Qt
Qt ออกอัพเดทครั้งใหญ่ในรอบ 8 ปี จากการเปลี่ยนแปลงของ C++ ภาษาหลักในการพัฒนาของ Qt ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับการเปิดตัว 3D graphics API ใหม่ ๆ เช่น Metal และ Vulkan มาแทนที่ OpenGL ที่ใช้เป็นหลักในการเรนเดอร์กราฟิกใน Qt 5 การอัพเดทรุ่นโดยยังคงความเข้ากันได้กับสาย Qt 5 จึงทำได้ยาก และเป็นที่มาของการปรับรุ่นครั้งใหญ่มาเป็น Qt 6.0 ในครั้งนี้
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมีดังนี้
Olaf Schmidt-Wischhöfer จาก KDE เล่าถึงสถานะการณ์ของ Qt ไลบรารี GUI ที่เป็นแกนกลางของระบบเดสก์ทอป KDE ว่าบริษัทกำลังพยายามเร่งรายได้ระยะสั้น โดยความเป็นไปได้หนึ่งคือการปิดเวอร์ชั่นล่าสุดทั้งหมดไม่ให้โลกโอเพนซอร์สใช้งานเป็นระยะเวลา 12 เดือน
Qt เป็นไลบรารีที่พัฒนาโดยบริษัท Trolltech และเคยขึ้นถึงสุดสูงสุดคือโนเกียซื้อบริษัทไป เพื่อพัฒนาโทรศัพท์ในระบบปฎิบัติการ MeeGo แต่ก็ล้มเหลวและขายบริษัทแยกออกมา โดยบริษัทพยายามหารายได้จากการขายซัพพอร์ตตัวไลบรารีและเครื่องมือออกแบบ GUI
Qt (อ่านว่า "คิวต์") เฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม มีเส้นทางชีวิตที่โลดโผนและถูกเปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง ตอนแรก Qt พัฒนาโดยบริษัท Trolltech ของนอร์เวย์ (และเป็นแกนกลางในการพัฒนาระบบเดสก์ท็อป KDE) จากนั้นขายกิจการให้โนเกียในปี 2008 และถูกขายต่อให้บริษัท Digia ของฟินแลนด์ในปี 2012
ล่าสุด Digia ประกาศแยก Qt ออกมาเป็นบริษัทอิสระอีกครั้ง โดยใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่า Qt Group เป้าหมายเพื่อแยกส่วนการบริหารออกจากกัน บริษัทใหม่ Qt Group จะเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq OMX Helsinki ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้
Wireshark ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับตรวจสอบแพ็กเกตเครือข่าย ออกเวอร์ชัน 2.0 แล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเปลี่ยนระบบ GUI จาก GTK+ มาเป็น Qt ซึ่งเคยประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ถึงแม้หน้าตาใหม่จะยังคล้ายของเดิมแต่ทั้งหมดคือการเขียนใหม่ สำหรับ Wireshark บนวินโดวส์จะยังมี GUI ทั้งสองแบบให้เลือกใช้งาน (รุ่น GTK+ จะเลิกใช้งานใน Wireshark 2.2 รุ่นถัดไป) ส่วนเวอร์ชันแมคจะมีแต่หน้าตาแบบใหม่เพียงอย่างเดียว
หลังกูเกิลเปิดตัวเอนจิน Blink ของตัวเองแยกมาจาก WebKit ของแอปเปิล ช่วงหลังเราเริ่มเห็นหน่วยงานหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Blink กันมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Opera ที่ถึงขั้นเลิกใช้เอนจิน Presto เดิมมาเป็น Blink แทน
ซอฟต์แวร์ตัวล่าสุดที่เปลี่ยนจาก WebKit มาเป็น Blink คือ Qt Framework โดยเวอร์ชันล่าสุด 5.6 ถอดโมดูล Qt WebKit ออกแล้ว หลังพัฒนาโมดูลใหม่ Qt WebEngine ที่ใช้ Blink (อิงจาก Chromium 45) มาใช้ทดแทนทั้งหมดแล้ว
ความน่าสนใจของข่าวนี้คือโครงการ Qt/KDE เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาเอนจิน KHTML ที่แอปเปิลนำไปพัฒนาต่อเป็น WebKit (และกูเกิลแยกมาทำ Blink) ซึ่ง Qt/KDE เองก็เปลี่ยนจาก KHTML มาเป็น WebKit และ Blink ในท้ายที่สุด
ขอรวมข่าวเกี่ยวกับ Windows 10 Mobile สองข่าวมารายงานในคราวเดียวกัน
ข่าวแรก Gabriel Aul จากไมโครซอฟท์ เผยว่า Windows 10 Mobile รุ่นทดสอบ 10240 ที่หลุดออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตในรูป ROM ของ Lumia บางรุ่น จะไม่ถูกปล่อยให้สมาชิกโครงการ Windows Insider เนื่องจากมีบั๊ก จึงขอแก้ไขก่อนปล่อยรุ่นทดสอบใหม่ - @GabeAul
ในบรรดาซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ตัวแรกๆ ที่ทุกคนต้องใช้งานกันคงเป็น Wireshark หรือชื่อเดิมคือ Ethereal โดยที่ผ่านมา Wireshark ใช้ GTK+ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน้าจอตลอดมา แต่ตอนนี้โครงการ Wireshark ก็ประกาศว่าจะหยุดพัฒนาบน GTK+ แล้วหันไปใช้ Qt เต็มรูปแบบแล้ว
ทีมงาน Wireshark ระบุว่าการตัดสินในนี้เป็นเพราะทุกวันนี้ GTK+ จะซัพพอร์ตให้หน้าจอเข้ากับระบบบนลินุกซ์และโซลาริสเท่านั้น ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น OS X และวินโดวส์ นั้นกลับมีหน้าจอที่หลุดออกจากซอฟต์แวร์อื่นๆ ในแพลตฟอร์มของตัวเองมาก ขณะที่สายพัฒนา Qt นั้นกลับสามารถแสดงหน้าจอกลมกลืนกับระบบได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่โนเกียขายเทคโนโลยี Qt ให้กับบริษัท Digia ไป การพัฒนาของ Qt ก็ดูจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และชัดเจนว่า Qt จะพยายามเป็นแพลตฟอร์มพัฒนากลางสำหรับแอพพลิเคชั่นโมบาย กลายเป็นคู่แข่งแพลตฟอร์ม HTML5 อีกหลายตัวที่มีอยู่ในตลาด โดย Qt 5.1 จะเป็นรุ่นแรกที่เริ่มรองรับแอนดรอยด์และ iOS แม้จะยังไม่สมบูรณ์ในอีกหลายจุด แต่ตามกำหนดการเดิมคือการซัพพอร์ตเต็มรูปแบบจะเริ่มใน Qt 5.2
สำหรับแอนดรอยด์นั้น ความสมบูรณ์ของการซัพพอร์ตจะครบถ้วนกว่า โดยรองรับ Qt Quick และการพัฒนาบน Qt Creator แล้วแม้จะยังไม่ครบถ้วน ส่วน iOS นั้นยังไม่รองรับ Qt Quick ถ้ากระบวนการพอร์ตเสร็จสิ้นใน Qt 5.2 ตัว Qt ก็จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับทั้งแอนดรอยด์, BB10, และ iOS
ข่าวใหญ่ของวงการ Ubuntu ครับ บริษัท Canonical ประกาศยกเครื่องระบบกราฟิก-แสดงผลของ Ubuntu ชนิดเปลี่ยนยกเซ็ต
อย่างแรกคือระบบแสดงผล (Display Server) ตัวใหม่ที่จะมาแทน X Window ในปัจจุบัน มันใช้ชื่อว่า Mir
Canonical แสดงท่าทีชัดเจนมาตลอดว่า X Window เก่าเกินไป และเตรียมเปลี่ยนไปใช้ Wayland แต่สุดท้ายก็ยังเห็นว่า Wayland ไม่ตอบโจทย์ และหันมาสร้างระบบ Mir ของตัวเองแทน
ข้อมูลจากเว็บ Jolla Tides เว็บข่าวคราวความเคลื่อนไหวของระบบปฏิบัติการ Jolla Sailfish ระบุว่ามีรูปแบบการพัฒนาแอพทั้งหมด 3 แบบดังนี้
ตามข่าวบอกว่ามีนักพัฒนารายหนึ่งทดลองพอร์ตแอพจาก MeeGo มาลง Sailfish และใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น ข้อมูลนี้น่าจะช่วยให้ Sailfish มีแอพจาก Symbian/MeeGo พอร์ตมาลงอีกมาก
Digia บริษัทซอฟต์แวร์จากฟินแลนด์ ที่ซื้อกิจการ Qt มาจากโนเกียในปี 2011 ประกาศออก Qt 5.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหญ่เวอร์ชันแรกภายใต้เจ้าของรายใหม่ และเป็นการออกรุ่นใหญ่ครั้งแรกนับจาก Qt 4.0 ในปี 2005
ของใหม่ที่สำคัญได้แก่ (รายการฟีเจอร์ทั้งหมด)
อีกไม่นานเราคงได้เห็น KDE5 ที่พัฒนาอยู่บน Qt 5 ครับ
ที่มา - Qt Project, Qt Blog
หลังจากโนเกียขาย Qt ออกไป คำถามสำคัญคือการพัฒนาของ Qt จะเป็นอย่างไรต่อ และหลายคนกลัวว่าโครงการจะถูกแขวนไปในที่สุด แต่ช่วงนี้เราก็เห็นพัฒนาการของโครงการหลายอย่างทั้งการพัฒนา Qt สำหรับแอนดรอยด์ และตอนนี้ Qt 5 Beta ก็เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว รวมใช้เวลาพัฒนาทั้งหมด 15 เดือน
Necessitas เป็นโครงการพอร์ต Qt+QML มายังแอนดรอยด์ โดยนักพัฒนานอกโนเกียมาตั้งแต่ปีที่แล้ว หลังจากเงียบหายไปพักใหญ่ ตอนนี้มันกลับมาออกเวอร์ชันใหม่อีกครั้งพร้อมการอัพเกรดหลายอย่างเป็นเวอร์ชัน alpha 4 พร้อมกับยืนยันว่าแม้ Qt จะไปอยู่ในมือของ Digia แล้วก็ตามแต่ชุมชนภายนอกยังคงสามารถพัฒนาต่อไปได้ เพราะสัญญาอนุญาตของ KDE ระบุว่าหากผู้ถือสิทธิ์ Qt หยุดปล่อยโค้ดในรูปแบบ LGPL และ GPL แล้ว ทาง KDE
Qt เป็นเทคโนโลยีที่โนเกียซื้อมาเพื่อประกอบร่างระบบปฏิบัติการ MeeGo แต่หลังจากพับแผน MeeGo ไป ตอนนี้ Qt ก็ไม่มีที่ยืนในโนเกียอีกต่อไป แม้ทีมงานทั้งหมดจะเป็นพนักงานโนเกียอยู่ แต่ส่วนธุรกิจซัพพอร์ตนั้นโนเกียขายให้กับ Digia ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้ทั้งสองบริษัทก็ตกลงที่จะโอนพนักงานส่วนที่เหลือทั้งหมดไปอยู่กับ Digia อย่างสมบูรณ์
ถึงแม้โนเกียจะหันไปสนใจ Windows Phone เป็นหลักแล้ว แต่เทคโนโลยีอย่าง Qt ก็ยังไม่ตายและยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดมีข้อมูลว่า Qt รุ่นหน้า 5.0 จะใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ใหม่ๆ ของภาษา C++11 ที่เพิ่งออกเมื่อปีที่แล้ว เช่น lambda expressions for slots, UTF-16 unicode literals, the constexpr keyword, static_assert, virtual function overriding, final attribute, deleted functions/members
เมื่อเดือนที่แล้ว RIM ก็เปิดเผยแผนการที่แฟนๆ รอฟังกันมานาน นั่นคือแพลตฟอร์ม BBX หรือระบบปฏิบัติการ BlackBerry รุ่นหน้าที่ใช้ QNX เป็นฐาน
ล่าสุด RIM เผยข้อมูลเพิ่มเติมของฮาร์ดแวร์มือถือที่จะรัน BBX ดังนี้
Qt (อ่านว่า "คิวต์") เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันที่ได้รับความนิยมมากตัวหนึ่ง ตัวซอฟต์แวร์เป็นโอเพนซอร์ส แต่การพัฒนาตัว Qt กลับค่อนข้างอยู่ในวงปิด อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Trolltech เป็นหลัก (ลักษณะเดียวกับ Android คือเปิดซอร์สก็จริง แต่กูเกิลเป็นคนควบคุมทั้งหมด)
บริษัท Trolltech ถูกโนเกียซื้อกิจการเมื่อปี 2008 เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้กับ Symbian/MeeGo ตัวบริษัทถูกโนเกียเปลี่ยนชื่อเป็นฝ่าย Qt Development Frameworks แต่ภาระหน้าที่ยังคงเหมือนเดิม
การเปิดตัวของ Tizen นั้นสร้างความสับสนให้กับนักพัฒนาจำนวนมากที่อินเทลและโนเกียเคยพยายามสนับสนุนให้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบน MeeGo โดยในการประกาศก็ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนัก แต่ที่งาน Openmind 2011 ก็มี Pasi Nieminen จากบริษัท Nomovok ผู้พัฒนา MeeGo รายหนึ่งขึ้นเวทีพูดถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของ Tizen
รายละเอียดจากงานนี้คือ Qt นั้นจะยังอยู่ใน Tizen ต่อไป อย่างไรก็ดีมันจะเป็นเพียงแพลตฟอร์มชั้นสองของ Tizen เท่านั้น โดยแพลตฟอร์มหลักจะยังคงเป็น HTML5+WAC และสำหรับแอพพลิเคชั่นแบบ native จะใช้แพลตฟอร์ม EFL ที่ซัมซุงพัฒนาให้กับ LiMo เป็นหลัก ส่วน Qt นั้นจะเปิดให้ใช้งานเป็นกรณีๆ ไป
หลังจากโนเกียถอนตัวออกจาก MeeGo ไปส่วนใหญ่ (เหลืออยู่บ้าง) ความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นก็ตกอยู่กับ Qt อีกส่วนหนึ่งว่าโนเกียจะเอาอย่างไรกับเทคโนโลยีนี้อย่างไรต่อไป ล่าสุด Lars Knoll นักพัฒนาจากทีม Qt ก็ออกมาแถลงแผนการพัฒนา Qt 5 แล้ว โดยยังยืนยันว่าโนเกียจะให้การสนับสนุน Qt ต่อไป และ Qt 5 Beta จะมาภายในปีนี้ และรุ่นจริงจะออกในปี 2012 โดยความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้แก่
Purnima Kochikar รองประธานฝ่าย Forum Nokia เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงชุมชนนักพัฒนาของโนเกีย เกี่ยวกับอนาคตของ Symbian, Qt และ Series 40 ดังนี้
Symbian
โนเกียยังยืนยันคำเดิมว่าจะลงทุนใน Symbian ต่อไป แม้จะเลือก WP7 เป็นแพลตฟอร์มหลักไปแล้ว และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โนเกียได้ประเมินแผนการออกมือถือ Symbian ระหว่างปี 2011-2012 ซึ่งเป็น "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" ข้อมูลที่เปิดเผยออกมาคือมือถือ Symbian รุ่นหน้าจะใช้หน่วยประมวลผลสูงกว่า 1GHz, มีหน่วยประมวลผลกราฟิกที่ดีขึ้น, มีการประสานงานกันระหว่างฮาร์ดแวร์กับบริการมากขึ้น
Mark Wilcox อดีตพนักงานของโนเกียและผู้แต่งหนังสือด้าน Symbian ได้เขียนบล็อกเล่า "เบื้องหลัง" ความพยายามของโนเกียในการปรับปรุง UI ของ Symbian ให้กลับมาทันสมัยแข่งกับคู่แข่งได้ แต่ความพยายามของโนเกียกลับล้มเหลวเพราะการเมืองภายในระหว่างทีมพัฒนาแต่ละทีม จนสุดท้าย Stephen Elop ต้องหันไปพึ่งระบบปฏิบัติการภายนอกอย่าง WP7 แทน
Wilcox เริ่มเล่าถึงภัยคุกคามจาก iPhone ในปี 2007 ซึ่งโนเกียตอบโต้โดยปรับ S60 ให้รองรับการสัมผัส แต่กลับยิ่งยุ่งเพราะ S60 ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับนิ้วมือ ทางออกของโนเกียจึงเป็นการซื้อบริษัท Trolltech เพื่อเอา Qt มาเป็นตัวเชื่อมแพลตฟอร์มต่างๆ ของโนเกีย แต่ก็มีปัญหาอีกเช่นกันเพราะ Qt ยังขาด UI Toolkit (ภายหลังทีมงาน Trolltech จึงพัฒนาภาษา QML ขึ้นมาใช้งาน)
ถึงแม้โนเกียจะยังปากหวานว่าจะไม่ทิ้ง Qt แน่ๆ และจะขายมือถือ Symbian อีก 150 ล้านเครื่อง แต่การกระทำอาจไม่ตรงกับคำพูดสักเท่าไร เพราะล่าสุดโนเกียประกาศขายฝ่ายธุรกิจและบริการของ Qt ออกไปแล้ว
บริษัทที่มารับช่วงซื้อฝ่ายธุรกิจของ Qt ต่อคือ Digia ซึ่งมาจากฟินแลนด์เช่นกัน ธุรกิจหลักคือซอฟต์แวร์องค์กรหลายประเภท ซึ่งหลายตัวก็มีฐานมาจาก Qt
การซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้การขายไลเซนส์ของ Qt ย้ายไปอยู่กับ Digia แทนโนเกีย ส่วนโนเกียก็ยังเป็นเจ้าของ Qt และยังยืนยันคำเดิมว่าจะลงทุนใน Qt ต่อไป
แม้ KDE จะได้รับความนิยมน้อยลงในช่วงหลังเพราะ Ubuntu เองรองรับ GNOME เป็นหลัก แต่ไลบรารีอย่าง Qt ก็ยังได้รับคำชมว่าเป็นไลบรารีที่ดีมากอยู่เสมอๆ หลังจากที่โนเกียประกาศแผนลดการพัฒนา MeeGo และหยุดการพัฒนา Symbian ไปความหวังที่จะได้เห็น Qt แพร่กระจายไปบนแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็ดูจะยากขึ้น แต่โครงการโอเพนซอร์สก็เปิดให้แฮกเกอร์เข้ามาช่วยพัฒนาได้อย่างอิสระ เราก็ได้ Qt สำหรับแอนดรอยด์มาใช้งานในภายใต้โครงการ Necessitas
Necessitas ไม่ใช่เพียงการพอร์ตเฉพาะไลบรารีสำหรับรัน Qt เท่านั้นแต่มันมีส่วนประกอบสามอย่างคือ
ต่อจากภาคแรก อนาคตที่ยังไม่ชัดเจนของ Qt ทีมงาน Qt ได้เขียนบล็อกชี้แจง 2 รอบดังนี้ครับ
รอบแรกอยู่ในบล็อกชื่อ Nokia new strategic direction. What is the future for Qt? สรุปใจความดังนี้
หลังโนเกียประกาศจับมือกับไมโครซอฟท์ทำ Windows Phone ความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้นกับซอฟต์แวร์ฝ่ายต่างๆ ของโนเกียกันถ้วนหน้า พนักงานฝ่าย Symbian แสดงความไม่พอใจผ่านการประท้วง ส่วน MeeGo ก็เอาตัวรอดมาได้เพราะอินเทลบอกว่ายังหนุนอยู่
อีกฝ่ายที่หลายๆ คนอาจลืมหรือมองข้ามไปคือ Qt เครื่องมือพัฒนาแบบข้ามแพลตฟอร์มที่โนเกียซื้อมาทั้งบริษัท และหวังจะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง Symbian กับ MeeGo ในอนาคต