ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินข่าวและประเด็นปัญหาของเทคโนโลยีอยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่ความไม่เป็นกลางของอัลกอริทึม (algorithmic bias) ไปจนถึงข่าวปลอมบน Facebook และ YouTube เจอปัญหาวิดีโอสำหรับเด็กมีคลิปความรุนแรงแทรกอยู่ รวมถึงการเสพติดเทคโนโลยีต่างๆ จนทำให้หลายครั้ง เราก็มีภาพในด้านลบต่อเทคโนโลยีอยู่เรื่อยๆ
ล่าสุดที่งาน SXSW 2019 Douglas Rushkoff นักทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงจากการสร้างแนวคิดเรื่อง viral media มองว่าสิ่งที่ควรทำในการต่อสู้กับด้านมืดของเทคโนโลยี คือการรวมตัวกันของมนุษยชาติในฐานะชุมชนร่วมกัน เพื่อสู้กับปัญหานี้
เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว Blognone เคยมีการรายงานสรุปการบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการแพทย์โดย นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาแล้ว ในครั้งนั้น อาจารย์ระบุอย่างชัดเจนว่าในเรื่องของเทคโนโลยีกับการแพทย์จำเป็นต้องยึดคนไข้เป็นศูนย์กลาง ก่อนที่จะคิดถึงเทคโนโลยี (อ่านสรุปการบรรยายครั้งที่แล้วได้ที่นี่)
ผ่านมาวันนี้ ที่งานประชุมวิชาการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปี พ.ศ. 2561 อาจารย์นวนรรนกลับขึ้นเวทีมาพูดอีกครั้งหนึ่งในหัวข้อ Digital Health Transformation: What's Next? ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ตามคำเชิญของคณะทำงานการประชุมวิชาการ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และโรงพยาบาลสมิติเวช จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาเป็นสรุปสั้นๆ ให้ได้อ่านกันครับ
ทรูมูฟ เอช เตรียมนำเครือข่ายสู่ 5G ที่ให้ความเร็วได้สูงถึงระดับกิกะบิต ประกาศลงทุน 57,000 ล้านบาทด้านโครงข่าย เตรียมความพร้อมสู่ยุค 5G
กลุ่มบริษัทไอทีรวมตัวกันเป็น Information Technology Industry Council (ITI) ร่วมกันออกหลักปฏิบัติในการใช้ AI โดยให้สัญญาว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์โดยตั้งอยู่บนความรับผิดชอบ เพื่อให้มั่นใจว่า AI สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดได้
เหตุที่ต้องมาร่วมกันทำข้อตกลงเพราะปัญญาประดิษฐ์สร้างความกังวลต่อสังคมมากขึ้นทุกที ตั้งแต่ความกังวลเรื่องจะเข้ามาแทนที่แรงงานคน ไปจนถึงความไม่เที่ยงธรรมของปัญญาประดิษฐ์ที่อาจฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การตั้งกฎขึ้นมาควบคุมตัวเองยังเป็นการป้องกันไม่ให้หน่วยงานรัฐเข้ามาควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีได้ด้วย
"สงครามระหว่าง Google และ Amazon ยังไม่จบ" ล่าสุด Google ได้ดึงเอา บริการ Youtube ออกจาก Smart device ของ Amazon อย่าง Echo show แล้ว ซึ่งก็จะทำให้ผู้ใช้ Echo show ไม่สามารถดู youtube ได้อีกต่อไป
เมื่อบ่ายสาม ของวันที่ 27 กันยายน google ได้ตัดสินใจถอดเอาบริการ youtube ออกจาก Echo show เอาเสียดื้อๆ โดยไม่มีการเเจ้งเตือนหรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใด แน่นอนการถอดเอาบริการนี้ออกทำให้ผู้ใช้งานเซ็งไปตามๆกันเลยทีเดียว
ซึ่งจริงๆแล้วทางฝั่ง Google เองก็มีอุปกรณ์ smart device อย่าง Google Home อยู่เเล้วเเละสามารถเข้าถึง youtube ได้อยู่แล้วเพียงแค่ไม่มีจอแสดงผลเหมือนอย่าง Echo show
จะดีแค่ไหนถ้าคุณสามารถหิ้วพัดลมไปวางไว้ตรงไหนก็ได้ในห้องโดยไม่ต้องลากสายไฟยาวๆ และมือถือของคุณมีแบตเต็มอยู่เสมอเพียงแค่วางมันไว้ในห้อง วันนี้นักวิจัยจาก Disney Research แสดงตัวอย่างให้เราเห็นด้วยเทคนิคการส่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยวิธี quasistatic cavity resonance (QSCR)
นักวิจัยได้สร้างห้องที่บุผนังด้วยแผ่นอะลูมิเนียมขึ้นมา จากนั้นจึงตั้งเสาทองแดงสำหรับส่งพลังงานไว้กลางห้อง ภายในเสามีตัวเก็บประจุซึ่งช่วยปรับคลื่นความถี่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เสถียร จากนั้นจึงส่งพลังงานไฟฟ้า 1,900 วัตต์เข้าไปที่เสา ฝั่งตัวรับจะมีขดลวดที่ปรับให้รับคลื่นความถี่ตรงกันเพื่อรับพลังงาน โดยมีประสิทธิภาพการส่งพลังงานที่ 40-95%
วันนี้ที่งานประชุมวิชาการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2559 (BDMS Academic Annual Meeting 2016) มีการบรรยายในหัวข้อ Enabling Patient-Centered Care through Information & Technology: How the Better Use of Technology & Data Can Support and Enable the Developments Needed to Transform Outcomes for Patients & Citizens บรรยายโดย นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปนั่งฟังอยู่ และคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจทั้งสำหรับคนที่อยู่โลกไอทีและแพทย์ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกัน จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาเป็นสรุปสั้นๆ ให้ได้อ่านกันครับ
ผลวิจัยจากหน่วยงานประเมินการศึกษาของสหรัฐฯ (NAEP) พบว่า ผู้หญิงมีผลการทดสอบด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีสูงกว่าผู้ชาย โดยทำการทดสอบเด็กนักเรียนระดับเกรดแปด ประเมินจาก 3 เนื้อหา คือ เทคโนโลยีและสังคม, การออกแบบและระบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (เป็นผลการศึกษาในปี 2014)
หนังสือพิมพ์ The Guardian ตีพิมพ์ข้อเขียนของ Evgeny Morozov บรรณาธิการนิตยสารวิชาการด้านการเมืองระหว่างประเทศ Foreign Policy และนักวิชาการรับเชิญ (visiting scholar) ของมหาวิทยาลัย Stanford ที่สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าต่อไปในอนาคต บริษัทไอทีขนาดใหญ่ในโลกตะวันตกจะมีความสำคัญมากกว่ารัฐ (the state) และรัฐบาล ที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตความชอบธรรมในการปกครองอยู่ในเวลานี้
เว็บไซต์ Mashable เผยรายงานพิเศษ โดยระบุว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้วิธีการปลดปล่อยตัวเองทางเพศของเพศชายหลายคนกำลังเปลี่ยนไปจากเดิม
ด้วยความเป็นจริงที่ว่า หากเราใช้ยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์เป็นใบพัด เพื่อดำดิ่งสู่ท้องทะเล สิ่งที่ตามมาก็ คือ เสียงดังของเคลื่อนยนต์ คลื่นน้ำวนจากใบพัด และความคมของใบพัดที่อาจจะไปรบกวน หรือทำลายสัตว์ทะเลต่างๆ
วิศวกรชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากสถาบัน Swiss Federal Institute of Technology แห่งเมืองซูริค จึงได้สร้างหุ่นยนต์ปลาต้นแบบที่มีชื่อว่า Sepios ขึ้นมา เพื่อทดสอบการเคลื่อนที่ใต้น้ำแบบใหม่ โดยใช้ครีบเสมือนปลาจริงๆ
จากการสำรวจข้อมูลใน 28 ประเทศทั่วโลกของ Hotels.com พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทย “ติดมือถือ” มากสุดในโลก ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย “ไม่ติดมือถือ” โดยจากข้อมูลเมื่อถามว่าคุณพร้อมที่จะสละการติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือระหว่างท่องเที่ยวหรือไม่ 85% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยระบุว่าไม่พร้อม ในขณะที่ชาวอินเดียเพียง 20% ระบุว่าไม่พร้อม
ในรายงานยังมีการจัดอับดับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบ “เล่าเรื่องเกินจริง” เกี่ยวกับประสบการณ์การท่องเที่ยวของตัวเองกับคนรู้จัก หลังจากที่กลับมาบ้านแล้ว โดยนักท่องเที่ยวไทย 46% ชอบเอาประสบการณ์ตัวเองมาเล่าเกินจริง (อันดับ 1 คือประเทศจีนที่ 67%)
ข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ จากรายงานฉบับนี้มีตามนี้ครับ:
วันนี้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีรวมตัวกันก่อตั้ง สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association) เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (tech startup) ของไทย และเป็นศูนย์กลางของกลุ่มเทคสตาร์ทอัพของไทย
จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสมาคมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนเทคสตาร์ทอัพไทย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพ รวมไปถึงผลักดันและเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพใหม่ๆ มีลู่ทางในการระดมทุนและมีพื้นที่บนสื่อที่มากขึ้นแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพของเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ ให้มีมาตรฐานและศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพื่อเติมได้ที่ startupthailandassociation@gmail.com
ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้กับชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ มากพอสมควร (เช่น เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ที่ใช้คู่กับสมาร์ทโฟน หรือ กล้องถ่ายภาพกลางคืน) ที่ระดมทุนผ่านเว็บไซต์อย่าง Kickstarter เพื่อจัดหาทุนเพื่อทำอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งในปีนี้ก็มีอุปกรณ์ที่น่าสนใจอยู่พอสมควร แต่ที่อาจจะเรียกเสียงฮือฮา โดยเฉพาะกับบรรดาผู้ที่ชอบดื่มไวน์อย่างมากคือเครื่องที่เรียกว่า Miracle Machine
ดูเหมือนว่าการเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันการชาร์จไร้สายคงยังไม่พอสำหรับโนเกีย เมื่อพวกเขาได้ก้าวไปอีกขั้นด้วยการนำพลังงงานไฟฟ้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติอย่าง "ฟ้าผ่า" มาใช้ชาร์จโทรศัพท์ โดยโนเกียได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Southampton ทดลองดึงพลังงานไฟฟ้าจากฟ้าผ่า (จำลอง) ที่มีค่าโวลต์สูงหลักแสนมาใช้ชาร์จ Lumia 925 ได้สำเร็จ
Neil Palmer นักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย Southhampton ในประเทศอังกฤษซึ่งได้รับเชิญให้ร่วมโครงการได้พูดถึงการทดลองนี้ว่า
เทคโนโลยีนี้จะทำให้จอทัชสกรีนสามารถแยกแยะได้ว่าเราใช้อะไรสัมผัสหน้าจอ โดยใช้ sensor ขนาดเล็ก ในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนของวัตถุที่กระทำกับหน้าจอ เพื่อแยกวัตถุที่ใช้สัมผัสหน้าจอแต่ละชนิดออกจากกัน ทำให้สามารถเขียนคำสั่งต่อการสัมผัสของวัตถุชนิดนั้นๆ ได้ เช่น ใช้ข้อนิ้วแทนการคลิกค้างเพื่อเรียกเมนู สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้จากวิดีโอด้านล่างครับ
ในตอนนี้ Qeexo บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีชิ้นนี้ได้ปล่อย sdk เวอร์ชั่นของ Android ออกมาแล้ว นักพัฒนาท่านไหนสนใจ สามารถอีเมลไปสอบถามกับทาง Qeexo ได้ ส่วนของฝั่ง iOS นั้นจะออกตามมาเร็วๆ นี้
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2011 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ministry of Education, Science and Technology) ของเกาหลีใต้ได้เปิดเผยนโยบายว่า ภายในปี 2015 ตำราเรียนตามหลักสูตรทั้งหมดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสื่อดิจิตอล เพื่อให้เด็กนักเรียนเกาหลีใต้ได้เรียนผ่านสื่อการเรียนการสอนที่ดีกว่าและมีปฏิสัมพันธ์มากกว่าตำราเรียนแบบเดิมที่เป็นกระดาษ
นานๆ ทีผมจะได้นำข่าวที่ไม่เกี่ยวกับ Adobe มาฝากกัน และส่วนตัวผมชอบเทคโนโลยีที่มันดู "ล้ำยุค" แต่ต้อง "เป็นไปได้" ในเวลาเดียวกันด้วย
วันนี้ไปเจอวิสัยทัศน์ของบริษัทนักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานสัญชาติสวีเดน โดยเขาทำเป็นวิดีโอออกมาให้เราเห็นว่าจอแบบสัมผัส ที่อยู่บนมือถือ smart phone ในปัจจุบันนั้นกำลังจะพัฒนาไปในรูปแบบใดบ้าง ภายในปี 2014! (อีกแค่ 4 ปีเท่านั้น) ผมจะไม่อธิบายมาก ให้พวกเราชมกันด้วยตาตัวเองดีกว่าครับ โดย 20 วินาทีแรกอาจจะยังดูธรรมดา แต่หลังจากนั้น ผมมั่นใจว่า 4 ปีนี่ ไม่นานเกินรอแน่นอน
วิดีโอชมได้ด้านในครับ
ในขณะที่บ้านเรายังเพิ่งได้เริ่มใช้ 3G กันแบบพอหอมปากหอมคอไม่กี่พื้นที่ ตอนนี้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็พัฒนามาถึงระดับกิกะบิตกันแล้ว
งานนี้ บริษัทอีริคสัน ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอันนี้มาแสดงเป็นครั้งแรกในงาน Mobile World Congress 2010 ด้วย โดยการที่จะทำให้ได้ความเร็วสูงขนาดนั้น อีริคสันได้ใช้เทคโนโลยี MIMO 4 เสา คู่กับ Multi Carrier อีก 4 ช่องสัญญาณ ช่องละ 20MHz รวมช่องสัญญาณทั้งสิ้น 80MHz ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำความเร็วได้ถึง 1 Gbps
ครบสิบปีหลังจากเข้าสหัสวรรษใหม่ ช่วงนี้เลยได้อ่านเหล่า 10 อันดับกันมากหน่อย ทาง X-bit labs ก็ไม่ยอมตกกระแส รวบรวมเหล่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่ล้มเหลวในช่วง 10 ปีที่ผ่านให้ดูกันครับ
ห้องสมุดหลาย ๆ แห่งในสหราชอาณาจักรได้เริ่มให้บริการยืมหนังสือที่แตกต่างไปจากเดิมนัก โดยเริ่มแจกให้สมาชิกหรือผู้มีสิทธิใช้ห้องสมุดในท้องที่นั้นดาวน์โหลด eBook ไปใช้แทน
ที่เจ๋งคือผู้ใช้ไม่ต้องที่จะไปห้องสมุดอีกต่อไป ส่วนเรื่องลิขสิทธิก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะว่าตัวหนังสือเองจะทำการลบตัวเองภายใน 14 วัน โดยหนังสือ eBook เหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้บนหลายแพลตฟอร์ม ตั้งแต่ Sony Reader ไปจนถึง Nook ของ Barnes and Noble ที่เพิ่งเปิดตัวไปนี้
ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ผู้ใช้ Kindle ก็คงต้องเศร้าต่อไป เมื่อทราบว่าจะไม่มีส่วนร่วมในครั้งนี้ เนื่องจาก Kindle เป็นระบบปิด
แผ่นซีดีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอายุครบรอบ 30 ปีแล้ว หลังจากมันถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี 1979 ที่ห้องวิจัยของบริษัท Philips โดยเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อจาก Laser disc
หลังจาก Philips คิดค้นขึ้นมาได้ ก็ได้โซนี่ช่วยพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เริ่มจากการออกมาตรฐานสำหรับซีดีที่เรียกว่า Red Book ส่วนแผ่นซีดีเพลงแผ่นแรกนั้นออกวางจำหน่ายเมื่อปี 1982 พร้อมกับเครื่องเล่นรุ่นแรกคือ CDP-101 ของโซนี่ และซีดีเพลงที่ขายดีที่สุดคืออัลบั้มรวมฮิตชื่อ "1" ของ The Beatles ที่วางจำหน่ายในปี 2000 และขายได้รวมทั้งสิ้น 30 ล้านแผ่นทั่วโลก
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 เวียดนามและลาวได้จัดให้มีการประชุมความร่วมมือกันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยแรกในเวียงจันทร์ และได้มีการลงนามในความตกลงร่วมมือกันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2552-2554 ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามกับประธานสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมของลาว
ภายใต้ความตกลงนี้ เวียดนามจะให้ความช่วยเหลือแก่ลาวในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของลาวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานการวัด และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ของรัฐ
ในอนาคตเราอาจจะไม่ต้องกังวลเรื่องมือถือแบตเตอรี่หมดอีกต่อไป
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Texas A&M และ Houston พบว่าถ้าใช้วัสดุ piezoelectric บางชนิด ที่มีความหนาประมาณ 21 นาโนเมตร (ถ้านึกไม่ออกว่าหนาขนาดไหน ลองเทียบกับเส้นผมมนุษย์ที่หนา 100,000 นาโนเมตร) จะสามารถเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพิ่มมากกว่าเดิมอีก 100%
เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่แค่สำหรับโทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์พกพา และตัวตรวจจับไร้สายต่างๆที่ต้องการพลังงานไม่มาก และการที่ไม่มีแบตเตอรี่ในตัวยังส่งผลดีทำให้น้ำหนักอุปกรณ์ลดลงไปได้เยอะอีกด้วย
บริษัท Kogan ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกของออสเตรเลีย ได้ทำการเปิดตัว Android Phone ของตัวเองออกมาแล้วในชื่อ Kogan Agora โดยได้เปิดตัวออกมาสองรุ่นคือ Kogan Agora (A$299 - ฿6,928) กับ Kogan Agora PRO (A$399 - ฿9350)
จากข่าวเก่า ที่ว่าจะเปิดตัวในราคา A$199 แต่ในบล็อก นั้นได้บอกว่า เรื่องจากภาวะวิกฤติการเงินในตอนนี้ทำให้ไม่สามารถกดราคาลงตามที่บอกได้ แต่ก็ให้โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถมากมายในราคาที่สามารถซื้อหาได้
โดยขณะนี้สามารถสั่งของได้แล้ว แต่จะเริ่มจัดส่งตั้งแต่ 29 มกราคม 2009