เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2011 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ministry of Education, Science and Technology) ของเกาหลีใต้ได้เปิดเผยนโยบายว่า ภายในปี 2015 ตำราเรียนตามหลักสูตรทั้งหมดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสื่อดิจิตอล เพื่อให้เด็กนักเรียนเกาหลีใต้ได้เรียนผ่านสื่อการเรียนการสอนที่ดีกว่าและมีปฏิสัมพันธ์มากกว่าตำราเรียนแบบเดิมที่เป็นกระดาษ
งบประมาณที่ประเมินไว้เบื้องต้นในการดำเนินการอยู่ที่ประมาณ 2.2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 63,000 ล้านบาท) ส่วนการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนนั้นจะค่อยเป็นค่อยไป โดยในช่วงแรกจะมีการใช้ตำราที่เป็นดิจิตอล (digital textbook) ควบคู่ไปกับตำราแบบกระดาษ จนกระทั่งสื่อการเรียนการสอนทั้งหมดถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิตอลเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยปลดระวางตำรากระดาษและเปลี่ยนไปใช้ตำราดิจิตอลเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้รัฐบาลเกาหลีใต้ยังมีแผนจะทำเซิร์ฟเวอร์แบบกลุ่มเมฆเพื่อรองรับให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงตำราและสื่อการเรียนผ่านแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ได้ตามต้องการอีกด้วย
กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงไอซีทีของประเทศไทยก็น่าจะดูนโยบายดีๆ เช่นนี้ไว้เป็นตัวอย่างด้วยนะครับ... ทำเลย ผมเชียร์
ที่มา: Chosunilbo, MIT Technology review
Comments
บ้านเรา นั่งตั้งแง่ว่า แท็บเล็ทประชานิยม แท็บเล็ทจากจีน สุรุ่ยสุร่าย ใช้หนังสือดีแล้ว
/me เบื่อ
ขอแทรกหน่อยครับ
ปชป.
ได้อนุมัติงบประมาณให้เดิน Fiber optic ในปี 2553-2555 ประมาณ 2000 โรงเรียน
และได้อนุมัติงบประมาณให้เดิน Fiber optic ในปี 2554-2556 เพิ่มอีก 7606 โรงเรียน
รวมๆ แล้วปี 2556 เราจะมี Fiber optic ไปยังโรงเรียน เกือบ 1 หมื่นแห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับมัธยม
ซึ่งผมหวังว่า พท. ได้เป็นรัฐบาลแล้ว จะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไป โดยทุ่มงบประมาณในการขยาย Fiber optic ให้ครอบคลุมโรงเรียนที่เหลือ
รายชื่อโรงเรียน 7606 แห่ง อยู่ในภาคผนวก 1
รายชื่อโรงเรียน 2000 แห่ง อยู่ในภาคผนวก 7
link เอกสารจาก TOR ล่าสุด:
http://www.uni.net.th/UniNet/downloads/00_25540704_TOR_NEdNet.pdf
ถ้าใครเคยใช้ tablet อ่านหนังสือจะรู้ว่าอ่านนานแล้วแสบตา และผมรู้สึกว่าสายตาล้าเร็วกว่าอ่านหนังสือจากกระดาษจริงๆ (ผมอ่านได้ประมาณ 30 นาทีก็รู้สึกเมื่อยตาแล้ว)
ส่วน ebook reader ถ้าเอามาใช้อ่านหนังสือวิชาการ หรือหนังสือเรียนบางวิชาโดยเฉพาะวิชาที่ต้องพลิกกลับไปดูเนื้อหาอ้างอิงในหน้าอื่นๆ ต้องดูกราฟ ฯลฯ มันไม่สะดวกมากๆ สำหรับผม เช่น ต้องรอเปลี่ยนหน้า รอซูมเข้า-ออก ยิ่งถ้าเป็นวิชาที่เนื้อหาเยอะๆ คนที่อ่านหนังสือบ่อยจะรู้ว่าเนื้อหาที่อ้างถึงอยู่ย้อนไปประมาณบทไหน ควรเปิดย้อนกลับประมาณเท่าไหร่ สิ่งพวกนี้ทำไม่ได้ใน ebook reader
เรื่องสายตาล้าไม่ต้องกลัวครับ เรามีแผนเปิดโครงการ "แว่นเอื้ออาทร" และ "เลสิกเอื้ออาทร" รองรับไว้แล้ว
เลสิกเอื้ออาทรอยากได้มากครับตอนนี้ :D
ใช้เลสิกเอื้ออาทรภายใน 30 Milliseconds นี้ รับฟรีทันที "ชุดไว้อาลัย"
แต่ผมคิดว่าถ้าเปน EBook แบบล้ำยุคหน่อย มันก็จะสามารถแสดงภาพ Animation/Interaction ต่างๆ แล้วกระชับให้เนื้อหาที่ต้องเขียนหลายๆบรรทัด ให้ลดลงได้ง่าย นะ
ส่วนตัวผมชอบอ่านไฟล์แบบ Chm เพราะมันแบ่ง เรื่องๆนึง ออกเปน Page หน้าเดียว แถมยังใส่ลิงค์กลับไปกลับมาได้ แล้วก็มีสารบัญอยู่ข้างๆ
อารมณ์เดียวกันนะครับว่าเปิดไปเปิดกลับได้ ถ้าอ่าน Chm มันจะรู้สึกได้ ว่าไอ้ที่เคยอ่านผ่านมาอยู่ช่วงไหนของสารบัญ
แถม Search ได้ด้วย Index ก็มีให้ใช้
มันขึ้นอยู่กับฝีมือคนทำสื่อการสอนแล้วว่าจะจัดรูปแบบของ Application พวกนี้ ให้เหมาะกับ Tablet แค่ไหน
อาจจะทำ Infographic เข้าไป แต่ไม่ใช่แค่ยัด Text มาให้นั่งอ่าน แบบนั้นก็ไม่มีประโยชน์
ผมเห็นด้วยครับว่าถ้าเราสามารถสร้างสื่อการสอนที่น่าสนใจ "อาจจะ" ช่วยทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า tablet มีผลกระทบการสายตา ผมจึงคิดว่ามันไม่ใช่ trade-off ที่ดี
โดยส่วนตัวผมสนับสนุนเทคโนโลยีแต่เราต้องใช้ให้ถูกงาน ไม่อย่างนั้นแทนที่เทคโนโลยีจะสร้างประโยชน์ มันจะทำให้เกิดโทษครับ
ถ้าจำไม่ผิด Digital ทับศัพท์เป็นดิจิทัลครับ
แต่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ออกเสียงว่า ดิจิตอล นะครับ
ตาม glossary คำว่า digital เขียนว่า ดิจิทัล ครับ
ถ้าผมเขียนก็คงเป็นดิจิตอลเหมือนกัน แต่บางที... สิ่งที่ราชบัณฑิตทำไว้ กับ การออกเสียงจริง มันก็ไม่เหมือนกันเลย
แต่หลักของราชบัณฑิตก็เป็นมาตรฐานให้เราสืบหาศัพท์ภาษาอังกฤษได้ง่ายกว่านะครับ
ถ้าเขียนว่า ดิจิตอล คนไม่รู้ศัพท์ digital อาจคิดว่าเป็น digitol ก็ได้
ใช่ครับ เพราะคนไทยส่วนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ และคนไทยส่วนมากคิดว่าคำว่า "ดิจิตัล" ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Digitol
ไม่ว่าเมื่อไหร่ผมก็ยังสงสัยว่า ในเมื่อสิ่งที่ราชบัณฑิตทำแล้วผิด เราจะพยายามให้ผิดตามไปเพื่ออะไร
เอาจริงๆคือ ถ้าเจ้าของภาษาออกเสียง ดิจิตัล ผมก็โอเคนะ ผมอาจจะผิดเอง
แต่ผมก็จำได้ว่ามันไม่ใช่อะ เขาก็ออกเสียง ดิจิตอล/ดิจิทอล ต่อให้ตัวอื่นที่เปนตัว a ก็ออกเสียง ออ ได้
เราจะถอดเสียง all ว่า อัลล์ มั้ย?
พูดตรงๆนะครับ ผมว่ามันถอยหลังลงคลองนะ แทนที่จะคิดว่า แก้ให้ถูกซะแต่วันนี้ แล้วพยายามให้ทุกๆที่ ที่แก้ไขได้ ก็ไปแก้ไขให้มันถูก เปนแพทเทิร์นเดียวเพื่อการสืบค้นต่อไปในภายภาคหน้า
กลับคิดว่า เราต้องยอมผิดไปเรื่อยๆ เพราะต้องให้ตรงกับการสืบค้นข้อความในปัจจุบัน
ไหนๆมีเรื่องนี้ ผมขอคอมเม้นนิดนึง เรื่องคำว่าดิจิตอลนี่ผมไม่ออกความเหนละกันครับ (ขี้เกียจอ่านข้างบน ฮาา)
เรื่องคำว่า "เปน" ของคุณนี่ ผมคิดว่ายังไงที่ถูกก็ควรเป็นคำว่า "เป็น" เพราะมันทำให้ออกเสียงได้ตรงกับคำพูดจริงๆมากกว่า "เปน" ที่ออกเสียงเป็นเสียงยาว ซึ่งจะทำให้อ่านออกมาผิด แล้วอาจส่งผลให้คนฟังแล้วความหมายผิดตามด้วย
ขอบคุณที่ทักท้วงเรื่องนี้ด้วยหลักการครับ
จริงๆผมก็กำลังหาทางลงเรื่องนี้พอดี เพราะตั้งใจไว้มากในครั้งแรกที่เปลี่ยนมาใช้คำว่า เปน แทนคำว่าเป็น
เพราะต้องการสร้าง contrast ในการใช้ "คำที่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้" เพื่อแสดงความไม่มีหลักการของราชบัณฑิต
แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจเรื่องนี้ซักคน คิดแต่ในแง่มุมว่ามันผิดหลักพจนานุกรม แล้วก็ไปปกป้องความสองมาตรฐานของราชบัณฑิต
กำลังรออยู่ว่า ถ้ามีใครที่คิดจะทักท้วงผมเรื่องนี้โดยไม่ปกป้องราชบัณฑิต ผมก็จะพยายามเปลี่ยนกลับให้ถูกต้องซะที
ดูจาก phonetic แล้วมันอ่านว่า "ดิจิทัล" คือผมก็ไม่มั่นใจเพราะลืมวิธีการอ่าน phonetic หมดแล้ว (เรียนเมื่อห้าปีก่อนแล้วไม่ได้ใช้เลย) สังเกตว่า phonetic ของคำนี้คือ dɪdʒɪtl (มันจะออกเสียงประมาณ ดิดจิททัล.. ราว ๆ นี้) แน่นอนว่าถ้าเราไปฟังเสียงที่อัดมาโดยให้ native พูดก็คงฟังไม่ออก เพราะวิธีออกเสียงเรากับเขามันไม่เหมือนกันตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
ผมคิดว่าคำที่พอจะเทียบเคียงกับเสียง "ตอล" ได้ก็คือคำว่า tall ซึ่ง phonetic คือ tɔːl
แนะนำให้ไปเรียนเลยครับเรื่อง Pronunciation แต่ต้องเรียนกับเนทีฟแท้ ๆ ที่จบด้านนี้มานะครับ และพนันกันได้ว่าถ้าไม่ใช่สักปีก็ลืมเกลี้ยง อย่างที่ผมเป็น
ถ้าพรุ่งนี้พอมีเวลาว่างผมจะลองเข้าไปปรึกษาทีมภาษาอังกฤษที่บริษัทให้ครับ เขามีสอนเรื่องนี้และอ.ก็เรียนด้านนี้โดยตรง คิดว่าเขาน่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อย
ปล. คำว่า Digital เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า ディジタル ซึ่งอ่านได้ว่าดิจิทารุ ... คิดว่าเขาแปลตรงตัวจากตัวอักษรน่ะนะ ผมว่าน่าจะมีคนญี่ปุ่นหลาย ๆ คนที่คิดว่าทำไมไม่เขียนว่า ディジトル แต่ก็นั่นแหละทุกคนก็ใช้ตัวแรกกันหมดเลย อันนี้ลงไว้ด้วยเพราะว่าพอดีค้นใน Longdo แล้วเห็นก็เลยคิดว่าพอจะเชื่อมกันได้ล่ะมั้ง 555
ผมลองไปเปิด Phonetic ของคำว่า Alchemy แล้วพบว่ามันใช้ว่า [alkəmē]
น่าจะแปลว่าเสียงที่บังคับ ะ า น่าจะเป็นอักษรโฟเนติก a
แต่ Mental ใช้ว่า 'men-tl และ Metal ใช้ว่า 'me-tl
มันทำให้ผมคิดไปว่า จริงๆแล้ว มันไม่ได้บังคับสระ ว่าจะต้องออกเสียงไหน แต่มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมมากกว่า
เหมือน ん ของญี่ปุ่น ที่ออกเสียง ง หรือ น ก็ได้ แต่ถ้ามีคำตามหลังจะออกเสียงตามคู่ตัวสะกด เหมือนอย่าง คอมบุ กับ คอนเนียคุ
ผมเห็นนานแล้วนะครับ แต่ไม่เคยท้วงเลย ฮาา
เปล่าหรอก ผมเคยได้ยินว่าคำว่า "เป็น" เมื่อสมัยก่อนสะกดคำว่า "เปน" เหมือนกันครับ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น "เป็น" แบบจริงๆจัง
ซึ่งผมก็เลยไม่ได้ใส่ใจเท่าไหร่ อิอิ
ใช่ครับ
มีคำหลายคำที่ใช้เขียนแต่ดั้งเดิม ในประวัติศาสตร์ก่อนพจนานุกรมฉบับแรก ต่างกับที่บัญญัติไว้ในปัจจุบัน
ซึ่งถ้ายึดหลัก "เขียนอย่างถูกต้อง ไม่ต้องตรงกับเสียงอ่าน" ก็ต้องใช้คำเหล่านั้น
แต่ราชบัณฑิตกลับมาแก้ แล้วบอกว่าแก้ให้ถูกต้องตามเสียงอ่าน
แต่หลังจากนั้น เสียงอ่านของหลายๆคำที่ไม่เหมือนกับที่ราชบัณฑิตบัญญัติไว้(จะด้วยสาเหตุไหนก็ตามแต่) กลับต้องมาเขียนให้ตรงกับราชบัณฑิต ทั้งที่ไม่ได้อ่านแบบนั้นแล้ว
สรุปคือราชบัณฑิตต้องถูกเสมอ? ต้องสองมาตรฐานเพื่อความถูกต้องของราชบัณฑิต?
หลักการไม่เป็นหลักการแบบนี้ ผมไม่อยากยอมรับ
แล้วมั่นใจเหรอครับว่าเราออกเสียงกันน่ะถูกต้องแล้ว ?
จะให้เรากลับไปออกเสียงว่า เปน เหน กันมั้ยครับ?
ถ้าคิดว่า เป็น เราออกเสียงไม่ถูกต้อง ก็แปลว่า ในเมื่อสมัยก่อนเขียนแบบนี้จริงๆ มันก็น่าจะออกเสียงแบบนี้
เพราะไม้ไต่คู้จริงๆก็มีมาตั้งนานแล้ว แต่กลับไม่เอามาใช้กับคำพวกนี้ พึ่งจะเอามาใช้กัน
แล้วจะให้กลับไปออกเสียง หมากพร้าว หมากม่วง กันมั้ยครับ?
เอางั้นก็ได้นะครับ แล้วก็กลับไปเขียน หมากพร้าว หมากม่วง ให้ถูกต้อง
มะพร้าว มะม่วง ที่ออกเสียงมาผิดๆ กร่อนเสียงกันมา ต้องยกเลิกมันให้หมด แล้วออกเสียงให้ถูก เอาแบบนั้นมั้ย?
สุดท้ายมันก็แค่แฟชั่นสมัยนิยม แต่กลับเชื่อว่าถูกต้องกันมาเป็นร้อยๆพันๆปี ใช้ผิดใช้เพี้ยนไม่ได้ ภาษาถูกทำลายหมด ต้องต่อต้านภาษาวิบัติ
แต่ถ้ารุ่นก่อนหน้าเราทำวิบัติอะไรไว้ นั่นกลับเป็นสิ่งที่ถูก ต้องยึดถือ ห้ามแก้ นี่มันหลักการอะไร?
ผมเบื่อสังคมหลอกตัวเอง
ขอคุยด้วยเรื่องประเด็นคำว่า "เปน" นิดนึงนะครับ
สำหรับผมภาษาที่ยังไม่ตายนั้นก็มีพัฒนาการไปเรื่อย มาตรฐานก็เปลี่ยนไปตามเวลาและความเหมาะสมของการใช้งานของคนตามแต่พื้นที่และสภาพแวดล้อม ดังนั้นการจะไปมองว่าแต่ก่อนเขียนอย่างไรต้องใช้แบบนั้นผมว่าเป็นเรื่องจระเข้ขวางคลองครับ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีการสะกดคำภาษาอังกฤษผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับภาษาเดิมค่อนข้างมาก (คนอเมริกาแรกเริ่มอพยพมาจากอังกฤษ) มีการตัดทอนลดรูปตัวอักษรที่ไม่ได้ออกเสียงทิ้งไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็น color (colour) behavior (behaviour) catalog (catalogue) foto (photo) และอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะนิสัยของคนอเมริกามักชอบอะไรง่าย ๆ สุดท้ายคนส่วนใหญ่ในประเทศก็ยอมรับการสะกดแบบนี้และยิ่งไปกว่านั้นการสะกดแบบนี้ยังลามไปยังประเทศอื่น ๆ จนเดี่ยวนี้คนคิดว่าการสะกดแบบนี้คือสิ่งที่เป็นมาตั้งแต่แรกเริ่มกันเกือบหมดแล้ว ซึ่งประเทศเราก็นับเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่ชำระและกำหนดมาตรฐานการออกเสียงภาษาไทยแบบต่าง ๆ ผมไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงคิดว่าคนกลุ่มหน้าทำหน้าที่ได้ไม่ถูกต้องและคุณกลับคิดว่าคุณนั้นทำถูกต้องแล้ว ถ้าให้ผมเลือกไม่ว่าอย่างไรผมก็คงเลือกที่จะเชื่อกลุ่มคนที่ได้รับการยอมรับ มีการศึกษา มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มากกว่าใครคนหนึ่งที่ผมก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ารู้จักหลักภาษาไทยมากน้อยแค่ไหน ศึกษาประวัติศาสตร์มามากน้อยเพียงใด
ผมยังไม่เห็นว่าการเปลี่ยนวิธีการสะกดให้เป็นไปตามอุปนิสัยการออกเสียงของคนจะเป็นเรื่องเสียหายหรือผิดพลาดตรงไหน จากความจริงที่ว่าการออกเสียงต่าง ๆ มีการลดรูปเมื่อถูกนำมาใช้ทางสังคมก็เป็นหลักฐานที่เด่นชัดแล้วว่าการออกเสียงแบบดั้งเดิมนั้นอาจจะไม่ได้ดีที่สุด มีข้อบกพร่อง หรืออะไรบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับคนในประเทศก็เป็นได้ เช่น อวยพร (อำนวยพร) เวลา (เพลา) เป็น (เปน) เป็นต้น
ผมจึงไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าทำไมคุณจึงคิดว่าคำว่า "เป็น" ควรเขียนแบบ "เปน" และออกเสียงว่า "เปน"
ปล. ผมอยากจะบอกว่าจริง ๆ แล้วมันมีวิธีการออกเสียงที่อยู่ตรงกลางระหว่าง "ตัล" กับ "ตอล" ด้วยนะครับแต่ภาษาไทยไม่รู้จะเขียนอย่างไรคนเลยคิดว่ามีแค่นี้ บางคนฟังก็คิดว่าเป็น "ตัล" บางคนฟังก็ได้ยินเป็น "ตอล" ผมว่าถ้าเขียนแบบไม่เป็นทางการจะเขียนแบบไหนก็คงได้ล่ะครับ แต่ถ้าจะเขียนข่าวอย่างเป็นทางการแล้วก็ควรจะอิงกับราชบัณฑิตยสถาน เพระานั่นคือกฎที่คนในสังคมยอมรับเหมือนกับที่เรายอมรับการบังคับใช้กฎหมายครับ
That is the way things are.
ประเด็นนี้ผมจงใจแสดงให้เห็นว่า ตามหลักการ "เขียนให้ถูกต้อง โดยไม่สนใจว่าจริงๆไม่ได้อ่านแบบนี้"
คำว่า "เป็น" ก็ผิด เพราะในสมัยก่อนเราเขียนว่า "เปน" และราชบัณฑิตก็ผิดที่ไปแก้มัน
แต่ถ้าคิดว่าราชบัณฑิต ทำถูกแล้ว ที่ยอมเปลี่ยนคำที่ไม่ได้ออกเสียงแบบนั้น ให้เขียนตามที่ออกเสียง
ก็แปลว่าเราก็ควรพัฒนาการเขียนคำให้ตรงตามที่สมัยนิยมใช้ ตามที่เราและสังคมของเราออกเสียง
หลายๆคำมีสิทธิ์ที่จะเขียนให้ตรงตามเสียงอ่าน ไม่ใช่ต้องเขียนตามสิ่งที่บัญญัติไว้
แต่กลับไม่ใช่อย่างนั้น กลับมาคิดว่าต้องให้ตรงตามราชบัณฑิต ราชบัณฑิตทำถูกเสมอ
หลักการใช้สองมาตรฐาน ราชบัณฑิตทำอะไรก็คือถูก แต่คนอื่นที่ทำถูกหลักการ แต่ไม่ตรงกับราชบัณฑิต ก็คือผิด
งี้ก็แปลว่าราชบัณฑิตคือเผด็จการผู้มีสิทธิ์ขาดในการกำหนดความถูกต้องของภาษาแต่เพียงแต่ฝ่ายเดียว
สรุปก็คือยึดกับตัวบุคคล บุคคลนี้ว่าอะไรถูกก็ถูก อะไรผิดก็ผิด จะคัดค้านยังไงก็ต้องให้ราชบัณฑิตตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือไม่ยอม
แบบนี้ก็เป็นอำนาจนิยมสิครับ บุคคลอยู่เหนือระบบ อยู่เหนือหลักการ
ไม่ว่าจะคิดแบบไหนมันก็คือเผด็จการ อำมาตย์ คณาธิปไตย
อะไรที่ขัดหลักการก็สั่งว่า อนุโลม ยกเว้น แล้วจะมีหลักการไว้ทำไม
กฏหมายก็ต้องมีหลักการ มีมาตรฐานเดียวครับ
กฏหมายที่ไม่มีหลักการ สองมาตรฐาน มันก็สร้างความแตกแยก ควรยกเลิก และควรลงโทษคนที่ออกกฏหมายนี้ด้วย
การที่คิดว่าราชบัณฑิตถูกเสมอ ก็เหมือนมีมาตรา 1 ห้ามใครฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วมีมาตรา 309 ที่บอกว่าการกระทำของคณะรัฐประหารทุกอย่าง ถือว่าไม่ผิด ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต นั่นแหละ
สรุปคือคณะรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญไม่มีวันผิด แล้วจะมีมาตรา 1 ไปทำไม
การมีมาตรา 309 มีกี่คน "เต็มใจยอมรับ" บางคนก็ "จำใจยอมรับ"
และบางคนก็ "ไม่ยอมรับ แต่ไม่มีอำนาจจะไปทำอะไรกับมัน"
พจนานุกรม ก็ เช่น เดียว กัน
การยอมรับ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณสามารถ ทำให้ผู้อื่น ยอมรับ ตามที่คุณเห็นว่า ดีแล้ว ถูกแล้ว ควรแล้ว
เพราะ ภาษา และ กฏหมาย ประเพณี ก็ล้วนเกิดจากมนุษย์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ก็แล้วแต่กลุ่มคนส่วนใหญ่ ของ พื้นที่นั้น
แต่เมื่อนั้น มันก็จะมี Fragmentation เกิดขึ้นมากมาย จนไม่ทราบว่า คำๆไหน ใช้ยังไง ใช้แบบไหน
และ ใน เมื่อ Blognone เลือกราชบัณฑิตสยาม ให้เป็นมาตรฐาน ในการใช้คำ ของสถานที่แห่งนี้
คุณก็จำเป็น ต้องใช้ ศัพท์ ตามมาตรฐานที่ สถานที่แห่งนี้ กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียว
คุณจะใช้คำ ตามความเข้าใจ ของคุณ ไม่ได้ แม้ว่ามันจะถูกกว่า ดีกว่า ตราบเท่าที่ ผู้ที่มีหน้าที่จัดทำ มาตรฐาน ยังไม่ยอมรับ นั่นคือ ราชบัณฑิตสยาม
ภาษาไทย ไม่ใช่ ภาษาที่ตายแล้วเหมือนภาษาละติน มันสามารถ เปลี่ยนแปลงได้
จะเป็น หรือ เปน ก็ถูกทั้งนั้น
แต่ในเมื่อ ตอนนี้ ทางองค์กรณ์ที่กำหนดมาตรฐาน ได้ บัญญัติ ไปแล้วแล้วว่า ให้ใช้ คำว่า เป็น เป็น มาตรฐาน
คุณก็ควรจะใช้คำๆนี้ โดยไม่เกี่ยวข้อง ว่ามันจะถูกกว่า เหมาะสมกว่า
มันเป็น เรื่องของมาตรฐาน เพื่อ ให้ทุกคน เข้าใจ เนื้อหา ไปในทางเดียวกัน ครับ ไม่เกี่ยวกับความถูกต้อง
ไม่งั้น เราจะมี ปัญหา เรื่องความเข้าใจ ที่ไม่ตรงกัน ของผู้รับสาร นะครับ
รู้สึกผมจะเขียนวนไปวนมา แฮะ
ในเรื่องของหลักภาษานั้นกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษภาษาอื่น ๆ หรือภาษาไทยก็ตาม ในเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะมองว่าคนออกกฎนั้นมี 2 มาตรฐานเหมือนกันหรือเปล่า การที่คำว่า "เป็น" เขียนตามการออกเสียงโดยสามัญแล้วคำอื่นที่คุณว่า (ยกตัวอย่างด้วยก็ดี) ไม่ได้เป็นเช่นนั้นมันอยู่ในหลักการข้อยกเว้นอะไรหรือไม่ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ผมว่าราชบัณฑิตยสถานไม่ได้ทำอะไรชุ่ย ๆ ถึงขนาดที่ว่าคำไหนอยากให้เขียนแบบเสียงอ่านก็แก้ไข คำไหนอยากให้เขียนแบบเดิมก็ปล่อยทิ้งไว้ กว่าจะเปลี่ยนแปลงการเขียนคำ ๆ หนึ่งลงในหนังสือแบบเรียนของนักเรียนทั่วประเทศนั้นคงจะผ่านการกลั่นกรองเป็นอย่างดีตามกฎระเบียบของหน่วยงาน
อนึ่งราชบัณฑิตยสถานนั้นถูกเลือกและนำเสนอกราบทูลโดยนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยในระบอบประชาธืปไตยประชาชนนัยหนึ่งนั้นก็เป็นผู้เลือกนายกฯ โดยตรง ดังนั้นแล้วการกล่าวว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้เลือกบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ในหน่วยงานนี้ทางอ้อมก็คงจะไม่ผิดนัก (ถ้านายกฯ เห็นว่าคณะบุคคลไม่เหมาะสมก็สามารถไม่นำเสนอรายชื่อกราบทูลได้) ผมจึงไม่เห็นด้วยที่คุณไม่เคารพการยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคมและปฏิเสธการทำหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานครับ
ถ้าคุณคิดว่าคุณควรเป็นคนเลือกบุคคลมาเป็นราชบัณฑิตยสถานโดยตรงเองเหมือนการเลือกตั้งส.ส. ผมว่าประเทศไทยเราคงต้องมีการเลือกตั้งทำนองนี้เต็มไปหมด เพราะเราก็ต้องนำหลักการนี้ไปใช้กับการเลือกคณะกลุ่มคนทำงานทุกลุ่มจึงจะจัดว่าเหมาะสมเท่าเทียมไม่เป็นคณาธิปไตยอำมาตย์อย่างที่คุณกล่าวหา ซึ่งสำหรับผมแล้วคุณต่างหากที่กำลังต่อต้านประชาธิปไตยไม่เคารพการตัดสินใจของคนหมู่มาก ตูตัวอย่างได้จากที่ web นี้ก็ได้ว่าคนในกลุ่มออกมาติงให้คุณใช้คำศัพท์เขียนข่าวตามราชบัณฑิตยสถานแต่คุณก็ยังไม่ยอมรับกฎของทีนี่ และสามารถดูได้จากการที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเลือกและยอมรับที่จะเชื่อราชบัณฑิตยสถานและเห็นว่าคำว่า "เป็น" ควรเขียนว่า "เป็น" ไม่ใช่ "เปน" แต่คุณก็ยังไม่ยอมรับไม่เห็นด้วยและพยายามจะขวางคลอง
ส่วนตัวแล้วผมรู้สึกว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่แนวคิดของประชาธิปไตยเช่นกัน
That is the way things are.
แล้วราชบัณฑิต มีระบบระเบียบอะไรกับการ รับผิดชอบ สิ่งที่สั่งให้คนอื่นทำแล้วมันผิด บ้างล่ะครับ
การเลือกคณะ รัฐมนตรี และหน่วยงานใดๆ ทำผิดคือออกนะครับ และบางครั้งมีบทลงโทษทางวินัย หรือไม่ก็ถึงศาล ถูกฟ้อง ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
เป็นหน่วยงานองค์กรณ์อิสระซะด้วย ทั้งที่ประชาชนอุตส่าห์เลือกเข้ามา แต่กลับมีกลุ่มบุคคลที่แต่งตั้งกันมาเพื่อขัดขารัฐบาลแทนประชาชน และประชาชนเลือกไม่ได้
แต่หน่วยงานอื่น แค่เสนอชื่อแล้วก็บอกให้รับๆไป ผ่านสภาไปจบแค่นั้น ราชบัณฑิตก็เช่นกัน มีใครตรวจสอบได้
ในเมื่อไม่ได้ประชาชนก็ต้องคอยตรวจสอบเองสิครับ
ผมจึงคิดว่าการกระทำที่จะไม่ยอมรับอำนาจราชบัณฑิต ต้องเป็นหน้าที่ของประชาชน
ซึ่งผมเลือกใช้วิธีนี้ คือสนับสนุนการที่ ใครก็ตามแต่ จะเขียนผิดไปจากพจนานุกรม ถ้ามีหลักการรองรับ
ราชบัณฑิตไม่ได้ทำงานชุ่ยๆ อันนี้ผมทราบ
แต่ในขณะเดียวกัน ราชบัณฑิต ก็ใช่ว่าจะไม่เคยผิดพลาดอะไรเลย (สังคายนาแก้คำก็มีอยู่เรื่อยๆ)
นอกจากนี้ ภาษาที่วิวัฒนาการ ราชบัณฑิตตามทันหรือ?
สิ่งที่ผมเห็นคือ ราชบัณฑิต บัญญัติตามเสียงอ่านในสมัยของท่าน แต่เสียงอ่านของคำต่างๆมันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ราชบัณฑิตเอง เลือกที่จะทิ้งคำที่ตกยุคสมัย อย่างหมากม่วง ก็บัญญัติว่า ต้องใช้ มะม่วง
แต่คนในปัจจุบัน มีหลายคำที่จะวิวัฒนาการ กลับเอาพจนานุกรม "ที่สร้างขึ้นมาจากการวิวัฒนาการ" มาขัดขวางวิวัฒนาการของภาษาเสียเอง
คำที่ "ถูกหลักการ" กลับตีเป็นผิด หลักการกลับผิดเป็นถูกไปหมด แล้วอ้างแต่พจนานุกรมเหมือนอ้างคัมภีร์ ถูกแล้ว แน่แล้ว ไม่มีวันผิด
อย่างครั้งนี้เองที่ คำว่า ดิจิตอล มีคนใช้กันทั่วไปหมด แม้แต่ Founder ก็ยัง(เผลอ?)ใช้
ก็ยังมีคนคาบพจนานุกรมมาบอกว่ามันผิดนะ อ้างว่าพจนานุกรมต้องเขียนแบบนี้
แล้วนี่คือเสียงส่วนใหญ่รึเปล่า?
อะไรถูก อะไรผิด กันแน่?
จากข้อมูลที่ web ราชบัณฑิตยสถาน
เมื่ออยู่ภายใต้บัญชาของรมต.กระทรวงศึกษาธิการแล้วทำไมถึงจะตรวจสอบและเรียกร้องหาความรับผิดชอบไม่ได้ล่ะครับ?
ผมคิดว่าราชบัณฑิตยสถานก็มีการเพิ่มคำศัพท์ใหม่ ๆ เข้าไปตามกาลเวลาเหมือนกันนะครับ แต่ก็ต้องดูตามความเหมาะสมและความแพร่หลายด้วย ไม่ใช่เอาแค่คำที่ฮิตติดปากวัยรุ่นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปใส่เพิ่มในพจนานุกรม เช่น คำว่า "สก๊อย" "เวิ่นเว้อ" "เหวี่ยง" "จัด" "เปง" คนกรุงเทพฯ ฟังแล้วอาจเข้าใจแต่คนต่างจังหวัดอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มคนที่สูงอายุด้วยแล้วคำเหล่านี้ผมว่าส่วนใหญ่ไม่ได้รับการยอมรับด้วยซ้ำ เนื่องด้วยในกลุ่มคนที่ปฏิสัมพันธ์ด้วยนั้นไม่ใช่ใครใช้คำเหล่านั้น เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์นี้แล้วอาจจะพบได้ว่าคำนี้ไม่ใช่คำใหม่ที่เป็นมาตรฐานก็ได้นะครับ
ส่วนเรื่องการออกเสียง "ตัล" หรือ "ตอล" นั้นโดยส่วนตัวผมคิดว่าเสียงจริง ๆ ของฝรั่งไม่ใช่ทั้ง 2 อย่างนี้แต่เป็นอาะไรที่อยู่ตรงกลางระหว่าง "ตัล" "ตอล" และ "เติ้ล" ดังนั้นในความคิดของผมคำนี้เขียนอย่างไรก็ไม่ถูกต้อง 100% ทั้งนั้น ผมยอมรับว่าแบบที่เขียนตามอย่างราชบัณฑิตยสถานนั้นได้รับความนิยมน้อยกว่าแบบที่ใช้กันทั่วไปจริงซึ่งตอนนี้ผมมองว่าราชบัญฑิตยสถานนั้นยังตามการใช้งานของคนทั่วไปไม่ทัน แต่อีกหน่อยอาจจะได้รับการแก้ไขก็ได้ (ซึ่งผมก็คิดว่าน่าจะเป็นแบบนั้นในไม่กี่ปี)
สำหรับกรณี "ดิจิตอล" ผมเห็นด้วยว่าควรใช้ตามการใช้งานจริงจากคนหมู่มาก (จริง ๆ ใช้อะไรผมก็เฉย ๆ อย่างที่บอก) เพราะว่าคำนี้ไม่ใช่ภาษาไทยแต่เป็นคำที่ไทยนำมาใช้ทับศัพท์ ซึ่งอาจจะเขียนได้ต่างกันตามแต่ว่าคนที่ฟังแล้วได้ยินเป็นแบบไหน แต่คำว่า "เป็น" นี่ผมว่าเป็นภาษาไทยแท้ ๆ และคนส่วนใหญ่ก็เขียนว่า "เป็น" กันทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลเลยที่จะฝืนและไม่ยอมรับคำ ๆ นี้ เฉกเช่นเดียวกันกับ "มะม่วง" และ "มะพร้าว" ที่คุณยกตัวอย่างมาครับ
อนึ่งการไม่ยอมรับคำบางคำเพราะว่าคนใช้เยอะกว่ากับการไม่ยอมรับทุกอย่างของราชบัณฑิตยสถานเพราะว่าต่อต้านที่มาฐานะหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถานนั้นเป็นคนละอย่างกันนะครับ ก็อยากให้ลองเปิดใจเป็นกลางว่ากันไปตามเหตุผลและความเหมาะสมด้วยครับ เพราะอย่างน้อยราชบัณฑิตยสถานก็ถูกจัดตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยเช่นกันครับ (ถูกทูลถวายโดยนายก ฯ ที่ประชาชนเลือกผ่านการเลือกตั้ง)
That is the way things are.
แล้วไอ้การดูความเหมาะสมนี่ใครควรดูล่ะครับ?
แล้วใช้หลักเกณฑ์ไหนล่ะครับ ว่า "ไม่ใช่ภาษาไทย ใช้เสียงหมููมาก"
แล้วคำว่า เป็น คำว่า มะพร้าว มะม่วง ไม่ใช่คำ "ไทยแท้" นะครับ แต่เกิดจากการกร่อนเสียงในสมัยหนึ่ง
หมากพร้าว > มะพร้าว อาจมากกว่า 100 ปี แต่ เปน > เป็น น่าจะประมาณไม่ถึง 100 ปี
แล้วไม่ใช่ว่าผมไม่ยอมรับทุกอย่างของราชบัณฑิต แต่ผมไม่ยอมรับการใช้หลักการแบบสองมาตรฐาน
ประเด็นคือ ถ้ายังมีการไปนั่งขวางคนที่ใช้ภาษาไม่ตรงกับราชบัณฑิต แปลว่าหลักการของราชบัณฑิตก็ผิดแล้ว ผมถึงออกมาค้านว่าราชบัณฑิตไม่ได้ถูกเสมอ
แต่คนพวกนี้มักจะเถียงว่า คำไทยแท้ๆ ต้องรักษาไว้ วิบัติไม่ได้ แม้ว่าเสียงอ่านจะเปลี่ยนก็ต้องเขียนเหมือนเดิม
งั้นราชบัณฑิตก็ผิดสิที่แก้คำโบราณ ต้องกลับไปใช้คำโบราณให้หมดสิ
ผมก็ใช้ตามนั้น ใช้คำว่า เปน เพราะมันคือคำที่ถูกต้องแต่โบราณ
แล้วทำไมผมก็ยังโดนว่า โดนต่อต้าน ในเมื่อผมอนุรักษ์คำไทยแท้
พอสรุปสุดท้ายคือ ราชบัณฑิต ถูกทุกอย่าง ต่อให้ผิดหลักการก็ถือว่าถูก
แบบนี้มันไม่มีหลักการ ยึดเอาตัวคณะบุคคลว่าคณะนี้ทำอะไรก็ถูก แบบนี้ใช้ไม่ได้
ต่อให้นายกที่มาจากประชาชนเลือกตั้งโดยตรง ก็ต้องทำตามหลักการที่ชื่อว่ากฏหมาย กฏหมายก็ต้องไม่มีการสองมาตรฐาน เขียนให้เอาผิดคนกลุ่มหนึ่ง ละเว้นคนกลุ่มหนึ่งไม่ได้
แต่ราชบัณฑิตทำได้ แบบนั้นมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยครับ ผมถึงได้บอกว่า แบบนี้มันเหมือนคณะรัฐประหาร เขียนกฏหมายว่าอะไรคือความผิด แต่เขียนปิดว่าคณะรัฐประหารทำอะไรก็ไม่ถือว่าผิด แบบนี้มันไม่ใช่ประชาธิปไตย
แล้วการที่เขียนแค่ว่า อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อำนาจบังคับจริงๆไม่มี เพราะเป็นคนกำหนดความถูกต้อง มันก็ไม่ต่างกับองค์กรณ์อิสระต่างๆ ที่มีไว้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แต่นักการเมืองไปสั่งอะไรไม่ได้ครับ เพราะต้องถ่วงดุลย์อำนาจ
แล้วคุณแน่ใจได้อย่างไรว่าเหตุผลและความเหมาะสมที่คุณใช้มาทั้งชีวิต มันคือความถูกต้อง
ผมไม่แน่ใจ ตอนนี้ผมถึงกำลังไต่ถามถึงว่า ทำไมมันถึงได้ถูกต้อง
ที่ผ่านมาผมได้รับแต่ Circular Logic กับแนวคิดยึดคณะบุคคลอยู่เหนือหลักการ ว่าพจนานุกรมออกโดยราชบัณฑิต ดังนั้นถูกเสมอ
แต่ผลคือคำที่ใช้มาตลอดชีวิต บางคำพึ่งประกาศว่า มันผิด
จะไปสั่งปลดคนที่บัญญัติคำผิดซักคน ริบยศตำแหน่งคืนซักขั้นนึง ได้หรือไม่?
มีการรับผิดชอบอะไรบ้างหรือไม่?
นอกจากสั่งว่า "อนุโลมให้ใช้" เพื่อกลบเกลื่อนความผิดตัวเอง
คุณคงเป็นพวกนักเรียนสายวิทย์ที่คร่ำเคร่งและคิดแค่ว่า 1+1 ต้องเท่ากับ 2 ในสมการเชิงเส้น 1 ตัวแปรต้องมีคำตอบเดียวอะไรแบบนั้น แต่สำหรับหลักภาษาแล้วมันไม่เหมือนกันครับ ทุกภาษามีข้อยกเว้น ในภาษาไทยมีในภาษาอังกฤษก็ยิ่งมีครับ มันเป็นเรื่องปกติสำหรับภาษาไปแล้วจะไปคิดเหมือนสมการคงจะไม่ได้
เนื่องด้วยภาษามันเป็นสิ่งที่ยังไม่ตายและมีการใช้งานอยู่ทุกวันดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการมันย่อมมี แต่แน่นอนว่าสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นย่อมต้องมีมาตรฐานในการใช้งานอยู่บ้าง มิเช่นนั้นแล้วหากทุกคนเขียนอ่านใช้คำอย่างที่ตัวเองพอใจกันหมดแล้วจะติดต่อสื่อสารกันรู้เรื่องได้อย่างไร ?
เรื่องคำไทยคำต่างประเทศขอชี้แจงดังนี้ครับ คำไทยกร่อนเสียงก็ยังคงถือเป็นคำไทยครับ ส่วนคำทับศัพท์คือคำที่ออกเสียงลอกเลียนแบบมาจากคำต่างประเทศตรง ๆ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ติจิทัล โฟโต้ ซอฟท์แวร์ เป็นต้น ดังนั้นแล้ว "มะม่วง" ก็เป็นคำไทยที่กร่อนเสียงมาจากคำว่า "หมากม่วง" ครับ
ดูคุณค่อนข้างจะเน้นเรื่องการบังคับใช้กับสองมาตรฐานเป็นพิเศษ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่าในหลักภาษานั้นกฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น ในเลขเองขนาดเรื่องการหารพื้น ๆ ก็ยังมีข้อยกเว้นว่าถ้าตัวหาร (ส่วน) เป็น 0 ให้ถือว่าเป็นอนิยามเลยเช่นกัน ดังนั้นจะหากฎเกณฑ์อะไรที่ไม่มีช้อยกเว้นเลยนั้นคงจะยากและมีอยู่แค่ในอุดมคติแค่นั้นแหละครับ ทีนี้ขอพูดถึงเรื่องสองมาตรฐานบ้าง อยากทราบว่าทุกวันนี้คุณเคยทำผิดกฎจราจรบ้างไหมครับ แล้วเวลาทำผิดแล้วคุณเสียค่าปรับเท่าไร ไปจ่ายที่โรงพักหรือใช้วิธีการข้างเคียงอื่น แล้วคุณคิดว่าสิ่งที่คุณทำไปนั้นคนอื่น ๆ ทำเหมือนคุณกันหมดทุกเลยหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ก็แปลว่ากฎหมายข้อนี้มีการบังคับใช้แบบ 2 มาตรฐานจากหน่วยงานเดียวกัน ทีนี้ก็จะมาถึงคำถามสุดท้ายที่ว่าแล้วคุณคิดเห็นอย่างไรกับมัน คุณทำใจยอมรับมันได้หรือว่าต่อต้านอย่างรุนแรงกับเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าคุณทำใจยอมรับมันได้แล้วทำไมเรื่องหลักภาษานี้คุณถึงยอมรับไม่ได้ มันมีอะไรแตกต่างครับ ?
อนึ่งการปรับปรุงภาษาให้ทันสมัยมีหลักการตามสมัยนิยมอารยประเทศกับการทำให้ภาษาวิบัติมันมีวัตถุประสงค์ต่างกันอย่างสิ้นเชิงนะครับ แม้ว่ากระบวนการจะส่งผลลัพธ์ที่คล้าย ๆ กันออกมา (เปลี่ยนวิธีการเขียนการอ่านคำบางคำ) แต่มันคือคนละเรื่องกันครับ ผมเองเป็นคนที่ไม่ยอมรับการใช้ภาษาวิบัติเหมือนกัน (เห็นใน blognone บางคนยังเขียนคำพื้น ๆ ไม่ถูกต้องเลย) แต่ผมยอมรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาษาให้เหมาะสมตามหลักการสากลและภาษาศาสตร์ครับ
That is the way things are.
ยาวไปครับ ยาวปายยยยยยยย
ผมอ่านไม่ไหวละคนนึง ฮ่าๆๆ
ตรงกันข้ามเลย ผมเห็นว่าปัญหามันเกิดจากการที่บังคับว่า A ต้องเท่ากับ A
นั่นคือจุดเริ่มต้นของพจนานุกรมว่า คำนี้ ต้องเขียนแบบนี้ มีความหมายตามนี้ๆๆ
พยายามจะยัดหลักการให้มันหลายเป็นสมการเชิงเส้น ทั้งที่มันทำไม่ได้เพราะมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วพอมีอะไรขัดหลักการก็มานั่งบอกว่า ข้อยกเว้นมั่งล่ะ อนุโลมมั่งล่ะ
แบบนี้อย่ามีหลักการแต่แรกดีกว่า
และที่ผมไม่ยอมรับก็เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าตัวเองนั้นความรู้มากกว่า ฉะนั้นทุกคนต้องเชื่อ ห้ามหือห้ามอือ ห้ามใช้ต่างไปจากนี้ แต่กลับมีอำนาจมายกเว้นให้ตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ด้วยคำว่า "ข้อยกเว้น" "อนุโลม"
ออกหลักการมาให้คนอื่นใช้ ผมรับได้ แต่ตัวเองก็ต้องใช้ตามหลักการนั้นด้วย ไม่ใช่ว่าผิดหลักการที่ตัวเองออก ก็บอกว่า อนุโลม
ความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน?
อำนาจมาพร้อมความรับผิดชอบ ในเมื่อไม่มีความรับผิดชอบ ก็ไม่ควรจะได้รับอำนาจ
ในเมื่อมันไม่มี ก็ไม่ควรมาบังคับให้ทุกคนต้องใช้ตามหลักการที่เกิดจากอำนาจของตัวเอง
ในทางคณิตศาสตร์ ไม่มีคำว่าอนุโลมครับ มีแต่กฏ และทุกสิ่งทุกอย่าง จะท้าทายเมื่อไหร่ก็ได้ ขอแค่มีหลักการรองรับ
นักคณิตศาสตร์พยายามหาหลักการมาสู้ตลอดเวลา
อย่าว่าแต่ 0 / 0 หาค่าไม่ได้เลย
แม้แต่ว่า ทำไม 1+1 ถึงเท่ากับ 2 ใครเสนอหลักการแย้งได้ว่ามันไม่จริง คนนั้นมีสิทธิ์พูด ถ้าพิสูจน์ได้ ก็คืออัจฉริยะ
แต่ภาษาไม่ใช่ บังคับให้ใช้ตามมาตรฐาน ใครค้านก็อนุโลม คนอื่นมามีหลักการแค่ไหน ก็อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีการพิสูจน์จริง
สุดท้ายก็อ้างคัมภีร์ หรือข้างล่างนั่นก็อ้างว่า "เขามีความรู้มากกว่า ศึกษามามากกว่า คุณมั่นใจในตัวเองไปแล้ว"
เหอะ
และขอโทษด้วยที่ผมไม่มีรถ ดังนั้นผมไม่เคยทำผิดกฏจราจร แต่ทั้งบ้านผมไม่เคยยัดเงินตำรวจจราจร
ใบสั่งก็ใบสั่ง พ่อผมสู้เลยถ้าเรียกแบบไม่ผิดจริง
ขอโทษนะ ปู่ผมก็ตำรวจจราจรเกษียณ และย่าผม ทั้งที่หย่ากันแล้ว ก็ยังเล่าให้ผมฟังว่าปู่ผมมือสะอาด ไม่เคยรับส่วย ย่าผมเล่าเพราะจะบ่นว่า เงินเดือนแค่ไหนแค่นั้น ตั้งแต่ยศต๊อกต๋อยจนเลื่อนขั้นถึงสารวัตร ไม่มีเงินพิเศษอะไรเข้าบ้านเลย
อย่าคิดว่าคนอื่นเหมือนตัวเองทุกคนสิครับ
ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจประเด็นว่าทำไมหลักภาษาถึงต้องมีข้อยกเว้นต่างกับคณิตศาสตร์ที่มีข้อกำหนดตายตัว มันเป็นศาสตร์คนละแขนงกัน มีที่มาการยอมรับต่างกัน น่าจะลองทำความเข้าใจดูใหม่นะครับ
งั้นผมลองถามดูบ้างว่าภาษาไหนบ้างบนโลกนี้ที่ไม่มีข้ออนุโลม ข้อยกเว้น ?
ส่วนเรื่องการประพฤติต่อกฏจราจรนั้นผมถามเฉย ๆ ครับไม่ได้บอกว่าผมเป็นอย่างไร คุณเป็นอย่างไร จะมาทิ้งท้ายเหน็บแนมผมว่าเป็นการคิดไปเองค่อนข้างเยอะนะครับ
ถ้าที่บ้านคุณไม่มีคนเยอะใช้วิธีนอกลู่ แล้วเพื่อนคุณเคยใช้หรือไม่ครับ เคยนั่งรถเพื่อนไปไหนมาไหนแล้วเพื่อนทำผิดกฎจราจรหรือไม่ เคยได้ยินเพื่อนเล่าเรื่องราวให้ฟังหรือไม่ มันไม่ได้จำกัดแค่ตัวคุณเองหรือคนที่บ้านหรอกครับ มันลามไปถึงสังคมคนรู้จักของคุณด้วยว่าเป็นแบบนี้หรือไม่ แล้วสุดท้ายแล้วก็กลับไปคำถามเดิมว่าถ้าคนรอบตัวคุณทำแล้วยอมรับได้ทำไมกรณีนี้คุณถึงต่อต้านอย่างรุนแรง ? สองมาตรฐาน ?
ถ้าจะบอกว่าในบรรดาคนรู้จักทั้งหมดไม่เคยมีคนใช้วิธีนอกลู่ตอนทำผิดกฎจราจรเลย อันนี้ก็สุดแล้วแต่จะบรรยายอธิบายครับ แต่คนอ่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ;)
อีกอย่างหนึ่งตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยเห็นตำรวจจราจรที่ไม่เจรจาอนุโลมเวลามีผู้กระทำผิดกฎจราจรครับ
ผมว่าไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่งก็ต้องมีการอนุโลมครับ โดยเฉพาะข้อ 1 และข้อ 3 ถ้าไม่เชื่อก็ลองโทรไปถามคนที่คุณเชื่อมั่นดูก็ได้ครับ ยิ่งเป็นคนในครอบครัวด้วยแล้วยิ่งถามกันง่าย และอย่าลืมนะครับเหมือนเดิมถ้าคำตอบออกมาว่าใช่แล้วคุณยอมรับได้ ต้องลองคิดดูด้วยว่าทำไมยอมรับได้
ปล. ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจว่าสำหรับคุณ 1+1 ต้องเท่ากับ 2 ครับ
That is the way things are.
ไอ้การปล่อยผ่านทั้งหมดนั่นไม่ควรเกิดขึ้นซักข้อ และจราจรหลายคนที่ทำแค่บางข้อ
ตามหลักคือควรจะทำทุกข้อ ไม่มียกเว้น
แล้วมันคือเรื่องที่ดีแล้ว ไม่ต้องต่อต้านเหรอครับ ?
มันถึงมีผมในวันนี้ไงล่ะ ที่มีจุดยืนต่อต้านการที่ มีอำนาจ แต่อนุโลมสองมาตรฐาน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง จราจร หรือแม้แต่พจนานุกรม ผมก็ไม่ยอมรับ
คนที่ไม่มีอำนาจ จะอนุโลมอะไรกันก็ช่าง มันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ใช้หลักการ
แต่ถ้ามีการใช้อำนาจ บังคับคนอื่น มันก็ต้องมีหลักการเสมอ
แล้วก็นะ ผมจะใช้วิธีต่อต้านที่รุนแรงแค่ไหน มันก็คือผมก็ต่อต้านอยู่ดี
และผมว่าวิธีที่ผมใช้มาตลอดไม่ได้รุนแรงอะไรเลย ก็แค่พูด เถียง แสดงจุดยืน ไม่ได้ไปนั่งประท้วงอดข้าวกลางถนนซะหน่อย
แต่แค่นี้ก็ต้องออกมาหาทางถ่วงกัน อ้างอาวุโสมั่งล่ะ อ้างคัมภีร์มั่งล่ะ อ้างอนุโลมมั่งล่ะ อ้างนั่นอ้างนี่ สุดท้ายคือไม่มีหลักการทั้งนั้น
ก็ สิ่งที่ตลอดชีวิตคุณเกิดมาไม่เคยเห็น มันก็เหมือนทฤษฎีห่านดำนั่นแหละครับ
คุณอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจริงๆมันเคยมีห่านดำเต็มไปหมด แต่สูญพันธุ์ไปก่อนคุณเกิดเท่านั้นเอง
แต่สิ่งที่คุณทำคือการหาทางตั้งแง่ก่อนแล้วว่า มันทำแบบนี้แน่ๆ ถ้าเราพูดอันนี้ไปมันต้องไม่มีทางเถียง
พอผมบอกว่า ผมไม่ได้ทำ ก็หาทางเฉไฉ แถไปเรื่องอื่น เพื่อนคุณทำแน่ๆ คนรอบตัวคุณทำแน่ๆ ไม่มีใครที่ไม่ทำหรอก บลาๆๆ
เหอะ
แปลว่าสังคมรอบตัวคุณก็ทำ ฝ่าฝืนแต่คุณก็ยอมรับได้ แต่พอเป็นเรื่องนี้คุณบอกยอมรับไม่ได้ ต้องไม่มีการอนุโลม ต้องไม่มีการยกเว้น ?
ผมถามคำถามไปหลายข้อไม่เคยเห็นคุณจะตอบสักข้อ ขอโทษเถอะครับใครกันแน่ที่เฉไฉ ? เรื่องขับรถคุณบอกมไม่มีรถโอเคโจทย์มันไม่ได้ผมก็เปลี่ยนโจทย์ให้สอดคล้องแต่ใจความก็ยังคงเดิม คุณบอกว่าผมเฉไฉคุณเลยไม่ตอบเสียอย่างนั้น ? ใจความไม่ได้อยู่ที่ว่าใครทำแต่มันอยู่ที่ว่าคุณยอมรับความเป็นสองมาตรฐานของเรื่องอื่นได้ แต่กับเรื่องนี้คุณยืนกรานไม่ยอมรับแต่หัวแข็งค้านชนฝากับเรื่องนี้ คุณบอกราชบัณฑิตยสถานสองมาตรฐาน คุณไม่ชอบไม่ยอมรับแต่ทำเสียเองแบบนี้ไม่เรียกลักลั่นย้อนแย้งหรือครับ ?
ผมถามว่าภาษาไหนบนโลกนี้บ้างที่ไม่มีข้อยกเว้นอนุโลม คุณก็ไม่ตอบ
ผมถามว่าทำไมคุณยอมรับไม่ต่อต้านเรื่องการอนุโลมของจราจรได้แต่เรื่องนี้คุณยอมไม่ได้ คุณก็ไม่ตอบ
ตกลงว่าใครเฉไฉครับ ?
คุณบอกคนไม่มีอำนาจจะ 2 มาตรฐานแค่ไหนก็ได้ นัยว่าคุณกำลังบอกว่าคุณเองก็ 2 มาตรฐานเหมือนกัน สำหรับเรื่องการฝ่าฝืนการจราจรคุณต่อต้านน้อย (หรือไม่ต่อต้านเลย) แต่ถ้าเป็นเรื่องพจนานุกรมคุณจะต่อต้านมาก และนั่นก็เป็นเรื่องของคุณที่จะต่อต้านเรื่องไหนน้อยหรือมาก คนอื่นไม่ต้องสนใจเพราะคุณเป็นแค่คนธรรมดา
ตีความได้แค่นี้ก็จบแล้วครับ ว่าคนอื่นผิดแต่ตัวเองก็ผิดเหมือนกันแล้วบอกไม่เป็นไร ผมว่าถ้าคุณยอมรับว่าตัวคุณเองก็ 2 มาตรฐานก็คงไม่มีอะไรที่ต้องถกเถียงกันต่อแล้วล่ะครับ เพราะคุณก็เข้าใจอยู่แน่แก่ใจอยู่แล้ว
That is the way things are.
มั่วแล้วครับ ไอ้ทืี่คุณว่าน่ะ ผมพูดตอนไหน
พอเถอะครับ จะแถไปถึงไหน อ่านใหม่ก็ได้นะครับถ้าไม่เคลียร์
ผมไม่ได้บอกว่าคนไม่มีอำนาจสองมาตรฐานได้ แต่ผมบอกว่า เรื่องที่มีอำนาจมาเกี่ยวข้อง ต้องใช้หลักการ สองมาตรฐานไม่ได้เด็กขาด เพราะมันเกี่ยวพันกับการที่คนอื่นจะถูกบังคับ
ก็แปลเข้ารกเข้าพงไปไหนไม่รู้
เรื่องจราจรมีใครที่บอกไม่ต่อต้าน? ผมเคยบอกซักคำตรงไหนว่าสังคมรอบตัวผมฝ่าฝืนอะไรแล้วผมยอมรับ?
เรื่องจราจรมันไม่ใช่การใช้อำนาจ? คุณเอาอะไรมาคิด?
ใช้สายตาหรือใช้ตาปลาอ่านครับ?
อยากจบก็จบครับตามสบายคุณ คนเริ่มก่อนก็คือคุณไม่ใช่ผม
ผมเป็นเริ่มอ้างพจนานุกรม ผมควรออกมาแถลงสักหน่อยว่าทำไมผมถึงอ้างพจนานุกรม
ทำไมผมถึงอ้างพจนานุกรม เพราะมันเป็นสิ่งที่คนใช้เป็นมาตรฐานว่าคำอะไร แปลว่าอะไร ออกเสียงอย่างไร ใช้อย่างไร
ผมเฉยๆ กับการที่คุณเรียกคำว่า digital ว่า ดิจิคอล เพราะมันชินปาก ชาวบ้านชาวเมืองเขาก็เรียก ทั้งๆ ที่มันผิดตั้งแต่ตัว ต แล้ว (ภาษาอังกฤษไม่มีเสียงหนักขนาด ต บ้านเรา) ผมไม่รู้และไม่สนใจว่าใครเริ่มเรียกคำนี้ว่า ดิจิตอล ผมคุยกับคนไทยผมก็พูดว่า ดิจิตอล เพราะกลัวเขาฟังไม่ออก
สิ่งที่ผมไม่พอใจนักก็คือการที่มีคนบอกว่า ดิจิทัล ผิด มากกว่า มันมีเหตุผลของมันที่ทำไมมันถึงควรเรียกว่า ดิจิทัล ผมอธิบายไปแล้วว่าผมยึดพจนานุกรม ซึ่งผมใช้พจนานุกรมสองเล่ม คื Oxford Advanced Learners Dictionary กับ Cambridge Advanced Learners Dictionary ซึ่งได้รับการเชื่อถือจาก native speaker ทั่วโลก (เล่มแรกเป็นเลมที่ผมใช้ตอนสมัยเรียนที่เอแบคด้วย) ทั้งสองเล่มมีการอัพเดตตลอดเวลา มีการพิมพ์ใหม่เรื่อยๆ และมีการแก้ไขเนื้อหาให้ทันสมัยเสมอๆ การที่เราเขียนคำทับศัพท์เราจะใช้วิธีถอดเสียง ซึ่งผมว่าทุกคนรู้ดี แล้วไอ้เสยงต้นฉบับมันมาจากไหน ก็มาจากการอ่าน phonetic ที่เขียนอยู่ใน dictionary นี่ล่ะครับ
ความคิดผมคือ มันใช้ได้ทั้งสองคำ คำหนึ่งถูกหลักวิชาการ อีกคำเป็นคำที่นิยม ก็ใช้ไปทั้งคู่ไม่เสียหายอะไร แต่จะบอกว่าคำใดคำนึงผิดผมคงต้องขอแย้งนิด ( แต่ blognone มี glossary ให้ใช้ก็ควรใช้)
คนระดับราชบัณฑิต ซึ่งก็เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การที่เขาจะสร้างคำขึ้นมาเขาต้องอ้างอิงจากหลักฐานทางวิชาการ ซึ่งถ้าเอามันง่ายๆ ก็ไอ้ phonetic นี่ล่ะมั้ง ไม่รู้สิ กับคุณซึ่งผมรู้มาว่าเรียนสายคอมมา ไม่ได้ศึกษาด้านภาษาโดยตรง ความเชี่ยวชาญของคุณมันจะไปวัดกับเขาได้เหรอ มั่นใจตัวเองเกินไปหรือเปล่า
คุณมั่นใจขนาดไหนว่าทุกวันนี้คุณพูดภาษาอังกฤษได้ถูกต้องแล้ว ? ขนาดฝรั่งแท้ๆ บางคนยังไม่มั่นใจขนาดนั้นเลยนะครับ
ผมอ่านความเห็นคุณแล้ว หลาย ครั้งที่ผมรู้สึกเหมือนมีคนจอดรถให้คนข้ามถนนแล้วคุณบีบแตรไล่อย่างไร้ความปราณี เขาจอดให้คนข้ามเพราะมันเป็นสิ่งที่ถูก แต่คนไทยเรามักจะไม่จอดให้ด้วยความเคยชิน พอมีคนส่วนน้อยจอดให้ก็กลายเป็นทำตัวแปลกประหลาด ทั้งๆ ที่มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
การที่คนส่วนใหญ่ทำ ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนันมันจะถูกเสมอไป นะครับ
และการที่ตัวเองมองว่ามันถูก ก็ไม่ได้แปลว่ามันถูก นะครับ ความเห็นน่ะออกได้ แต่ใจกว้างยอมรับฟังและลดการก้าวร้าวอีกสักหน่อยจะดีกว่านะ
ก็เพราะผมเห็นว่า แม้ว่าจะอ้างหลักฐาน มีความรู้ท่วมหัว สุดท้ายก็พลาด น่ะสิ
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง คนที่เกิดก่อน มีความรู้มากกว่า ก็ยังพลาดได้
ตรงข้าม คนที่มีความรู้น้อยกว่า แต่หลักการของเขาถูก เขาก็ถูกอยู่ดี
แนวคิดยุคกาลิเลโอโน่นครับ ที่คิดว่าคนมีความรู้มากกว่า ก็ไม่มีวันผิด
แล้วไง กาลิเลโอก็โดนขังฟรี
และคนในยุคนั้นก็คิดง่ายๆว่า "คนระดับ... มีความรู้มากกว่า ไม่ผิดอยู่แล้ว กาลิเลโอโง่เองที่ไม่ไปเชื่อพวกเขา"
การที่ผมก้าวร้าวเพราะผมรู้สึกว่าโดนกดหัว ด้วยวิธีคิดพรรค์นี้ ไม่มีเหตุผลที่น่าจะรับได้
ถ้ามีการยกหลักทฤษฎีที่ยอมรับได้มา ผมก็หยุดไปหาหลักมาโต้ ถ้าผมโต้ไม่ได้ผมก็รับ และขอบคุณมากที่ได้รู้ว่าผมผิดเอง
เหมือนตอนที่ยกเรื่อง Phonetic ผมก็หยุด ไปนั่งค้นคว้า และผมก็กลับมาได้โดยการยก Phonetic มาค้าน ว่า เสียง อะ มันก็มีสระบังคับนะ แต่คำที่เถียงกันอยู่นี้ ไม่มี Phonetic บังคับสระนะ สรุปต้องออกเสียงไหน?
แน่นอนว่ามันไม่เป๊ะ เหมือน T จะเปลี่ยนมา ต หรือ ท มันก็ไม่เป๊ะ แต่ มันก็บอกได้ว่าอันไหนใกล้เคียงกว่า
คำว่า Digital แน่นอนว่ามันไม่ใช่ทั้ง อะ และ เอาะ แต่น่าจะเป็นเสียงสระที่อยู่ระหว่างสองตัวนี้
แต่การออกเสียงจริงๆมันก็น่าจะทำให้รู้ว่ามันไปใกล้เคียงคำไหนมากกว่า และควรจะถอดเสียงตามนั้น
แน่ใจได้อย่างไร ว่าคำว่า ดิจิทัล มันแค่ถูกหลักการ ไม่ใช่ถอดมาผิดหลักการแต่ต้น ถึงได้ไม่มีใครใช้
ก็ไม่เห็นจะค้านต่อเลย? กลับมาอ้างเรื่องก้าวร้าวมั่งล่ะ ใจกว้างมั่งล่ะ
ผู้ใหญ่เคยใจกว้างกับเด็กจริงๆ เหรอครับ เห็นมีแต่กดหัวเด็ก แล้วคิดไปเองว่าตัวเองใจกว้าง พอเด็กยกตัวเสมอหรือชี้ว่าตัวเองเหนือกว่าในเรื่องนี้ ก็โวยวายหาว่าก้าวร้าว ปีกกล้าขาแข็ง
เหอะ
ผมคิดว่า Digital อ่านว่า "ดิจิทัล" ถูกแล้วครับ เพราะเพื่อนในทีมผมชื่อ AL ก็เรียกว่า "อัล" ส่วนคำว่า all ที่ยกตัวอย่างมา ผมอ่านว่า "ออล" เหมือนกับ tall ที่อ่านว่า "ทอล"
โดยส่วนตัวผมสนับสนุนการใช้เหตุผล ในกรณีนี้ถ้าคุณเห็นว่าราชบัณฑิตทำผิดก็หาข้อมูลมาพิสูจน์ และอธิบายว่าทำไมควรอ่าน "ดิจิตอล/ดิจิทอล" เท่านั้นเอง :)
ป.ล. ถ้ามีตรงไหนไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผมยกตัวอย่าง คุยกันด้วยเหตุผลได้ครับ
Alright ล่ะครับ?
Mental ? Capital ? Local? Global? Herbal?
จริงๆหมดนี่ก็คลุมเครือ แต่แปลกมั้ยที่ทุกคำ มันเหมือนเราออกเสียง เอาะ + ล มากกว่า อะ + ล
ที่ผมจำได้ว่าออกเสียง อัล คือ Metal
อันที่จริงคำที่ว่ามาออกเสียง อัล หมดเลยนะครับ (คือไม่แน่ใจด้วยว่าอังกฤษกับอเมริกาออกเสียงต่างกันด้วยป่าว)
ถ้าถามผม ผมว่าเขียนให้ออกเสียงตรงกับเจ้าของภาษาก็เป็นสิ่งที่ถูกนะครับ
alright = ɔːlˈraɪt
ออกเสียงว่า ออลไรท์ ถูกต้องครับ (ไม่มีเสียง gh นะ)
Edit คำนี้เป็นการลดรูปจากคำว่า all right ครับ เป็นภาษาพูด ก็เลยออกเสียงว่า ออลไรท์ ไงครับ อย่าเอาไปใช้กับเอกสารราชการหรือพวกเอกสารที่เป็นทางการเชียว
ต้องไปดูรากศัพท์อีกว่ามันมาจากภาษาอะไร แล้วควรจะออกเสียงแบบไหน
แต่ถึงยังไงก็ต้องอ้างอิงคนไทยครับ ว่าคนไทยส่วนมากอ่านออกเสียงแบบไหน ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าคนไทย 90% อ่านออกเสียงว่า ดิ-จิ-ต้อน
แม้แต่คนที่บัญญัติศัพท์ก็ตาม
ผมเห็นด้วยกับการยึดที่ต้นฉบับครับ
แต่เผอิญว่าผมก็เคยได้ยินเจ้าของภาษาออกเสียงว่า ดิ-จิ-ตอล ไม่ใช่ ดิ-จิ-ตัล
ถ้ามีอะไรยืนยันว่าเจ้าของภาษาออกเสียง ดิ-จิ-ตัล เป็นส่วนมาก คืออาจมีการออกเสียง ดิจิตอล แต่เป็นส่วนน้อย หรือเพี้ยนไปเฉพาะบางที่ อย่างไปเพี้ยนที่อเมริกา แต่อังกฤษไม่เพี้ยน
ผมก็พร้อมยอมรับนะครับว่าผมผิดเอง
ผมขออนุญาตตอบแบบเสียมารยาทนิด ๆ ว่า คุณฟังเพี้ยนไปเองครับ ซึ่งไม่แปลกนะผมว่าเพราะว่าคนไทยก็ฟังภาษาอังกฤษแบบที่คนไทยพูดมาตลอดชีวิต หูมันก็ชินกับการออกเสียงแบบนี้อ่ะครับ
อีกอย่าง US กับ UK ออกเสียงคำนี้แบบเดียวกันครับ (แต่ฟังแล้วต่างกันหน่อยเพราะคน UK จะออกเสียงฟังยากกว่าหน่อย)
สำหรับภาษาอังกฤษ ถ้าไม่แน่ใจว่าคำไหนออกเสียงอย่างไร ให้เปิด Dict ที่เป็น Advanced Learner ดูจะมีเขียน Phonetic ไว้ครับ (Phonetic เป็นการเขียนวิธีการออกเสียงให้อยู่ในรูปตัวอักษร) ผมบอกไปแล้วว่า Phonetic ของ Digital มันเขียนยังไง ลองดูว่ามันควรจะอ่านยังไงแล้วกัน (ส่วนวิธีอ่านหาในเนทเอาก็ได้ ไม่ยาก แต่ไม่ค่อยละเอียด) แต่ถ้าอยากเรียนอย่างละเอียดแนะนำให้ไปเทคคอร์ส Pronunciation ตามสถาบันสอนภาษาเอาดีกว่า
คนอเมริกันส่วนใหญ่จะไม่ออกเสียงสระในคำที่มีตัว t d ครับ ลองฟังเสียงตัวอย่างได้จากเว็บ http://www.forvo.com/
ถ้าคิดว่าคำนี้ควรอ่านว่า "ดิ-จิ-ตอล ไม่ใช่ ดิ-จิ-ตัล" จริงๆ ลองคิดต่อไปที่ราชบัณฑิตฯ ผมคิดว่าน่าจะได้รับคำอธิบายที่ดีเพราะบุคคลากรที่นั่นศึกษาเรื่องนี้มาโดยตรง หรือถ้าราชบัณฑิตฯ เขียนคำอ่านผิดพลาดก็จะได้แก้ไขครับ :)
อันที่จริงบ้านเราเองก็น่าจะเปลี่ยนตำราเรียนของกระทรวง ให้กลายเป็นดิจิตอลให้หมด แล้วโหลดได้ฟรีสำหรับผู้ที่สนใจ จะดีมากเลยครับ
Tablet ที่ เพื่อไทย จะแจก ประสิทธิภาพ มันกาก มากจนเป็นได่เพียง E-Reader
ถ้าได้ไปฟัง คุณก็จะเดาได้ว่ามันมีไว้เพื่ออะไร
คำนึงที่ คุณ ณัฐวุฒิ บอกคือ ลูกหลาน ไม่ต้องแบกกระเป๋า ไม่ต้องพกหนังสือ
ค่าหนังสือที่รัฐแจกฟรี + ค่ากระเป๋า แพงกว่า tablet
ปีหน้ามี นักเรียน ป.1 ประมาณ 800,000 คน Order 800,000 เครื่อง มาจาก จีน
เครื่องใน มือ คุณณัฐวุติ ที่ผมเห็นมันมี ขนาด 7 นิ้ว รูปทรงคล้าย Galaxy Tap บอกว่าเป็นตัว Demo (แต่ผมดูแล้ว คิดว่า โม้ และนั่นไม่ใช่ Tablet ตัวจริงที่จะแจก )
แต่อะไรที่ประเทศเราเป็นคนเริ่ม มักโดนติ ในขณะที่เวลาเป็นผู้ตาม ก็โดนหาว่าช้า
7" นี่ ไม่ไหวครับ เพ่งก้นตาถลนแน่นอน
ผมว่าจะให้ดีควรใหญ่เท่ากระดาษ A4 สัก 11.4" กำลังดี
อย่าเพิ่งตีโพยครับ รอดูให้มันเป็นรูปร่างก่อน อะไรมันเปลี่ยนแปลงได้ตามยุค เมื่อก่อนใช้กระดานชนวนราคาไม่ได้ถูกนะ
เห็นด้วยกับกระดานชนวน
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
แต่จอ 7" เล็กไปจริงๆครับ ถ้าเอามาเรียนหนังสือ และมันต้องคงทนระดับหนึ่งด้วย
7 นิ้วก็ไม่เล็กแล้วนะครับ :)
ทำไมเค้าไม่แจก kindle เลยล่ะ เอาไว้อ่านเป็นหลัก ไม่เสียสายตา ความสามารถของ tablet ก็ยังพอมีอยู่บ้าง
ก็ดีแล้วครับที่ได้แค่นั้น เพราะผมว่าถ้าจะเอามาให้นักเรียนใช้มันก็ควรเป็นได้แค่ E-Reader
ปล.แล้วลูกผม (ถ้ามี) จะวาดการ์ตูนลงใน E-Reader ยังไงล่ะครับ ตอนผมเรียนยังวาดนู่นนี่เล่นได้
"คุณ ณัฐวุฒิ บอกคือ ลูกหลาน ไม่ต้องแบกกระเป๋า ไม่ต้องพกหนังสือ ค่าหนังสือที่รัฐแจกฟรี + ค่ากระเป๋า แพงกว่า tablet
ปีหน้ามี นักเรียน ป.1 ประมาณ 800,000 คน"
เอาเข้าจริงผมว่าทำได้หรอก ถึงทำได้ก็คอรัปชั่นแน่นอน และผมก็ไม่สนับสนุนนโยบายนี้สักเท่าไหร่ะค่าไฟที่เพิ่มขึ้น (รับรองมันต้องมาชาร์ตไฟที่โรงเรียนกันชัว)ทำให้โรงเรียนหรือที่บ้าน มีภาระเพิ่มมากขึ้น นักเรียนจะขี้เกียจเรียนมากขึ้น(ต่างประเทศอาจจะไม่เป็น แต่บ้านเราน่าคิด) แบบตหมดระหว่างเรียน นโยบายแจกๆไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่
ยากที่จะเป็นไปได้ และไม่คุ้มค่าครับ ขอเงินเดือนครูดี ๆ ดึงดูดครูเก่ง ๆ ไม่ดีกว่าหรือครับ
เห็นด้วยเลยครับ
มัวแต่พัฒนาวัตถุ ไม่ได้พัฒนาคน
ไม่น่ายั่งยืน
เกิดแล้วก็มีดับนะครับ คนนี่แหละที่ไม่ยั่งยืน ...
ต้องพัฒนาองค์ความรู้สิครับ
ต้องเริ่มจากบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพก่อนไงครับ ถึงจะมีการพัฒนาอย่างที่ว่ามาได้
บางทีเราก็ต้องยอมรับสิ่งใหม่ๆ
ต่อไปเด็กไทยใส่แว่นสายตาทั่วประเทศแน่เลย ผมว่าปรับปรุงหลักสูตรก่อนดีกว่ามั้ง เห็นผลช้า แต่ระยะยาวน่าจะดีสำหรับเด็กไทย เห็นเด็กไทยรุ่นใหม่ๆ ตอนนี้ ทำงานด้วยปวดหัวมึนตึ๊บ
ความจริง แล้ว สมาชิก ชสวท. แทรกซึมอยูในนั้นเอง เป็น Mega Project เปลี่ยนนักหญิงให้เป็นสาวแว่นทั้งประเทศ (ฮา)
โครงการต่อไป แจกแว่น
จริง ๆ ผมกะจะแปลข่าวนี้พอดี อิอิ ไม่ทัน
ถ้าผู้ผลิตเป็นซัมซุงผมว่าก็โอเค แต่ถ้าบ้านเรา ... เอ่อ ไม่รู้สิ 555 แน่นอนว่าไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากแคลิฟอเนียแน่นอน คือผมเห็นด้วยที่จะทำ การทำสื่อการสอนเป็นดิจิตอลนี่ง่ายอยู่แล้ว เพราะว่าสื่อการเรียนพวกหนังสือตอนนี้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ทำ(น่าจะ)หมดแล้ว แค่ทำออกมาเป็น PDF ก็จบ
ปัญหาคือ นร.บ้านเราจะโดนคุณครูสั่งให้แบกทั้ง ไอ้แทบเบล็ต (ที่ไม่รู้ว่าจะต้องใช้ชอล์กเขียนหรือเปล่า) หนังสือเรียน สมุดเรียน ชีทเรียนพิเศษ หนังสือรายงาน ชุดพละ ฯลฯ หรือเปล่า ? แนวโน้มสูงครับ โดยเฉพาะในช่วงปรับตัวแรก ๆ แบบว่าเคยเห็นน่ะ
อีกอย่างนะ อุปกรณ์พวกนี้ผูกกับคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็ผูกกับอินเตอร์เนท หรือทั้งสองเลย ... แล้วบางโรงเรียนที่ไฟฟ้าไม่มี ประปาเข้าไม่ถึงเนี่ย จะให้มี Tablet ใช้มันก็กะไรอยู่ (แต่ไฟฟ้าเข้าถึงหมดแล้วมั้ง ?? ) พอดีเห็นนโยบายแล้วเดจาวูนึกถึงสมัยที่โรงเรียนได้รับคอมพิวเตอร์แต่ไม่มีไฟฟ้าน่ะครับ
สุดท้าย ที่คิดออก ...ข่าวนักเรียนถูกทำโทษให้ยืนหน้าชั้น ฐานลืมชาร์ทแบทแท๊บเบล็ตก่อนไปโรงเรียน (จริงๆ คือแบทมันเสื่อมแล้วดันหมดก่อนเข้าเรียน 55)
ปล. นึกถึงตอน "เอ้านักเรียน เปิดหนังสือไปหน้า 89" แล้วทุกคนก้เอานิ้วรูดหน้าจอสุดชีวิตเพื่อข้ามไปหน้า 89 เพราะไม่รู้ว่าจะเปิดทางลัดยังไง 555
อาเมน ฮาๆๆ
[Blog ZeroEngine] [@ZeroEngines]
เห็นว่า iPad2 นี่ตอนไปทดลองใช้ ตอนหาเสียง
ชอบตรง "เอานิ้วรูดหน้าจอสุดชีวิต" เนี่ยแหละ
แน่นอนว่า อาจารย์รูดมาก่อนแล้วที่ห้องพักอาจารย์
55555555555555555555555555+
ฮาตรงโดนให้ยืนหน้าชั้น เพราะลืมชาร์ทแบท นี่แหละ คิดไปคิดมา มันน่าเกิดขึ้นจริงได้ด้วยสิ
+1 ครับ
ผมคิดว่าการศึกษาที่จะต้องใช้ Tablet ในการเรียนการสอน
เพื่อที่จะได้เห็นภาพเคลื่อนไหว มองโมเลกุลเคมี หรือทดสอบกฏของฟิสิกส์ได้ง่าย
มันควรอยู่ในระดับมัธยม ไม่ใช่ ป.1
ประเทศเค้าเครือข่ายดี ครอบคุมกว่า ผลิตเครื่องได้เอง ของเรายังไม่พร้อมในตอนนี้หรอกครับ รร บางที่ internet ไม่มี หนังสือเรียนบางทียังไม่พอเลย ต้องค่อยๆ ปรับไป
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
lewcpe.com, @wasonliw
"แต่ผมได้ยินหลายครั้งแล้วที่คำว่าค่อยๆ ปรับแปลว่าอย่าไปทำ"
+1 ให้ประโยคนี้
Internet ผมเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญในเรื่องการกระจาย content และ network เอาแค่ wifi สำหรับให้ tablet อัพเดต content ก็ยังไม่พร้อม บุคคลากรไม่มีความรู้ (ครูสอนวิชาปกติยังไม่พอในหลายโรงเรียนโดยเฉพาะ รร ที่นักเรียนน้อย โควต้าครูก็น้อยตาม หลายที่เรียนรวมหลายชั้นปีพร้อมกัน)
Tablet ราคาถูก คุณภาพไม่พอจะมาใช้เป็นแทนสื่อการเรียนปัจจุบันได้ ใช้ได้แค่เสริม (เพราะขนาดหน้าจอ ความละเอียดหน้าจอ แบตเตอรี่) เตรียมปลั๊กสำหรับรองรับการชาร์จที่ รร มีเรื่องการบำรุงรักษาเพิ่มเติม แน่นอนว่ามีทั้งเรื่องคนและบุคคลากร/ความรู้
ผมเห็นด้วยกับการใช้ tablet นะครับ ผมเห็นว่ามีประโยชน์เลย แต่คงต้องใช้ผสมไปก่อนอีกหลายปี เรื่องการปรับคือปรับคนให้พร้อม ทั้งตัวบุคคลาการทางการศึกษาและนักเรียน เรื่องของเครือข่ายหรืออินเตอร์เน็ต ให้ทุกโรงเรียนมี computer สำหรับเล่น internet ก่อนก็ได้ เป็นการเตรียมความพร้อมให้บุคคลากรก่อนด้วย พอมี tablet จะเพิ่ม network เล็กๆ อัพเดต content ก็ง่ายขึ้น ไม่ต้องมาเสียบโหลดกันทุกคน และแน่นอน ต้องมีคนดูแลบำรุงรักษาเช่นกัน
เกาหลีเค้าคุ้มกว่าเพราะเค้าใช้ประโยชน์จาก tablet ได้มากกว่าแค่เอามาแทนกระดาษ เรื่อง internet มันทำให้ใช้สื่อใหม่ๆ และอัพเดตได้ตลอดเวลาด้วย และเค้าค่อนข้างพร้อมในเรื่องบุคคลากร อุปกรณ์ อาจจะต้องมีปรับบ้างแต่ไม่เยอะและไม่ใช้เวลามาก ถ้าแปลง content เป็น digital ก็แทบจะใช้ tablet แทนหลายๆ อย่างได้เลย ในขณะที่ไทย ต้องไปปรับเรื่องบุคคลากร อุปกรณ์ให้พร้อม ซึ่งน่าจะใช้เวลามากกว่าการแปลง content เป็น digital อีกครับ
ในไทยเขตเมืองผมว่าทำได้แน่ และ รร เล็กๆ หรือห่างไกล ยังไงก็ต้องระบบเดิมจนกว่าจะพร้อมในเรื่องบุคคลากร และอุปกรณ์มากกว่านี้
ปล.ขออภัยแก้บ่อย พิมพ์เสร็จมาอ่านอีกทีแล้วขาดๆ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
lewcpe.com, @wasonliw
บางทีเราก็มองในแง่ร้ายกันมากเกินไปครับ พ่อผมเป็นข้าราชการผู้ใหญ่สายบริหาร (ใกล้จะ 50 ละ)
แต่พ่อผมใช้คอมพิวเตอร์ Internet, E-mail, Google เป็นครับ ผมไม่เคยได้สอนแต่อย่างใด ที่สำคัญ รู้กระแสสังคมใน Internet ด้วยครับ อย่างน้อย Drogba ทีม Chelsea ทีมผมเชียร์ พ่อผมเขาก็เรียกกันแบบที่ชาวอินเทอร์เน็ตเรียกกันว่า ไอ้แมลงสาบ.. (อันนี้ 2-3 ปีละ)
ข้าราชการบางทีก็ไม่ได้ซื่อบื้อแบบที่หลายๆ คนคิดครับ เขาก็มีการพัฒนาไปพร้อมกับคุณเช่นกันครับ เราต่างหากที่ดูถูกความคิดคนอื่นมากเกินไป
เรื่องอุปกรณ์ผมไม่ค่อยห่วงว่าอาจารย์จะใช้ไม่เป็น เผลอ ๆ เด็กก็ทำเป็นเอง แต่เนื้อหาความรู้ที่สอนต่างหากที่สำคัญกว่า 1.เมื่อครูไม่แตกฉานในวิชาที่สอน 2.ถ่ายทอดไม่เป็น เข้าใจว่าการเป็นครูต้องมีใจรัก แต่ถ้าส่งเสริมเงินเดือนครูก็จะเป็นแรงจูงใจให้คนเก่ง อย่างน้อยก็มีอาชีพที่มั่นคง
lewcpe.com, @wasonliw
ตกลงมัน ดิจิทัล หรือ ดิจิตอล ครับ
ขนาด founder @lew ยังพิมพ์ว่า ดิจิตอล เลย งง
^
^
that's just my two cents.
ที่ถูกต้องใช้คำว่า ดิจิทัล ครับ ตามราชบัณฑิตยสถาน
แต่ใช้ผิดกันทั้งประเทศ แม้แต่หน่วยราชการก็ยังใช้ผิด dict lexitron ยังใช้ผิดเลย :)
ราชบัณฑิตอาจผิด แล้วคนทั้งประเทศอาจจะถูกอยู่แล้ว ก็ได้ครับ
น่าจะพูดแค่ว่า ผิดหลักราชบัณฑิต หรือไม่ตรงกับพจนานุกรม นะ
บุคคลากรไม่ได้เลวร้ายครับ เรื่องใช้งานไม่ค่อยมีปัญหาหรอกครับ ปกติออกแบบมาให้ใช้ง่ายอยู่แล้ว เรื่องดูแลเวลาเกิดปัญหามากกว่า รร เล็กๆ สมมติ 100 คน มีครูอาจจะแค่ 3-4 คน ใน 1 ปี tablet 100 เครื่องคงเจอปัญหาการใช้งานอยู่แล้วจะดูแลอย่างไร อย่างแม่ผมเปิดคอมเล่นเน็ตอะไรสบาย แต่ถ้าเจออะไรที่ไม่ปกติก็ทำอะไรไม่ได้แล้วครับ แค่เว็บที่เคยเข้า firefox แจ้งเตือนว่าเป็นเว็บอันตรายงงและไม่กล้าทำอะไรต่อแล้วครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อันนี้เห็นด้วยครับ เป็น IT Support เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องลงไปพร้อมๆ กับ "จุดชาร์จ" และหนังสือ
lewcpe.com, @wasonliw
บ้านเราคงต้องทำ wifi ให้ได้ทุกโรงเรียนก่อนครับ แล้วค่อยมาคิดว่าจะแจกหรือไม่แจกเจ้า tablet เนี่ย
มีความเป็นไปได้สูง ถ้าจะพาดพิงถึงประเทศไทยต้องบอกว่าเหมาะเจาะและสอดคล้องกับนโยบายให้เด็ก ป.1 ใช้ iPad (เครื่องเลียนแบบ) แทนตำราเรียนพอดี
ปล. กลัวจะเป็นการเมือง โน้นก็ไม่ยอม นี่ก็ไม่ยอม แล้วจะให้ใครยอม
ปูเสื่อดูดราม่าการเมือง
ถ้าของบ้านเรานี่ใช้เนตของ AI... ด้วยหรือป่าวนิ เข้าทางเลยสิ อิอิ
แต่ผมว่าบ้านเราหนังสือมันยังไม่แพงขนาดที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้แทบเล็ตหรอกครับ ตอนนี้บ้านเรามีไว้โก้ๆมากกว่า
もういい
บ้านเรา เค้าให้เด็กนักเรียนทำการบ้านลงในหนังสือครับ จะได้ซื้อหนังสือใหม่ทุกๆปีื ห้ามใช้หนังสือเก่า เพราะหนังสือใหม่จะขายไม่ได้
ผมว่าเราต้องให้ความสำคัญกับ content มากกว่าวิธีการ จะเป็นกระดาษหรือ Digital Format ไม่สำคัญ
เห็นด้วยครับ
ผมไม่สนหรอกนะ ว่า tablet ที่รัฐบาลจะแจก spec มันจะเป็นยังไง สนแค่ว่าเขามีแผนจะทำ content แบบไหน
ถ้าแค่เอาหนังสือเรียน มาทำ pdf นี่ผมว่าไม่ work อย่างแรง (มากๆ)
อยากให้ลองคิดถึง s/w แบบ CAI ในสมัยก่อน ปรับยุคให้มันสามารถตอบสนองกับผู้ใช้ได้มากขึ้น เพราะข้อเสียของ s/w CAI สมัยนั้นคือ ต้องมีคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ มันก็มีแค่ในห้องคอม แต่ยุคนี้ ทุกคนสามารถถือ Tablet ได้
หรือถ้านึกไม่ออก ถ้าใครมี iPad ลอง load นิตยสาร Mars กับ Zhake มาเทียบกันดู
จะได้เห็นภาพเลยว่า ถ้าปรับปรุง หนังสือ -> สื่อดิจิทัล ให้ได้ประสิทธิภาพ มันไม่ใช่แค่เอา pdf มาลงแล้วจบ
+1
+1 ถ้า เอามาอ่าน PDF เฉยๆ
ผมว่าหนังสือดีกว่าเยอะครับ
ปล.แต่ผมว่าคงไม่ใช่แต่นั้นหรอก เดี๋ยวมันก็ต้องมีพวก video สอนท่ารำไทย
แล้วก็คลิ๊ปเสียง mp3 สอนออกเสียงภาษาอังกฤษ
เรื่อง content เป็น digital format นี่เริ่มมาเยอะแล้วน่ะครับ พอดีแม่ผมเป็นกรรมการตรวจผลงานในการเลื่อนขั้นมาหลายปี ก็มีบทเรียนที่เป็น digital format มาทั้งนั้น
อยากให้เขียนเป็น App เฉพาะในแต่ละโรงเรียน หรือ แต่ละวิชาเลย
แล้วก็ต้องโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ เขียนอะไรลงไปได้ ภาพเคลื่อนไหว ใช้สอบ
ใช้ WiFi เฉพาะในโรงเรียนจำกัดการใช้งานเว็บไซต์เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
อาจจะมองดู Intranet แทนที่ Internet ก็ได้
ปล. หวังไปเรื่อย
บ้านเราตอนนี้คงยากคับ เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ อันดับแรกผมว่าควรจะปล่อย HSPA ให้ได้ทั่วทั้งประเทศก่อน กับเปลี่ยนรูปแบบการสอนของครู ผมไม่รู้นะว่าการสอนเด็กประถมกับมัธยมสมัยปัจจุบันเป็นอย่างไร แต่สมัยที่ผมเรียนราวๆ 10 กว่าปีที่แล้ว ครูมีแต่ให้จดตามหนังสือ จดๆๆๆ อย่างเดียว ผมว่ามันเป็นวิธีการสอนที่ห่วยแตกมาก ออกแรงมากโดยใช่เหตุ แทนที่จะสอนให้เด็กรู้จักวิธีคิดเอง
ครูคะ ขออนุญาตชาร์แบตค่ะ!!!
+11
แล้วนักเรียนก็ไปนอนอู้อยู่ห้องพยาบาล
(ถ้าทั้งหมดมันเวริคจิง)งานนี้คงมีการลอกการบ้านผ่าน อินฟาเรท ไม่ก็ บลูทูธ เป็นแน่ -- "กรุณาปิดบลูทูธ นะคะนักเรียน"
อยากเห็นเริื่องทางคอมพิวเตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนแบบนี่
@fb.me/frozenology@
หากไทยทำจริงๆ น่าจะทำในภาพรวมและเป็นบูรณาการไปทั้งหมดทั้งระบบ
สื่อการเรียนการสอนแน่นอนว่าต้องแปลงเป็นสื่อดิจิทัลแบบภาษาไทยมากเท่าที่จะทำได้
tablet (หรือ e-book reader) ก็ตาม น่าจะเป็นการร่วมมือกับผู้ผลิตไทยหรือหน่วยงานไทยพัฒนาขึ้น จะเป็นกี่บริษัทกี่หน่วยงานก็ตาม (ผลิตจริงๆ จะไป oem หรือ จ้างประเทศไทยผลิตก็แล้วแต่ครับ)
ระบบ (ทั้งซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ ด้วย) เองก็ควรร่วมกันช่วยกันพัฒนาขึ้นระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยหน่วยงานรัฐเป็นคนกำหนดมาตรฐานไทย และข้อกำหนด ต่างๆ และ ให้เอกชนเข้ามาช่วยดำเนินการตาม มาตรฐาน หรือ ข้อกำหนดเหล่านั้น ...
มันน่าจะช่วยในภาพรวมทั้งระบบมากกว่า ... นักเรียนได้มีสื่อการเรียนภาษาไทยมากขึ้น คนไทยน่าจะมีงานทำมากขึ้น และ อื่นๆ ครับ
ผมคิดว่าเอามาช่วยเสริมอะพอได้ แต่คงได้นิดเดียวเพราะติดเรื่องการกระจาย content อย่างที่พูดๆกัน
ถ้าจะให้มาแทนเลยนี่อย่าเลยดีกว่า ไรสาระมากๆ ไหนจะต้องมีการจดโน๊ต ทำสัญลักษณ์เน้นข้อความ ทำการบ้านลงไปเลย ใช้ทดเลข หรือวาดรูป ถ้าเป็นกระดาษมันเขียนได้ทันที เขียนไปแล้วอยู่ได้ตลอด ไม่ใช่ว่ากดลบทีเดียวหาย
ถ้าใช้ Tablet ไหนจะเรื่องสายตาเสีย ต้องเสียเวลาศึกษาการใช้งาน แบตหมด เครื่องแฮ้ง เยอะแยะ หรือแม้แต่เครื่องหาย หรือเอาไปขายซะงั้น
ไม่อยากนึกภาพเลย ว่าถ้าจะโกงกินจนพุงปริ้นกันได้ขนาดไหน แจก Tablet ให้นักเรียนทุกคน!!
อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ครับ รอให้เขาทำเป็นรูปร่างก่อน ถึงตอนนั้นยังไม่สายที่จะวิจารณ์
รอถึงตอนนั้นเงินภาษีผมก็ถูกนำไปใช้แล้วสิครับ -..-
That is the way things are.
เอาน่าครับ เพื่อมันจะดีกับเด็กไทย ยังดีกว่าไปซื้อ GT-200
ผมยินดีที่จะให้นำภาษีของผมไปใช้จ่ายในโครงการที่มองแล้วมีโอกาส หรือเปิดโอกาสใหม่ให้กับสังคม แน่นอนว่าบางโครงการอาจผิดพลาดล้มเหลว แต่มันก็ย่อมดีกว่าดองเงินไว้ในคลังเฉยๆ รอมือดีฉกไป หรือไปซื้ออุปกรณ์ประหลาดๆ ที่ต้องใช้ศรัทธาเป็นพลังงานให้มัน
kindle ดีไหมลูกไม่เสียตาเด็กแอบเล่นเกมไม่ได้ด้วย
บริษัทขายหนังสือ กับ เซล ขายหนังสือ จะทำไงล่ะครับ เหมือนตัดตอน ระบบค่าคอมมิชชั่น เลยนะเนี่ย
ผมขอในไทยไม่ต้องแจก tablet หรอกครับ เอาแค่อัตราคนรู้หนังสือ 100% คนจบขั้นต่ำ ม.6 และจบปริญญาเกินครึ่งประเทศ แค่นี้ประเทศเราก็จะเจริญขึ้นอีกเยอะครับ
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วถ้าพูดถึงเรื่องนโยบายที่ฝั่งพรรคเพื่อไทยจะทำ
พรรคนี้ฉลาดอย่างนึง คือเค้าเข้าใจคนไทยได้เป็นอย่างดี ว่าคนไทยหลายๆ คน (จริงๆ อยากนับเป็นส่วนมากได้) มักจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่จับต้องได้มากกว่า
อย่างในเรื่องแจกแทบเล็ต แจกโน๊ตบุคนี้มันเป้นสิ่งที่จับต้องได้ สัญญาว่าจะให้ถึงเวลาแล้วก็ทำได้จริงๆ ประชาชนก็คิดว่า "ดี" ทำได้ตามที่พูด แต่จะหามีกี่คนที่มาใส่ใจถึงคุณภาพของการศึกษา ทุกวันนี้หลักสูตรมันห่วย คนสอนในระดับประถมก็ไม่ค่อยมีคุณภาพ
ซึ่งเรื่องที่ผมพูดมาแทบเล็ตมันเข้ามาช่วยตรงนั้นไม่ได้ มันช่วยได้แค่อำนวยความสะดวกในการเรียนสำหรับคนที่รู้วิธีใช้มัน แต่มันไม่ได้เพิ่มคุณภาพของการศึกษาครับ
เห็นด้วยสุดๆครับ คนชนบทเค้าก็คงไม่ได้กันหรอก Tablet พวกเนี้ย
กลายเป็นผลานเงินกันเล่น ปลูกฝังกันเข้าไปเรื่องวัตถุ
คุณรู้ไหมว่ารัฐบาลที่แล้วใช้เงินไปกับนโยบายอะไรบ้าง มันก็แจกเหมือนกันแหละ (แจกเงิน 2000, เสาธง, น้ำพลังงานแสงอาทิตย์) แต่ทำไมรัฐบาลที่แล้วจับต้องอะไรไม่ได้ ทั้งๆที่ก็ทำเหมือนกัน
ถ้าคุณตอบโต้ผม เพียงเพราะว่าผมวิจารณ์พรรคเพื่อไทย ผมก็ไม่รู้จะตอบโต้คุณทำไมครับ ผมไม่ได้ชอบพรรคไหนเป็นพิเศษ
ใครทำอะไรไม่ดี ผมก็วิจารณ์ครับ ผมเห็นใจเพื่อนประชาชนด้วยกัน โดยเฉพาะ 80% ในหมู่บ้านผมเป็นชนชั้นแรงงาน และมักจะได้รับผลกระทบจากการกระทำของรัฐบาลครับ (ไม่ว่าจะชุดไหนก็ตาม)
ได้ยินมาว่าพื้นที่บ้านคุณ PaPaSek เป็นของฝ่ายรัฐบาลชุดนี้ด้วย :-)
ผมว่า ถ้าเราไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ เราก็วิจารณ์รัฐบาลชุดนี้ในจุดที่ไม่ชอบ เราไม่ชอบชุดที่แล้ว ก็วิจารณ์รัฐบาลชุดที่แล้ว ให้แยกกันเป็นคนละเรื่อง (เรายังด่าเรื่อง 3G กันบน Blognone กันเลย จำได้มั้ยครับ) ไม่ใช่ว่าชอบรัฐบาลชุดที่แล้วแล้วมาวิจารณ์ชุดนี้ก็เกินไปครับ
แต่นโยบายรบ.นี้นี่ ฟังแล้วพวกประชาชนที่จ่ายภาษีหน้ามืดครับ ... เงินพวกตูทั้งนั้นเอาไปทำอะไรเนี่ย เงินไม่พอคงได้ขึ้นภาษีบุคคลธรรมดาแน่ (เห็นประกาศว่าจะลดภาษีนิติบุคคล...) เหนื่อยครับ
แม่ผมก็เสื้อแดงครับ ช่วงนี้ผมต้องนั่งฟังแม่คุยเรื่องการเมืองยาวมาก
+1 เห็นด้วยครับ
อันไหนที่มันดีเราก็ชม อันไหนที่คิดว่าไม่ดีเราก็มีสิทธิวิจารณ์
ปล. คุณ PaPaSek ผมหลงรักคุณเข้าแล้วล่ะ
นัดเจอกันได้หลังห้องน้ำแดนเนรมิตครับ
อ้าว! มันปิดไปแล้วเหรอ
ทำเหมือนกันไม่ได้แปลว่าทำดี หรือทำได้ มันอาจจะแย่ทั้งหมดก็ได้ครับ การที่เค้ายกมาพูดแค่ฝ่ายเดียวไม่ใช่แปลว่าจะต้องสนับสนุนกีอกฝ่ายเสมอไป
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
"คนสอนในระดับประถมก็ไม่ค่อยมีคุณภาพ"
มีหลักฐานประกอบด้วยจะดีมาก
หลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันผมไม่มีหรอกครับ
ผมรู้สึกเพียงแต่ว่าโรงเรียนเดิมที่ผมเคยเรียน มาในปัจจุบันนี้นักเรียนอ่านไม่ได้ เขียนไม่เป็น แค่ภาษาไทยนี่แหละครับ โจทย์เลขก็ทำไม่ได้ คือนักเรียนแทบไม่รู้อะไรเลย พอดีแถวบ้านเด็กเยอะครับ เลยได้มีโอกาสไปสอนเด็กบ้าง
เด็กนักเรียน ม.3 เขียนชื่อตัวเองเป็นภาษาไทยไม่ได้ เป็นหลักฐานได้มั้ยครับ
อ.ที่โรงเรียนมัธยมผมเ่ล่าให้ฟัง
อันนั้นแย่ไปมั้ยครับ
อันนี้ผมว่าน่าเป็นที่ตัวเด็กไม่มีคุณภาพมากกว่าครับ
(ไม่ตั้งใจเรียน สอนอะไรไม่ยอมฟัง ไม่อยากรู้แม้กระทั่งชื่อตัวเอง)
สบายล่ะ "ไม่อยากรู้แม้กระทั่งชื่อตัวเอง"
ปล.เป็นเด็กที่บริสุทธิ์ เหมือนดั่งผ้าขาว
ใช่ครับ
รอยหยักในสมองก็เหมือนผ้าที่รีดเรียบๆ
แล้วปล่อยผ่านมา?
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าระบบการศึกษาไม่ชักจูงให้เด็กพยายามพัฒนาคุณภาพตัวเองได้ละก็ ผมว่าเลิกระบบการศึกษานั้นมันก็แย่สิ้นดีนะครับ
ก็แล้วทำไมขึ้นมาถึง ม.3 ได้ล่ะครับ?
ระบบการศึกษามันก็คือทั้งระบบนะ การสอบ การเลื่อนชั้น ฯลฯ
เกาหลีใต้ทำแล้วเหมาะมาก เพราะบ้านเขาผลิต tablet ได้เอง เงินทองไม่รั่วไหล กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอีกต่างหาก
บ้านเรา เอาแค่แปลงสื่อการเรียนการสอนทั้งหมดให้อยู่ในรูปดิจิตอลเสียก่อนดีไหม ลงทุนไม่เยอะ ใครมีความพร้อม
ก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้เลย (แต่นักการเมืองคงไม่ทำหรอกมั้ง เพราะกินไม่ได้ :P )
Happiness only real when shared.
บ้านเราต้องทำพร้อมกันครับ ไม่งั้นจะโดนด่าว่า ทำไปทำไม ไม่มีอุปกรณ์ให้ใช้
บ้านเราแค่แปลงบ้างทียังใช้บริษัทต่างประเทศ
ใช้กูเกิลแปลงด้วย
ผมไม่ว่าหรอกนะ แต่ถ้าจะให้เป็นแบบ e-reader หมดเลยผมเกรงว่าถ้าให้มันมองจอตั้งแต่เด็กๆมันจะเป็นโรคสมาธิสั้นมากกว่า และตอนนี้ผมก็เป็น -*-
ถ้าไฟดับก็เรียนไม่ได้สิน่ะ
ต้องใช้พลังงานมากขึ้นกว่าเดิม
ดี่ครับไม่ต้องจ้างครูเพิ่ม(ลดงบประมาณระยะยาว) มี tablet เรียนที่ไหนก็ได้ ถ้าแบตหมดก็ใช้ Eneloop ได้ ตำราเรียนก็ใหม่เสมอ ไม่ต้องกลัวว่าจะฮั๊วประมูลหนังสือเรียนกันอีก ไปโรงเรียนไปเล่นกับเพื่อน ไปสอบ ให้จบเป็นชั้นปีไปก็พอครับ
ผมมองว่าเป็นการนำภาษีของประชาชนไปใช้อย่างไม่เกิดประโยชน์โดยแท้ แน่นอนว่าคงได้รับความพึงพอใจจากผู้ที่ได้ใช้ tablet เพราะมีความรู้สึกว่าจับต้องได้อย่างที่ท่านด้านบนได้กล่าวไว้ แต่คำถามที่ต้องถามก็คือเมื่อได้ tablet ไปแล้วมันก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้าง
เห็นนโยบายนี้แล้วต้องบอกตรง ๆ ว่าเซ็งกับเงินภาษีที่ต้องจ่ายไปจริง ๆ ทุกวันนี้ใช้ชีวิตประจำวันก็ยังเห็นว่ามีอีกหลายอย่างที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่มาก น่าจะนำเงินภาษีไปแก้ไขจุดนั้นมากกว่า หลายคนอาจจะบอกว่าทำขนานกันไปก็ได้อันนี้ผมก็ไม่เถียง แต่สิ่งที่ทำขนานไปนั้นมันมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกันเมื่อเทียบกับการนำงบประมาณไปพัฒนาด้านอื่น แน่นอนว่าสุดท้ายแล้วเราคงไม่สามารถนำงบประมาณไปแก้ไขได้ทุกอย่างเพราะงบประมาณเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด
That is the way things are.
ตอนนี้ผมมองทะลุกรอบไปแล้วครับ
คิดว่าคงเป็นนโยบายหาเสียงที่ดีมากๆ + มีให้กินกันจนพุงปลิ้น + ดูทั่วๆไปก็เหมือนจะดีอะนะเอา ICT มาใช้กับการเรียน
ส่วนเรื่องผลที่จะตามมา ชั่งมัน!
นโยบายแบบนี้มันก็คล้ายๆกับที่แจก BB งวดที่แล้วแหละครับ นโยบายแจกของล่อใจ
::เพิ่ม::
อ่านหลายๆความเห็นแล้วคิดได้ครับ คือแทนนี่จะมานั่งจับผิด เราน่าจะมาช่วยคิดอะไรที่มันสร้างสรรค์กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นดีกว่า
ในฐานะประชาชนผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเริ่มท้อแล้วครับ
ผมว่า ผมกลับมองต่างนะ ในเรื่องของ "เรียนเก่งเข้าใจง่าย"
ผมว่าการพัฒนาสื่อ digital นั้นจะช่วยแก้ปัญหาบุคลากรไม่มีคุณภาพด้วยซ้ำ
สมมติผมยกตัวอย่างการสอนวิธีแก้ไขปัญหาโจทย์เลข 1 ข้อ
ถ้าเป็นอาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพ ก็อาจจะแสดงวิธีแก้ไขแบบลวกๆ บนกระดาน 1 ข้อ แล้วก็ให้เด็กไปทำแบบฝึกหัด 20 ข้อ
ถ้าเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ ก็อาจจะแสดงวิธีแก้ปัญหาตามลำดับขั้น แล้วก็คอยถามนักเรียนว่าเข้าใจไหม และคอยอธิบายส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ และอาจจะคอยตอบปัญหาเด็ก นอกเวลาสอน ในกรณีที่เด็กไม่เข้าใจ
ถ้าเป็น s/w สื่อการสอน ที่ทำมาดีๆ ก็จะมีโจทย์ดังกล่าว และสามารถทำ animation แสดงผลการแก้โจทย์ปัญหาทีละลำดับขั้นได้ (ลองนึกถึง powerpoint เทพๆ ละกันครับ) และมีตัว link เพื่อให้เด็กอ่านคำอธิบายได้ว่า ทำไมถึงทำแบบนั้น และนอกจากนี้อาจจะยังมีการใส่วิธีแก้ปัญหาแบบอื่นๆ มาให้ด้วย นอกจากนี้ เด็กยังสามารถมาใช้งานนอกเวลา ในกรณีที่ไม่เข้าใจ และต้องการศึกษาเพิ่มเติม
ทีนี้ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ ครูที่เก่งกาจมากมาย แต่ขอเป็นครูที่มีความอดทน และอุทิศตัวให้เด็ก และใช้ s/w ในส่วนขององก์ความรู้
ผมว่ามันช่วยในการสอนได้มากนะครับ
แต่ส่วนเรื่อง คอรัปชั่น หรือดุลย์การค้า ตรงนี้ก็ต้องว่าไปกันอีกเรื่องครับ เพราะการจัดซื้อจัดจ้าง มันมีทั้งหมดครับ ไม่ว่าจะเป็น tablet หรือตอหม้อ
+1
จากตัวอย่างเดียวกันนะครับ
แล้วตอนสอนทฤษฎี เหตุผลที่มาของทฤษฎี การทำความเข้าใจ การนำไปใช้ประโยชน์ ผมว่าเรื่องเหล่านี้มันต้องมาก่อนการสอนวิธีการแก้โจทย์แบบ animation นะครับ ส่วนตัวผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับระบบการเลียนแบบการทำโจทย์จำวิธีการแก้ไขแล้วก็นำไปใช้หาคำตอบอยู่แล้ว ผมโตมากับการสอนแบบนี้และผมไม่ชอบครับ ผมอยากรู้ว่าเรียนไปทำไมอะไรมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของคุณภาพของ content ไม่ใช่วิธีการนำเสนอ content ครับ
That is the way things are.
จากข้อที่คุณยกมา มันก็ยังทำเป็น animation ในสื่อการสอนบน tablet ได้ทั้งหมดครับ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ content และการนำเสนอ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นที่ผมพยายามจะนำเสนอ
ประเด็นที่ผมพยายามสื่อตั้งแต่แรก คือ สื่อการสอนแบบ digital ที่มีการคิดมาอย่างดี มันสามารถทดแทน หรือส่งเสริมองก์ความรู้ ความเข้าใจของผู้สอนได้
ผู้สอนเพียงแค่ทำความเข้าใจบทเรียน (เล่นเองก่อนนั่นแหละ) แล้วเอามาสอนนักเรียนได้ ก็น่าจะดีกว่า ให้หนังสือ ที่อาจจะไม่ interactive และเข้าใจยากกว่า แล้วที่เหลือใช้ความสามารถของครูล้วนๆ ในการสอนให้เด็กเข้าใจ
หากเจอครูที่เก่ง มีวิธีการนำเสนอที่ดี นั่นก็ดีไป
แต่ถ้าเจอครูที่ไม่เก่ง โอกาสที่เด็กจะเรียนรู่แค่วิธีทำโจทย์ ก็จะมีสูง แบบที่คุณไม่ชอบนั่นแหละครับ
กลับกัน ถ้าเกิด content แบบ digital ที่มันสามารถ copy ได้ และ interactive ได้ ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี
มันน่าจะช่วยเสริม ในส่วนองก์ความรู้ + วิธีการนำเสนอ ของครู ไม่ใช่เหรอครับ
ยิ่งถ้าได้ครูที่มีความเอาใจใส่ แม้องก์ความรู้จะไม่มาก แต่การเรียนการสอนก็ยังสามารถไปได้ด้วยดี เพราะเรามีสื่อ digital ที่มีคุณภาพเท่ากัน
ดีกว่าให้เรามานั่งหวังว่า จะมี Great Teacher ที่ทั้งฉลาด และทุ่มเท ออกมาในโลกใบนี้
ผมว่าคุณกำลังพูดไปถึงคุณภาพของ content เหมือนกับผมและไม่ได้พูดถึงวิธีการนำเสนอ content ครับเพราะคุณเน้นคำว่าทำใหม่แล้วดี มันก็เหมือนกับการเปลี่ยนหนังสือหลักสูตรใหม่แล้วเปลี่ยนคนเขียนทำให้มันดีขึ้นนั่นแหละ
ถ้าเป็น content อย่างเดียวกันแล้วนำเสนอต่างกันและให้ผลต่างกันอย่างมีนัยผมว่าอันนี้น่าทำครับ แต่ถ้า content เหมือนกันแล้วนำเสนอต่างกันก็ไม่ให้ผลอะไรอันนี้ไม่น่าทำ
ยกตัวอย่างนะครับ
นาย A ต้องการศึกษาภาษา java และไปซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งปรากฏว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ จากนั้นจึงไปซื้อเล่มใหม่เป็น text book ที่เขียนโดยชาวต่างชาติ ปรากฏว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่า มีตัวอย่างชัดเจนกว่า แบบฝึกหัดสื่อถึงเนื้อหามากกว่า ทำให้นาย A สรุปได้ว่าหนังสือเล่มหลังดีกว่าเล่มแรก ดังนี้จะเห็นได้ว่าสื่อทั้ง 2 อย่างนี้เป็นหนังสือเหมือนกันแต่ให้ผลต่างกันเพราะคุณภาพของ content ครับ
อันที่ผมพูดไว้ก็เป็นเช่นเดียวกัน ถ้าคุณภาพของ content ยังเหมือนเดิม ตัวอย่างเดิม โจทย์เดิม เนื้อหาอธิบายแบบเดิม ไม่ว่าจะเปลี่ยนวิธีการนำเสนอ content อย่างไรสุดท้ายมันก็คงไม่ได้ดีไปกว่าเดิมสักเท่าไรนัก ในทางกลับกันถ้าเพิ่มคุณภาพ content และวิธีการนำเสนอด้วยนั่นจึงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ
ต้องถามว่าตอนนี้หนังสือยังมีคุณภาพเป็นแบบนี้แล้วถ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบสื่อการสอน animation ด้วยเนื้อหาเดิมแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือครับ นี่คือประเด็นที่ผมพยายามจะบอกครับ ^^
That is the way things are.
ซ้ำครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ขอตอบเป็นข้อ ๆ นะครับ
That is the way things are.
ถ้าผมมีลูกผมก็ยังอยากให้เรียนกับหนังสือจริงๆ อยู่นะ
ผมว่ามันคนละอารมณ์กับหนังสือ digital
อย่างเวลาเราเปิดหนังสือหา (ความเห็นส่วนตัว)ผมว่าสนุกกว่า
อ่านหนังสือ digital
ใช้ความพยายามมากกว่า เพราะไม่มีคำสั่ง Find หรือ Search
ทำให้รู้จักอดทน รู้จักพยายาม
homeschool ก็เป็นทางเลือกครับ
lewcpe.com, @wasonliw
คุณพูดคล้าย กูรู บางท่าน ที่วิจารณ์ Kindle ตอนที่มันขายแรกๆเลยครับ
หลังจากนั้น หลายคนพบว่า
สิ่งที่คุณพูดมานั้น มันเป็นเพียงอารมณ์ ที่ติดมาเท่านั้น
เหมือนคนทำ เลสิก จนสายตาดี แต่ก็ยังใส่แว่น เพราะ ความไม่คุ้นเคย
และ ถ้าเด็กหาเนื้อหาที่ต้องการได้เร็วขึ้น ก็ทำการบ้านได้เร็วขึ้น และมีเวลาเล่นมากขึ้น (เด็กสมัยนี้ เรียนเกือบจะมากกว่า 12 ชั่วโมงอยู่แล้ว
คุณชอบเปิดหนังสือด้วยความพยายาม หรือ จะถามเอาจาก google
ผมพูดในฐานะคนเคยใช้ Kindle ว่า Kindle มันไม่เหมาะจะเอามาใช้อ่านหนังสือเลข และ คอมพิวเตอร์มากๆ เพราะหนังสือส่วนใหญ่จะอ้างอิงเนื้อหาในหน้าอื่นๆ ซึ่งมันไม่สะดวก (วิชาอื่นๆ ที่ต้องเปิดดูเนื้อหาอ้างอิงหรือก็คงไม่เหมาะเหมือนกัน) ถ้าเอาไว้อ่านนิยายละก็ใช่เลย
ถ้ามีหนังสือเกี่ยวกะเรื่องที่ผมอยากรู้อยู่ใกล้ๆ ผมก็เปิดหนังสือก่อนนะ
แต่หนังสือที่ผมมีมันไม่ได้ตอบผมได้ทุกเรื่องเลยต้องเปิด google ต่อ
search จาก google กับอ่านจากในหนังสือ ผาว่าอ่านจากหนังสือจำกว่าครับ อีกทั้งมันยังหยิบขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ ซีรอคแจกได้ง่ายๆ
เอาเรื่องเลสิกมาคุยนี่มันคนละเรื่องเลยครับ
พูดตรงๆ นี่มันนโยบายระยะสั้นขายของชัดๆ ประชาชนคือลูกค้า เค้าก็บอกอยู่
งงกับคนที่บอกว่าอ่านจาก Tablet ดีกว่าจริงๆ อยากให้นั่งมาเปิดหนังสือ text กับ Tablet อ่านคู่กันซัก 1 ชั่วโมง ไม่ก็เอามาเรียนวิชาอะไรซักอย่างจริงๆจังๆซักที
ส่วนตัวลองแล้วใช้เป็นกระดาษกับหนังสือดีกว่าเห็นๆครับ ไอตัว Tablet นั่นแหละที่จะทำให้เราไม่มี focus กับการเรียน มัวแต่หาวิธีที่จะใช้มัน ถึงจะใช้จนคล่องแล้วก็เหอะ
ฝันให้ไทยทำแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เพี้ยง! สาธุ!
ป.ล. ข่าวแรกที่ Blognone สินะครับ :D
Jusci - Google Plus - Twitter
ข่าวแรกก็ ...
สมเป็นคุณ terminus จริงๆ #แฟนคลับ
มีก็ดีนะ แต่ชอบอ่านเป็นเล่มๆ มากกว่า
ดีเหมือนกันครับ เด็กเบื่อเรียนก็ปิดเสียงแอบเล่นเกมคลายเครียด ว่าแต่ถ้าเด็กทำแทบเล็ตหล่นแตกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายรึเปล่า
เรื่องนึงที่ผมคิดคือ มันไม่ควรจะทำแค่รอคอนเทนท์นะครับ
อาจจะถึงเวลาที่ต้องตื่นตัวแล้ว กับการที่รัฐจะดำเนินนโยบายให้ Tablet เป็น Infrastructure ของระบบการศึกษา
แล้วคนในแวดวง IT น่าจะได้เพิ่มอาชีพ ที่เกี่ยวกับการทำสื่อการสอน แบบกราฟิคที่ Interactive เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จาก Tablet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาจจะต้องผลักดันให้รัฐ มีโครงการแข่งขันทำ Content สื่อการสอนในวิชาต่างๆ ก่อนปีการศึกษาที่จะมีการแจกแท็บเลทรึเปล่า?
เดี๋ยวผมลองเอาไปเสนอใน Facebook ดีมั้ง
ดื่มกาแฟกันเสร็จ มาต่อกันด้วยอ่านพจนานุกรมเหรอครับ = ="
ผมถามอีกครั้งเผื่อเปลี่ยนใจ
ตอนนี้คุณ Pinery ลองทบทวนอีกครั้งรึยังครับ ว่า "ถ้าอยากให้ Comment เยอะ + ยาว" อย่างจริงๆ จังๆ ควรทำยังไง
ขอบคุณ BN ครับที่ทำให้ผมเจอสังคมออนไลน์ที่แย้งกันด้วยเหตุและผล และที่สำคัญ สุภาพ
ที่นี่ทำให้การมองโลกของผมเปลี่ยน :D
ขอสนับสนุนที่ว่ามันช่วยดึงความสนใจเด็กได้ครับ
และอย่าคิดว่าเป็นหนังสือกระดาษจะถูกกว่าครับ หนังสือ 8 สาระวิชาหลัก + 2 สาระเสริม ตีราคารวมคร่าว ๆ พร้อมแบบฝึกให้ทั้งหมดเหมา 1000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) เด็กวัยเรียนปัจจุบันให้ปีละ 800000 คนละกัน จะเสียเงินให้ระบบทั้งสิ้น 800000000 บาท (แปดร้อยล้านบาทถ้วน)ซึ่งนี่เป็นเงินที่เราเสียทุกปีเป็นอย่างน้อย (ตามนโยบายเรียนฟรี)
ในขณะที่แทปเลตนั้น ต้องใช้ทุนเริ่มต้นสูงกว่า (บทเรียน แบบฝึก และตัวแทปเลต) แต่เมื่อเข้าปีถัดไป รายจ่ายจะลดลงมาก เหลือแค่แทปเลตสำหรับเด็กเข้าชั้น ป.1 ในแต่ละปี
รวมถึงข่าว Tablet ทำเองของบริษัทในไทยและการผลิตแทปเลตราคาถูกของอินเดีย ซึ่งอาจจะทำราคาแทปเลตอยู่ที่ 1000 - 1500 บาทต่อเครื่องได้
ผมคิดว่านโยบายแทปเลตเพื่อการศึกษา มีความเป็นไปได้มากกว่านโยบายค่าแรงขั้นต่ำหรือขึ้นเงินเดือน 15000 ด้วยซ้ำครับ
อยาก vote ข่าวนี้ให้เป็นข่าวแห่งปีจริงๆ มีการถกกันหลากหลายประเด็น และหลากหลายความเห็นมากๆ
ส่วนความเห็นผม ผมว่าเด็ก ป. 1 เป็นระดับชั้นที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องเรียนด้วยสื่อ digital และประเทศเราควรพัฒนาด้านเนื้อหาให้เป็น digital ให้พร้อมเสียก่อน ค่อยแจก tablet ตอนนั้นก็ยังไม่สาย
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
จากที่อยู่ประเทศนี้มา ทั้งชีวิต ผมพบว่า หากทำเช่นนั้น
ก็จะโดนกล่าวหาว่า ทำไปทำไม ทำไป ก็ไม่มีเครื่องอ่าน
มีแต่ต้องทำควบคู่กันไป เท่านั้น จึงจะเกิด แต่ถ้าไม่เกิด ก็โดนเละ