ถึงแม้โนเกียจะยังปากหวานว่าจะไม่ทิ้ง Qt แน่ๆ และจะขายมือถือ Symbian อีก 150 ล้านเครื่อง แต่การกระทำอาจไม่ตรงกับคำพูดสักเท่าไร เพราะล่าสุดโนเกียประกาศขายฝ่ายธุรกิจและบริการของ Qt ออกไปแล้ว
บริษัทที่มารับช่วงซื้อฝ่ายธุรกิจของ Qt ต่อคือ Digia ซึ่งมาจากฟินแลนด์เช่นกัน ธุรกิจหลักคือซอฟต์แวร์องค์กรหลายประเภท ซึ่งหลายตัวก็มีฐานมาจาก Qt
การซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้การขายไลเซนส์ของ Qt ย้ายไปอยู่กับ Digia แทนโนเกีย ส่วนโนเกียก็ยังเป็นเจ้าของ Qt และยังยืนยันคำเดิมว่าจะลงทุนใน Qt ต่อไป
ที่มา - Engadget, Digia Press
Comments
QT= Write code once to target multiple platforms
อ่านแล้วงงๆ ขายให้ digia ในส่วนฝ่ายธุรกิจและบริการของ Qt ออกไปแล้ว
แต่แสดงว่าฝ่าย อื่นที่ยังอยู่คงมี developer? หรือ อื่นๆ?
งงตรง "ส่วนโนเกียก็ยังเป็นเจ้าของ Qt" ขายไปแล้วทำไมยังเป็นเจ้าของ
ในหัวข่าวก็เขียนไว้ชัดนะครับว่า "ขายบางส่วน"
การซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้การขายไลเซนส์ของ Qt ย้ายไปอยู่กับ Digia แทนโนเกีย ส่วนโนเกียก็ยังเป็นเจ้าของ Qt
ตรงนี้ครับ คือ ขายไลเซ่นส์ไปแล้วทำไมถึงยังเป็นเจ้าของ Qt คำว่าเจ้าของนี่หมายถึงกิจการ, เจ้าของไลเซ่นส์, เจ้าของสิทธิบัตร, เจ้าของของเจ้าของไลเซ่นส์, ...
ในเมื่อไลเซ่นส์เป็นของ Digia ไปแล้ว โนเกียจะได้สิทธิของ Qt ตรงไหน หรือ Digia เป็นแค่ตัวแทนการขายไลเซ่นส์กรณีเดียวกับ Microsoft ขายไลเซ่นส์ SUSE ของโนเวลล์
เจ้าของลิขสิทธิ์ขาย "สิทธิในการขาย license" ไปให้รายอื่นๆ ได้อยู่แล้วนี่ครับ
เหมือนคนแต่งเพลงหลายคนถือสิทธิ์ในตัวเพลงไว้เอง แต่ขายสิทธิ์ในรูปแบบต่างๆ เช่นคอนเสิร์ต, ริงโทน ฯลฯ ไปให้ค่ายเพลง
lewcpe.com, @wasonliw
แบ่งประโยคแบบนี้นะครับ
คืองี้ครับ.... nokia ขายเฉพาะส่วนที่ทำหน้าที่ขาย license เพื่อการทำธุรกิจ ไปให้ Digia ครับ ไม่ได้ขาย Qt ครับ
ดังนั้น เจ้าของ Qt ก็ยังเป็นของโนเกียเหมียนเดิม.... แต่คนขาย license โอนไปให้ Digia จัดการแทนครับ
คล้ายๆ IANA ให้ license กับ canonical ขาย ip นั่นแหล่ะ
ถามว่างั้นถ้าโนเกียขี้เกียจ ไม่ทำงานต่อแล้วก็ไม่มีผลรึเปล่า? เพราะยังไงเงินที่ขาไลเซ่นก็ไม่ได้เองอยู่แล้ว ไม่ทำ บ.ที่ซื้อไปก็ขายต่อไม่ได้เอง..
คิดว่าไม่ใช่แบบนั้น แต่คิดรูปแบบไม่ออกว่าจะมาในแบบไหน
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ผมตีความว่าแบบนี้
โนเกียต้องการ ปลดตัวเองจากการรับผิดชอบ การใช้ประโยชน์ qt
มองว่าตลาดเป้าหมายของ qt คงจะไม่ใช้ consumer market
อาจจะเหมาะกับ enterprise มากกว่า ที่ความสามารถ cross platform ยังมีความต้องการ
ในขณะที่ บน smart phone นั้นแนวทางนี้น่าจะไม่รุ่ง
ธรรมชาติ enterprise software มี business logic (UI)จำนวนมากและซับซ้อน ทำงาน บน platform/environment มีความหลากหลายสูง
การต้อง พัฒนาและดูแล enterprise software ตัวเดียวกัน บนหลาย platform
เป็นต้นทุนที่สูง
ส่วน software บน smartphone จะ มี business logic (UI) น้อย
สิ่งทีต้องเน้นคือ ต้องตอบสนองดี วูบวาบ สวยงาม ซึ่งมักจะขัดกันกับการทำ cross platform
architecture ที่ต้องสร้าง abstract layer ขึ้นมา อีกชั้น มักจะทำให้
ผลลัทธ์ที่ออกมา ไม่สามารถไปได้เต็มความสามารถของ platform ใดได้ อย่างมากอาจจะทำได้แค่ระดับ
เกินค่าเฉลี่ย
โนเกียเองก็ไม่มีประสบการณ์บน enterprise software ที่ดีพอ
การตัดสินใจครั้งนี้น่าจะลงตัวดีแล้ว