ความพยายามที่จะเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเหล่านี้เข้าด้วยกันหลายต่อหลายครั้งล้วนล้มเหลว จนกระทั่งมกราคมปี 1980 ผลของโครงการ ARPANet ก็เริ่มออกมาเป็นรูปธรรม เมื่อทีมงานสามารถออกมาตรฐาน RFC 760 (ภายหลังปรับปรุงเพิ่มเป็น RFC 791 ออกมาอธิบายถึงการทำงานของโปรโตคอลไอพีหรือ Internet Protocol ออกมาเป็นผลสำเร็จ จากโครงการที่ทดลองในมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่ง เครือข่ายไอพีเริ่มได้รับความนิยมจากบริษัทภายนอกอย่างรวดเร็ว

โปรโตคอลไอพีมีไว้เพื่อการส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ก็ได้ในโลก มันเปรียบเหมือนกับที่อยู่ที่เราใช้ส่งจดหมายที่เราจะต้องระบุตั้งแต่ ประเทศ, จังหวัด, ตำบล, ถนน, ไล่ลงมาจนถึงเลขที่บ้าน เพื่อให้ไปรษณีย์สามารถจดหมายไปถึงปลายทางอย่างถูกต้อง แต่หมายเลขไอพีนั้นถูกกำหนดไว้ด้วยเลขฐาน 2 จำนวน 32 หลัก ซึ่งมักเขียนเป็นสี่ชุด เช่น 203.150.228.224 โดยหมายเลขเหล่านี้จะไล่จากเลขด้านต้น เช่น 203 อาจะหมายถึงหมายเลขไอพีนี้อยู่ในประเทศไทย 203.150 หมายถึงหมายเลขนี้เป็นของบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 203.150.228 อาจจะระบุห้องคอมพิวเตอร์นั้นวางอยู่ และเมื่อหมายเลขครบถ้วนสี่ชุดเราก็จะสามารถบอกได้ว่าเครื่องปลายทางของเราอยู่ที่ไหนในโลกได้จริง

Vint Cerf ผู้จัดการโครงการ ARPANet ในยุคนั้น (ปัจจุบันทำงานอยู่กูเกิล) ระบุว่า IPv4 ถูกออกแบบมาเพื่อ "ทดลอง" การเชื่อมต่อเท่านั้น โดยมันควรถูกออกแบบใหม่ก่อนจะใช้งานจริง ทำให้การกำหนดหมายเลขนั้นจึงใช้เลขเพียง 32 บิต ซึ่งสามารถใช้งานได้สูงสุดประมาณ 4 พันล้านเลขหมายแต่ในทางปฎิบัติจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่านี้มาก เพราะ การแจกจ่ายเลขนั้นขั้นต่ำสุดคือการแจกจ่าย 256 เลขหมาย เช่นบริษัทหนึ่งอาจจะต้องการหมายเลขไอพีของตัวเองก็จะสามารถไปขอใช้งานได้ โดยได้รับหมายเลขเป็นชุดเช่น 203.150.228.xxx โดยเราจะสามารถใช้หมายเลขใดๆ ในกลุ่มนี้ก็ได้

การจัดสรรหมายเลขไอพี

alt="โลโก้ IANA"

หน่วยงานที่มีอำนาจในการแจกจ่ายหมายเลขไอพีนั้นคือ Internet Assigned Numbers Authority หรือ IANA โดย IANA นั้นไม่ได้จัดสรรหมายเลขไอพีให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยตรงแต่จัดสรรเป็นบล็อคขนาดใหญ่ (ประมาณ 16 ล้านเลขหมายต่อบล็อค) เพื่อจัดสรรไปยังภูมิภาคต่างๆ 5 ภูมิภาคทั่วโลก ที่เรียกว่า regional Internet registry (RIR) ได้แก่ AfriNIC (แอฟริกา), APNIC (เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, และออสเตรเลีย), ARIN (อเมริกาเหนือ), LACNIC (อเมริกาใต้), และ RIPE NCC (ยุโรป, และเอเชียตะวันตก)

alt="ภูมิภาคต่างๆ ของหน่วยงานจัดสรรหมายเลขไอพี"

หน่วยงาน RIR นั้นจะมีนโยบายในการแจกจ่ายไอพีให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันไป ในบรรดา RIR ทั้งหมด APNIC นั้นมีความต้องการหมายเลขไอพีเพิ่มเติมอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ ทำให้ IANA ต้องจ่ายบล็อคใหม่ๆ มาให้หลายต่อหลายครั้ง จนกระทั้งเหลือเพียง 5 บล็อคเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยตามข้อตกลงล่วงหน้าของเหล่า RIR ได้ระบุให้ 5 บล็อคสุดท้ายจะต้อง "หารเท่า" ไปยัง RIR ต่างๆ ทันที นั่นคือเครือข่าย 102 ส่งให้กับ AfriNIC, 103 ส่งให้ APNIC, 104 ส่งให้ ARIN, 179 ส่งให้ LACNIC, และ 185 ส่งให้ RIPE NCC

การกล่าวว่าหมายเลขไอพีหมดโลก นั้นคือเราไม่มีบล็อคขนาดใหญ่ ส่งมอบให้กับภูมิภาคต่างๆ อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม RIR ต่างๆ สามารถบริหารจัดการหมายเลขไอพีที่ตนมีเพื่อให้การแจกจ่ายหมายเลขไอพีเพียงพอต่อความต้องการไปได้อีกระยะหนึ่ง โดยคาดว่า APNIC จะหมดก่อนภายในหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า

ตอนต่อไปผมจะมาพูดถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ตามบ้านอย่างเราๆ ท่านๆ ต่อไป

Get latest news from Blognone

Comments

By: กึ่งยิงกึ่งผ่าน
iPhoneAndroid
on 4 February 2011 - 02:10 #256108
กึ่งยิงกึ่งผ่าน's picture

เพิ่มหลักขึ้นไปอีกหรือเปล่า เช่น ปัจจุบันเป็น xxx.xxx.xxx.xxx ก็จะเป็น XXX.xxx.xxx.xxx.xxx แหะๆๆๆ เดาเอาครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 February 2011 - 08:54 #256130 Reply to:256108
hisoft's picture

ไม่ใช่ครับ สมัย IPv4 จะเป็น ๓๒ บิต การเขียนปกติจะเขียนด้วยตัวเลขฐานสิบ แบ่งเป็นบล็อกละ ๘ บิต ทั้งหมด ๔ บล็อก คั่นด้วยมหัพภาค (. <- จุดธรรมดา เกิดอยากจะทวนวิชาภาษาไทย O_o) เช่น 192.168.0.1 ส่วน IPv6 จะเป็น ๑๒๘ บิตครับ ปกติจะเขียนด้วยตัวเลขฐานสิบหก แบ่งเป็นบล็อกละ ๑๖ บิต ทั้งหมด ๘ บล็อก แต่ละบล็อกคั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค (: <- Colon แหละครับ เขียนเอามัน) เช่น 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334 ทำให้ผมไม่เคยจำ IPv6 ได้เลยยกเว้น loopback IP (IPv4 เป็น 127.0.0.1 IPv6 เป็น 0:0:0:0:0:0:0:1 ย่อได้ ::1 ครับ)

By: กึ่งยิงกึ่งผ่าน
iPhoneAndroid
on 7 February 2011 - 16:53 #256913 Reply to:256130
กึ่งยิงกึ่งผ่าน's picture

ขอบคุณมากครับ 8)

By: kowito
Android
on 8 February 2011 - 10:27 #257093 Reply to:256130

ทวิภาค เพิ่งรู้จริงๆ แล้ว semi-colon ล่ะครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 8 February 2011 - 14:54 #257177 Reply to:257093
hisoft's picture

อัฒภาคครับ ^^

By: BTNOTTRUE
AndroidWindows
on 4 February 2011 - 07:07 #256109

เมื่อถึงวันที่ต้องเปลี่ยนเป็น IPv6 จริงๆ อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆจะมี Firmware ออกมาให้รึปล่าว

หรือต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่กันทั้งโลก ?

By: Bank14
ContributorAndroidRed HatWindows
on 4 February 2011 - 08:43 #256120 Reply to:256109

คงค่อย ๆ เปลี่ยนมั้งครับ เพราะตอนนี้อุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็รองรับ IPv6 กันแล้ว

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 4 February 2011 - 08:55 #256131 Reply to:256120
hisoft's picture

เท่าที่รู้ router ตามบ้านส่วนมากไม่รองรับนะครับ

By: thedesp
WriterAndroidWindows
on 4 February 2011 - 15:58 #256296 Reply to:256109
thedesp's picture

enterprise มี

consumer ไม่น่าจะมี

By: Mr.Bear
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 February 2011 - 07:30 #256112

correction: Novell not Nowell

By: pangza17
Symbian
on 4 February 2011 - 08:47 #256123
pangza17's picture

เรา็ก็จะได้ต้องใช้ IPv6 ละครับ

By: vodka7
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 4 February 2011 - 08:48 #256125
vodka7's picture

ถ้าต้องจำ ipv6 ขึ้นมา......ฝันร้ายชัดๆ

By: THXiLL
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 4 February 2011 - 09:02 #256133

อย่างนี้คงต้องหัดแบ่ง subnet IPv6 ไว้รอซะแล้วมั้ง? แค่ IPv4 ยังแอบงงอยู่เลย 555+

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 4 February 2011 - 09:09 #256138 Reply to:256133

ลืมๆ subnet แบบเก่าของ ipv4 ไปได้เลยครับ

ip มันมหาศาลจน assign ให้แต่ละ isp ได้ในระดับ /64
(2^64 = 18 ล้านล้านล้าน address)

เรียกได้ว่า assign ทีเดียวเอาไปแจกให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างในองค์กรได้เลย

By: wichate
Android
on 4 February 2011 - 09:07 #256136

ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่น่ะครับ

1.ถ้า modem เปลี่ยนไปใช้ IPV6 แล้วแจก DHCP ให้เครื่องคอม มันจะแจกเป็น V4 หรือ V6 ครับ

2.ผมคิดว่าอุปกรณ์ในบ้าน หรือใน Office ก็ใช้ IPV4 เหมือนเดิมใช่ใหมครับอันนี้ไม่เกี่ยวเพราะเป็น Private IP

By: vodka7
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 4 February 2011 - 11:51 #256218 Reply to:256136
vodka7's picture

ipv4 ที่จะหมดไป เป็น public ip ครับ

ถ้าสมมุติเราต่ออินเทอร์เน็ตด้วย adsl modem แล้วได้ public ip เป็น ipv6
เครือข่ายภายในเราก็ไม่จำเป็นต้องเป็น ipv6 ด้วยมั้งครับ (ถ้าในโมเด็มยังรองรับ ipv4 อยู่ด้วย)

เดาเอาครับ ยังไม่เคยใช้งานจริงๆเลย :)

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 4 February 2011 - 12:02 #256223 Reply to:256218

ถ้าเครือข่ายภายในเป็น v6 ด้วย เราก็ไม่ต้อง NAT แล้วสินะครับ


^
^
that's just my two cents.

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 4 February 2011 - 17:22 #256329 Reply to:256223
mr_tawan's picture

ไม่เกี่ยวครับ จะ vไหน ก็ต้อง NAT เพราะว่าสุดท้ายแล้ว IP ทีไ่ด้ Assign มาจะเป็นแค่ของตัว Gateway (เช่น Router) ตัวเดียวเท่านั้น


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: tontpong
Contributor
on 4 February 2011 - 17:49 #256336 Reply to:256329

ถ้าเข้าใจไม่ผิด.. หากอุปกรณ์รองรับ IPv6 เตมที่ ก้อคงไม่ต้อง NAT แล้วมั้ง ?? http://en.wikipedia.org/wiki/IPv6#Stateless_address_autoconfiguration_.28SLAAC.29

By: tontpong
Contributor
on 4 February 2011 - 17:24 #256331 Reply to:256136

.. Private IP เปนอะไรที่ควรโละมั่กๆ

By: NGFar
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 5 February 2011 - 03:13 #256432 Reply to:256331
NGFar's picture

คงไม่ได้ใช้ฮับแล้วสินะ

By: tontpong
Contributor
on 11 February 2011 - 00:42 #258081 Reply to:256432

ไมฤา.. ฮับเกี่ยวไงอ่ะ??

By: collection
iPhoneWindows PhoneWindows
on 4 February 2011 - 09:08 #256137

ตอนนี้ส่วนใหญ่ถ้าเป็นวินโดว์ตัวใหม่กับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ มันจะรัน IP ได้ทั้งสองชุดแต่ที่เร้าท์เตอร์ยังจับเป็น IPv4 อย่างเดียวเอง

By: Anjue
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 4 February 2011 - 09:11 #256139

ถ้าจำไม่ผิด IPv6 ไม่ต้องแบ่งก็ได้นะครับ เค้าประมาณว่าในพื้นที่ 1 ตารางเมตร มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ได้ 2000 ชั้น โดยคิดจากสัดส่วน IP กับ พื้นผิวโลก

By: mibtrex on 4 February 2011 - 12:40 #256230 Reply to:256139
mibtrex's picture

ถ้า 1 ตารางเมตรนั้นเป็นตึก ต่อไปก็มีสิทธิ์ไม่พอเหมือนกัน
มันต้องมีคนเอาไปใช้นอกโลกบ้างละนะ

ถึง ipv6 จะมีหมายเลขเยอะ ลองคิดถึง เราเตอร์ดูครับจะทำงานหนักขนาดไหน
มีตั้งหลายเส้นทางให้ตัดสินใจมากมาย

By: tontpong
Contributor
on 4 February 2011 - 17:44 #256335 Reply to:256230

ซักวันคงไม่พอจิงๆ แล.. โลกไอที อะไรๆ ที่ว่าเหลือเฟือ สุดท้ายไม่เคยพอซักอย่าง hdd 10 ปีก่อน .. tera นี่ไม่ค่อยนึกถึงเท่าไร พอยุคนี้ เริ่ม start ด้วย tera กันซะละ

IPv6 นี่จะอยู่นานเท่าไรนะ.. ตอนที่ออก เค้าว่าอยู่ได้นาน แต่มันก้อออกมานานแล้ว แล้วเดวพอ agent-based computing โต ก้อจะมี virtual node ที่ต้องใช้ IP อีกอื้อ physical node เอง ก้อไม่ใช่แค่ขยายขึ้นฟ้าลงดิน ขนาดยังเลกลง มี density สูงขึ้น

ปล. เมื่อ node เยอะขึ้น คงเลี่ยงไม่ได้ที่เราเตอร์จะต้องทำงานหนักขึ้น แต่อีกทางนึง.. IPv6 ที่ออกแบบมา ก้อ process routing ได้ง่ายขึ้นนะ

By: Not Available a...
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 5 February 2011 - 01:59 #256429 Reply to:256230
Not Available at this Moment's picture

แต่อย่าลืมว่ามันก็ยังมี 1 ตารางเมตร ที่เป็น ทะเลทราย ป่าดงดิบ ภูเขา หุบเหว มหาสมุทร ขั้วโลก อีกนะครับ ซึ่งคงเยอะกว่า 1 ตารางเมตรที่เป็นตึกอย่างเทียบกันไม้ได้เลยแหละ


ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)

By: pjgunner on 4 February 2011 - 09:41 #256151

v4 แล้วไป v6 แล้ว v5 หายไปไหน?

By: lew
FounderJusci&#039;s WriterMEconomicsAndroid
on 4 February 2011 - 09:55 #256162 Reply to:256151
lew's picture

v5 ออกแบบไปทำเรื่อง streaming ครับ สุดท้ายไม่ได้ใช้อะไร


lewcpe.com, @wasonliw

By: chantra1919 on 4 February 2011 - 09:44 #256153

แล้วอย่างนี้หลักสูตร Cert ต่างๆ ก็คงเปลี่ยนสินะ?

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 4 February 2011 - 10:49 #256189 Reply to:256153
Ford AntiTrust's picture

หลักสูตรเปลี่ยนมา ipv6 นานแล้วครับ น่าจะสัก 3-4 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนสนใจ ท่องๆ กันไปสอบ แต่ยังไม่ได้ใช้งานจริงจัง อย่าง cisco นี่ตัว ccna ก็มีให้สอบและอยู่ในเนื้อหามาสัก 4 ปีแล้วมั้ง

By: jazzbayer
iPhone
on 4 February 2011 - 09:54 #256161

วุ่นกันเลยเชียว

By: PiKO
ContributorAndroid
on 4 February 2011 - 11:20 #256203

หลักๆ ตอนแรก Local ก็คงเป็น IPv4 กันไปก่อนละครับ
ป.ล. ไม่อยากจำ hex 8 ชุด ToT


:: DigiKin8 ::

By: Taekung
Windows
on 4 February 2011 - 11:38 #256216

จำๆ..IP..5555..วุ่นกันหละทีนี้..อิอิ

By: NgOrXz
iPhoneAndroidWindows
on 4 February 2011 - 13:01 #256233
NgOrXz's picture

พวกที่ล้าหลังก็ต้องเตรียมเสียเงินกันยกใหญ่ บริษัทใหญ่ๆ เขาก็เปลี่ยนอุปกรณ์ทุกๆ สองปี สามปี ห้าปี เขาคงไม่เจอปัญหามากเมื่อเปลี่ยนเป็น IPv6

By: banky118
iPhone
on 4 February 2011 - 13:04 #256235
banky118's picture

ในความคิดผม ตอนนี้น่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะเริ่มรัน IPv4/IPv6 Dual Stack กันให้แพร่หลายมากกว่าเดิมแล้วนะ

เพราะตาม Gateway หลักตอนนี้อย่าง TRUE IIG (ยกเว้น CAT เห็นบอกว่าเตรียมแล้ว แต่ก็ยังไม่เริ่มให้ Peering) ก็เริ่ม Peering ISP เป็น IPv6 กันแล้ว ไม่ต้องพูดถึง Global Internet Transit ระดับ Tier1 หรือ Tier2 ตอนนี้ Peering IPv6 กันไปแล้วแทบทั้งนั้น เหลือแต่ ISP ปลายทางว่าจะเริ่มปล่อย IPv6 ไปหาผู้ใช้ตามบ้านเมื่อไหร่

By: banky118
iPhone
on 4 February 2011 - 13:11 #256237
banky118's picture

อ้อ พูดถึง Address IPv6 ผมชอบ Address ของ Facebook มาก แอบเท่จริงๆ

www.v6.facebook.com

2620:0:1:1cfe:face:b00c::3

By: HMage
AndroidWindows
on 4 February 2011 - 15:17 #256273 Reply to:256237

พอเป็นเลขฐาน 16 ก็มี IP สวยๆ ให้เล่นกัน

By: scuda on 4 February 2011 - 13:28 #256248

แล้วถ้าเป็นกรณีที่ว่า isp เป็น ipv6 และทั่วโลกก็เป็นแต่ในประเทศยังเป็น ipv4 อยู่ก็ให้ isp แปลงเป็น ipv4 ให้อย่างนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ไหมครับ

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 4 February 2011 - 14:17 #256262 Reply to:256248

ขอให้เปลี่ยนก่อนคนอื่นหรือตามคนเร็วๆ ก็แล้วกันครับ อย่าเหมือน 3G เลย


^
^
that's just my two cents.

By: tontpong
Contributor
on 4 February 2011 - 17:19 #256323 Reply to:256262

ช่าย.ย. ที่ช้า 3G เราก้อเสียโอกาสไปเยอะละ

ถ้า IPv6 ช้าอีก โอกาสที่เสียนี่ยิ่งกว่า 3G อีก ยากที่จะข้ามไปโลก ubiquitous computing

ด้วย behavior ของ ubiquitous computing master/slave อย่าง NAT คงทู่ซี้ใช้ได้มินาน hierarchy ของ network มัน dynamic มาก

เรื่องแรกที่ต้องทำก้อคือ global addressing อันนี้ยาก เพราะต้องทำให้เปนหนึ่งเดียวให้ได้

ถัดมาก้อเรื่อง routing .. อันนี้ง่ายขึ้นมาบ้าง เพราะเชิงเทคนิคใช้หลาย mode คู่กันไปได้ เชื่อว่าหลังใช้ IPv6 ซักพัก จะมีตัวใหม่ๆ เกิด เพื่อตอบ behavior แบบใหม่ๆ ใน network เช่น multicast หรือ local area computing (แม้ IPv6 support แล้ว แต่ยัง tune ได้อีก)

ใครที่อยู่สาย network ก้อเตรียมปวดหัวได้ คนที่ยังไม่รุจะไปทางไหน สายนี้ก้อน่าสนนะ เริ่มมีเรื่องใหม่ต้องทำ เดวคงต้องการคนเพิ่ม

แต่กลุ่มที่เปลี่ยนยาวๆ คงอยู่ที่ hub/carrier พอปรับ mode ก้อต้องปรับ equip+wiring กลุ่ม last-mile ปรับ addressing ได้ก้อจบ

By: pd2002 on 4 February 2011 - 22:26 #256382 Reply to:256262

ไม่ช้าหรอกครับ
เปลี่ยนไป v6 ไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ใหม่

By: sfalpha on 4 February 2011 - 16:13 #256301

IPv4 คุยกับ IPv6 โดยตรงไม่ได้นะ เช่น อีกคนมี IPv4 อย่างเดียว อีกคนมี IPv6 อย่างเดียว คุยกันโดนตรงไม่ได้ ข้างใดข้างหนึ่งต้องเป็น Dual Stack หรือผ่าน Proxy

ช่วงแรก ISP น่าจะให้บริการเป็น Dual Stack คือได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 ... ถ้า ISP ไม่มี Public IPv4 จ่ายอาจจะจ่าย Private IPv4 แล้ว NAT ให้ไปก่อน จนว่า Website ต่าง ๆ จะเป็น IPv6 หมด ค่อยเลิกให้บริการ IPv6 ... ดังนั้นถ้า application ไหนต้องการ Public IPv4 ... เดี้ยง

จริง ๆ CAT เปิด IPv6 แล้วนะแต่ยังไม่มี ISP ไหน สนใจ Peer (ซะงั้น) แถมบางทีใช้ผ่าน Tunnel เร็วกว่า :P

By: NuttTaro
iPhoneAndroidUbuntuIn Love
on 4 February 2011 - 16:20 #256305
NuttTaro's picture

มนุษย์เรามักจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อยืนบนปากเหว

By: nontster
iPhoneAndroidUbuntu
on 4 February 2011 - 19:15 #256348
nontster's picture

ทุกวันนี้ก็ใช้ผ่าน NAT อยู่แล้ววนิ

By: joomla
iPhoneUbuntu
on 4 February 2011 - 22:01 #256368
joomla's picture

ไม่เดือดร้อน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของไอทีไปละกัน

น่าจะออกมาแนวนี้สำหรับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้ที่จะก้าวขึ้นสู่โลกออนไลน์

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 5 February 2011 - 00:24 #256410
Perl's picture

ก็ได้เวลาพลิกตำรากันอีกรอบครับ

ทุกวันนี้ผมยังจำตัวเลขหน้า Type ต่างๆของ ipv6 ไม่ได้เลยครับ
จำได้เพียงแต่ loopback ::1

ไหนจะ route protocol สำหรับ ipv6 อีก

ได้เวลาอ่านหนังสือบานฉ่ำกันอีกครั้ง...

By: boykeng on 5 February 2011 - 23:57 #256593
boykeng's picture

อย่าห่วงครับ เรามี ipv6 รองรับไว้แล้ว แต่ว่า มันยาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ระดับว่า สามารถเอา ipv6 ไปกำหนด อะตอม กันได้ทีเดียว
เว่อร์ขนาด

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 7 February 2011 - 17:39 #256921 Reply to:256593
iStyle's picture

ปัญหาคือยังไม่มีใครยอมใช้ไงครับ


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: ipas
Ubuntu
on 7 February 2011 - 01:05 #256809
ipas's picture

คงมีอะไรให้เรียนอีกเยอะ .. ขอบคุณครับ

By: lemonzeed
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 16 March 2011 - 15:01 #269448
lemonzeed's picture

อีกไม่นานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านสามารถควบคุมสั่งการกะคอมหรือผ่านมือถือได้ทุกอย่าง